เรื่อง สรุปสถานการณ์อุทกภัยเนื่องจากอิทธิพลของพายุ “มินดอลเล” (ระหว่างวันที่ 24 สิงหาคม-15 กันยายน 2553)
และร่องมรสุมกำลังค่อนข้างแรงพาดผ่านประเทศไทย
คณะรัฐมนตรีรับทราบข้อมูลสรุปสถานการณ์อุทกภัยเนื่องจากอิทธิพลของพายุ “มินดอลเล” (ระหว่างวันที่ 24 สิงหาคม-15 กันยายน 2553) และร่องมรสุมกำลังค่อนข้างแรงพาดผ่านประเทศไทย ของกระทรวงมหาดไทย ดังนี้
1. สรุปสถานการณ์อุทกภัยเนื่องจากอิทธิพลของพายุ “มินดอลเล” และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (ระหว่างวันที่ 24 สิงหาคม -15 กันยายน 2553)
พื้นที่ประสบภัยโดยภาพรวมทั้งประเทศ 39 จังหวัด 258 อำเภอ 1,589 ตำบล 11,362 หมู่บ้าน ได้แก่ จังหวัดลำพูน พะเยา ลำปาง น่าน อุตรดิตถ์ แม่ฮ่องสอน เชียงราย สุโขทัย พิษณุโลก เชียงใหม่ เพชรบูรณ์ แพร่ กำแพงเพชร พิจิตร นครสวรรค์ อุทัยธานี พระนครศรีอยุธยา สระบุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี นนทบุรี ร้อยเอ็ด สกลนคร อุดรธานี นครพนม หนองบัวลำภู ชัยภูมิ อุบลราชธานี กาฬสินธุ์ ขอนแก่น มุกดาหาร อำนาจเจริญ หนองคาย เลย ยโสธร ตราด สระแก้ว ระยอง และจังหวัดนครนายก เสียชีวิต 5 ราย (พะเยา 1 ราย อุดรธานี 2 ราย มุกดาหาร 1 ราย ลพบุรี 1 ราย) ราษฎรได้รับความเดือดร้อนทั้งหมด 868,907ครัวเรือน 3,137,118 คน อพยพประชาชน 119 ครัวเรือน 712 คน ดังนี้
ลำดับที่ ประเภทความเสียหาย จำนวนความเสียหาย 1 พื้นที่ประสบอุทกภัย 39 จังหวัด 258 อำเภอ 1,589 ตำบล 11,362 หมู่บ้าน 2 ประชาชนได้รับความเดือดร้อน 3,137,118 คน 868,907ครัวเรือน 3 ผู้เสียชีวิต 5 ราย (พะเยา 1 ราย อุดรธานี 2 ราย มุกดาหาร 1 ราย และลพบุรี 1 ราย) 4 บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 3 หลัง 5 บ้านเรือนเสียหายบางส่วน 3,847 หลัง 6 ถนนเสียหาย 5,881 สาย 7 สะพาน/คอสะพาน 186 แห่ง 8 บ่อปลา/กุ้ง 12,899 บ่อ 9 ปศุสัตว์ 67,655 ตัว 10 สัตว์ปีก 84,591 ตัว 11 พื้นที่การเกษตรถูกน้ำท่วมเบื้องต้นประมาณ 943,523 ไร่ 12 มูลค่าความเสียหายเบื้องต้นประมาณ 555,927,843 บาท
2. สรุปสถานการณ์อุทกภัยเนื่องจากอิทธิพลของร่องมรสุมกำลังค่อนข้างแรงพาดผ่านประเทศไทย (ระหว่างวันที่ 10-19 กันยายน 2553)
2.1 พื้นที่ประสบภัย 8 จังหวัด 20 อำเภอ 102 ตำบล 393 หมู่บ้าน ได้แก่ จังหวัดเชียงราย น่าน สุโขทัย ลำพูน พิจิตร นครสวรรค์ ชัยนาท และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 19,056 ครัวเรือน 48,451 คน พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย ประมาณ 28,528 ไร่
2.2 ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดน่าน สุโขทัย ลำพูน พิจิตร นครสวรรค์ ชัยนาท และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ดังนี้
1) จังหวัดน่าน เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2553 เวลา 15.00 น. เกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง ทำให้เกิดน้ำ ป่าไหลหลากเข้าท่วมในพื้นที่อำเภอเมือง 4 ตำบล คือ ตำบลสะเนียน ถืมตอง ไชยสถาน และตำบลเรือง สถานการณ์เริ่มกลับเข้าสู่สภาวะปกติแล้ว และเมื่อเวลา 04.00 น. วันที่ 16 กันยายน 2553 ปริมาณน้ำน่านได้เพิ่มสูงขึ้น ทำให้เกิดน้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่ทางการเกษตรในพื้นที่อำเภอภูเพียง 4 ตำบล คือ ตำบลฝายแก้ว ม่วงติ๊ด ท่าน้าว และตำบลนาปัง และในเขตเทศบาลเมืองน่าน ได้แก่ ชุมชนภูมินทร์ท่าลี่-พวงพะยอม โดยจังหวัด สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้นำเครื่องสูบน้ำเพื่อระบายน้ำที่ท่วมขังลงสู่แม่น้ำน่านอย่างต่อเนื่อง
2) จังหวัดสุโขทัย เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2553 เกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง ทำให้น้ำในแม่น้ำยมเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร พื้นที่การเกษตร ในพื้นที่อำเภอเมือง 6 ตำบล ได้แก่ ตำบลยางซ้าย ปากพระ ปากแคว บ้านสวน บ้านหลุม และตำบลตาลเตี้ย โดยจังหวัด สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด เจ้าหน้าที่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้นำกระสอบทรายทำเป็นคันกั้นน้ำเพื่อไม่ให้น้ำไหลเข้ามาท่วมในพื้นที่ และเร่งระบายน้ำลงสู่แม่น้ำยมอย่างต่อเนื่อง
3) จังหวัดลำพูน น้ำจากลำน้ำแม่ทาได้ไหลเอ่อล้นเข้าท่วมในพื้นที่ อำเภอป่าซาง 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลป่าซาง (หมู่ที่ 1,3,4) ตำบลม่วงน้อย (หมู่ที่ 6) ตำบลมะกอก (หมู่ที่ 8) และตำบลน้ำดิบ (หมู่ที่ 12,13) ความเสียหายอยู่ระหว่างการสำรวจ
4) จังหวัดพิจิตร ปริมาณน้ำในแม่น้ำยมมีระดับสูงขึ้น ประกอบมีฝนตก ในพื้นที่ทำให้น้ำใน แม่น้ำยมเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ลุ่มต่ำริมฝั่ง 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสามง่าม 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลสามง่าม กำแพงดิน รังนก และตำบลเนินปอ อำเภอโพธิ์ประทับช้าง 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลโพธิ์ประทับช้าง วังจิก ไผ่ท่าโพ และตำบลไผ่ล้อม อำเภอบึงนางราง ที่ตำบลบางลาย และ อำเภอโพทะเล 6 ตำบล ได้แก่ ตำบลโพทะเล ท่าเสา ทะนง ท้ายน้ำ โพทะเล และตำบลท่าขมิ้น ระดับน้ำทรงตัว
5) จังหวัดนครสวรรค์ ปริมาณน้ำในแม่น้ำน่านมีปริมาณสูงขึ้น ประกอบกับมีฝนตกในพื้นที่ทำให้เกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำการเกษตรของอำเภอชุมแสง 2 ตำบล ได้แก่ตำบลบางเคียน (หมู่ที่ 1,3,4,5,6,7,9,11,13,14) และตำบลโคกหม้อ (หมู่ที่ 2,3,4,6,8,) พื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบ 2,538 ไร่ ระดับน้ำทรงตัว
6) จังหวัดชัยนาท ได้เกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง ทำให้เกิดน้ำไหลหลากและน้ำท่วมขังในพื้นที่ 4 อำเภอ 9 ตำบล 91 หมู่บ้าน ราษฎรเดือนร้อน 8,076 ครัวเรือน 18,084 คน ได้แก่ อำเภอเมือง 3 ตำบล อำเภอเนินขาม 3 ตำบล อำเภอหันคา 2 ตำบล และอำเภอสรรคบุรี 1 ตำบล
7) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำลพบุรี แม่น้ำน้อยมีปริมาณสูงขึ้น ประกอบกับมีฝนตกในพื้นที่ ทำให้เกิดน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มการเกษตรใน 5 อำเภอ 54 ตำบล 297 หมู่บ้าน ได้แก่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา 4 ตำบล อำเภอบางไทร 23 ตำบล อำเภอมหาราช 12 ตำบล อำเภอผักไห่ 7 ตำบล และอำเภอบางบาล 8 ตำบล ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 13,977 คน 4,494 ครัวเรือน
2.3 การให้ความช่วยเหลือ จังหวัด ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเบื้องต้นแล้ว พร้อมเร่งออกสำรวจความเสียหาย เพื่อให้การช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลัง ต่อไป
- จังหวัดนครราชสีมา เกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง ทำให้เกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่ตำบลหนองบัวศาลา (หมู่ที่ 2,8,10) อำเภอเมือง ซึ่งเป็นพื้นที่หมู่บ้านจัดสรรที่เป็นแอ่งกะทะ น้ำไม่สามารถระบายออกได้ ระดับน้ำโดยทั่วไปสูงประมาณ 0.60 เมตร จังหวัด ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 5 นครราชสีมา สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด กองทัพภาคที่ 2 นำรถแบ็กโฮ จำนวน 10 คัน ทำคันกันน้ำ พร้อมเร่งสูบน้ำออกจากพื้นที่อย่างต่อเนื่อง
- เกิดฝนตกในพื้นที่ทำให้มีน้ำท่วมเส้นทางการจราจรผ่านไม่ได้ ดังนี้ (ข้อมูลสำนักบริหารบำรุงทาง กรมทางหลวง)
- ถนนสาย 2193 ตอน สุโขทัย-พิษณุโลก ท้องที่อำเภอเมือง ที่ กม. 7-8 น้ำท่วมสูง 0.45 เมตร ให้ใช้ทางเลี่ยง สาย 12 สุโขทัย-บ้านกร่าง แทน
2.4 การให้ความช่วยเหลือของหน่วยงานต่าง ๆ
1) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
- ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 10 ลำปาง จัดส่งรถผลิตน้ำดื่ม จำนวน 1 คัน รถบรรทุกน้ำขนาด 6,000 ลิตร จำนวน 1 คัน สนับสนุนช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ตำบลนางแล
- ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 15 เชียงราย สนับสนุนรถแบ็กโฮ จำนวน 1 คัน แก่สำนักงานทางหลวงชนบทจังหวัดเชียงรายเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ตำบลวาวี และรถบรรทุกน้ำ จำนวน 2 คัน ช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ตำบลนางแล
2) กรมชลประทาน
ได้เตรียมความพร้อมเครื่องสูบน้ำ จำนวน 1,200 เครื่อง เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรตามจังหวัดต่างๆ ซึ่งปัจจุบันได้ให้การสนับสนุนเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ 822 เครื่อง ในพื้นที่ 61 จังหวัด
2.5 สิ่งของพระราชทานช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย
1) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงห่วงใยพสกนิกรที่ได้รับความเดือดร้อน จึงได้พระราชทานถุงยังชีพ ให้มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ทรงโปรดให้ผู้แทนพระองค์ฯ เดินทางไปมอบสิ่งของพระราชทานเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ราษฎรผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ แพร่ พะเยา น่าน และจังหวัดสุโขทัย รวมจำนวน 7,000 ครอบครัว
2) สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย ได้นำชุด ธารน้ำใจพระราชทาน ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดลำปาง แพร่ นครสวรรค์ เชียงราย อุตรดิตถ์ พิจิตร นครนายก เพชรบูรณ์ หนองคาย และจังหวัดอุดรธานี รวมจำนวน 9,662 ชุด และน้ำดื่ม 14,700 ขวด
3) กองงานพระวรชายาฯ ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงโปรดให้ผู้แทนพระองค์ฯ เดินทางไปมอบถุงพระราชทานแก่ราษฎรที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดลำปาง แพร่ แม่ฮ่องสอน น่าน และจังหวัดสกลนคร รวมจำนวน 4,550 ชุด
4) พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ (นายกกิตติมศักดิ์ตลอดชีพ) และพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ประธานมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยากสภากาชาดไทย ทรงโปรดให้ผู้แทนพระองค์ฯ เดินทางไปมอบถุงพระราชทานแก่ราษฎรที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดเชียงราย แพร่ ลำพูน อุตรดิตถ์ ปทุมธานี และจังหวัดชัยภูมิ รวมจำนวน 10,090 ถุง และอาหารกล่อง จำนวน 3,500 กล่อง
3. การคาดหมายลักษณะอากาศระหว่างวันที่ 20 - 26 กันยายน 2553
กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายลักษณะอากาศว่า ในช่วงวันที่ 20-21 กันยายน 2553 ร่องมรสุมที่พาดผ่านประเทศไทยมีกำลังอ่อนลง ทำให้ทั่วประเทศมีฝนลดลง ส่วนในช่วงวันที่ 22-26 กันยายน 2553 ร่องมรสุมที่พาดผ่านประเทศไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มมากขึ้น และมีฝนตกหนักในหลายพื้นที่ ขอให้ประชาชนบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่าน และที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำของภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคกลาง ระมัดระวังอันตรายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง ที่อาจจะเกิดขึ้นได้อีก
อนึ่ง พายุโซนร้อน “ฟานาปี” (FANAPI) ได้เคลื่อนขึ้นฝั่งที่มณฑลฟูเจี้ยน ประเทศจีน และจะอ่อนกำลังลงเป็นลำดับ
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์ในพื้นที่อย่าง ต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ไว้ให้พร้อม เพื่อสามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ทันต่อเหตุการณ์ เมื่อเกิดสาธารณภัยขึ้น
อนึ่ง กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้รับรายงานข้อมูลเหตุแผ่นดินไหว (ระหว่างวันที่ 14-20 กันยายน 2553) จากศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ และกรมอุตุนิยมวิทยา ว่าได้เกิดแผ่นดินไหว แต่ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2553 เวลา 22.48 น. แผ่นดินไหวในประเทศพม่า ขนาด 3.9 ริกเตอร์ ห่างจากอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน 47 กิโลเมตร และเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2553 เวลา 15.58 น. แผ่นดินไหวบนบก ขนาด 4.7 ริกเตอร์ ในประเทศลาว ห่างจากอำเภอบุ่งคล้า จังหวัดหนองคาย 234 กิโลเมตร
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 21 กันยายน 2553--จบ--