คณะรัฐมนตรีเห็นชอบการกำหนดกลุ่มตรวจสอบภายใน กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร และกลุ่มงานด้านวิชาการไว้ในกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการตามข้อเสนอของสำนักงาน ก.พ.ร. ตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และให้แจ้งเวียนให้ทุกส่วนราชการทราบและถือปฏิบัติเพื่อเป็นบรรทัดฐานเดียวกันต่อไป
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการายงานว่า คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 2) ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2550 แล้วมีความเห็นโดยสรุปดังนี้
1. การกำหนดส่วนราชการภายในของกรมว่า จะมีส่วนราชการใดบ้างนั้นได้มีการบัญญัติไว้ในมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 เป็นการแบ่งส่วนราชการทั่วไปนั้นว่า กรมอาจแบ่งส่วนราชการเป็น (1) สำนักงานเลขานุการกรม (2) กอง หรือส่วนราชการที่มีฐานะเทียบกอง และยังได้บัญญัติเป็นข้อยกเว้นการแบ่งส่วนราชการทั่วไปนั้นไว้ สองกรณี คือ กรณีแรกตามมาตรา 31(2) ได้บัญญัติให้กรมใดไม่มีความจำเป็นจะแบ่งส่วนราชการเป็นกองจะไม่แยกส่วนราชการตั้งขึ้นเป็นกองก็ได้ และกรณีที่สองตามมาตรา 31 วรรคสอง ได้บัญญัติให้กรมใดที่มีความจำเป็น จะแบ่งส่วนราชการโดยให้มีส่วนราชการอื่นนอกจากสำนักงานเลขานุการกรมหรือกองก็ได้ ฉะนั้นการที่กรมใดมีเหตุผลเป็นพิเศษที่จำเป็นต้องกำหนดส่วนราชการเป็นกลุ่มงานที่มิได้มีฐานะเป็นกอง โดยเป็นส่วนราชการอื่นตามมาตรา 31 วรรคสอง และมีขอบเขตอำนาจหน้าที่โดยเฉพาะ จึงสามารถกระทำได้ ทั้งนี้ การพิจารณาจัดตั้งเป็นส่วนราชการอื่นไม่ว่าในรูปแบบกลุ่มงานหรือรูปแบบอื่นใด จึงต้องมีข้อพิจารณาว่า ต้องมีสภาพเป็นส่วนราชการต่างหาก จากกองโดยมีการปฏิบัติงานเป็นการถาวรและดำเนินการอย่างต่อเนื่องในงานประจำของกรมมิใช่เป็นการกำหนดขึ้น เพื่อปฏิบัติหน้าที่เป็นการชั่วคราว หรือตามโครงการ หรือเป็นงานส่วนหนึ่งหรือเกี่ยวข้องกับกองใดกองหนึ่งที่มีอยู่แล้วในกรมนั้น เพราะมิใช่เป็นภารกิจที่มีลักษณะจัดตั้งเป็นส่วนราชการขึ้นโดยเฉพาะได้
2. การกำหนดให้มีกลุ่มตรวจสอบภายในและกลุ่มพัฒนาระบบบริหารหากเป็นการจัดส่วนราชการขึ้นเพื่อมีหน้าที่สนับสนุนการบริหารราชการให้มีประสิทิภาพโดยเป็นการปฏิบัติงานที่ต้องสอดคล้องกับนโยบายและมาตรฐานของหน่วยงานกลางอื่น ซึ่งได้แก่ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน กระทรวงการคลัง หรือคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ซึ่งภารกิจของกลุ่มงานทั้งสองกลุ่มงานไม่อาจจัดอยู่ในส่วนราชการใดในกรมและมีความจำเป็นต้องจัดตั้งเป็นส่วนราชการโดยเฉพาะเพื่อให้มีขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่ที่ชัดเจน รวมทั้งเป็นไปตามนโยบายในการบริหารราชการที่จะให้มีส่วนราชการนี้ในทุกกรม ก็สามารถกำหนดกลุ่มงานทั้งสองกลุ่มงานตามมาตรา 31 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และสามารถกำหนดส่วนราชการนั้นไว้ในกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการของแต่กรมได้
3. ส่วนกลุ่มงานด้านวิชาการนั้น หากกรมใดมีความจำเป็นต้องแบ่งส่วนราชการเพื่อรองรับการปฏิบัติหน้าที่ตามภาระหน้าที่หลักของกรมในรูปแบบกลุ่มงาน ซึ่งต้องการความเป็นอิสระในทางวิชาการมากกว่าการบริหารในรูปแบบการบังคับบัญชาตามโครงสร้างการบริหารงานรูปแบบกอง และกำหนดให้เป็นส่วนราชการตามมาตรา 31 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ก็สามารถกำหนดกลุ่มงานด้านวิชาการไว้ในกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการของกรมนั้นได้
4. มีข้อสังเกตว่า การจัดส่วนราชการอื่นเป็นกลุ่มงานควรจะพิจารณาตามความจำเป็น โดยมีเหตุผลเป็นพิเศษตามภารกิจที่มีลักษณะเฉพาะของกรมบางแห่ง แต่โดยทั่วไปแล้วการจัดส่วนราชการภายในกรมควรจะกำหนดให้เป็นกองเพื่อให้ระบบการบริหารราชการมีความชัดเจนแน่นอน ซึ่งหากรูปแบบโครงสร้างการบริหารงานของกองในปัจจุบันไม่เหมาะสมกับภาระหน้าที่ของรัฐที่มีความหลากหลาย ก็สมควรปรับปรุงโครงสร้างให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับภารกิจที่มีความแตกต่างกันได้ ซึ่ง ก.พ.ร. ควรกำหนดหลักเกณฑ์การจัดโครงสร้างภายในกรมให้ชัดเจน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 17 กรกฎาคม 2550--จบ--
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการายงานว่า คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 2) ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2550 แล้วมีความเห็นโดยสรุปดังนี้
1. การกำหนดส่วนราชการภายในของกรมว่า จะมีส่วนราชการใดบ้างนั้นได้มีการบัญญัติไว้ในมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 เป็นการแบ่งส่วนราชการทั่วไปนั้นว่า กรมอาจแบ่งส่วนราชการเป็น (1) สำนักงานเลขานุการกรม (2) กอง หรือส่วนราชการที่มีฐานะเทียบกอง และยังได้บัญญัติเป็นข้อยกเว้นการแบ่งส่วนราชการทั่วไปนั้นไว้ สองกรณี คือ กรณีแรกตามมาตรา 31(2) ได้บัญญัติให้กรมใดไม่มีความจำเป็นจะแบ่งส่วนราชการเป็นกองจะไม่แยกส่วนราชการตั้งขึ้นเป็นกองก็ได้ และกรณีที่สองตามมาตรา 31 วรรคสอง ได้บัญญัติให้กรมใดที่มีความจำเป็น จะแบ่งส่วนราชการโดยให้มีส่วนราชการอื่นนอกจากสำนักงานเลขานุการกรมหรือกองก็ได้ ฉะนั้นการที่กรมใดมีเหตุผลเป็นพิเศษที่จำเป็นต้องกำหนดส่วนราชการเป็นกลุ่มงานที่มิได้มีฐานะเป็นกอง โดยเป็นส่วนราชการอื่นตามมาตรา 31 วรรคสอง และมีขอบเขตอำนาจหน้าที่โดยเฉพาะ จึงสามารถกระทำได้ ทั้งนี้ การพิจารณาจัดตั้งเป็นส่วนราชการอื่นไม่ว่าในรูปแบบกลุ่มงานหรือรูปแบบอื่นใด จึงต้องมีข้อพิจารณาว่า ต้องมีสภาพเป็นส่วนราชการต่างหาก จากกองโดยมีการปฏิบัติงานเป็นการถาวรและดำเนินการอย่างต่อเนื่องในงานประจำของกรมมิใช่เป็นการกำหนดขึ้น เพื่อปฏิบัติหน้าที่เป็นการชั่วคราว หรือตามโครงการ หรือเป็นงานส่วนหนึ่งหรือเกี่ยวข้องกับกองใดกองหนึ่งที่มีอยู่แล้วในกรมนั้น เพราะมิใช่เป็นภารกิจที่มีลักษณะจัดตั้งเป็นส่วนราชการขึ้นโดยเฉพาะได้
2. การกำหนดให้มีกลุ่มตรวจสอบภายในและกลุ่มพัฒนาระบบบริหารหากเป็นการจัดส่วนราชการขึ้นเพื่อมีหน้าที่สนับสนุนการบริหารราชการให้มีประสิทิภาพโดยเป็นการปฏิบัติงานที่ต้องสอดคล้องกับนโยบายและมาตรฐานของหน่วยงานกลางอื่น ซึ่งได้แก่ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน กระทรวงการคลัง หรือคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ซึ่งภารกิจของกลุ่มงานทั้งสองกลุ่มงานไม่อาจจัดอยู่ในส่วนราชการใดในกรมและมีความจำเป็นต้องจัดตั้งเป็นส่วนราชการโดยเฉพาะเพื่อให้มีขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่ที่ชัดเจน รวมทั้งเป็นไปตามนโยบายในการบริหารราชการที่จะให้มีส่วนราชการนี้ในทุกกรม ก็สามารถกำหนดกลุ่มงานทั้งสองกลุ่มงานตามมาตรา 31 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และสามารถกำหนดส่วนราชการนั้นไว้ในกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการของแต่กรมได้
3. ส่วนกลุ่มงานด้านวิชาการนั้น หากกรมใดมีความจำเป็นต้องแบ่งส่วนราชการเพื่อรองรับการปฏิบัติหน้าที่ตามภาระหน้าที่หลักของกรมในรูปแบบกลุ่มงาน ซึ่งต้องการความเป็นอิสระในทางวิชาการมากกว่าการบริหารในรูปแบบการบังคับบัญชาตามโครงสร้างการบริหารงานรูปแบบกอง และกำหนดให้เป็นส่วนราชการตามมาตรา 31 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ก็สามารถกำหนดกลุ่มงานด้านวิชาการไว้ในกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการของกรมนั้นได้
4. มีข้อสังเกตว่า การจัดส่วนราชการอื่นเป็นกลุ่มงานควรจะพิจารณาตามความจำเป็น โดยมีเหตุผลเป็นพิเศษตามภารกิจที่มีลักษณะเฉพาะของกรมบางแห่ง แต่โดยทั่วไปแล้วการจัดส่วนราชการภายในกรมควรจะกำหนดให้เป็นกองเพื่อให้ระบบการบริหารราชการมีความชัดเจนแน่นอน ซึ่งหากรูปแบบโครงสร้างการบริหารงานของกองในปัจจุบันไม่เหมาะสมกับภาระหน้าที่ของรัฐที่มีความหลากหลาย ก็สมควรปรับปรุงโครงสร้างให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับภารกิจที่มีความแตกต่างกันได้ ซึ่ง ก.พ.ร. ควรกำหนดหลักเกณฑ์การจัดโครงสร้างภายในกรมให้ชัดเจน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 17 กรกฎาคม 2550--จบ--