คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงพาณิชย์สรุปรายงานการส่งออกข้าวในปี 2549 และแนวโน้ม ปี 2550 ดังนี้
1. ปริมาณและมูลค่าการส่งออก
รายการ ปี 2548 % ปี 2549 % เพิ่ม/ลด (%)
1. ปริมาณ (ล้านตัน)
ข้าวหอมมะลิไทย 2.268 31 2.572 35 13.4
ข้าวขาว 2.526 35 2.539 34 0.5
ข้าวอื่น ๆ 2.51 34 2.304 31 -8.2
รวม 7.304 100 7.415 100 1.5
2. มูลค่า(ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
ข้าวหอมมะลิไทย 867 38 1,056 41 21.8
ข้าวขาว 724 32 799 31 10.4
ข้าวอื่น ๆ 687 30 697 28 1.5
รวม 2,278 100 2,552 100 12
3. ราคาส่งออกเฉลี่ย (USD/ตัน) 312 344 10.3
2. ตลาด ในปี 2549 กระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินการควบคุมคุณภาพข้าว การประชาสัมพันธ์และขยายตลาดข้าวไทยในต่างประเทศ ทำให้ประเทศผู้นำเข้ามีความเชื่อถือในมาตรฐานและคุณภาพข้าวของไทย ข้าวไทยจึงยังคงรักษาตลาดข้าวคุณภาพดี โดยเฉพาะตลาดจีน สหรัฐอเมริกา และโกตดิวัวร์ได้นำเข้าข้าวหอมมะลิไทยที่มีราคาสูงปริมาณมากอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งอิรักและอิหร่าน ซึ่งเคยนำเข้าจากเวียดนามก็ได้กลับมาสั่งซื้อข้าวขาว 100% จากไทย นอกจากนี้ การจำหน่ายข้าวสารในสต็อกรัฐบาลปริมาณ 2.892 ล้านตัน ช่วยให้ผู้ส่งออกมีข้าวพร้อมส่งมอบให้แก่ลูกค้าได้ตามกำหนดระยะเวลา ส่งผลให้ปริมาณและมูลค่าการส่งออกข้าวมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นและราคาข้าวเปลือกอยู่ในระดับสูงอย่างมีเสถียรภาพต่อเนื่อง อนึ่ง เมื่อกระทรวงพาณิชย์ได้ตกลงขายข้าวให้แก่รัฐบาลอิหร่านปริมาณ 200,000 ตัน ในเดือนธันวาคม 2549 ได้ทำให้ตลาดภายในประเทศมีความเคลื่อนไหวซื้อขายข้าวขาวมากขึ้น โดยราคาข้าวเปลือกเจ้า 5% ได้เพิ่มสูงขึ้นจากตันละ 6,168 บาท ในเดือนพฤศจิกายน เป็นตันละ 6,250 บาท ในเดือนธันวาคม 2549 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3
3. แนวโน้มการส่งออกข้าวปี 2550 คาดว่า การส่งออกข้าวไทยจะมีแนวโน้มดีขึ้นกว่าปี 2549 เนื่องจากสภาพคลื่นความร้อนและแห้งแล้ง (EL Nino) จะทำให้ผลผลิตข้าวในหลายประเทศมีแนวโน้มลดลง และประเทศผู้นำเข้าข้าวจะต้องนำเข้าข้าวปริมาณมากเพื่อป้องกันการขาดแคลนข้าว โดยเฉพาะอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ จีน อิรัก และอิหร่าน ในขณะที่ผลผลิตข้าวของเวียดนามและสหรัฐอเมริกาจะมีแนวโน้มลดลงและจะส่งออกข้าวได้ปริมาณจำกัด จะส่งผลให้ประเทศผู้นำเข้าข้าวหันมานำเข้าข้าวจากไทยปริมาณมาก ทั้งนี้ เนื่องจากประเทศไทยเป็นแหล่งเดียว
ที่มีข้าวส่งออกปริมาณมาก ดังนั้น กระทรวงพาณิชย์จะเร่งผลักดันส่งเสริมการส่งออกข้าวภาคเอกชนและภาครัฐบาล โดยจัดทำแผนการตลาดซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมประชาสัมพันธ์และขยายตลาดข้าวไทยในต่างประเทศ โดยในปี 2550 กระทรวงพาณิชย์กำหนดเป้าหมายการส่งออกข้าวไว้ปริมาณ 8.5 ล้านตัน มูลค่า 2,600 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งสูงกว่าปี 2549 ร้อยละ 14.9 และร้อยละ 1.9 ตามลำดับ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--
1. ปริมาณและมูลค่าการส่งออก
รายการ ปี 2548 % ปี 2549 % เพิ่ม/ลด (%)
1. ปริมาณ (ล้านตัน)
ข้าวหอมมะลิไทย 2.268 31 2.572 35 13.4
ข้าวขาว 2.526 35 2.539 34 0.5
ข้าวอื่น ๆ 2.51 34 2.304 31 -8.2
รวม 7.304 100 7.415 100 1.5
2. มูลค่า(ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
ข้าวหอมมะลิไทย 867 38 1,056 41 21.8
ข้าวขาว 724 32 799 31 10.4
ข้าวอื่น ๆ 687 30 697 28 1.5
รวม 2,278 100 2,552 100 12
3. ราคาส่งออกเฉลี่ย (USD/ตัน) 312 344 10.3
2. ตลาด ในปี 2549 กระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินการควบคุมคุณภาพข้าว การประชาสัมพันธ์และขยายตลาดข้าวไทยในต่างประเทศ ทำให้ประเทศผู้นำเข้ามีความเชื่อถือในมาตรฐานและคุณภาพข้าวของไทย ข้าวไทยจึงยังคงรักษาตลาดข้าวคุณภาพดี โดยเฉพาะตลาดจีน สหรัฐอเมริกา และโกตดิวัวร์ได้นำเข้าข้าวหอมมะลิไทยที่มีราคาสูงปริมาณมากอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งอิรักและอิหร่าน ซึ่งเคยนำเข้าจากเวียดนามก็ได้กลับมาสั่งซื้อข้าวขาว 100% จากไทย นอกจากนี้ การจำหน่ายข้าวสารในสต็อกรัฐบาลปริมาณ 2.892 ล้านตัน ช่วยให้ผู้ส่งออกมีข้าวพร้อมส่งมอบให้แก่ลูกค้าได้ตามกำหนดระยะเวลา ส่งผลให้ปริมาณและมูลค่าการส่งออกข้าวมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นและราคาข้าวเปลือกอยู่ในระดับสูงอย่างมีเสถียรภาพต่อเนื่อง อนึ่ง เมื่อกระทรวงพาณิชย์ได้ตกลงขายข้าวให้แก่รัฐบาลอิหร่านปริมาณ 200,000 ตัน ในเดือนธันวาคม 2549 ได้ทำให้ตลาดภายในประเทศมีความเคลื่อนไหวซื้อขายข้าวขาวมากขึ้น โดยราคาข้าวเปลือกเจ้า 5% ได้เพิ่มสูงขึ้นจากตันละ 6,168 บาท ในเดือนพฤศจิกายน เป็นตันละ 6,250 บาท ในเดือนธันวาคม 2549 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3
3. แนวโน้มการส่งออกข้าวปี 2550 คาดว่า การส่งออกข้าวไทยจะมีแนวโน้มดีขึ้นกว่าปี 2549 เนื่องจากสภาพคลื่นความร้อนและแห้งแล้ง (EL Nino) จะทำให้ผลผลิตข้าวในหลายประเทศมีแนวโน้มลดลง และประเทศผู้นำเข้าข้าวจะต้องนำเข้าข้าวปริมาณมากเพื่อป้องกันการขาดแคลนข้าว โดยเฉพาะอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ จีน อิรัก และอิหร่าน ในขณะที่ผลผลิตข้าวของเวียดนามและสหรัฐอเมริกาจะมีแนวโน้มลดลงและจะส่งออกข้าวได้ปริมาณจำกัด จะส่งผลให้ประเทศผู้นำเข้าข้าวหันมานำเข้าข้าวจากไทยปริมาณมาก ทั้งนี้ เนื่องจากประเทศไทยเป็นแหล่งเดียว
ที่มีข้าวส่งออกปริมาณมาก ดังนั้น กระทรวงพาณิชย์จะเร่งผลักดันส่งเสริมการส่งออกข้าวภาคเอกชนและภาครัฐบาล โดยจัดทำแผนการตลาดซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมประชาสัมพันธ์และขยายตลาดข้าวไทยในต่างประเทศ โดยในปี 2550 กระทรวงพาณิชย์กำหนดเป้าหมายการส่งออกข้าวไว้ปริมาณ 8.5 ล้านตัน มูลค่า 2,600 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งสูงกว่าปี 2549 ร้อยละ 14.9 และร้อยละ 1.9 ตามลำดับ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--