แท็ก
ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
เทศกาลสงกรานต์
กระทรวงมหาดไทย
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย) กระทรวงมหาดไทย เสนอทั้ง 2 ข้อ ซึ่งเป็นไปตามมติที่ประชุมคณะกรรมการ ศปถ. ครั้งที่ 2 / 2550 เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2550 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์) ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน เป็นประธาน ดังนี้
1. แผนบูรณาการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2550 ของศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) และมอบหมายให้จังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป สรุปสาระสำคัญดังนี้
1.1 กำหนดการดำเนินการรณรงค์ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2550 ระหว่างวันที่ 11 — 17 เมษายน 2550 (7 วัน)
1.2 เป้าหมายการปฏิบัติงาน : ได้กำหนดเป้าหมายคาดคะเนจำนวนครั้งอุบัติเหตุ ผู้เสียชีวิต และบาดเจ็บ (Admit) ควรจะลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 จากประมาณการ ดังนี้
1) เป้าหมายคาดคะเนจำนวนครั้งอุบัติเหตุไม่เกิน 3,997 ครั้ง (ประมาณการครั้งอุบัติเหตุ 4,702 ครั้ง)
2) เป้าหมายคาดคะเนผู้เสียชีวิตไม่เกิน 354 คน (ประมาณการผู้เสียชีวิต 417 คน)
3) เป้าหมายคาดคะเนผู้บาดเจ็บ (Admit) ไม่เกิน 4,517 คน (ประมาณการผู้บาดเจ็บ 5,314 คน)
1.3 มาตรการ
1) มาตรการด้านการป้องปรามผู้กระทำผิด : เป็นมาตรการเน้นหนักด้านการควบคุมพฤติกรรมของผู้ขับขี่ยานพาหนะ
2) มาตรการด้านการควบคุม : เป็นมาตรการสำหรับการควบคุมปัจจัยเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุ ได้แก่ คน รถ ถนน สิ่งแวดล้อม โดยเน้นหนักด้านการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด
3) มาตรการด้านการอำนวยความสะดวกและความปลอดภัย : เป็นมาตรการสำหรับรองรับการเดินทางของประชาชน ทั้งด้านการจัดระบบจราจร การขนส่ง และการช่วยเหลือฉุกเฉิน
4) มาตรการด้านการรณรงค์ : เป็นมาตรการเพื่อกระตุ้นเตือนปลูกจิตสำนึกโดยใช้กระบวนการประชาสัมพันธ์จากทุกเครือข่าย
5) มาตรการด้านกู้ชีพ กู้ภัย : เป็นมาตรการเพื่อการพัฒนาระบบการกู้ชีพ กู้ภัยให้มีประสิทธิภาพ ทั้งด้านบุคลากร วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ ความรวดเร็วในการเข้าถึงจุดเกิดเหตุ การติดต่อสื่อสารระหว่างหน่วยงานเพื่อการเก็บข้อมูลที่ถูกต้องตามข้อเท็จจริง
6) มาตรการด้านการรายงานและประเมินผล : เป็นมาตรการสำหรับการบริหารจัดการอุบัติภัย โดยใช้ระบบการเชื่อมโยงข้อมูลที่ทันสมัย รวดเร็ว เพื่อสร้างความถูกต้อง เป็นเอกภาพ ชัดเจน และตรวจสอบได้
1.4 แผนการดำเนินการ
1) แผนงานที่ 1 : การจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการร่วมเพื่อการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2550 ของจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่ออำนวยการ ควบคุม กำกับดูแล ประสาน และปฏิบัติงานตลอดจนการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
2) แผนงานที่ 2 : การจัดตั้งจุดตรวจ/ด่านตรวจร่วมตามเส้นทางสายหลัก สายรอง และเส้นทางอื่น ๆ ที่จำเป็น โดยดำเนินการทุกอำเภอ/กิ่งอำเภอ และกรุงเทพมหานครโดยหน่วยงานในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติอย่างเต็มที่ทั่วประเทศ จำนวน 1,012 แห่งประมาณ 3,036 จุด
3) แผนงานที่ 3 : การสนับสนุนการปฏิบัติงานตามยุทธศาสตร์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยจัดหน่วยสนับสนุนการปฏิบัติงานของจังหวัดต่าง ๆ โดยคำนึงถึงความปลอดภัยและการสร้างความสะดวกให้กับประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนในช่วงเทศกาลสงกรานต์เป็นหลัก
2. การสนับสนุนกิจกรรมสัปดาห์รณรงค์ความปลอดภัยทางถนนตามกรอบสหประชาชาติและกิจกรรม ACD Road Safety Day ของประเทศไทย ของ ศปถ. และมอบหมายให้จังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป สรุปสาระสำคัญดังนี้
2.1 กำหนดให้การรณรงค์ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2550 ระหว่างวันที่ 11 -17 เมษายน 2550 (7 วัน) เป็นกิจกรรมสนับสนุนสัปดาห์ความปลอดภัยทางถนนตามกรอบสหประชาชาติ
2.2 จัดการประชุมเชิงวิชาการสรุปบทเรียนการรณรงค์ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี พ.ศ. 2550 ในทุกจังหวัดและส่วนกลางร่วมจัดกิจกรรมกับ UNESCAP UNICEF WHO และองค์กรอื่น ๆ ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติประจำประเทศไทยเป็นกิจกรรมวัน ACD Road Safety Day ของประเทศไทย (วันที่ 25 เมษายน 2550)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 มีนาคม 2550--จบ--
1. แผนบูรณาการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2550 ของศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) และมอบหมายให้จังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป สรุปสาระสำคัญดังนี้
1.1 กำหนดการดำเนินการรณรงค์ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2550 ระหว่างวันที่ 11 — 17 เมษายน 2550 (7 วัน)
1.2 เป้าหมายการปฏิบัติงาน : ได้กำหนดเป้าหมายคาดคะเนจำนวนครั้งอุบัติเหตุ ผู้เสียชีวิต และบาดเจ็บ (Admit) ควรจะลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 จากประมาณการ ดังนี้
1) เป้าหมายคาดคะเนจำนวนครั้งอุบัติเหตุไม่เกิน 3,997 ครั้ง (ประมาณการครั้งอุบัติเหตุ 4,702 ครั้ง)
2) เป้าหมายคาดคะเนผู้เสียชีวิตไม่เกิน 354 คน (ประมาณการผู้เสียชีวิต 417 คน)
3) เป้าหมายคาดคะเนผู้บาดเจ็บ (Admit) ไม่เกิน 4,517 คน (ประมาณการผู้บาดเจ็บ 5,314 คน)
1.3 มาตรการ
1) มาตรการด้านการป้องปรามผู้กระทำผิด : เป็นมาตรการเน้นหนักด้านการควบคุมพฤติกรรมของผู้ขับขี่ยานพาหนะ
2) มาตรการด้านการควบคุม : เป็นมาตรการสำหรับการควบคุมปัจจัยเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุ ได้แก่ คน รถ ถนน สิ่งแวดล้อม โดยเน้นหนักด้านการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด
3) มาตรการด้านการอำนวยความสะดวกและความปลอดภัย : เป็นมาตรการสำหรับรองรับการเดินทางของประชาชน ทั้งด้านการจัดระบบจราจร การขนส่ง และการช่วยเหลือฉุกเฉิน
4) มาตรการด้านการรณรงค์ : เป็นมาตรการเพื่อกระตุ้นเตือนปลูกจิตสำนึกโดยใช้กระบวนการประชาสัมพันธ์จากทุกเครือข่าย
5) มาตรการด้านกู้ชีพ กู้ภัย : เป็นมาตรการเพื่อการพัฒนาระบบการกู้ชีพ กู้ภัยให้มีประสิทธิภาพ ทั้งด้านบุคลากร วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ ความรวดเร็วในการเข้าถึงจุดเกิดเหตุ การติดต่อสื่อสารระหว่างหน่วยงานเพื่อการเก็บข้อมูลที่ถูกต้องตามข้อเท็จจริง
6) มาตรการด้านการรายงานและประเมินผล : เป็นมาตรการสำหรับการบริหารจัดการอุบัติภัย โดยใช้ระบบการเชื่อมโยงข้อมูลที่ทันสมัย รวดเร็ว เพื่อสร้างความถูกต้อง เป็นเอกภาพ ชัดเจน และตรวจสอบได้
1.4 แผนการดำเนินการ
1) แผนงานที่ 1 : การจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการร่วมเพื่อการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2550 ของจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่ออำนวยการ ควบคุม กำกับดูแล ประสาน และปฏิบัติงานตลอดจนการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
2) แผนงานที่ 2 : การจัดตั้งจุดตรวจ/ด่านตรวจร่วมตามเส้นทางสายหลัก สายรอง และเส้นทางอื่น ๆ ที่จำเป็น โดยดำเนินการทุกอำเภอ/กิ่งอำเภอ และกรุงเทพมหานครโดยหน่วยงานในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติอย่างเต็มที่ทั่วประเทศ จำนวน 1,012 แห่งประมาณ 3,036 จุด
3) แผนงานที่ 3 : การสนับสนุนการปฏิบัติงานตามยุทธศาสตร์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยจัดหน่วยสนับสนุนการปฏิบัติงานของจังหวัดต่าง ๆ โดยคำนึงถึงความปลอดภัยและการสร้างความสะดวกให้กับประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนในช่วงเทศกาลสงกรานต์เป็นหลัก
2. การสนับสนุนกิจกรรมสัปดาห์รณรงค์ความปลอดภัยทางถนนตามกรอบสหประชาชาติและกิจกรรม ACD Road Safety Day ของประเทศไทย ของ ศปถ. และมอบหมายให้จังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป สรุปสาระสำคัญดังนี้
2.1 กำหนดให้การรณรงค์ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2550 ระหว่างวันที่ 11 -17 เมษายน 2550 (7 วัน) เป็นกิจกรรมสนับสนุนสัปดาห์ความปลอดภัยทางถนนตามกรอบสหประชาชาติ
2.2 จัดการประชุมเชิงวิชาการสรุปบทเรียนการรณรงค์ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี พ.ศ. 2550 ในทุกจังหวัดและส่วนกลางร่วมจัดกิจกรรมกับ UNESCAP UNICEF WHO และองค์กรอื่น ๆ ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติประจำประเทศไทยเป็นกิจกรรมวัน ACD Road Safety Day ของประเทศไทย (วันที่ 25 เมษายน 2550)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 มีนาคม 2550--จบ--