คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติ คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ซึ่งมี รองนายกรัฐมนตรี (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) เป็นประธานกรรมการที่อนุมัติในหลักการแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2550 — 2554 และให้กระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดังปรากฏในแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2550 — 2554 ได้ดำเนินการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการตามแนวทางที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2550 — 2554 ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ โดยให้รับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ คณะที่ 2 รวมทั้งความเห็นและข้อสังเกตของกระทรวงการคลัง สำนักงบปรมาณและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รายงานว่าคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ได้ดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2550 — 2554 ขึ้น เพื่อเป็นกรอบและแนวทางในการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ระยะ 5 ปี โดยพิจารณาจากสถานการณ์และแนวโน้มด้านคนพิการ และความก้าวหน้าของการดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ พ.ศ. 2545 — 2549 รวมทั้งการประเมินสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกของการดำเนินงานด้านคนพิการ ซึ่งได้บูรณาการกรอบแนวคิดและทิศทางในการจัดทำแผนให้มีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 พ.ศ. 2550 — 2554 ตลอดจนพันธกรณีระหว่างประเทศ รวมทั้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกำหนดแผนงาน โครงการที่จะดำเนินการในเบื้องต้น เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงาน ซึ่งจะทำให้การนำแผนไปสู่การปฏิบัติและการติดตามประเมินผลมีความชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตฯ ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการแล้วเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2549
แผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2550 — 2554 ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ 24 แนวทางและมาตรการ สรุปได้ดังนี้
1. ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการระบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ โดยกำหนดแนวทางและมาตรการ ดังนี้
1.1 จัดตั้งคณะกรรมการประสานงานด้านคนพิการแห่งชาติ เพื่อประสานการบริหารจัดการระบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการให้เป็นไปตามเป้าหมายโดยใช้หลักธรรมาภิบาล
1.2 พัฒนาระบบบริการคนพิการทุกด้าน ทั้งทางด้านการแพทย์ การศึกษา อาชีพ และสังคมให้ครอบคลุมทั่วถึง
1.3 ส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐและองค์กรเอกชนมีการจัดสื่อ สิ่งอำนวยความสะดวก และความช่วยเหลืออื่นใด ล่ามภาษามือ เอกสารอักษรเบรลล์ หนังสือเสียง กายอุปกรณ์ เครื่องช่วยความพิการที่เกี่ยวกับการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการและการดำรงชีวิตอิสระ
1.4 ส่งเสริมการผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านคนพิการให้มีจำนวนเพียงพอและมีความรู้ความสามารถที่จะเป็นผู้ให้บริการทุกด้านรองรับทันความต้องการจำเป็นด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการและกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก
1.5 ผลักดันให้เกิดระบบการจัดสรรงบประมาณ เงินอุดหนุน และเพิ่มรายรับของกองทุนเพื่อให้หน่วยงานภาครัฐและองค์กรเอกชนสามารถให้บริการทุกด้านแก่คนพิการอย่างทั่วถึง และมีคุณภาพ
1.6 ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการทุกด้าน และนำผลงานวิจัยไปปรับใช้เพื่อพัฒนางานด้านคนพิการ
1.7 สนับสนุนทุนการวิจัยและการเผยแพร่ผลงาน
1.8 สนับสนุนให้องค์กรที่เกี่ยวข้องมีการจัดทำระบบฐานข้อมูลด้านคนพิการให้เป็นระบบบูรณาการที่มีประสิทธิภาพเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
2. ยุทธศาสตร์ด้านการส่งเสริม สนับสนุนความเข้มแข็งขององค์กรด้านคนพิการและเครือข่ายในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ โดยกำหนดแนวทางและมาตรการ ดังนี้
2.1 ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดตั้ง และหรือการดำเนินงานขององค์กรด้านคนพิการ และเครือข่ายในด้านงบประมาณ วิชาการ และการพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
2.2 สนับสนุนให้องค์กรด้านคนพิการและเครือข่ายมีบทบาทเป็นที่ปรึกษาหรือคณะกรรมการระดับท้องถิ่นถึงระดับชาติ เพื่อให้ข้อคิดเห็นนำสู่การตัดสินใจของรัฐและองค์กรที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานด้านคนพิการ
2.3 ยกระดับความสามารถในการแก้ปัญหาและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ขององค์กรด้านคนพิการและเครือข่าย
2.4 ส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความรู้ ความเข้าใจ และมีส่วนร่วมในการสนับสนุนองค์กรด้านคนพิการ
3. ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างเสริมเจตคติที่ดีของคนพิการครอบครัวและสังคมที่มีต่อความพิการและคนพิการ โดยกำหนดแนวทางและมาตรการ ดังนี้
3.1 พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมทางสังคมในทุกระบบทั้งหน่วยงานภาครัฐและองค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้อง ให้คนพิการและครอบครัวสามารถมีส่วนร่วมอย่างทั่วถึง
3.2 ส่งเสริมให้สตรีพิการมีโอกาสแสดงศักยภาพและมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม
3.3 ส่งเสริมและสนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐและองค์กรเอกชนจัดกิจกรรมในการเสริมสร้างเจตคติที่ถูกต้องและสร้างสรรค์ต่อความพิการคนพิการ และครอบครัว
3.4 สนับสนุนการจัดทำสื่อที่มีคุณภาพ เป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมศักยภาพ การมีส่วนร่วม และความเสมอภาคของคนพิการ
3.5 ส่งเสริมสนับสนุนให้คนพิการมีงานทำ
3.6 ส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐและองค์กรเอกชนติดตามประเมินผลจำนวนคนพิการที่สามารถดำรงชีวิตอิสระ
4. ยุทธศาสตร์ด้านการส่งเสริมการจัดสภาพแวดล้อมที่ปราศจากอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมของคนพิการ โดยกำหนดแนวทางและมาตรการ ดังนี้
4.1 ผลักดันให้มีนโยบายและวาระแห่งชาติในการจัดสภาพแวดล้อมที่ปราศจากอุปสรรค (Accessibe Environment) และส่งเสริมการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเพื่อก้าวสู่สังคมที่ปราศจากอุปสรรคเพื่อคนทั้งมวล (Barrier free Society for All) และผลักดันให้มีการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ
4.2 ยกร่าง / ปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับอาคารสถานที่ การขนส่ง บริการสาธารณะ โทรคมนาคม (Telecommunication) เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology) รวมทั้งเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก (Assistive Technology) ส่งเสริมการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเพื่อให้มีสภาพแวดล้อมที่ปราศจากอุปสรรค และบริการทุกด้านแก่คนพิการ
4.3 ส่งเสริมการจัดหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอนด้านการออกแบบที่เป็นสากลและเป็นธรรม (Universal Design)
4.4 ส่งเสริมสนับสนุนสถานศึกษาให้มีการจัดการเรียนการสอนด้านการออกแบบที่เป็นสากลและเป็นธรรม (Universal Design)
4.5 พัฒนาและขยายศูนย์ส่งเสริมและสาธิตให้บริการด้านการออกแบบที่เป็นสากลและเป็นธรรม (Universal Design) ทั้งสำหรับการเรียนการสอนและการขยายบริการสู่ชุมชน
4.6 สร้างกลไกการติดตาม กำกับ ดูแล และตรวจสอบด้านสภาพแวดล้อมและการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่ปราศจากอุปสรรค
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 เมษายน 2550--จบ--
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รายงานว่าคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ได้ดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2550 — 2554 ขึ้น เพื่อเป็นกรอบและแนวทางในการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ระยะ 5 ปี โดยพิจารณาจากสถานการณ์และแนวโน้มด้านคนพิการ และความก้าวหน้าของการดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ พ.ศ. 2545 — 2549 รวมทั้งการประเมินสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกของการดำเนินงานด้านคนพิการ ซึ่งได้บูรณาการกรอบแนวคิดและทิศทางในการจัดทำแผนให้มีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 พ.ศ. 2550 — 2554 ตลอดจนพันธกรณีระหว่างประเทศ รวมทั้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกำหนดแผนงาน โครงการที่จะดำเนินการในเบื้องต้น เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงาน ซึ่งจะทำให้การนำแผนไปสู่การปฏิบัติและการติดตามประเมินผลมีความชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตฯ ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการแล้วเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2549
แผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2550 — 2554 ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ 24 แนวทางและมาตรการ สรุปได้ดังนี้
1. ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการระบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ โดยกำหนดแนวทางและมาตรการ ดังนี้
1.1 จัดตั้งคณะกรรมการประสานงานด้านคนพิการแห่งชาติ เพื่อประสานการบริหารจัดการระบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการให้เป็นไปตามเป้าหมายโดยใช้หลักธรรมาภิบาล
1.2 พัฒนาระบบบริการคนพิการทุกด้าน ทั้งทางด้านการแพทย์ การศึกษา อาชีพ และสังคมให้ครอบคลุมทั่วถึง
1.3 ส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐและองค์กรเอกชนมีการจัดสื่อ สิ่งอำนวยความสะดวก และความช่วยเหลืออื่นใด ล่ามภาษามือ เอกสารอักษรเบรลล์ หนังสือเสียง กายอุปกรณ์ เครื่องช่วยความพิการที่เกี่ยวกับการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการและการดำรงชีวิตอิสระ
1.4 ส่งเสริมการผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านคนพิการให้มีจำนวนเพียงพอและมีความรู้ความสามารถที่จะเป็นผู้ให้บริการทุกด้านรองรับทันความต้องการจำเป็นด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการและกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก
1.5 ผลักดันให้เกิดระบบการจัดสรรงบประมาณ เงินอุดหนุน และเพิ่มรายรับของกองทุนเพื่อให้หน่วยงานภาครัฐและองค์กรเอกชนสามารถให้บริการทุกด้านแก่คนพิการอย่างทั่วถึง และมีคุณภาพ
1.6 ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการทุกด้าน และนำผลงานวิจัยไปปรับใช้เพื่อพัฒนางานด้านคนพิการ
1.7 สนับสนุนทุนการวิจัยและการเผยแพร่ผลงาน
1.8 สนับสนุนให้องค์กรที่เกี่ยวข้องมีการจัดทำระบบฐานข้อมูลด้านคนพิการให้เป็นระบบบูรณาการที่มีประสิทธิภาพเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
2. ยุทธศาสตร์ด้านการส่งเสริม สนับสนุนความเข้มแข็งขององค์กรด้านคนพิการและเครือข่ายในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ โดยกำหนดแนวทางและมาตรการ ดังนี้
2.1 ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดตั้ง และหรือการดำเนินงานขององค์กรด้านคนพิการ และเครือข่ายในด้านงบประมาณ วิชาการ และการพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
2.2 สนับสนุนให้องค์กรด้านคนพิการและเครือข่ายมีบทบาทเป็นที่ปรึกษาหรือคณะกรรมการระดับท้องถิ่นถึงระดับชาติ เพื่อให้ข้อคิดเห็นนำสู่การตัดสินใจของรัฐและองค์กรที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานด้านคนพิการ
2.3 ยกระดับความสามารถในการแก้ปัญหาและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ขององค์กรด้านคนพิการและเครือข่าย
2.4 ส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความรู้ ความเข้าใจ และมีส่วนร่วมในการสนับสนุนองค์กรด้านคนพิการ
3. ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างเสริมเจตคติที่ดีของคนพิการครอบครัวและสังคมที่มีต่อความพิการและคนพิการ โดยกำหนดแนวทางและมาตรการ ดังนี้
3.1 พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมทางสังคมในทุกระบบทั้งหน่วยงานภาครัฐและองค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้อง ให้คนพิการและครอบครัวสามารถมีส่วนร่วมอย่างทั่วถึง
3.2 ส่งเสริมให้สตรีพิการมีโอกาสแสดงศักยภาพและมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม
3.3 ส่งเสริมและสนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐและองค์กรเอกชนจัดกิจกรรมในการเสริมสร้างเจตคติที่ถูกต้องและสร้างสรรค์ต่อความพิการคนพิการ และครอบครัว
3.4 สนับสนุนการจัดทำสื่อที่มีคุณภาพ เป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมศักยภาพ การมีส่วนร่วม และความเสมอภาคของคนพิการ
3.5 ส่งเสริมสนับสนุนให้คนพิการมีงานทำ
3.6 ส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐและองค์กรเอกชนติดตามประเมินผลจำนวนคนพิการที่สามารถดำรงชีวิตอิสระ
4. ยุทธศาสตร์ด้านการส่งเสริมการจัดสภาพแวดล้อมที่ปราศจากอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมของคนพิการ โดยกำหนดแนวทางและมาตรการ ดังนี้
4.1 ผลักดันให้มีนโยบายและวาระแห่งชาติในการจัดสภาพแวดล้อมที่ปราศจากอุปสรรค (Accessibe Environment) และส่งเสริมการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเพื่อก้าวสู่สังคมที่ปราศจากอุปสรรคเพื่อคนทั้งมวล (Barrier free Society for All) และผลักดันให้มีการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ
4.2 ยกร่าง / ปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับอาคารสถานที่ การขนส่ง บริการสาธารณะ โทรคมนาคม (Telecommunication) เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology) รวมทั้งเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก (Assistive Technology) ส่งเสริมการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเพื่อให้มีสภาพแวดล้อมที่ปราศจากอุปสรรค และบริการทุกด้านแก่คนพิการ
4.3 ส่งเสริมการจัดหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอนด้านการออกแบบที่เป็นสากลและเป็นธรรม (Universal Design)
4.4 ส่งเสริมสนับสนุนสถานศึกษาให้มีการจัดการเรียนการสอนด้านการออกแบบที่เป็นสากลและเป็นธรรม (Universal Design)
4.5 พัฒนาและขยายศูนย์ส่งเสริมและสาธิตให้บริการด้านการออกแบบที่เป็นสากลและเป็นธรรม (Universal Design) ทั้งสำหรับการเรียนการสอนและการขยายบริการสู่ชุมชน
4.6 สร้างกลไกการติดตาม กำกับ ดูแล และตรวจสอบด้านสภาพแวดล้อมและการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่ปราศจากอุปสรรค
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 เมษายน 2550--จบ--