มาตรการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs ย่านราชประสงค์และพื้นที่ใกล้เคียง

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday September 29, 2010 14:34 —มติคณะรัฐมนตรี

เรื่อง มาตรการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs ย่านราชประสงค์และพื้นที่ใกล้เคียงที่ได้รับผลกระทบ

จากเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมือง (ปรับปรุงเพิ่มเติม)

คณะรัฐมนตรีเห็นชอบมาตรการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs ย่านราชประสงค์และพื้นที่ใกล้เคียงที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมือง (ปรับปรุงเพิ่มเติม) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ

สาระสำคัญของเรื่อง

กระทรวงการคลังได้ดำเนินการตามที่คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2553 มอบหมายแล้ว และมีข้อเสนอเงื่อนไขของมาตรการสินเชื่อ ดังนี้

1. วงเงินดำเนินโครงการ : เห็นควรแยกวงเงินให้ชัดเจนระหว่างสินเชื่อตามโครงการราชประสงค์ฯ ที่ยังคงเหลืออยู่จำนวน 5,000 ล้านบาท เป็นดังนี้

(1) สินเชื่อแบบมีหลักประกันและไม่มีหลักประกันตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2553 วันที่ 25 พฤษภาคม 2553 และวันที่ 8 มิถุนายน 2553 วงเงิน 3,000 ล้านบาท

(2) สินเชื่อเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมที่ยังไม่ได้รับค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัย วงเงิน 2,000 ล้านบาท

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการที่ได้รับความเสียหายจากเพลิงไหม้หรือเหตุเกี่ยวข้องกับเพลิงไหม้ และมีกรมธรรม์ประกันภัย และอยู่ระหว่างดำเนินการฟ้องร้องดำเนินคดีบริษัทประกันภัยต่อศาล ซึ่งต้องการจะขอสินเชื่อเพิ่มเติมจากที่ได้รับสินเชื่อแบบไม่มีหลักประกันตามข้อ (1) ไปแล้ว จะต้องเลือกขอสินเชื่อประเภทใดประเภทหนึ่งระหว่างสินเชื่อแบบมีหลักประกันตามข้อ (1) หรือสินเชื่อตามข้อ (2) ได้เพียงประเภทเดียวเท่านั้น

2. หลักเกณฑ์/เงื่อนไขของสินเชื่อแบบมีหลักประกันและไม่มีหลักประกันตามโครงการราชประสงค์เดิม วงเงิน 3,000 ล้านบาท : เห็นควรแก้ไขเรื่องกลุ่มเป้าหมาย และระยะเวลาในการพิจารณาสินเชื่อ ดังนี้

(1) กลุ่มเป้าหมาย : เห็นควรแก้ไข จาก กำหนดว่าเป็นผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมโดยยึดตามกรอบพื้นที่ที่คณะกรรมการช่วยเหลือผู้ประกอบการและลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมได้กำหนดไว้ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานครทั้งหมด เป็น ผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมโดยยึดตามกรอบพื้นที่ที่กรุงเทพมหานครประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติ 7 เขต รวมไปถึงพื้นที่เขตดุสิตและพระนคร หรืออยู่ในเขตพื้นที่ที่ถูกจำกัดการเข้าออก เช่น บริเวณกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์

(2) ระยะเวลาในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ : เห็นควรแก้ไข จาก ธพว. ต้องดำเนินการปล่อยสินเชื่อโดยเร็ว ให้แล้วเสร็จภายใน 7 วันนับแต่วันที่ได้รับเอกสารครบถ้วน เป็น กรณีการกู้แบบไม่มีหลักประกัน ธพว. ต้องดำเนินการปล่อยสินเชื่อให้แล้วเสร็จภายใน 7 วัน สำหรับกรณีการกู้แบบมีหลักประกันนั้น ให้ ธพว. พิจารณาให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ทั้งนี้ เนื่องจากกรณีการกู้แบบมีหลักประกันอาจต้องมีการประเมินราคาหลักประกัน และต้องมีการสำรวจกิจการของผู้ขอกู้และผู้ค้ำประกัน จึงอาจไม่สามารถพิจารณาสินเชื่อให้แล้วเสร็จภายใน 7 วันได้

สำหรับหลักเกณฑ์/เงื่อนไขอื่นๆ ให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเดิมทั้งหมด ซึ่งสรุปได้ดังนี้
วงเงินสินเชื่อต่อราย                 กรณีการกู้แบบไม่มีหลักประกัน (Clean Loan) ไม่เกิน 1 ล้านบาท
กรณีการกู้แบบมีหลักประกัน  :          ไม่เกิน 3 ล้านบาท

ทั้งนี้ ผู้กู้รายหนึ่งสามารถกู้ได้ทั้งแบบมีหลักประกันและแบบไม่มีหลักประกัน

โดยวงเงินสินเชื่อต่อรายรวมทั้งสิ้นต้องไม่เกิน 4 ล้านบาท

วัตถุประสงค์การกู้                   เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ
ระยะเวลาปลอดชำระคืนเงินต้น         2 ปี
ระยะเวลาการกู้ยืม                  ไม่เกิน 6 ปี
ระยะเวลาดำเนินโครงการ            สิ้นสุดวันรับคำขอสินเชื่อภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2553 หรือจนกว่าจะเต็มวงเงินสินเชื่อของโครงการ
อัตราดอกเบี้ย                      กรณี Clean Loan และกิจการถูกไฟไหม้
  • วงเงิน 300,000 บาทแรก

ปีแรกไม่มีดอกเบี้ย

ปีที่ 2 — 6 ดอกเบี้ยร้อยละ 3 ต่อปี

  • วงเงินที่เกินจาก 300,000 บาทถึง 1 ล้านบาท

ปีที่ 1 — 6 ดอกเบี้ยร้อยละ 3 ต่อปี

กรณี Clean Loan และกิจการไม่ถูกไฟไหม้

ปีที่ 1 — 6 ดอกเบี้ยร้อยละ 3 ต่อปี

กรณีการกู้แบบมีหลักประกัน

ปีที่ 1 — 6 ดอกเบี้ยร้อยละ MLR ลบ 3 ต่อปี

ทั้งนี้ ให้สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ชดเชยดอกเบี้ย ให้ ธพว.

ร้อยละ 2 ต่อปี สำหรับสินเชื่อทั้งแบบที่มีหลักประกันและไม่มีหลักประกัน ตลอดอายุโครงการ

หลักประกัน                        - กรณี Clean Loan  : ไม่มีหลักประกัน
  • กรณีการกู้แบบมีหลักประกัน : ให้สามารถเลือกใช้หลักประกันแนวทางใดแนวทางหนึ่ง

หรือหลายแนวทางร่วมกัน ดังนี้

(1) ที่ดิน ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง สิ่งปลูกสร้าง อาคารชุด ห้องชุด เครื่องจักร อุปกรณ์

การรับโอนสิทธิการเช่าในอสังหาริมทรัพย์ของที่ราชพัสดุของกรมธนารักษ์ โดยให้วงเงินกู้

สูงสุดไม่เกินร้อยละ 100 ของการรับราคาหลักประกันของธนาคาร หรือ

(2) บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล หรือ

(3) การค้ำประกันไขว้ (Cross Guarantee)

การตรวจสอบข้อมูลเครดิต             ผู้กู้และผู้ค้ำประกันต้องเป็นผู้ตรวจข้อมูลเครดิตเอง และต้องไม่มีปัญหาภาระหนี้ค้างชำระ
สำหรับการกู้แบบมีหลักประกัน           กับสถาบันการเงินใด ๆ เว้นแต่ได้ปรับโครงสร้างหนี้แล้ว (ส่วนกรณีการกู้แบบไม่มีหลักประกัน

จะไม่มีการตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้อง)

การบันทึกบัญชีของ ธพว.              ให้ ธพว. แยกบันทึกบัญชีการดำเนินงานตามโครงการนี้ออกจากการดำเนินงานปกติ (Public

Service Account : PSA) เพื่อขอรับการชดเชยความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตจากรัฐบาล

3. หลักเกณฑ์/เงื่อนไขของสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่มีกรมธรรม์ประกันภัยซึ่งได้รับผลกระทบจากการชุมนุมที่ยังไม่ได้รับค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัย วงเงิน 2,000 ล้านบาท ดังนี้

กลุ่มเป้าหมาย                       ผู้ประกอบการ SMEs ในเขตพื้นที่ที่กรุงเทพมหานครประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติ 7 เขต

รวมไปถึงพื้นที่เขตดุสิตและพระนคร ที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมือง โดยได้รับ

ความเสียหายจากเพลิงไหม้หรือเหตุเกี่ยวเนื่องกับเพลิงไหม้ และมีกรมธรรม์ประกันภัย แต่ยัง

ไม่ได้รับค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัย และอยู่ระหว่างฟ้องร้องดำเนินคดีบริษัทประกันภัย

กับศาล และจะต้องไม่เป็นผู้ที่ขอกู้ยืมแบบมีหลักประกันตามข้อ 2.

วัตถุประสงค์การกู้                    เพื่อใช้ปรับปรุง ซ่อมแซม หรือก่อสร้างอาคาร สิ่งปลูกสร้างสถานประกอบการ

ที่ได้รับความเสียหายจากเหตุเพลิงไหม้ หรือความเสียหายที่เกี่ยวเนื่องจากเหตุเพลิงไหม้

วงเงินสินเชื่อต่อราย                  ไม่เกินร้อยละ 60 ของมูลค่าความเสียหายที่ประเมินโดยบริษัทประกันภัยหรือหน่วยงานอื่นที่เชื่อถือได้

หรือจำนวนเงินที่เอาประกันภัยตามกรมธรรม์ แล้วแต่จำนวนใดจะต่ำกว่า ทั้งนี้ ต้องไม่เกิน 5 ล้านบาท

ต่อราย

ระยะเวลาปลอดชำระคืนเงินต้น          2 ปี
ระยะเวลาการกู้ยืม                   ไม่เกิน 6 ปี
อัตราดอกเบี้ย                       ดอกเบี้ยร้อยละ MLR ลบ 3 ต่อปี  ทั้งนี้ ให้ สสว. ชดเชยดอกเบี้ยให้ ธพว. ร้อยละ 2 ต่อปี

ตลอดอายุโครงการ

หลักประกัน                         ไม่ต้องมีหลักประกัน
ระยะเวลาในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ     ธพว. ต้องดำเนินการปล่อยสินเชื่อให้แล้วเสร็จโดยเร็ว  (เนื่องจาก ธพว. ต้องตรวจสอบมูลค่า

ความเสียหาย และมูลค่าการก่อสร้างเพื่อกำหนดเงื่อนไขการเบิกจ่ายตามความคืบหน้าของการก่อสร้าง

จึงไม่สามารถพิจารณาสินเชื่อให้แล้วเสร็จภายใน 7 วันได้) เงื่อนไขในสัญญาเงินกู้ที่จะต้องมีการ 1. ในภายหลังเมื่อมีข้อยุติว่าบริษัทประกันภัยต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่

ดำเนินการหลังเบิกจ่ายเงินกู้แล้ว         ผู้กู้ซึ่งเป็นผู้เอาประกันแล้ว หากผู้กู้ไม่ติดเงื่อนไขที่ต้องยกผลประโยชน์จากสินไหมให้กับสถาบันการเงิน
(เป็นเงื่อนไขบังคับภายหลัง และหาก      ที่เป็นเจ้าหนี้ก่อนเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ หรือมีผลประโยชน์คงเหลือจากการชำระให้กับสถาบันการเงิน
ผู้ไม่ดำเนินการตามที่ตกลง ธพว.         อื่นๆ แล้ว ให้ผู้กู้นำผลประโยชน์ดังกล่าวหรือผลประโยชน์ที่เหลือมาชำระให้กับ ธพว.
จะถือเป็นเหตุผิดสัญญา)                2. สำหรับการก่อสร้างใหม่ ผู้กู้ต้องมีการทำประกันภัยและยกผลประโยชน์ให้ ธพว. เป็นลำดับแรก

สำหรับหลักเกณฑ์/เงื่อนไขของสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่มีกรมธรรม์ประกันภัยซึ่งได้รับผลกระทบจากการชุมนุมที่ยังไม่ได้รับค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัย วงเงิน 2,000 ล้านบาท ในเรื่องอื่น ๆ ให้เป็นไปตามแนวทางเดียวกันกับสินเชื่อแบบมีหลักประกันและไม่มีหลักประกันตามโครงการราชประสงค์เดิม วงเงิน 3,000 ล้านบาท ดังนี้

ระยะเวลาดำเนินโครงการ           สิ้นสุดวันรับคำขอสินเชื่อภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2553 หรือจนกว่าจะเต็มวงเงินสินเชื่อของโครงการ
การบันทึกบัญชีของ ธพว.             ให้ ธพว. แยกบันทึกบัญชีการดำเนินงานตามโครงการนี้ออกจากการดำเนินงานปกติ (Public Service

Account : PSA) เพื่อขอรับการชดเชยความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตจากรัฐบาล

การตรวจสอบข้อมูลเครดิต            ผู้กู้ต้องเป็นผู้ตรวจข้อมูลเครดิตเอง และต้องไม่มีปัญหาหนี้ค้างชำระกับสถาบันการเงินใดๆ เว้นแต่ได้รับ

การปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้ว หรือมีข้อยุติเป็นทางการจากเจ้าหนี้แล้ว

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 28 กันยายน 2553--จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ