สรุปสถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตรปี 2553 ครั้งที่ 29

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday September 8, 2010 17:26 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีรับทราบข้อมูลสรุปสถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตรปี 2553 ครั้งที่ 29 ณ วันที่ 6 กันยายน 2553 ประกอบด้วย สถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตร สถานการณ์น้ำ และการดำเนินการตามแผนเตรียมรับสถานการณ์ ภัยพิบัติด้านการเกษตรปี 2553 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สรุปได้ดังนี้

สถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตร

สถานการณ์อุทกภัย

อิทธิพลของพายุโซนร้อน“มินดอนเล” บริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง ที่เคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนในวันที่ 24 สิงหาคม 2553 และเคลื่อนเข้าสู่ประเทศลาวแล้วอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันและหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศลาวและภาคเหนือตอนบนในวันต่อมา และร่องมรสุมได้เลื่อนขึ้นไปพาดผ่านบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยตลอดสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้มีฝนตกหนาแน่นและมีรายงานน้ำท่วมฉับพลันและ น้ำป่าไหลหลากหลายพื้นที่ในประเทศไทยตอนบน

ปัจจุบันมีสถานการณ์อุทกภัย จำนวน 16 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดลพบุรี พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ นครราชสีมา มุกดาหาร ชัยภูมิ อุดรธานี สกลนคร ขอนแก่น อุบลราชธานี มหาสารคาม สระบุรี และนครนกยก รายละเอียดดังนี้

1. ลพบุรี

เมื่อวันที่ 2-3 กันยายน 2553 เกิดฝนตกหนักในเขตอำเภอสำโรง เมือง โคกสำโรง.และหนองม่วง ทำให้เกิดน้ำท่วมขัง 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอโคกสำโรง เมือง และบ้านหมี่ คาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติภายใน 4-5 วัน

2. พิษณุโลก

เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม.2553 ระดับน้ำในแม่น้ำยมเพิ่มสูงขึ้นทำให้น้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรและบ้านเรือน (เป็นพื้นที่น้ำท่วมประจำ) ในเขต อ.บางระกำ เนื่องจากยังมีน้ำไหลจากจังหวัดสุโขทัยและจังหวัดแพร่อย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันระดับน้ำยังคงเพิ่มขึ้นอีก

3. สุโขทัย

เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2553 เนื่องจากปริมาณน้ำในแม่น้ำยมมีปริมาณเพิ่มขึ้น ทำให้เกิด น้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำ(เป็นพื้นที่น้ำท่วมประจำ)8 อำเภอ ได้แก่ ศรีสัชนาลัย สวรรคโลก ศรีสำโรง เมือง กงไกรลาศ คีรีมาศ ทุ่งเสลี่ยม และ ลานหอย ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมใน อ.เมือง และ อ.กงไกรลาศ คาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติ 1-2 วัน

4. เพชรบูรณ์

เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2553 เกิดฝนตกหนักทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ วิเชียรบุรี หล่มเก่า หนองไผ่ และวังโป่ง คาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติในวันนี้

5. ร้อยเอ็ด

เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2553 เกิดฝนตกหนัก ทำให้เกิดน้ำท่วมขัง ในเขตลำน้ำยังตอนล่าง อ.เสลภูมิ ระดับน้ำในลำยังเริ่มลดลงแล้ว คาดว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติภายใน 4 วัน

6. กาฬสินธุ์

เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2553 เกิดฝนตกหนัก ทำให้เกิดน้ำท่วมขัง 10 อำเภอ ได้แก่ กมลาไสย ร่องคำ นาคู ฆ้องชัย ดอนจาน เมือง เขาวง ยางตลาด สหัสขันธ์ และกุฉินารายณ์ ปัจจุบันระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง

7. นครราชสีมา

เมื่อวันที่ 3-4 กันยายน 2553 เกิดฝนตกหนักทำให้เกิดน้ำท่วมขังระบายไม่ทันในพื้นที่ อำเภอเมือง 2 ตำบล(หนองบัวศาลา หัวทะเล หากไม่มีฝนตกลงมาเพิ่มคาดว่า สถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติภายใน 2 วัน

8. มุกดาหาร

เมื่อวันที่ 26-29 สิงหาคม 2553 เกิดฝนตกหนักทำให้เกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ เมือง นิคมคำสร้อย ดอนตาล ดงหลวง คำชะอี ว่านใหญ่ และหนองสูง คาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติภายในวันที่ 7 กันยายน 2553

9. ชัยภูมิ

เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม.2553 เกิดฝนตกหนักทำให้เกิดน้ำท่วมบ้านเรือนและพื้นที่ลุ่มต่ำการเกษตร 2 อำเภอ ได้แก่ หนองบัวระเหว และภักดีชุมพล คาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติ 1-2 วัน

10.อุดรธานี

เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2553 เกิดฝนตกหนักทำให้เกิดน้ำท่วมบ้านเรือนและพื้นที่ลุ่มต่ำการเกษตร 2 อำเภอ ได้แก่ น้ำโสม และนายูง คาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติในวันนี้

11.สกลนคร

เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2553 เกิดฝนตกหนักทำให้เกิดน้ำท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำการเกษตร 7 อำเภอ ได้แก่ เมือง โคกศรีสุพรรณ โพนนาแก้ว อากาศอำนวย บ้านม่วง สว่างแดนดิน และวานรนิวาส ปัจจุบันระดับน้ำเริ่มลดลง

12.ขอนแก่น

เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2553 เกิดฝนตกหนักทำให้เกิดน้ำท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำการเกษตร 2 อำเภอ ได้แก่ แวงใหญ่ และชนบท ปัจจุบันระดับน้ำเริ่มลดลง

13.อุบลราชธานี

เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2553 เกิดฝนตกหนักทำให้เกิดน้ำท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำการเกษตร 4 อำเภอ ได้แก่ เหล่าเสือโกก โพธิ์ไทร ม่วงสามสิบ และ ดอนมดแดง ปัจจุบันระดับน้ำเริ่มลดลงอย่างต่อเนื่อง

14.มหาสารคาม

เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2553 เกิดฝนตกหนักทำให้เกิดน้ำท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำการเกษตร 2 อำเภอ ได้แก่ เชียงยืน และโกสุมพิสัย ปัจจุบันระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง

15.สระบุรี

เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2553 เกิดฝนตกหนักทำให้เกิดท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำเขตเทศบาลตำบลหนองแค อ.หนองแค คาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติในวันนี้

16.นครนายก

เมื่อวันที่ 27-28 สิงหาคม 2553 เกิดฝนตกหนักต่อเนื่องทำให้เกิดน้ำท่วมบ้านเรือนและพื้นที่ลุ่มต่ำ การเกษตร 2 อำเภอ ได้แก่ ปากพลี และบ้านนา คาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติในวันนี้

สถานการณ์น้ำ

1. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั้งประเทศ (6 กันยายน 2553) มีปริมาณน้ำทั้งหมด 43,103 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 59 ของความจุอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน (40,451 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 2,652 ล้านลูกบาศก์เมตร (ปริมาณน้ำใช้การได้ 19,262 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 26 ของความจุอ่างฯ) น้อยกว่าปี 2552 (48,676 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 66) จำนวน 5,573 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถรับน้ำได้อีก 30,452 ล้านลูกบาศก์เมตร

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ (6 กันยายน 2553) มีปริมาณน้ำทั้งหมด 40,523 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 55 ของความจุอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน(38,204 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 2,319 ล้านลูกบาศก์เมตร (ปริมาณน้ำใช้การได้ 17,000 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 24 ของความจุอ่างฯ) น้อยกว่าปี 2552 (46,298 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 67) จำนวน 5,775 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถรับน้ำได้อีก 20,072 ล้านลูกบาศก์เมตร

ปริมาณน้ำไหลลงอ่างภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อย และป่าสักฯ

                                                                                      หน่วย : ล้านลูกบาศก์เมตร
อ่างเก็บน้ำ    ม.ค.   ก.พ.   มี.ค.  เม.ย.    พ.ค.    มิ.ย.    ก.ค.      ส.ค. 1-6 ก.ย.       รวม       เฉลี่ย
                                                                                            1 ม.ค. - 6 ก.ย.
1.ภูมิพล     52.09   1.74   4.95      0    15.6   34.06   146.2  1,074.79   335.15  1,664.58   2,400.90
2.สิริกิติ์    136.62  97.73  85.93  69.12  114.18  150.64  622.74  2,184.19   591.01  4,052.16   3,598.25
1+2       188.71  99.47  90.88  69.12  129.78   184.7  768.94  3,258.98   926.16  5,716.74   5,999.15
3.แควน้อย   42.49  25.69  31.19  14.35   19.65   33.36   75.36    215.63    93.71    551.43     874.46
4.ป่าสัก     41.06   5.51     19  10.18   17.44   27.91    5.72     387.7   195.19    709.71     772.09
รวม 4 อ่าง 272.26 130.67 141.07  93.65  166.87  245.97  850.02  3,862.31 1,215.06  6,977.88   7,645.70

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ และป่าสักชลสิทธิ์

                                                                              หน่วย : ล้านลูกบาศก์เมตร
อ่างเก็บน้ำ        ปริมาตรน้ำ        ปริมาตรน้ำ     ปริมาตรน้ำ           ปริมาณน้ำ         ปริมาณน้ำ    ปริมาณน้ำ
                ในอ่างปี52       ในอ่างปี 53     ใช้การได้           ไหลลงอ่าง          ระบาย      รับได้อีก
            ปริมาตรน้ำ   %    ปริมาตรน้ำ   %   ปริมาตรน้ำ    %      วันนี้  เมื่อวาน      วันนี้ เมื่อวาน
ภูมิพล           6,486  48       5,307  39      1,507   11    40.19   54.71      1.5    1.5    8,155
สิริกิติ์           5,412  57       6,186  65      3,336   35    52.66   58.64     1.48    1.4    3,324
ภูมิพล+สิริกิติ์     11,898  52      11,493  50      4,843   21    92.85  113.35     2.98    2.9   11,479
แควน้อยฯ          175  23         497  65        461   60    26.01    8.38      1.3    1.3      272
ป่าสักชลสิทธิ์        371  39         472  49        469   49    39.71   43.66    35.18  34.98      488

อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยกว่าร้อยละ 30 ของความจุอ่างฯ จำนวน 2 อ่าง ได้แก่ แก่งกระจาน(28) และปราณบุรี(26) ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา จำนวน 1 อ่างฯ ได้แก่ มูลบน

อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้ำมากกว่าร้อยละ 80 ของความจุอ่างฯ จำนวน 4 อ่าง คือ ห้วยหลวง (93) ลำปาว(87) (หนองปลาไหล(88) และประแสร์(83)

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ภาคตะวันออก

จังหวัดชลบุรี มีอ่างเก็บน้ำ 7 อ่าง รวมปริมาณน้ำ 88.5 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 50 ของความจุอ่างฯ (มากกว่าปี 2552 จำนวน 9.3 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 12) ปริมาณน้ำใช้การได้ 73 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 41 ของความจุอ่างฯ

จังหวัดระยอง มีอ่างเก็บน้ำ 4 แห่ง รวมปริมาณน้ำ 439.2 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 84 ของความจุอ่างฯ (มากกว่าปี 2552 จำนวน 78.9 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 22) ปริมาณน้ำใช้การได้ 411 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 78 ของความจุอ่างฯ

2. สภาพน้ำท่า

ปริมาณน้ำในลำน้ำต่าง ตามสถานีสำรวจปริมาณน้ำท่า กรมชลประทาน พบว่ามีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำมาก 10 สถานี และน้ำท่วม 5 สถานี ดังนี้

แม่น้ำ          จังหวัด          สถานีสำรวจปริมาณน้ำท่า                     ระดับตลิ่ง    ระดับน้ำ   เกณฑ์    แนวโน้ม
                                                                     (เมตร)    (เมตร)
ยม            พิษณุโลก         บ้านบางระกำ ( Y.16 )  อ.บางระกำ            7.15      8.13   ท่วม     เพิ่มขึ้น
ยม            พิจิตร           บ้านสามง่าม ( Y.17 )  อ.สามง่าม              6.71      5.18   มาก     เพิ่มขึ้น
น่าน           พิจิตร           บ้านบางมูลนาก ( N.8A ) อ.บางมูลนาก          10.87     10.17   มาก     ลดลง
ป่าสัก          เพชรบูรณ์        บ้านบ่อวัง  ( S.42 )  อ.วิเชียรบุรี              10.2     11.42   ท่วม     เพิ่มขึ้น
ชี             ชัยภูมิ           บ้านค่าย ( E.23 )  อ.เมือง                    8.5      8.92   ท่วม     เพิ่มขึ้น
ชี             ขอนแก่น         บ้านโจด ( E.9 )  อ.มัญจาคีรี                  10.5     10.21   มาก     เพิ่มขึ้น
ชี             มหาสารคาม      ( E.91 )  อ.โกสุมพิสัย                       11.7      9.53   มาก     ลดลง
ชี             ยโสธร          แนวสะพาน ( E.20A )   อ.มหาชนะชัย            9.5      9.99   ท่วม     เพิ่มขึ้น
โขง           หนองคาย        วัดลำดวน( Kh.1 ) อ.เมือง                      13      9.62   มาก     ลดลง
โขง           นครพนม         บ้านท่าควาย( Kh.16B ) อ.เมือง                  13     10.29   มาก     ลดลง
มูล            บุรีรัมย์          บ้านสตึก ( M.6A )  อ.สตึก                     5.4       5.6   ท่วม     เพิ่มขึ้น
มูล            อุบลราชธานี      สะพานเสรีประชาธิปไตย ( M.7 ) อ.เมือง            7      6.48   มาก     เพิ่มขึ้น
แม่กลอง        กาญจนบุรี        หน้าวัดไชยชุมพล(วัดใต้) (K.3) อ.เมือง            7.5      7.19   มาก     ลดลง
ปราจีนบุรี       ปราจีนบุรี        บ้านกบินทร์ ( Kgt.3 )  อ.กบินทร์บุรี             9.68       8.6   มาก     เพิ่มขึ้น
ปราจีนบุรี       ปราจีนบุรี        บ้านในเมือง ( Kgt.1 )  อ.เมือง               4.13      3.66   มาก     เพิ่มขึ้น

การดำเนินการตามแผนเตรียมสถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตร

1. แจ้งเตือนผ่านศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตรจังหวัด เรื่อง ฝนตกหนักและน้ำท่วมฉับพลัน ช่วงวันที่ 1-3 กันยายน 2553 ให้จังหวัดที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยแจ้งเตือนให้เกษตรกรเตรียมการรับสถานการณ์ฝนตกหนักและน้ำท่วมฉับพลัน บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณที่ลาดเชิงเขา หรือที่ลุ่มใกล้ทางน้ำไหลของภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก อาจเกิดน้ำป่าไหลหลากและดินถล่มได้

2. สนับสนุนเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ จำนวน 595 เครื่อง ในพื้นที่ 52 จังหวัด ดังนี้

ภาคเหนือ 15 จังหวัด จำนวน 174 เครื่อง ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่(31) นครสวรรค์(4) เพชรบูรณ์(4) ลำปาง(34) น่าน(12) พิษณุโลก(2) แพร่(9) ตาก(16) ลำพูน(15) พะเยา(5) แม่ฮ่องสอน(18) เชียงราย(3) อุตรดิตถ์(5) สุโขทัย(6) กำแพงเพชร(10)

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 15 จังหวัด จำนวน 200 เครื่อง ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา(42) ขอนแก่น(7) มหาสารคาม(5) ร้อยเอ็ด(11) กาฬสินธุ์(44) อุบลราชธานี(6) นครพนม(14) มุกดาหาร(11) อำนาจเจริญ(14) สุรินทร์ (7) ศรีสะเกษ(7) อุดรธานี(2) สกลนคร(9) ยโสธร(12) บุรีรัมย์(9)

ภาคกลาง 11 จังหวัด จำนวน 86 เครื่อง ได้แก่ จังหวัดชัยนาท(10) พระนครศรีอยุธยา(2) สิงห์บุรี(1) นนทบุรี(7) ปทุมธานี(8) นครปฐม(5) สุพรรณบุรี(3) ราชบุรี(29) อุทัยธานี(15) อ่างทอง(2) กาญจนบุรี(4)

ภาคตะวันออก 3 จังหวัด จำนวน 47 เครื่อง ได้แก่ จังหวัดนครนายก(14) ปราจีนบุรี(16) ฉะเชิงเทรา (17)

ภาคใต้ 8 จังหวัด จำนวน 88 เครื่อง ได้แก่ จังหวัด เพชรบุรี(39) นครศรีธรรมราช(15) พังงา(1) สงขลา (14) ยะลา(6) พัทลุง(2) ปัตตานี(3) ชุมพร(8)

3. สนับสนุนพืชอาหารสัตว์ จำนวน 22,200 กิโลกรัม (เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 10,000 กิโลกรัม) แร่ธาตุและเวชภัณฑ์ 160 ชุด และดูแลสุขภาพสัตว์ 5,358 ตัว(เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 2,160 ตัว) ในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย น่าน เพชรบูรณ์ และอุตรดิตถ์ ผลกระทบด้านการเกษตร

อุทกภัย ช่วงภัยวันที่ 3 -31 สิงหาคม 2553 (ข้อมูล ณ วันที่ 6 ก.ย. 2553)

ประสบภัยด้านการเกษตร 36 จังหวัด ได้แก่

ภาคเหนือ 15 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก น่าน พะเยา พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน สุโขทัย อุตรดิตถ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 11 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาฬสินธุ์ ชัยภูมิ นครพนม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย หนองคาย หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ อุบลราชธานี

ภาคกลาง 6 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ กาญจนบุรี ลพบุรี นครปฐม สระบุรี สุพรรณบุรี

ภาคตะวันออก 4 จังหวัด ได้แก่ ตราด จันทบุรี ปราจีนบุรี นครนายก

คาดว่าจะเสียหาย ด้านพืช จำนวน 830,964 ไร่ ด้านประมง จำนวน 6,291 ไร่ และ 10,286 ตารางเมตร และด้านปศุสัตว์ จำนวน 324,074 ตัว (ส่วนใหญ่เป็นสัตว์ปีก)

ภาค                     ด้านพืช                 ด้านประมง                       ด้านปศุสัตว์
               เกษตรกร     คาดว่าจะ    เกษตรกร   คาดว่าจะเสียหาย     เกษตรกร   สัตว์ได้รับ     แปลงหญ้า
                            เสียหาย                                          ผลกระทบ
                   ราย          ไร่        ราย     ไร่     ตรม.         ราย        ตัว          ไร่
เหนือ            70,773     517,736      4,130   3,585     128       8,792   293,158          10
ต.อ.เฉียงเหนือ    41,531     279,053      3,739   2,651   4,375         279    30,916           -
กลาง             2,015      30,729         23      55   5,783           -         -           -
ตะวันออก             19       3,446          -       -       -           -         -           -
รวม            114,338     830,964      7,892   6,291  10,286       9,071   324,074          10

การดำเนินการ

อยู่ระหว่างสำรวจความเสียหายเพื่อให้การช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 7 กันยายน 2553--จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ