สรุปสถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตรปี 2553 ครั้งที่ 32

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday September 29, 2010 16:08 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีรับทราบข้อมูลสรุปสถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตรปี 2553 ครั้งที่ 32 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดังนี้

สถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตร

สถานการณ์อุทกภัย

ปัจจุบันมีสถานการณ์อุทกภัย จำนวน 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร นครสวรรค์ ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง และพระนครศรีอยุธยา

1. จังหวัดสุโขทัย

สถานการณ์น้ำท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำ ในพื้นที่ตำบลกง อำเภอกงไกลาศ ระดับน้ำท่วมสูงประมาณ 0.30 ถึง0.70 เมตร

สถานการณ์น้ำท่วมขัง ในพื้นที่อำเภอเมือง 6 ตำบล ได้แก่ ตำบลยางซ้าย ปากพระ ปากแคว บ้านสวน บ้านหลุม และ ตาลเตี้ย แนวโน้มระดับน้ำทรงตัว

2. จังหวัดพิษณุโลก

สถานการณ์น้ำล้นตลิ่ง ในพื้นที่อำเภอบางระกำ น้ำล้นตลิ่ง 2.37 เมตร แนวโน้มระดับน้ำเพิ่มขึ้น เนื่องจากยังมีน้ำไหลจากจังหวัดสุโขทัยและจังหวัดแพร่อย่างต่อเนื่อง

3. จังหวัดพิจิตร

สถานการณ์น้ำล้นตลิ่ง ในพื้นที่อำเภอสามง่าม 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลสามง่าม กำแพงดิน รังนก เนินปอ โพธิ์ประทับช้าง 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลโพธิ์ประทับช้าง วังจิก ไผ่ท่าโพ ไผ่รอบ บึงนางราง 1 ตำบล คือ ตำบลบางลาย โพทะเล 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลโพทะเล ท่าเสา ทะนง ท้ายน้ำ ท่าขมิ้น แนวโน้มระดับน้ำทรงตัว

4. จังหวัดนครสวรรค์

สถานการณ์น้ำท่วมขัง ในพื้นที่อำเภอชุมแสง 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลบางเคียน โคกหม้อ แนวโน้มระดับทรงตัว

5. จังหวัดชัยนาท

สถานการณ์น้ำท่วมขัง ในพื้นที่อำเภอเนินขาม 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลเนินขาม สุขเดือนห้า กะบกเตี้ย หนองมะโมง 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลหนองมะโมง วังตะเคียน สะพานหิน กุดจอก

6. จังหวัดสิงห์บุรี

สถานการณ์น้ำล้นตลิ่ง ในพื้นที่อำเภออินทร์บุรี 6 ตำบล 1 เทศบาล ได้แก่ ตำบลท่างาม น้ำตาล ประศุก ทับยา อินทร์บุรี ชีน้ำราย เทศบาลตำบลอินทร์บุรี เนื่องจากปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาเกิน 2,000 ลบ.ม./วินาที

7. จังหวัดอ่างทอง

สถานการณ์น้ำล้นตลิ่ง ในพื้นที่อำเภอป่าโมก 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลโผงเผง บางเสด็จ เนื่องจากปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาเกิน 1,800 ลบ.ม./วินาที แนวโน้มระดับน้ำลดลง

8. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

สถานการณ์น้ำท่วมขัง ในพื้นที่อำเภอพระนครศรีอยุธยา 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลภูเขาทอง คลองตะเคียน ไผ่ลิง และตำบลบ้านป้อม อำเภอบางไทร 23 ตำบล ได้แก่ ตำบลบางยี่โท ช่างเหล็ก แคตก ห่อหมก หน้าไม้ บ้านเกาะ บางพลี บางไทร ไม้ตรา บ้านม้า โคกช้าง แคออก บ้านกลึง กระแชง ช้างน้อย บ้านแป้ง สนามชัย ราชคราม ช้างใหญ่ โพแตง เชียงรากน้อย กกแก้วบูรพา ไผ่พระ อำเภอมหาราช 12 ตำบล ได้แก่ ตำบลบ้านนา บ้านขวาง ท่าตอ บ้านใหม่ หัวไผ่ พิตเพียน โรงช้าง เจ้าปลุก น้ำเต้า มหาราช กะทุ่ม บางนา อำเภอผักไห่ 7 ตำบล ได้แก่ ตำบลท่าดินแดง กุฎี บ้านใหญ่ ผักไห่ อมฤต ตาลาน ลำตะเคียน อำเภอบางบาล 8 ตำบล ได้แก่ ตำบลน้ำเต้า ทางช้าง วัดตะกู บางหลวง บางหัก กบเจา บ้านคลัง วัดยม แนวโน้มระดับน้ำลดลง

สถานการณ์น้ำ

1. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั้งประเทศ (27 กันยายน 2553) มีปริมาณน้ำทั้งหมด 48,144 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 65 ของความจุอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน(46,716 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 1,428 ล้านลูกบาศก์เมตร (ปริมาณน้ำใช้การได้ 24,303 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 33 ของความจุอ่างฯ) น้อยกว่าปี 2552 (52,109 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 71) จำนวน 3,965 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถรับน้ำได้อีก 25,411 ล้านลูกบาศก์เมตร

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ (27 กันยายน 2553) มีปริมาณน้ำทั้งหมด 45,206 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 65 ของความจุอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน(43,853 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 1,353 ล้านลูกบาศก์เมตร (ปริมาณน้ำใช้การได้ 21,683 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 31 ของความจุอ่างฯ) น้อยกว่าปี 2552 (49,409 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 71) จำนวน 4,203 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถรับน้ำได้อีก 24,389 ล้านลูกบาศก์เมตร

ปริมาณน้ำไหลลงอ่างภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อย และป่าสักฯ

                                                                                       หน่วย : ล้านลูกบาศก์เมตร
อ่างเก็บน้ำ   1 ม.ค.-30 เม.ย.  1 พ.ค.- 31 ส.ค.  1-27 ก.ย.         รวม               เฉลี่ย         ผลต่างปี53
                                                          1 ม.ค.-27 ก.ย.     1 ม.ค.-27 ก.ย.   กับค่าเฉลี่ย
1.ภูมิพล         58.78           1,270.65      1,367.20        2,696.63           3,487.07       -790.44
2.สิริกิติ์        389.40           3,071.75      1,762.32        5,223.47           4,513.60        709.87
ภูมิพล+สิริกิติ์     448.18           4,342.40      3,129.52        7,920.10           8,000.60        -80.57
3.แควน้อย      113.72             344.00        427.02          884.74           1,254.69       -369.95
4.ป่าสัก         75.75             438.77        949.65        1,464.17           1,219.17        245.00
รวม 4 อ่าง     637.65           5,125.17      4,506.19       10,269.01          10,474.46       -205.52

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ และป่าสักชลสิทธิ์

                                                                              หน่วย : ล้านลูกบาศก์เมตร
อ่างเก็บน้ำ        ปริมาตรน้ำ        ปริมาตรน้ำ     ปริมาตรน้ำ           ปริมาณน้ำ         ปริมาณน้ำ    ปริมาณน้ำ
                ในอ่างปี52       ในอ่างปี 53     ใช้การได้           ไหลลงอ่าง          ระบาย      รับได้อีก
            ปริมาตรน้ำ   %    ปริมาตรน้ำ   %   ปริมาตรน้ำ    %      วันนี้  เมื่อวาน      วันนี้ เมื่อวาน
ภูมิพล           7,067  52       6,291  47      2,491   19       40    42.7        2      2    7,171
สิริกิติ์           5,760  61       7,297  77      4,447   47    33.53    33.2     3.16   2.89    2,213
ภูมิพล+สิริกิติ์     12,827  56      13,588  59      6,938   30    73.53    75.9     5.16   4.89    9,384
แควน้อยฯ          291  38         694  90        658   86    13.94   14.29      9.5    9.5       75
ป่าสักชลสิทธิ์        693  72         764  80        761   79    28.02   30.78    20.69  21.97      196
รวม 4 อ่างฯ    13,811  55      15,046  76      8,357   76   115.49  120.97    35.35  36.36    9,655

อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยกว่าร้อยละ 30 ของความจุอ่างฯ จำนวน 1 อ่าง ได้แก่ ปราณบุรี(27)

อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้ำมากกว่าร้อยละ 80 ของความจุอ่างฯ จำนวน 10 อ่าง คือ

1. แม่งัดฯ ปริมาณน้ำ 234 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 88 สามารถรับน้ำได้อีก 31 ล้านลูกบาศก์เมตร

2. กิ่วคอหมา ปริมาณน้ำ 157 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 92 สามารถรับน้ำได้อีก 13 ล้านลูกบาศก์เมตร

3. แควน้อยฯ ปริมาณน้ำ 694 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 90 สามารถรับน้ำได้อีก 75 ล้านลูกบาศก์เมตร

4. ห้วยหลวง ปริมาณน้ำ 112 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 95 สามารถรับน้ำได้อีก 6 ล้านลูกบาศก์เมตร

5. อุบลรัตน์ ปริมาณน้ำ 1,972 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 81 สามารถรับน้ำได้อีก 460 ล้านลูกบาศก์เมตร

6. ลำปาว ปริมาณน้ำ 1,340 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 94 ของความจุอ่างฯ สามารถรับน้ำได้อีก 90 ล้านลูกบาศก์เมตร

7. ลำพระเพลิง ปริมาณน้ำ 101 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 92 สามารถรับน้ำได้อีก 8 ล้านลูกบาศก์เมตร

8. กระเสียว ปริมาณน้ำ 257 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 107

9. หนองปลาไหล ปริมาณน้ำ 158 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 96 ของความจุอ่างฯ สามารถรับน้ำได้อีก 6 ล้านลูกบาศก์เมตร

10.ประแสร์ ปริมาณน้ำ 213 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 86 ของความจุอ่างฯ สามารถรับน้ำได้อีก 35 ล้านลูกบาศก์เมตร

2. สภาพน้ำท่า

ปริมาณน้ำในลำน้ำต่างๆ ตามสถานีสำรวจปริมาณน้ำท่า กรมชลประทาน พบว่ามีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ ยกเว้น แม่น้ำยม อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก (น้ำท่วม) แม่น้ำน่าน อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์(น้ำมาก) แม่น้ำป่าสัก อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ (น้ำท่วม) แม่น้ำชี อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร (น้ำท่วม) อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ(น้ำมาก) แม่น้ำมูล อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี(น้ำมาก)

ปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ 1,718 ลบ.ม./วินาที (ลดลงจากเมื่อวาน 27 ลบ.ม./วินาที)

ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา 1,732 ลบ.ม./วินาที (ลดลงจากเมื่อวาน 97 ลบ.ม./วินาที)

ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนพระรามหก 243 ลบ.ม./วินาที (ลดลงจากเมื่อวาน 4 ลบ.ม./วินาที)

รับน้ำเข้าระบบส่งน้ำทุ่งฝั่งตะวันออก 187 ลบ.ม./วินาที

รับน้ำเข้าระบบส่งน้ำทุ่งฝั่งตะวันตก 151 ลบ.ม./วินาที

การดำเนินการตามแผนเตรียมสถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตร

1. แจ้งเตือนผ่านศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตรจังหวัด

“ฝนตกหนักและลมกระโชกแรง” ช่วงวันที่ 22 กันยายน 2553 ร่องมรสุมเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แจ้งเตือนให้เกษตรกรเตรียมการรับสถานการณ์ฝนตกหนักและลมกระโชกแรง บริเวณประเทศไทยตอนบน พื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณที่ลาดเชิงเขา หรือที่ลุ่มใกล้ทางน้ำไหลของ อาจเกิดน้ำป่าไหลหลากและดินถล่มได้

2. สนับสนุนเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ ได้เตรียมการไว้ จำนวน 1,200 เครื่อง สนับสนุนแล้วจำนวน 855 เครื่อง (เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 63 เครื่อง) ในพื้นที่ 59 จังหวัด(ลดลง 2 จังหวัด) ดังนี้

ภาคเหนือ 16 จังหวัด จำนวน 215 เครื่อง ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่(35) นครสวรรค์(6) เพชรบูรณ์(2) ลำปาง (34) น่าน(12) พิษณุโลก(17) แพร่(16) ตาก(16) ลำพูน(17) พะเยา(6) แม่ฮ่องสอน(18) เชียงราย(3) อุตรดิตถ์(5) สุโขทัย (10) กำแพงเพชร(10) พิจิตร(8)

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 17 จังหวัด จำนวน 277 เครื่อง ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา(47) ขอนแก่น(20) มหาสารคาม(17) ร้อยเอ็ด(31) กาฬสินธุ์(45) อุบลราชธานี(6) นครพนม(14) มุกดาหาร(11) ชัยภูมิ(10) อำนาจเจริญ(14) สุรินทร์(7) ศรีสะเกษ(11) อุดรธานี(5) สกลนคร(9) ยโสธร(12) บุรีรัมย์(9) หนองคาย(9)

ภาคกลาง 14 จังหวัด จำนวน 232 เครื่อง ได้แก่ จังหวัดชัยนาท(20) พระนครศรีอยุธยา(13) สิงห์บุรี(1) นนทบุรี(7) ปทุมธานี(11) นครปฐม(8) ลพบุรี(16) สุพรรณบุรี(85) สระบุรี(8) ราชบุรี(30) อุทัยธานี(15) อ่างทอง(9) กาญจนบุรี(7) กรุงเทพฯ(2)

ภาคตะวันออก 4 จังหวัด จำนวน 69 เครื่อง ได้แก่ จังหวัดนครนายก(15) ปราจีนบุรี(28) ฉะเชิงเทรา(18) ระยอง(8)

ภาคใต้ 8 จังหวัด จำนวน 92 เครื่อง ได้แก่ จังหวัด เพชรบุรี(39) นครศรีธรรมราช(19) พังงา(1) สงขลา(14) ยะลา(6) พัทลุง(2) ปัตตานี(3) ชุมพร(8)

3. สนับสนุนพืชอาหารสัตว์ จำนวน 118,540 กิโลกรัม (เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 42,200 กิโลกรัม) แร่ธาตุและเวชภัณฑ์ 396 ชุด (เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 236 ชุด) และดูแลสุขภาพสัตว์ 42,077 ตัว(เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 2,640 ตัว) ในพื้นที่ 13 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดหนองคาย ชัยภูมิ ร้อยเอ็ด อุบลราชธานี อำนาจเจริญ น่าน เชียงราย พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุตรดิตถ์ พระนครศรีอยุธยา

ผลกระทบด้านการเกษตร

อุทกภัย ช่วงภัยวันที่ 1 สิงหาคม — 24 กันยายน 2553 (ข้อมูล ณ วันที่ 24 ก.ย. 2553)

ประสบภัยด้านการเกษตร 53 จังหวัด ได้แก่

ภาคเหนือ 17 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก นครสวรรค์ น่าน พะเยา พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน สุโขทัย อุตรดิตถ์ อุทัยธานี

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 17 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ มุกดาหาร มหาสารคาม ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย สกลนคร หนองคาย หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ อุดรธานี อุบลราชธานี

ภาคกลาง 12 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ กาญจนบุรี ชัยนาท นครปฐม นนทบุรี พระนครศรีอยุธยา ราชบุรี ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง

ภาคตะวันออก 6 จังหวัด ได้แก่ จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด นครนายก ปราจีนบุรี

ภาคใต้ 1 จังหวัด ได้แก่ ระนอง

คาดว่าจะเสียหาย

ด้านพืช 52 จังหวัด เกษตรกร 244,237 ราย พื้นที่ 2,181,162 ไร่

ด้านประมง 33 จังหวัด เกษตรกร 21,533 รายพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 21,983 ไร่และกระชังเลี้ยงสัตว์น้ำ 5,532 ตารางเมตร

ด้านปศุสัตว์ 26 จังหวัด เกษตรกร 27,537 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ 1,203,327 ตัว และแปลงหญ้า 71.25 ไร่

ภาค                     ด้านพืช                 ด้านประมง                        ด้านปศุสัตว์
               เกษตรกร     คาดว่าจะ    เกษตรกร     คาดว่าจะเสียหาย     เกษตรกร    สัตว์ได้รับ     แปลงหญ้า
                            เสียหาย                                             ผลกระทบ
                   ราย          ไร่        ราย       ไร่     ตรม.         ราย         ตัว          ไร่
เหนือ            93,032     883,904      8,754    7,763      668      24,406  1,054,646       30.75
ต.อ.เฉียงเหนือ   126,424     906,075     12,266   12,254    1,639       4,715    114,935           -
กลาง            20,706     335,721        136      196    3,225       1,215     33,746        40.5
ตะวันออก          4,060      55,445        377    1,770        -           -          -           -
ใต้                  15          17          -        -        -           -          -           -
รวม            244,237   2,181,162     21,533   21,983    5,532      27,537  1,203,327       71.25

การดำเนินการ

การให้ความช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

ด้านพืช ช่วยเหลือแล้วบางส่วนด้วยงบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น งบทดรองราชการในอำนาจอำเภอและจังหวัด จำนวน 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดน่าน ลำปาง เชียงราย ตราด และชลบุรี เกษตรกร 6,065 ราย พื้นที่เสียหาย 14,283 ไร่ เป็นเงิน 10,180,051 บาท

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 28 กันยายน 2553--จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ