สรุปสถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตรปี 2553 ครั้งที่ 30

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday September 15, 2010 16:23 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีรับทราบข้อมูลสรุปสถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตรปี 2553 ครั้งที่ 30 ณ วันที่ 13 กันยายน 2553 ประกอบด้วย สถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตร สถานการณ์น้ำ และการดำเนินการตามแผนเตรียมรับสถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตรปี 2553 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สรุปได้ดังนี้

สถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตร

สถานการณ์อุทกภัย

ปัจจุบันมีสถานการณ์อุทกภัย จำนวน 9 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย สุโขทัย พิษณุโลก นครสวรรค์ พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี ชัยภูมิ สกลนคร

1. จังหวัดเชียงราย สถานการณ์น้ำป่าไหลหลาก ในพื้นที่อำเภอเมือง ตำบลนางแล

2. จังหวัดสุโขทัย สถานการณ์น้ำล้นตลิ่ง ในพื้นที่อำเภอกงไกรลาศ ตำบลกง แนวโน้มระดับน้ำทรงตัว

3. จังหวัดพิษณุโลก สถานการณ์น้ำล้นตลิ่ง ในพื้นที่อำเภอบางระกำ แนวโน้มระดับน้ำลดลง

4. จังหวัดนครสวรรค์ สถานการณ์น้ำท่วมขัง ในพื้นที่อำเภอชุมแสง ตำบลบางเคียน โคกหม้อ แนวโน้มระดับน้ำทรงตัว

5. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สถานการณ์น้ำล้นตลิ่ง ในพื้นที่อำเภอพระนครศรีอยุธยา บางไทร มหาราช ผักไห่ บางบาล แนวโน้มระดับน้ำทรงตัว

6. จังหวัดลพบุรี สถานการณ์น้ำท่วมขัง ในพื้นที่อำเภอบ้านหมี่ ตำบลหนองเมือง บ้านกล้วย บ้านทราย หากไม่มีฝนตกลงมาเพิ่ม คาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติภายใน 5 วัน

7. จังหวัดสระบุรี สถานการณ์น้ำล้นตลิ่ง ในพื้นที่อำเภอบ้านหมอ ตำบลหนองบัว หากไม่มีฝนตกลงมาเพิ่ม คาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติภายใน 7 วัน

8. จังหวัดชัยภูมิ สถานการณ์น้ำท่วมขัง ในพื้นที่อำเภอบ้านเขว้า จัตุรัส หากไม่มีฝนตกลงมาเพิ่ม คาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติภายใน 5 วัน

9. จังหวัดสกลนคร สถานการณ์น้ำท่วมขัง ในพื้นที่อำเภอเมือง โคกสีสุพรรณ โพนนาแก้ว หากไม่มีฝนตกลงมาเพิ่ม คาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติภายใน 5 วัน

สถานการณ์น้ำ

1. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั้งประเทศ (13 กันยายน 2553) มีปริมาณน้ำทั้งหมด 44,290 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 60 ของความจุอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน (43,103 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 1,187 ล้านลูกบาศก์เมตร (ปริมาณน้ำใช้การได้ 20,449 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 28 ของความจุอ่างฯ) น้อยกว่าปี 2552 (50,039 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 68) จำนวน 5,749 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถรับน้ำได้อีก 29,265 ล้านลูกบาศก์เมตร

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ (13 กันยายน 2553) มีปริมาณน้ำทั้งหมด 41,620 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 60 ของความจุอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน(40,523 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 1,097 ล้านลูกบาศก์เมตร (ปริมาณน้ำใช้การได้ 18,097 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 26 ของความจุอ่างฯ) น้อยกว่าปี 2552 (47,499 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 68) จำนวน 5,879 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถรับน้ำได้อีก 27,975 ล้านลูกบาศก์เมตร

ปริมาณน้ำไหลลงอ่างภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อย และป่าสักฯ

                                                                              หน่วย : ล้านลูกบาศก์เมตร
อ่างเก็บน้ำ   1 ม.ค.-30 เม.ย.  1 พ.ค.- 31 ส.ค.  1-13 ก.ย.        รวม        เฉลี่ย          ผลต่างปี53 กับ
                                                                    1 ม.ค.-13 ก.ย.        ค่าเฉลี่ย
1.ภูมิพล          58.78          1,270.65        501.19    1,830.62      2,752.01          -921.39
2.สิริกิติ์          389.4          3,071.75        839.73    4,300.88      3,945.73           355.15
ภูมิพล+สิริกิติ์      448.18          4,342.40      1,340.92    6,131.50      6,697.74          -566.24
3.แควน้อย       113.72               344        184.43      642.15      1,006.39          -364.24
4.ป่าสัก          75.75            438.77        427.47      941.99        873.73            68.26
รวม 4 อ่าง      637.65          5,125.17      1,952.82    7,715.64      7,645.70          -862.22

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ และป่าสักชลสิทธิ์

                                                                              หน่วย : ล้านลูกบาศก์เมตร
อ่างเก็บน้ำ        ปริมาตรน้ำ        ปริมาตรน้ำ     ปริมาตรน้ำ           ปริมาณน้ำ         ปริมาณน้ำ    ปริมาณน้ำ
                ในอ่างปี52       ในอ่างปี 53     ใช้การได้           ไหลลงอ่าง          ระบาย      รับได้อีก
            ปริมาตรน้ำ   %    ปริมาตรน้ำ   %   ปริมาตรน้ำ    %      วันนี้  เมื่อวาน      วันนี้ เมื่อวาน
ภูมิพล           6,649  49       5,458  41      1,658   12    27.88   24.91        2      2    8,005
สิริกิติ์           5,453  57       6,410  67      3,560   37    44.31    35.7     2.92   2.97    3,100
ภูมิพล+สิริกิติ์     12,102  53      11,868  52      5,218   23    72.19   60.61     4.92   4.97   11,104
แควน้อยฯ          216  28         551  72        515   67     8.48   12.08     3.89   3.89      218
ป่าสักชลสิทธิ์        487  51         577  60        574   60    37.24    33.6    16.15  15.93      383

อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยกว่าร้อยละ 30 ของความจุอ่างฯ จำนวน 2 อ่าง ได้แก่

แก่งกระจาน(29) และปราณบุรี(27) เท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้ำมากกว่าร้อยละ 80 ของความจุอ่างฯ จำนวน 4 อ่าง คือ

1. ห้วยหลวง ปริมาณน้ำ 111 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 94 สามารถรับน้ำได้อีก 7 ล้านลูกบาศก์เมตร

2. ลำปาว ปริมาณน้ำ 1,322 ล้านลูกบาศก์เมตรคิดเป็นร้อยละ 92 ของความจุอ่างฯ สามารถรับน้ำได้อีก 108 ล้านลูกบาศก์เมตร

3. หนองปลาไหล ปริมาณน้ำ 146 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 89 ของความจุอ่างฯ สามารถรับน้ำได้อีก 18 ล้านลูกบาศก์เมตร

4. ประแสร์ ปริมาณน้ำ 203 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 82 ของความจุอ่างฯ สามารถรับน้ำได้อีก 45 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ภาคตะวันออก

จังหวัดชลบุรี มีอ่างเก็บน้ำ 7 อ่าง รวมปริมาณน้ำ 89.98 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 50 ของความจุอ่างฯ (มากกว่าปี 2552 จำนวน 11.52 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 15) ปริมาณน้ำใช้การได้ 75 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 42 ของความจุอ่างฯ

จังหวัดระยอง มีอ่างเก็บน้ำ 4 แห่ง รวมปริมาณน้ำ 439.6 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 84 ของความจุอ่างฯ (มากกว่าปี 2552 จำนวน 67.5 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 18) ปริมาณน้ำใช้การได้ 411 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 79 ของความจุอ่างฯ

2. สภาพน้ำท่า

ปริมาณน้ำในลำน้ำต่าง ตามสถานีสำรวจปริมาณน้ำท่า กรมชลประทาน พบว่ามีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำมาก 8 สถานี และน้ำท่วม 4 สถานี ดังนี้

แม่น้ำ         จังหวัด          สถานีสำรวจปริมาณน้ำท่า                 ระดับตลิ่ง (เมตร)   ระดับน้ำ    เกณฑ์     แนวโน้ม
                                                                                (เมตร)
ยม           พิษณุโลก         บ้านบางระกำ ( Y.16 )  อ.บางระกำ               7.15     8.67    ท่วม      ลดลง
ยม           พิจิตร           บ้านสามง่าม ( Y.17 )  อ.สามง่าม                 6.71     5.39    มาก      ทรงตัว
น่าน          นครสวรรค์       สะพานบ้านเกยไชย ( N.67 )  อ.ชุมแสง            27.45    25.98    มาก      เพิ่มขึ้น
ป่าสัก         เพชรบูรณ์        บ้านบ่อวัง  ( S.42 )  อ.วิเชียรบุรี                 10.2    11.18    ท่วม      ลดลง
ชี            ชัยภูมิ           บ้านค่าย ( E.23 )  อ.เมือง                       8.5      8.7    ท่วม      ลดลง
ชี            ขอนแก่น         บ้านโจด ( E.9 )  อ.มัญจาคีรี                     10.5     8.49    มาก      ลดลง
ชี            ยโสธร          แนวสะพาน ( E.20A )   อ.มหาชนะชัย               9.5    10.18    ท่วม      เพิ่มขึ้น
มูล           บุรีรัมย์          บ้านสตึก ( M.6A )  อ.สตึก                        5.4     5.35    มาก      ลดลง
มูล           อุบลราชธานี      สะพานเสรีประชาธิปไตย ( M.7 ) อ.เมือง               7     6.52    มาก      เพิ่มขึ้น
แม่กลอง       กาญจนบุรี        หน้าวัดไชยชุมพล(วัดใต้) (K.3) อ.เมือง               7.5      6.9    มาก      ลดลง
จันทบุรี        จันทบุรี          สะพานวัดจันทร์  อ.เมือง                          3.73        1    มาก      ลดลง
ตะกั่วป่า       พังงา           บ้านรมณีย์ (X.188 )  อ.กะปง                    24.88    22.19    มาก      ลดลง

การดำเนินการตามแผนเตรียมสถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตร

1. แจ้งเตือนผ่านศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตรจังหวัด

  • ฝนตกหนักและน้ำท่วมฉับพลัน ช่วงวันที่ 9-11 กันยายน 2553 ให้จังหวัดที่อยู่ในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แจ้งเตือนให้เกษตรกรเตรียมการรับสถานการณ์ฝนตกหนักและน้ำท่วมฉับพลัน บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณที่ลาดเชิงเขา หรือที่ลุ่มใกล้ทางน้ำไหลของ อาจเกิดน้ำป่าไหลหลากและดินถล่มได้
  • น้ำทะเลหนุน ช่วงวันที่ 6 -11 กันยายน 2553 ให้จังหวัดภาคเหนือตอนล่างและภาคกลาง แจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เฝ้าระวังและเตรียมการป้องกันสถานการณ์น้ำล้นตลิ่ง

2. สนับสนุนเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ ได้เตรียมการไว้ จำนวน 1,200 เครื่อง สนับสนุนแล้วจำนวน 582 เครื่อง ในพื้นที่ 52 จังหวัด ดังนี้

ภาคเหนือ 15 จังหวัด จำนวน 179 เครื่อง ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่(31) นครสวรรค์(4) เพชรบูรณ์(3) ลำปาง(34) น่าน(12) พิษณุโลก(2) แพร่(15) ตาก(16) ลำพูน(15) พะเยา(5) แม่ฮ่องสอน(18) เชียงราย(3) อุตรดิตถ์(5) สุโขทัย(6) กำแพงเพชร(10)

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 15 จังหวัด จำนวน 186 เครื่อง ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา(42) ขอนแก่น(7) มหาสารคาม(5) ร้อยเอ็ด(12) กาฬสินธุ์(29) อุบลราชธานี(6) นครพนม(14) มุกดาหาร(11) อำนาจเจริญ(14) สุรินทร์(7) ศรีสะเกษ(7) อุดรธานี(2) สกลนคร(9) ยโสธร(12) บุรีรัมย์(9)

ภาคกลาง 11 จังหวัด จำนวน 82 เครื่อง ได้แก่ จังหวัดชัยนาท(6) พระนครศรีอยุธยา(2) สิงห์บุรี(1) นนทบุรี(7) ปทุมธานี(8) นครปฐม(5) สุพรรณบุรี(3) ราชบุรี(29) อุทัยธานี(15) อ่างทอง(2) กาญจนบุรี(4)

ภาคตะวันออก 3 จังหวัด จำนวน 47 เครื่อง ได้แก่ จังหวัดนครนายก(14) ปราจีนบุรี(16) ฉะเชิงเทรา(17)

ภาคใต้ 8 จังหวัด จำนวน 88 เครื่อง ได้แก่ จังหวัด เพชรบุรี(39) นครศรีธรรมราช(15) พังงา(1) สงขลา (14) ยะลา(6) พัทลุง(2) ปัตตานี(3) ชุมพร(8)

3. สนับสนุนพืชอาหารสัตว์ จำนวน 27,000 กิโลกรัม (เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 4,800 กิโลกรัม) แร่ธาตุและเวชภัณฑ์ 160 ชุด และดูแลสุขภาพสัตว์ 5,891 ตัว(เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 533 ตัว) 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดหนองคาย น่าน เชียงราย พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ และอุตรดิตถ์

ทั้งนี้ กรมปศุสัตว์ได้เตรียมความพร้อมด้านเสบียงสัตว์ไว้ล่วงหน้า โดยการผลิตทั้งหญ้าแห้ง หญ้าสด และหญ้าหมักไว้ที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ /สถานีพัฒนาอาหารสัตว์ จำนวน 29 ศูนย์/สถานีสามารถบริการช่วยเหลือราษฎรได้ทันที จำนวน 8,835 ตัน และในพื้นที่ที่มีการเกิดภัยแล้ง/อุทกภัยซ้ำซากก็สนับสนุนเครื่องจักรกลเกษตร ให้เกษตรกรผลิตเสบียงสัตว์สำรองไว้ใช้เองในยามขาดแคลน มีเป้าหมายสนับสนุนเกษตรกร 3,140 ราย ผลิตเสบียงสัตว์ทั้งสิ้น 6,280 ตัน นอกจากนี้ยังส่งเสริมกลุ่มเกษตรกร(กลุ่มนาหญ้า) จำนวน 170 กลุ่ม ผลิตเสบียงสัตว์ไว้จำหน่ายให้เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกรอีกด้วย

ผลกระทบด้านการเกษตร

อุทกภัย ช่วงภัยวันที่ 1 สิงหาคม — 10 กันยายน 2553 (ข้อมูล ณ วันที่ 13 ก.ย. 2553)

ประสบภัยด้านการเกษตร 44 จังหวัด ได้แก่

ภาคเหนือ 16 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก นครสวรรค์ น่าน พะเยา พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน สุโขทัย อุตรดิตถ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 16 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม บุรีรัมย์ มุกดาหาร มหาสารคาม ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย สกลนคร หนองคาย หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ อุดรธานี อุบลราชธานี

ภาคกลาง 8 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ กาญจนบุรี ลพบุรี นครปฐม นนทบุรี พระนครศรีอยุธยาสระบุรี สุพรรณบุรี

ภาคตะวันออก 4 จังหวัด ได้แก่ ตราด จันทบุรี ปราจีนบุรี นครนายก

คาดว่าจะเสียหาย ด้านพืช จำนวน 1,434,503 ล้านไร่ ด้านประมง จำนวน 15,529 ไร่ และ 10,286 ตารางเมตร และด้านปศุสัตว์ จำนวน 724,769 ตัว (ส่วนใหญ่เป็นสัตว์ปีก)

ภาค                     ด้านพืช                 ด้านประมง                       ด้านปศุสัตว์
               เกษตรกร     คาดว่าจะ    เกษตรกร   คาดว่าจะเสียหาย     เกษตรกร   สัตว์ได้รับ     แปลงหญ้า
                            เสียหาย                                          ผลกระทบ
                   ราย          ไร่        ราย     ไร่     ตรม.         ราย        ตัว          ไร่
เหนือ            82,275     687,400      7,194  6,054      128      19,115   693,856        10.5
ต.อ.เฉียงเหนือ    81,074     517,873     10,240  9,211    4,375         279    30,913           -
กลาง            14,251     220,507         64    127    5,783           -         -           -
ตะวันออก            521       8,723         99    137        -           -         -           -
รวม            178,121   1,434,503     17,597 15,529   10,286      19,394   724,769        10.5

การดำเนินการ

อยู่ระหว่างสำรวจความเสียหายเพื่อให้การช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 14 กันยายน 2553--จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ