แท็ก
สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
การประปาส่วนภูมิภาค
สุขภัณฑ์กะรัต
สำนักงบประมาณ
โรงแรมคอนราด
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการการจ่ายเงินชดเชยค่าดำเนินการในการให้บริการเชิงสังคมให้การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) ในปี 2548 จำนวน 609.585 ล้านบาท และสำหรับปี 2549 เมื่อสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) รับรองงบการเงินแล้ว ให้ กปภ. ทำความตกลงวงเงินที่จะขอชดเชยกับสำนักงบประมาณ (สงป.) ทั้งนี้ ให้อยู่ในกรอบวงเงิน จำนวน 963.687 ล้านบาท ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ สำหรับค่าชดเชยการดำเนินการในการให้บริการเชิงสังคมของ กปภ. ปีงบประมาณ 2550 เป็นต้นไป ให้ดำเนินการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยบริการสาธารณะของรัฐวิสาหกิจตามนโยบายพิเศษของรัฐบาล ซึ่งอยู่ระหว่างกระทรวงการคลัง (กค.) นำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
ทั้งนี้ กปภ. ชี้แจงว่า ยังไม่มีการเพิ่มอัตราค่าน้ำมาตั้งแต่ปี 2541 และใช้อัตราเดียวทั่วประเทศ ซึ่งไม่สอดคล้องกับต้นทุนการดำเนินงานของ กปภ. ทำให้มีผลประกอบการขาดทุนอย่างต่อเนื่อง กปภ. จึงจำเป็นต้องควบคุมค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น การปรับโครงสร้างบุคลากร และการกำหนดอัตราค่าตอบแทนในเกณฑ์ที่ต่ำกว่ารัฐวิสาหกิจอื่น ทำให้การดำเนินงานของ กปภ. ได้ผลกำไรในช่วงปีหลัง ๆ อย่างไรก็ตาม ในปี 2549 กปภ. ขาดทุนประมาณ 190 ล้านบาท และตั้งแต่ปีงบประมาณ 2550 เป็นต้นไป กปภ. จะต้องชำระคืนเงินกู้พันธบัตร กปภ. ปีละประมาณ 1,000-2,000 ล้านบาท หาก กปภ. ไม่ได้รับการชดเชยค่าดำเนินการเชิงสังคมควบคู่ไปกับการปรับราคาค่าน้ำ จะทำให้ กปภ. ไม่มีเงินรายได้เพียงพอสำหรับการไถ่ถอนเงินกู้พันธบัตร และจะต้องรับภาระดอกเบี้ยพันธบัตรที่จะเกิดจากการ Refinance พันธบัตรไปตลอด ดังนั้น ในการจ่ายเงินชดเชยค่าดำเนินการในการให้บริการเชิงสังคมของ กปภ. ในปี 2548 และ ปี 2549 ควรให้ใช้ต้นทุนจริงเฉลี่ยในการจ่ายชดเชยค่าดำเนินการในการให้บริการเชิงสังคมของกลุ่มผู้ใช้น้ำประเภทที่อยู่อาศัยเพื่อการดำรงชีพ เฉพาะช่วงการใช้น้ำไม่เกิน 30 ลูกบาศก์เมตรต่อรายต่อเดือน เนื่องจากเป็นหลักเกณฑ์ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2548 ในการจ่ายชดเชยค่าดำเนินการเชิงสังคมประจำปีงบประมาณ 2547 (โดยคิดเงินชดเชยจากราคาส่วนต่างของราคาขายจริงในปี 2547 กับราคาต้นทุนจริงเฉลี่ยที่ 11.750 บาทต่อลูกบาศก์เมตร) สำหรับต้นทุนจริงเฉลี่ยที่ใช้ในการคำนวณเงินชดเชยค่าดำเนินการในการให้บริการเชิงสังคมในปี 2548 และ 2549 นั้น ได้มีการปรับเป็น 12.455 บาทต่อลูกบาศก์เมตร และ 13.680 บาทต่อลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ โดยต้นทุนจริงเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นเกิดจากปัจจัยหลักคือ ค่าใช้จ่ายเงินเดือนและค่าจ้างประจำ ค่าวัสดุการผลิตและค่ากระแสไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 มีนาคม 2550--จบ--
ทั้งนี้ กปภ. ชี้แจงว่า ยังไม่มีการเพิ่มอัตราค่าน้ำมาตั้งแต่ปี 2541 และใช้อัตราเดียวทั่วประเทศ ซึ่งไม่สอดคล้องกับต้นทุนการดำเนินงานของ กปภ. ทำให้มีผลประกอบการขาดทุนอย่างต่อเนื่อง กปภ. จึงจำเป็นต้องควบคุมค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น การปรับโครงสร้างบุคลากร และการกำหนดอัตราค่าตอบแทนในเกณฑ์ที่ต่ำกว่ารัฐวิสาหกิจอื่น ทำให้การดำเนินงานของ กปภ. ได้ผลกำไรในช่วงปีหลัง ๆ อย่างไรก็ตาม ในปี 2549 กปภ. ขาดทุนประมาณ 190 ล้านบาท และตั้งแต่ปีงบประมาณ 2550 เป็นต้นไป กปภ. จะต้องชำระคืนเงินกู้พันธบัตร กปภ. ปีละประมาณ 1,000-2,000 ล้านบาท หาก กปภ. ไม่ได้รับการชดเชยค่าดำเนินการเชิงสังคมควบคู่ไปกับการปรับราคาค่าน้ำ จะทำให้ กปภ. ไม่มีเงินรายได้เพียงพอสำหรับการไถ่ถอนเงินกู้พันธบัตร และจะต้องรับภาระดอกเบี้ยพันธบัตรที่จะเกิดจากการ Refinance พันธบัตรไปตลอด ดังนั้น ในการจ่ายเงินชดเชยค่าดำเนินการในการให้บริการเชิงสังคมของ กปภ. ในปี 2548 และ ปี 2549 ควรให้ใช้ต้นทุนจริงเฉลี่ยในการจ่ายชดเชยค่าดำเนินการในการให้บริการเชิงสังคมของกลุ่มผู้ใช้น้ำประเภทที่อยู่อาศัยเพื่อการดำรงชีพ เฉพาะช่วงการใช้น้ำไม่เกิน 30 ลูกบาศก์เมตรต่อรายต่อเดือน เนื่องจากเป็นหลักเกณฑ์ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2548 ในการจ่ายชดเชยค่าดำเนินการเชิงสังคมประจำปีงบประมาณ 2547 (โดยคิดเงินชดเชยจากราคาส่วนต่างของราคาขายจริงในปี 2547 กับราคาต้นทุนจริงเฉลี่ยที่ 11.750 บาทต่อลูกบาศก์เมตร) สำหรับต้นทุนจริงเฉลี่ยที่ใช้ในการคำนวณเงินชดเชยค่าดำเนินการในการให้บริการเชิงสังคมในปี 2548 และ 2549 นั้น ได้มีการปรับเป็น 12.455 บาทต่อลูกบาศก์เมตร และ 13.680 บาทต่อลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ โดยต้นทุนจริงเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นเกิดจากปัจจัยหลักคือ ค่าใช้จ่ายเงินเดือนและค่าจ้างประจำ ค่าวัสดุการผลิตและค่ากระแสไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 มีนาคม 2550--จบ--