คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงแรงงานรายงานผลการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้งปี 2550 ของกระทรวงแรงงาน ครั้งที่ 1 โดยหน่วยงานในสังกัดทุกหน่วยงาน ได้เข้าดำเนินการให้ความช่วยเหลือแรงงานที่ประสบ ภัยแล้งโดยใช้งบประมาณปี 2550 ของกระทรวงแรงงาน ซึ่งผลการช่วยเหลือ ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2550 มีแรงงานที่ประสบภัยได้รับการช่วยเหลือแล้ว รวมทั้งสิ้น 15,903 คน ดังนี้
1) การตรึงประชาชนให้อยู่ในพื้นที่ ดำเนินการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบและไม่สามารถประกอบอาชีพได้ให้มีอาชีพเสริม หรือได้รับการทำงานระยะสั้นในพื้นที่ของตนเองเป็นอันดับแรก โดยนำบริการของทุกหน่วยงานในสังกัด อาทิ การฝึกอาชีพแรงงานในชนบท สร้างอาชีพใหม่ให้แก่ผู้ว่างงานแนะแนวอาชีพอิสระแก่ประชาชนให้บริการทางการแพทย์และความรู้ด้านประกันสังคมในหมู่บ้านที่ประสบภัย มีประชาชนที่ประสบภัยได้รับบริการการช่วยเหลือ จำนวน 4,943 คน
2) การเตรียมการสำหรับผู้ที่ต้องการอพยพ โดยอำนวยความสะดวกในการหางานทำให้แก่ผู้ประสบภัยที่ต้องการหางานทำนอกพื้นที่ ให้สามารถเคลื่อนย้ายไปทำงานในจังหวัดที่มีตำแหน่งงานว่าง และได้รับการจ้างงานตามที่ต้องการ โดยไม่ถูกหลอกลวงจากกลุ่มมิจฉาชีพ ได้แก่ การจัดหาตำแหน่งงานว่าง พร้อมอำนวยความสะดวกการจัดส่งแรงงาน จัดงานนัดพบแรงงานและให้ความรู้ด้านสิทธิประโยชน์แรงงาน มีประชาชนที่ประสบภัยได้รับบริการการช่วยเหลือจำนวน 4,674 คน
3) เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ปลายทางการอพยพเคลื่อนย้ายแรงงาน โดยเฉพาะที่สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) และสถานีรถยนต์โดยสารประจำทางกรุงเทพ (ตลาดหมอชิต 2) เพื่อเฝ้าระวังการหลอกลวงตลอดเวลา 24 ชั่วโมง รวมทั้งประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประสบภัยทราบ และได้รับความรู้ด้านการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายแรงงาน และสิทธิประโยชน์ในระบบประกันสังคม เพื่อป้องกันการถูกหลอกลวง มีประชาชนที่ประสบภัยได้รับบริการการช่วยเหลือ จำนวน 6,286 คน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 มีนาคม 2550--จบ--
1) การตรึงประชาชนให้อยู่ในพื้นที่ ดำเนินการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบและไม่สามารถประกอบอาชีพได้ให้มีอาชีพเสริม หรือได้รับการทำงานระยะสั้นในพื้นที่ของตนเองเป็นอันดับแรก โดยนำบริการของทุกหน่วยงานในสังกัด อาทิ การฝึกอาชีพแรงงานในชนบท สร้างอาชีพใหม่ให้แก่ผู้ว่างงานแนะแนวอาชีพอิสระแก่ประชาชนให้บริการทางการแพทย์และความรู้ด้านประกันสังคมในหมู่บ้านที่ประสบภัย มีประชาชนที่ประสบภัยได้รับบริการการช่วยเหลือ จำนวน 4,943 คน
2) การเตรียมการสำหรับผู้ที่ต้องการอพยพ โดยอำนวยความสะดวกในการหางานทำให้แก่ผู้ประสบภัยที่ต้องการหางานทำนอกพื้นที่ ให้สามารถเคลื่อนย้ายไปทำงานในจังหวัดที่มีตำแหน่งงานว่าง และได้รับการจ้างงานตามที่ต้องการ โดยไม่ถูกหลอกลวงจากกลุ่มมิจฉาชีพ ได้แก่ การจัดหาตำแหน่งงานว่าง พร้อมอำนวยความสะดวกการจัดส่งแรงงาน จัดงานนัดพบแรงงานและให้ความรู้ด้านสิทธิประโยชน์แรงงาน มีประชาชนที่ประสบภัยได้รับบริการการช่วยเหลือจำนวน 4,674 คน
3) เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ปลายทางการอพยพเคลื่อนย้ายแรงงาน โดยเฉพาะที่สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) และสถานีรถยนต์โดยสารประจำทางกรุงเทพ (ตลาดหมอชิต 2) เพื่อเฝ้าระวังการหลอกลวงตลอดเวลา 24 ชั่วโมง รวมทั้งประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประสบภัยทราบ และได้รับความรู้ด้านการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายแรงงาน และสิทธิประโยชน์ในระบบประกันสังคม เพื่อป้องกันการถูกหลอกลวง มีประชาชนที่ประสบภัยได้รับบริการการช่วยเหลือ จำนวน 6,286 คน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 มีนาคม 2550--จบ--