คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) เป็นประธาน ที่อนุมัติหลักการแผนงานธาลัสซีเมียแห่งชาติ พ.ศ. 2550-2554 ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ โดยให้เพิ่มผู้แทนสำนักงบประมาณเป็นกรรมการในคณะกรรมการประสานการพัฒนานโยบายการส่งเสริม ป้องกัน และควบคุมโรคธาลัสซีเมียแห่งชาติ และให้รับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ คณะที่ 2 รวมทั้งความเห็นและข้อสังเกตของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปประกอบการพิจารณาดำเนินการด้วย ส่วนงบประมาณในการดำเนินการตามแผนงานให้กระทรวงสาธารณสุขขอทำความตกลงในรายละเอียดกับสำนักงบประมาณตามความจำเป็นและเหมาะสมต่อไป
กระทรวงสาธารณสุขรายงานว่า
1. “ธาลัสซีเมีย” เป็นโรคที่เป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญยิ่งของประเทศไทย เนื่องจากมีผลกระทบต่อระบบบริการสาธารณสุขและเศรษฐกิจของประเทศ และประเทศไทยมีผู้ที่มีกรรมพันธุ์หรือยีน (Gene) ธาลัสซีเมียกว่า 20 ล้านคน จึงมีโอกาสเป็นโรคดังกล่าวตั้งแต่อยู่ในครรภ์ซึ่งมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 1 ของประชากร ปัจจุบันมีผู้ป่วยธาลัสซีเมีย 630,000 คน ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ (โรงเรียนแพทย์) และมูลนิธิโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียแห่งประเทศไทยดำเนินงานโครงการป้องกันและควบคุมโรคธาลัสซีเมียมาตั้งแต่ปี 2537 และในปีงบประมาณ 2548 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้เข้าร่วมโครงการดังกล่าวด้วย กระทรวงสาธารณสุขจึงเห็นควรให้มีแผนงานธาลัสซีเมียแห่งชาติเพื่อเด็กไทยเกิดใหม่ป่วยเป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงลดลง ส่วนผู้ป่วยที่มีอยู่จะได้รับการรักษาเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยมีเป้าหมายการดำเนินงาน ปี 2550-2554 ดังนี้
1.1 ร้อยละ 100 ของโรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชนมีการจัดระบบบริการ ป้องกัน ควบคุม และรักษาพยาบาลโรคธาลัสซีเมียที่ได้มาตรฐาน
1.2 ร้อยละ 100 ของศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ สามารถตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการได้ครบทุกขั้นตอนและมีมาตรฐาน
1.3 จัดตั้งศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคธาลัสซีเมียระดับส่วนกลาง 1 แห่ง ระดับส่วนภูมิภาค 12 แห่ง
1.4 สามารถพัฒนาเทคนิคการตรวจวินิจฉัย - thalassemia, - thalassemia และวัตถุควบคุมคุณภาพสำหรับการตรวจวินิจฉัยโรคธาลัสซีเมียเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ที่นำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้อย่างน้อย 2 ชนิด
2. แผนงานธาลัสซีเมียแห่งชาติ พ.ศ. 2550-2554 ประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
2.1 ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาระบบการป้องกันและควบคุมโรคธาลัสซีเมียให้ได้มาตรฐาน มีคุณภาพ โดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เป็นเจ้าภาพหลัก ประกอบด้วย 5 โครงการคือ
2.1.1 โครงการสร้างกระแสสังคมเพื่อการส่งเสริมการมีบุตรปลอดจากโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง
2.1.2 โครงการตรวจกรองเพื่อค้นหาคู่สมรสเสี่ยงมีบุตรเป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง
2.1.3 โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการความรู้และการจัดการ “ธาลัสซีเมีย”
2.1.4 โครงการอบรมครูอนามัย เรื่อง การเรียนการสอน “ธาลัสซีเมีย” ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
2.1.5 โครงการจัดตั้งศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคธาลัสซีเมีย
2.2 ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาระบบการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมียให้ได้มาตรฐาน โดยกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เป็นเจ้าภาพหลัก ประกอบด้วย 3 โครงการ คือ
2.2.1 โครงการพัฒนาแนวทางการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย
2.2.2 โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการแก่บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข เรื่อง การรักษาพยาบาลผู้ป่วยธาลัสซีเมีย
2.2.3 โครงการสนับสนุนการรักษาผู้ป่วยธาลัสซีเมียอย่างมีประสิทธิภาพ
2.3 ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาห้องปฏิบัติการด้านการตรวจวินิจฉัยให้มีมาตรฐาน มีประสิทธิภาพ และรองรับบริการอย่างทั่วถึง โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขเป็นเจ้าภาพหลัก ประกอบด้วย 4 โครงการ คือ
2.3.1 โครงการจัดทำมาตรฐานการตรวจวินิจฉัยโรคธาลัสซีเมียของประเทศ (National Guideline)
2.3.2 โครงการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรผู้ปฏิบัติงานตรวจวินิจฉัยโรคธาลัสซีเมียในห้องปฏิบัติการ
2.3.3 โครงการพัฒนาศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์เพื่อให้สามารถตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการครบทุกขั้นตอน
2.3.4 โครงการควบคุมคุณภาพมาตรฐานห้องปฏิบัติการตรวจวินิจฉัยโรคธาลัสซีเมีย
2.4 ยุทธศาสตร์ที่ 4 วิจัย พัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยี เพื่อสนับสนุนการป้องกันและควบคุมโรคธาลัสซีเมีย โดยมูลนิธิโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียแห่งประเทศไทย เป็นเจ้าภาพหลัก ประกอบด้วย 5 โครงการคือ
2.4.1 โครงการศึกษาระบาดวิทยาและการดำเนินงานโรคธาลัสซีเมีย
2.4.2 โครงการศึกษาจีโนมเพื่อหาตัวแปรที่ทำให้โรคเบต้าธาลัสซีเมียมีความรุนแรงแตกต่างกัน
2.4.3 โครงการวิจัยและพัฒนาเทคนิคการตรวจวินิจฉัยอัลฟ่าธาลัสซีเมียและเบต้าธาลัสซีเมีย
2.4.4 โครงการพัฒนาควบคุมคุณภาพสำหรับการตรวจวินิจฉัยโรคธาลัสซีเมีย
2.4.5 โครงการวิจัยธาตุเหล็ก
2.5 ยุทธศาสตร์ที่ 5 การควบคุม กำกับ ประเมินผลเพื่อสร้างความรู้ในการพัฒนางาน โดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เป็นเจ้าภาพหลัก ประกอบด้วย 2 โครงการคือ
2.5.1 โครงการพัฒนาระบบข้อมูลและการสร้างทีมงานเพื่อการควบคุม กำกับและติดตามงาน
2.5.2 โครงการประเมินผลการดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการ
3. ผลที่คาดว่าจะได้รับในระยะเวลา 5 ปี สามารถลดผู้ป่วยรายใหม่ชนิดรุนแรงลงร้อยละ 50 หรือลดจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ได้ไม่น้อยกว่า 6,371 ราย ทำให้สามารถลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้ไม่น้อยกว่า 32,197,880,000 บาท จึงมีความคุ้มทุนและได้ชุดทดสอบไม่น้อยกว่า 2 ชนิด ใช้สำหรับการตรวจวินิจฉัย รวมทั้งสามารถส่งออกเพื่อจำหน่ายไปยังตลาดต่างประเทศและได้สาร Calibrator and QC Material เพื่อใช้ในการทดสอบคุณภาพ การวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการโดยไม่ต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศ จึงเป็นการลดการนำเข้าและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 12 มิถุนายน 2550--จบ--
กระทรวงสาธารณสุขรายงานว่า
1. “ธาลัสซีเมีย” เป็นโรคที่เป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญยิ่งของประเทศไทย เนื่องจากมีผลกระทบต่อระบบบริการสาธารณสุขและเศรษฐกิจของประเทศ และประเทศไทยมีผู้ที่มีกรรมพันธุ์หรือยีน (Gene) ธาลัสซีเมียกว่า 20 ล้านคน จึงมีโอกาสเป็นโรคดังกล่าวตั้งแต่อยู่ในครรภ์ซึ่งมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 1 ของประชากร ปัจจุบันมีผู้ป่วยธาลัสซีเมีย 630,000 คน ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ (โรงเรียนแพทย์) และมูลนิธิโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียแห่งประเทศไทยดำเนินงานโครงการป้องกันและควบคุมโรคธาลัสซีเมียมาตั้งแต่ปี 2537 และในปีงบประมาณ 2548 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้เข้าร่วมโครงการดังกล่าวด้วย กระทรวงสาธารณสุขจึงเห็นควรให้มีแผนงานธาลัสซีเมียแห่งชาติเพื่อเด็กไทยเกิดใหม่ป่วยเป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงลดลง ส่วนผู้ป่วยที่มีอยู่จะได้รับการรักษาเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยมีเป้าหมายการดำเนินงาน ปี 2550-2554 ดังนี้
1.1 ร้อยละ 100 ของโรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชนมีการจัดระบบบริการ ป้องกัน ควบคุม และรักษาพยาบาลโรคธาลัสซีเมียที่ได้มาตรฐาน
1.2 ร้อยละ 100 ของศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ สามารถตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการได้ครบทุกขั้นตอนและมีมาตรฐาน
1.3 จัดตั้งศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคธาลัสซีเมียระดับส่วนกลาง 1 แห่ง ระดับส่วนภูมิภาค 12 แห่ง
1.4 สามารถพัฒนาเทคนิคการตรวจวินิจฉัย - thalassemia, - thalassemia และวัตถุควบคุมคุณภาพสำหรับการตรวจวินิจฉัยโรคธาลัสซีเมียเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ที่นำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้อย่างน้อย 2 ชนิด
2. แผนงานธาลัสซีเมียแห่งชาติ พ.ศ. 2550-2554 ประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
2.1 ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาระบบการป้องกันและควบคุมโรคธาลัสซีเมียให้ได้มาตรฐาน มีคุณภาพ โดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เป็นเจ้าภาพหลัก ประกอบด้วย 5 โครงการคือ
2.1.1 โครงการสร้างกระแสสังคมเพื่อการส่งเสริมการมีบุตรปลอดจากโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง
2.1.2 โครงการตรวจกรองเพื่อค้นหาคู่สมรสเสี่ยงมีบุตรเป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง
2.1.3 โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการความรู้และการจัดการ “ธาลัสซีเมีย”
2.1.4 โครงการอบรมครูอนามัย เรื่อง การเรียนการสอน “ธาลัสซีเมีย” ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
2.1.5 โครงการจัดตั้งศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคธาลัสซีเมีย
2.2 ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาระบบการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมียให้ได้มาตรฐาน โดยกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เป็นเจ้าภาพหลัก ประกอบด้วย 3 โครงการ คือ
2.2.1 โครงการพัฒนาแนวทางการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย
2.2.2 โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการแก่บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข เรื่อง การรักษาพยาบาลผู้ป่วยธาลัสซีเมีย
2.2.3 โครงการสนับสนุนการรักษาผู้ป่วยธาลัสซีเมียอย่างมีประสิทธิภาพ
2.3 ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาห้องปฏิบัติการด้านการตรวจวินิจฉัยให้มีมาตรฐาน มีประสิทธิภาพ และรองรับบริการอย่างทั่วถึง โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขเป็นเจ้าภาพหลัก ประกอบด้วย 4 โครงการ คือ
2.3.1 โครงการจัดทำมาตรฐานการตรวจวินิจฉัยโรคธาลัสซีเมียของประเทศ (National Guideline)
2.3.2 โครงการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรผู้ปฏิบัติงานตรวจวินิจฉัยโรคธาลัสซีเมียในห้องปฏิบัติการ
2.3.3 โครงการพัฒนาศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์เพื่อให้สามารถตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการครบทุกขั้นตอน
2.3.4 โครงการควบคุมคุณภาพมาตรฐานห้องปฏิบัติการตรวจวินิจฉัยโรคธาลัสซีเมีย
2.4 ยุทธศาสตร์ที่ 4 วิจัย พัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยี เพื่อสนับสนุนการป้องกันและควบคุมโรคธาลัสซีเมีย โดยมูลนิธิโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียแห่งประเทศไทย เป็นเจ้าภาพหลัก ประกอบด้วย 5 โครงการคือ
2.4.1 โครงการศึกษาระบาดวิทยาและการดำเนินงานโรคธาลัสซีเมีย
2.4.2 โครงการศึกษาจีโนมเพื่อหาตัวแปรที่ทำให้โรคเบต้าธาลัสซีเมียมีความรุนแรงแตกต่างกัน
2.4.3 โครงการวิจัยและพัฒนาเทคนิคการตรวจวินิจฉัยอัลฟ่าธาลัสซีเมียและเบต้าธาลัสซีเมีย
2.4.4 โครงการพัฒนาควบคุมคุณภาพสำหรับการตรวจวินิจฉัยโรคธาลัสซีเมีย
2.4.5 โครงการวิจัยธาตุเหล็ก
2.5 ยุทธศาสตร์ที่ 5 การควบคุม กำกับ ประเมินผลเพื่อสร้างความรู้ในการพัฒนางาน โดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เป็นเจ้าภาพหลัก ประกอบด้วย 2 โครงการคือ
2.5.1 โครงการพัฒนาระบบข้อมูลและการสร้างทีมงานเพื่อการควบคุม กำกับและติดตามงาน
2.5.2 โครงการประเมินผลการดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการ
3. ผลที่คาดว่าจะได้รับในระยะเวลา 5 ปี สามารถลดผู้ป่วยรายใหม่ชนิดรุนแรงลงร้อยละ 50 หรือลดจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ได้ไม่น้อยกว่า 6,371 ราย ทำให้สามารถลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้ไม่น้อยกว่า 32,197,880,000 บาท จึงมีความคุ้มทุนและได้ชุดทดสอบไม่น้อยกว่า 2 ชนิด ใช้สำหรับการตรวจวินิจฉัย รวมทั้งสามารถส่งออกเพื่อจำหน่ายไปยังตลาดต่างประเทศและได้สาร Calibrator and QC Material เพื่อใช้ในการทดสอบคุณภาพ การวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการโดยไม่ต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศ จึงเป็นการลดการนำเข้าและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 12 มิถุนายน 2550--จบ--