คณะรัฐมนตรีรับทราบอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ สมัยที่ 92 (พ.ศ. 2549) และข้อแนะขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ สมัยที่ 92-93 (พ.ศ. 2547-2548) ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ และนำเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติทราบต่อไป
กระทรวงแรงงานเสนอว่า
1. อนุสนธิประเทศไทยในฐานะสมาชิกองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ได้ส่งคณะผู้แทนไตรภาคี (รัฐบาล นายจ้าง และลูกจ้าง) เข้าร่วมประชุมประจำปีขององค์การฯ ที่จัดขึ้นในเดือนมิถุนายน ณ นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์อย่างต่อเนื่องในการประชุมแต่ละสมัย ที่ประชุมได้รับรองมาตรฐานแรงงาน ในรูปของอนุสัญญา และข้อแนะ ทั้งนี้เป็นไปตามภารกิจขององค์การฯ ในการส่งเสริมประเทศสมาชิกให้ปฏิบัติตามมาตรฐานแรงงาน และประเทศสมาชิกยังมีพันธกรณีตามธรรมนูญขององค์การฯ มาตรา 19 ที่ต้องนำเสนออนุสัญญาและข้อแนะที่รับรองแล้วต่อหน่วยงานผู้ทรงอำนาจทางนิติบัญญัติเพื่อให้รับทราบถึงมาตรฐานแรงงานดังกล่าว
2. อนุสัญญาว่าด้วยแรงงานเรือเดินทะเล ค.ศ. 2006 มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงตราสารที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองแรงงานในกิจการทางทะเลของ ILO ที่มีประมาณ 60 ฉบับ ให้เป็นตราสารฉบับเดียวที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน และมีความเหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน สามารถปฏิบัติตามได้และง่ายต่อการให้สัตยาบันและอนุสัญญาฉบับนี้ จะมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นระยะเวลา 12 เดือนนับแต่วันจดทะเบียน การให้สัตยาบันของประเทศสมาชิกครบ 30 ประเทศ และประเทศเหล่านั้นมีจำนวนเรือรวมกันแล้วไม่น้อยกว่า ร้อยละ 33 ตันกรอสของจำนวนเรือตันกรอสทั่วโลก
3. ข้อแนะฉบับที่ 195 ว่าด้วยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ค.ศ. 2004 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้รัฐสมาชิกกำหนด นำมาใช้ และทบทวนนโยบายระดับชาติในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การศึกษา การฝึกอบรม และการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้สอดคล้องกับนโยบายเศรษฐกิจ การเงิน และสังคมของแต่ละประเทศบนพื้นฐานของการเจรจาทางสังคม ซึ่งกระทรวงแรงงานได้ขอความเห็นเกี่ยวกับข้อแนะดังกล่าวจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กรมการจัดหางาน กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสภาองค์การลูกจ้างแรงงานแห่งประเทศไทยมีความเห็นและมาตรการในการดำเนินการต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับแนวทางของข้อเสนอแนะฉบับที่ 195
4. ในการประชุมประจำปีองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) สมัยที่ 93 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม — 16 มิถุนายน 2549 ณ นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ที่ประชุมใหญ่ได้มีการลงมติเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2548 เพื่อรับรองการออกอนุสัญญาและข้อแนะว่าด้วยการทำงานในภาคประมง โดยการลงมติในส่วนของอนุสัญญาไม่ผ่านการรับรอง ทำให้การลงมติออกอนุสัญญาฉบับใหม่เป็นอันตกไป สำหรับร่างข้อเสนอแนะได้ผ่านมติการรับรอง แต่เนื่องจากข้อแนะเป็นส่วนเสริมของอนุสัญญา เมื่ออนุสัญญายังไม่ผ่านการรับรองจากที่ประชุมใหญ่ ทาง ILO จึงยังไม่มี การเผยแพร่ข้อแนะฉบับดังกล่าวจนกว่าอนุสัญญาว่าด้วยการทำงานในภาคประมงจะผ่านการรับรองจากที่ประชุมใหญ่ ทั้งนี้จะมีการพิจารณาร่างอนุสัญญาดังกล่าวอีกครั้งในการประชุมประจำปีองค์การแรงแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) สมัยที่ 96 ในปี ค.ศ. 2007 ซึ่งกระทรวงแรงงานพิจารณาแล้วเห็นควรนำเสนอข้อแนะว่าด้วยการทำงานในภาคประมงต่อหน่วยงานผู้ทรงอำนาจตามมาตรา 19 ของรัฐธรรมนูญ ILO ภายหลังจากอนุสัญญาว่าด้วยการทำงานในภาคประมงผ่านการรับรองจากที่ประชุมใหญ่แล้ว จึงได้เสนออนุสัญญาและข้อแนะดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ โดยมีสาระสำคัญของเรื่อง
1. อนุสัญญาว่าด้วยแรงงานเรือเดินทะเล ค.ศ. 2006 มีเนื้อหาแบ่งออกเป็น 5 หัวข้อ ดังนี้
1.1 ข้อกำหนดขั้นต่ำในการทำงานบนเรือของคนงานเดินเรือทะเล
1.2 สภาพการจ้างงาน
1.3 ที่พัก สันทนาการ อาหาร และการจัดอาหาร
1.4 การคุ้มครองเรื่องสุขภาพ การรักษาพยาบาล สวัสดิการ และการคุ้มครองทางสังคม
1.5 การปฏิบัติตามและการบังคับใช้
2. ข้อแนะฉบับที่ 195 ว่าด้วยการพิจารณาทรัพยากรมนุษย์ มีสาระสำคัญ คือ ภาครัฐควรจัดให้มีการลงทุนและสร้างสภาพการณ์ที่ช่วยส่งเสริมการศึกษาและการฝึกอบรมให้เกิดขึ้นแก่คนทุกระดับ สำหรับสถานประกอบการควรจัดให้มีการฝึกอบรมลูกจ้างของตนเอง ส่วนบุคคลควรใช้ประโยชน์จากโอกาสในการศึกษา การฝึกอบรมและการเรียนรู้ตลอดชีวิต
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 มีนาคม 2550--จบ--
กระทรวงแรงงานเสนอว่า
1. อนุสนธิประเทศไทยในฐานะสมาชิกองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ได้ส่งคณะผู้แทนไตรภาคี (รัฐบาล นายจ้าง และลูกจ้าง) เข้าร่วมประชุมประจำปีขององค์การฯ ที่จัดขึ้นในเดือนมิถุนายน ณ นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์อย่างต่อเนื่องในการประชุมแต่ละสมัย ที่ประชุมได้รับรองมาตรฐานแรงงาน ในรูปของอนุสัญญา และข้อแนะ ทั้งนี้เป็นไปตามภารกิจขององค์การฯ ในการส่งเสริมประเทศสมาชิกให้ปฏิบัติตามมาตรฐานแรงงาน และประเทศสมาชิกยังมีพันธกรณีตามธรรมนูญขององค์การฯ มาตรา 19 ที่ต้องนำเสนออนุสัญญาและข้อแนะที่รับรองแล้วต่อหน่วยงานผู้ทรงอำนาจทางนิติบัญญัติเพื่อให้รับทราบถึงมาตรฐานแรงงานดังกล่าว
2. อนุสัญญาว่าด้วยแรงงานเรือเดินทะเล ค.ศ. 2006 มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงตราสารที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองแรงงานในกิจการทางทะเลของ ILO ที่มีประมาณ 60 ฉบับ ให้เป็นตราสารฉบับเดียวที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน และมีความเหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน สามารถปฏิบัติตามได้และง่ายต่อการให้สัตยาบันและอนุสัญญาฉบับนี้ จะมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นระยะเวลา 12 เดือนนับแต่วันจดทะเบียน การให้สัตยาบันของประเทศสมาชิกครบ 30 ประเทศ และประเทศเหล่านั้นมีจำนวนเรือรวมกันแล้วไม่น้อยกว่า ร้อยละ 33 ตันกรอสของจำนวนเรือตันกรอสทั่วโลก
3. ข้อแนะฉบับที่ 195 ว่าด้วยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ค.ศ. 2004 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้รัฐสมาชิกกำหนด นำมาใช้ และทบทวนนโยบายระดับชาติในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การศึกษา การฝึกอบรม และการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้สอดคล้องกับนโยบายเศรษฐกิจ การเงิน และสังคมของแต่ละประเทศบนพื้นฐานของการเจรจาทางสังคม ซึ่งกระทรวงแรงงานได้ขอความเห็นเกี่ยวกับข้อแนะดังกล่าวจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กรมการจัดหางาน กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสภาองค์การลูกจ้างแรงงานแห่งประเทศไทยมีความเห็นและมาตรการในการดำเนินการต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับแนวทางของข้อเสนอแนะฉบับที่ 195
4. ในการประชุมประจำปีองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) สมัยที่ 93 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม — 16 มิถุนายน 2549 ณ นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ที่ประชุมใหญ่ได้มีการลงมติเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2548 เพื่อรับรองการออกอนุสัญญาและข้อแนะว่าด้วยการทำงานในภาคประมง โดยการลงมติในส่วนของอนุสัญญาไม่ผ่านการรับรอง ทำให้การลงมติออกอนุสัญญาฉบับใหม่เป็นอันตกไป สำหรับร่างข้อเสนอแนะได้ผ่านมติการรับรอง แต่เนื่องจากข้อแนะเป็นส่วนเสริมของอนุสัญญา เมื่ออนุสัญญายังไม่ผ่านการรับรองจากที่ประชุมใหญ่ ทาง ILO จึงยังไม่มี การเผยแพร่ข้อแนะฉบับดังกล่าวจนกว่าอนุสัญญาว่าด้วยการทำงานในภาคประมงจะผ่านการรับรองจากที่ประชุมใหญ่ ทั้งนี้จะมีการพิจารณาร่างอนุสัญญาดังกล่าวอีกครั้งในการประชุมประจำปีองค์การแรงแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) สมัยที่ 96 ในปี ค.ศ. 2007 ซึ่งกระทรวงแรงงานพิจารณาแล้วเห็นควรนำเสนอข้อแนะว่าด้วยการทำงานในภาคประมงต่อหน่วยงานผู้ทรงอำนาจตามมาตรา 19 ของรัฐธรรมนูญ ILO ภายหลังจากอนุสัญญาว่าด้วยการทำงานในภาคประมงผ่านการรับรองจากที่ประชุมใหญ่แล้ว จึงได้เสนออนุสัญญาและข้อแนะดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ โดยมีสาระสำคัญของเรื่อง
1. อนุสัญญาว่าด้วยแรงงานเรือเดินทะเล ค.ศ. 2006 มีเนื้อหาแบ่งออกเป็น 5 หัวข้อ ดังนี้
1.1 ข้อกำหนดขั้นต่ำในการทำงานบนเรือของคนงานเดินเรือทะเล
1.2 สภาพการจ้างงาน
1.3 ที่พัก สันทนาการ อาหาร และการจัดอาหาร
1.4 การคุ้มครองเรื่องสุขภาพ การรักษาพยาบาล สวัสดิการ และการคุ้มครองทางสังคม
1.5 การปฏิบัติตามและการบังคับใช้
2. ข้อแนะฉบับที่ 195 ว่าด้วยการพิจารณาทรัพยากรมนุษย์ มีสาระสำคัญ คือ ภาครัฐควรจัดให้มีการลงทุนและสร้างสภาพการณ์ที่ช่วยส่งเสริมการศึกษาและการฝึกอบรมให้เกิดขึ้นแก่คนทุกระดับ สำหรับสถานประกอบการควรจัดให้มีการฝึกอบรมลูกจ้างของตนเอง ส่วนบุคคลควรใช้ประโยชน์จากโอกาสในการศึกษา การฝึกอบรมและการเรียนรู้ตลอดชีวิต
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 มีนาคม 2550--จบ--