คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติการติดตามทวงถามหนี้อย่างเป็นธรรม พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของสำนักงาน ก.พ. กระทรวงยุติธรรม สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
ข้อเท็จจริง
กระทรวงการคลังเสนอว่า
1. ปัจจุบันมีการติดตามทวงถามหนี้ที่ไม่เป็นธรรมในหลายลักษณะ เช่น ส่งเอกสารทวงหนี้ไปที่ทำงานเพื่อให้เกิดความอับอาย ข่มขู่ ใช้คำพูดไม่สุภาพหยาบคาย ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมและไม่เป็นธรรมต่อลูกหนี้หรือ ผู้บริโภค รวมทั้งสร้างความรำคาญให้แก่บุคคลที่สามที่ไม่ใช่ลูกหนี้ อันส่งผลกระทบต่อสังคมและสร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนโดยรวมเป็นจำนวนมาก
2. ในปี 2550 สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้เสนอร่างพระราชบัญญัติการติดตามทวงถามหนี้อย่างเป็นธรรม พ.ศ. .... ต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งคณะกรรมาธิการได้พิจารณาเสร็จแล้ว แต่สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
3. ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกแนวปฏิบัติในการติดตามทวงถามหนี้กับลูกหนี้แก่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน และผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้กำกับที่มิใช่สถาบันการเงินทุกแห่ง โดยมิได้มีบทลงโทษแก่ผู้ฝ่าฝืน และไม่ครอบคลุมถึงการกำกับดูแลการประกอบธุรกิจติดตามทวงถามหนี้ หรือการรับจ้าง หรือการรับมอบอำนาจจากนิติบุคคลผู้ให้สินเชื่อดังกล่าว ดังนั้น สมควรกำหนดหลักเกณฑ์ เพื่อแก้ไขปัญหาอันเกิดจากการติดตามทวงถามหนี้และสร้างมาตรฐานในการติดตามทวงถามหนี้ที่เหมาะสม
สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
ประเด็น สาระสำคัญ บทนิยาม “หนี้” หมายความว่า หนี้ที่เกิดจากสินเชื่อ รวมถึงการค้ำ (ร่างมาตรา 3) ประกันสินเชื่อ “สินเชื่อ” หมายความว่า การให้กู้ยืมเงิน การให้บริการบัตร เครดิต การให้เช่าซื้อ และการให้เช่าแบบลิสซิ่งแก่บุคคล ธรรมดา และธุรกรรมอื่นที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด การติดตามทวงถามหนี้ 1. ห้ามมิให้บุคคลใดประกอบธุรกิจติดตามทวงถามหนี้ (ร่างมาตรา 5-14) เว้นแต่จะได้จดทะเบียนการประกอบธุรกิจติดตามทวง ถามหนี้ 2. ห้ามมิให้ผู้ติดตามหนี้ติดต่อบุคคลอื่นที่มิใช่ผู้บริโภค การติดต่อกับผู้บริโภคให้ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด 3. ผู้ติดตามหนี้อาจติดต่อบุคคลอื่นที่มิใช่ผู้บริโภคเพื่อให้ ได้มาซึ่งข้อมูล สถานติดต่อผู้บริโภคได้ โดยถือปฏิบัติตาม หลักเกณฑ์ที่กำหนด 4. ในการติดตามทวงถามหนี้ ห้ามมิให้ผู้ติดตามหนี้กระทำ การในลักษณะที่เป็นการละเมิด คุกคาม เป็นเท็จ ทำให้ เข้าใจผิดและไม่เป็นธรรม การกำกับดูและการตรวจสอบ 1. ให้มีคณะกรรมการกำกับการติดตามทวงถามหนี้ โดยมี (ร่างมาตรา 15-27) ปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธาน มีอำนาจหน้าที่กำกับ ดูแลการติดตามทวงถามหนี้ของผู้ติดตามหนี้ 2. ให้สำนักงานปลัดกระทรวงการคลังรับผิดชอบในงานธุรการของ คณะกรรมการฯ และมีหน้าที่รับเรื่องราวร้องทุกข์ จากผู้บริโภคที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย กำกับการ ทำงานของผู้ติดตามหนี้ ดำเนินคดีเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิ ของผู้บริโภค เป็นต้น บทกำหนดโทษ 1. กำหนดโทษจำคุกและโทษปรับ (ร่างมาตรา 28-35) 2. กำหนดให้มีคณะกรรมการเปรียบเทียบจำนวน 3 คน มี อำนาจเปรียบเทียบได้ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ กำหนด บทเฉพาะกาล กำหนดให้บุคคลใดที่ประกอบธุรกิจติดตามทวงถามหนี้อยู่ (ร่างมาตรา 36) ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ยื่นขอจดทะเบียน ภายใน 90 วัน ในระหว่างการยื่นคำขอให้ผู้นั้นประกอบธุรกิจ ต่อไปจนกว่าคณะกรรมการจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 14 กันยายน 2553--จบ--