1. การแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน ครั้งที่ 24 พ.ศ. 2550 (เพิ่มเติม)
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอการแต่งตั้งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นรองประธานกรรมการ เพิ่มเติมในคณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน ครั้งที่ 24 พ.ศ. 2550
2. แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในคณะกรรมการสภาการศึกษา
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอให้แต่งตั้ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์เชาวเลิศ เลิศชโลฬาร เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในคณะกรรมการสภาการศึกษา แทนนายกฤษณพงศ์ กีรติกร ซึ่งลาออก ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2550 เป็นต้นไป
3. การแต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี รวม 2 คณะ
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 80/2550 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี รวม 2 คณะ
โดยที่สมควรปรับปรุงคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 41/2550 ลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2550 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี รวม 3 คณะ เพื่อให้สอดคล้องกับคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 70/2550 เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 12 มีนาคม 2550 ในอันที่จะทำให้การพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ที่เสนอต่อคณะรัฐมนตรีมีการตรวจสอบกลั่นกรองข้อมูล ความจำเป็น ความเหมาะสม และความสอดคล้องกับนโยบายของคณะรัฐมนตรีและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอย่างเป็นระบบและรอบคอบรัดกุมมากยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ประกอบกับมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548 นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงให้ยกเลิกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 41/2550 ลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2550 และมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี รวม 2 คณะ โดยมีองค์ประกอบ อำนาจหน้าที่และกลไกการปฏิบัติงาน ดังต่อไปนี้
1. คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 1
1.1 องค์ประกอบ
1.1.1 รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ
(นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์)
1.1.2 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากร รองประธานกรรมการ คนที่ 1
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
1.1.3 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รองประธานกรรมการ คนที่ 2
1.1.4 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กรรมการ
(นายประสิทธิ์ โฆวิไลกูล)
1.1.5 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กรรมการ
(คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์)
1.1.6 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กรรมการ
1.1.7 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กรรมการ
1.1.8 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กรรมการ
1.1.9 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยี กรรมการ
สารสนเทศและการสื่อสาร
1.1.10 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กรรมการ
1.1.11 รัฐมนตรีว่าการกระทรวง กรรมการ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
1.1.12 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง กรรมการ
เกษตรและสหกรณ์
1.1.13 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กรรมการ
1.1.14 ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ
1.1.15 เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการ กรรมการ
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
1.1.16 เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กรรมการ
1.1.17 เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กรรมการ
1.1.18 เลขาธิการคณะรัฐมนตรี กรรมการและเลขานุการ
1.1.19 รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กรรมการและ
ฝ่ายการเมืองประจำรองนายกรัฐมนตรี ผู้ช่วยเลขานุการ
(นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์)
1.2 อำนาจหน้าที่
1.2.1 พิจารณากลั่นกรองเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพลังงาน กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงาน ก.พ. สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตลอดจนเรื่องที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
1.2.2 มีอำนาจเชิญรัฐมนตรีและหน่วยงานอื่น ๆ มาชี้แจง
1.3 กลไกการปฏิบัติงาน
1.3.1 ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจัดส่งเรื่องสำคัญในปัญหาตามที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานของรัฐ ตามข้อ 1.2.1 เสนอมาเพื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณา พร้อมทั้งความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเอกสารประกอบ ให้คณะกรรมการดังกล่าวพิจารณากลั่นกรองก่อนที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรี
1.3.2 เรื่องสำคัญซึ่งจะต้องเสนอคณะกรรมการตามคำสั่งนี้ หมายถึงเรื่องที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
1.3.2.1 เรื่องที่เป็นปัญหาในเชิงนโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน
1.3.2.2 เรื่องที่ต้องใช้งบประมาณดำเนินการเป็นจำนวนมาก
1.3.2.3 เรื่องที่กระทบต่อการปฏิบัติราชการของหลายหน่วยงาน
1.3.2.4 เรื่องที่หน่วยงานต่าง ๆ มีความเห็นไม่สอดคล้องกัน
1.3.2.5 เรื่องที่ยังไม่เคยมีระเบียบแบบแผนในการปฏิบัติมาก่อน
1.3.2.6 เรื่องที่อาจมีผลกระทบต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สังคมจิตวิทยา หรือความมั่นคงหรือเสถียรภาพทางเศรษฐกิจโดยรวมในส่วนที่เกี่ยวข้อง
1.3.2.7 เรื่องที่คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีคณะอื่น นายกรัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรีขอให้พิจารณา
1.3.3 รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีทุกคนจะเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการดังกล่าวก็ได้ตามที่เห็นสมควร ในกรณีเช่นนี้ ให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่เข้าร่วมประชุมเป็นกรรมการด้วย ทั้งนี้ ให้ฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการจัดส่งระเบียบวาระการประชุมและเอกสาร อื่น ๆ ให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีทุกคนทราบทุกครั้งด้วย
1.3.4 ให้เลขาธิการนายกรัฐมนตรี และโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากบุคคลดังกล่าวเข้าร่วมประชุมเป็นกรรมการด้วย ทั้งนี้ ให้ฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการจัดส่งระเบียบวาระการประชุมและเอกสารอื่น ๆ ให้บุคคลดังกล่าวทราบทุกครั้ง
1.3.5 คณะกรรมการมีอำนาจเชิญผู้แทนกระทรวง ทบวง กรม หน่วยงานของรัฐหรือบุคคลอื่นที่อาจให้ข้อมูลเข้าร่วมประชุมในปัญหาที่เกี่ยวข้องได้ตามที่เห็นสมควร
1.3.6 วันเวลา สถานที่ และการประชุม ให้เป็นตามที่คณะกรรมการกำหนด
2. คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2
2.1 องค์ประกอบ
2.1.1 รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ
(นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม)
2.1.2 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รองประธานกรรมการ คนที่ 1
2.1.3 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รองประธานกรรมการ คนที่ 2
2.1.4 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กรรมการ
(คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์)
2.1.5 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กรรมการ
(นายธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์)
2.1.6 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กรรมการ
2.1.7 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยว กรรมการ
และกีฬา
2.1.8 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรรมการ
2.1.9 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กรรมการ
2.1.10 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กรรมการ
2.1.11 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กรรมการ
2.1.12 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กรรมการ
2.1.13 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคม กรรมการ
และความมั่นคงของมนุษย์
2.1.14 ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ
2.1.15 เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการ กรรมการ
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
2.1.16 เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กรรมการ
2.1.17 เลขาธิการคณะรัฐมนตรี กรรมการและเลขานุการ
2.1.18 รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
ฝ่ายการเมืองประจำรองนายกรัฐมนตรี
(นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม)
2.2 อำนาจหน้าที่
2.2.1 พิจารณากลั่นกรองเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงกลาโหม กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงแรงงาน กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม กรมประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ราชบัณฑิตยสถาน และองค์กรอิสระต่าง ๆ ตลอดจนเรื่องที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
2.2.2 มีอำนาจเชิญรัฐมนตรี และหน่วยงานอื่น ๆ มาชี้แจง
2.3 กลไกการปฏิบัติงาน
2.3.1 ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจัดส่งเรื่องสำคัญในปัญหาตามที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานของรัฐ ตามข้อ 2.2.1 เสนอมาเพื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาหรือเรื่องที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมายให้พิจารณา พร้อมทั้งความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเอกสารประกอบให้คณะกรรมการดังกล่าวพิจารณากลั่นกรองก่อนที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรี
2.3.2 เรื่องสำคัญตามคำสั่งนี้ซึ่งจะต้องเสนอคณะกรรมการหมายถึงเรื่องที่มีลักษณะตามข้อ 1.3.2 ข้างต้น
2.3.4 ให้นำข้อ 1.3.3 — ข้อ 1.3.6 ข้างต้น มาใช้บังคับด้วย
3. ให้มีการประชุมคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ อย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้งเว้นแต่ไม่มีเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ
ในกรณีที่ประธานกรรมการกลั่นกรอง ฯ ไม่อยู่ หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานกรรมการกลั่นกรอง ฯ เป็นผู้นัดประชุมและปฏิบัติหน้าที่เป็นประธานกรรมการกลั่นกรอง ฯ แทน เว้นแต่ในกรณีที่รองนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเข้าร่วมประชุม ให้รองนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีทำหน้าที่ประธานที่ประชุมคราวนั้นแทนรองประธานกรรมการกลั่นกรอง ฯ หากรองนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเข้าร่วมประชุมหลายคน ให้รองนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีผู้อยู่ในลำดับต้นของคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 69/2550 ลงวันที่ 12 มีนาคม 2550 เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรีและมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนกัน
4. เมื่อคณะกรรมการกลั่นกรองฯ มีมติเป็นประการใด ให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบหรือพิจารณา แล้วแต่กรณี เว้นแต่คณะกรรมการกลั่นกรองฯ จะเห็นควรดำเนินการเป็นประการอื่น ก็ให้ดำเนินการตามมตินั้น
5. ในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ซึ่งเป็นกรรมการในคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ ไม่อาจเข้าประชุมได้ ให้มอบหมายรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเข้าประชุมแทนและหากจำเป็นอาจพิจารณามอบหมายให้ผู้บังคับบัญชาระดับสูง ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบและรู้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่คณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ จะพิจารณาเป็นอย่างดี เป็นผู้เข้าประชุมแทน
ในกรณีที่ปลัดกระทรวง เลขาธิการ ผู้อำนวยการหรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งเทียบเท่าปลัดกระทรวง ซึ่งเป็นกรรมการในคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ ไม่อาจเข้าประชุมได้ ให้มอบหมายรองปลัดกระทรวง รองเลขาธิการ หรือรองผู้อำนวยการเป็นผู้เข้าประชุมแทน
6. ในกรณีเห็นสมควร คณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ ตามคำสั่งนี้จะจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ หลายคณะร่วมกัน เพื่อพิจารณาปัญหาคาบเกี่ยวให้เกิดความรอบคอบ ชัดเจน และมีการประสานสอดคล้องกันก็ได้
7. เรื่องใดที่ประธานกรรมการกลั่นกรองฯ คณะใดเห็นว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องหรืออยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ คณะอื่นที่ไม่ใช่คณะของตนให้ประธานกรรมการกลั่นกรองฯ คณะนั้นมีอำนาจสั่งการให้เสนอคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ ตามที่เห็นสมควรเป็นผู้พิจารณาได้
8. ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีและสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีอำนวยความสะดวกในการประชุมคณะกรรมการทุกคณะตามคำสั่งนี้ และมีอำนาจออกระเบียบหรือคำสั่งที่จำเป็นเพื่อให้การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายเลขานุการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
9. ในกรณีที่มีปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำสั่งนี้ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอาจขอให้นายกรัฐมนตรีหรือที่ประชุมร่วมรองนายกรัฐมนตรีวินิจฉัยหรือสั่งการตามที่เห็นสมควรได้บทเฉพาะกาล
10. ในระยะเริ่มแรก ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีประสานกับรองนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ ทั้ง 2 คณะ เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่ระหว่างการจัดเข้าระเบียบวาระ ฯ ของคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ ทั้งหมด ให้เหมาะสมสอดคล้องกับกรอบอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ ที่ได้จัดตั้งขึ้นใหม่ด้วย
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป
4. การแต่งตั้งประธานและกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอการแต่งตั้งประธานและกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ดังนี้ 1. นายณรงค์ชัย อัครเศรณี เป็นประธานกรรมการแทนนายวีรพงษ์ รามางกูร 2. นางสาวอรจิต สิงคาลวนิช เป็นกรรมการแทนนายณรงค์ชัย อัครเศรณี 3. นายวิศาล บุปผเวส เป็นกรรมการแทนนายก้องเกียรติ โอภาสวงการ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2550 เป็นต้นไป โดยให้ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทน อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งไว้แล้ว ตามนัยมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2536
5. การแต่งตั้งผู้แทนกระทรวงการคลังเป็นกรรมการในคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอให้แต่งตั้งนายศานิต ร่างน้อย ผู้แทนกระทรวงการคลังเป็นกรรมการในคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2550 เป็นต้นไป
6. แต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการการท่าเรือแห่งประเทศไทย
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอให้แต่งตั้งนายประสงค์ ตันมณีวัฒนา เป็นกรรมการอื่นในคณะกรรมการการท่าเรือแห่งประเทศไทย แทนนายถวัลย์รัฐ อ่อนศิระ ที่ขอลาออกจากการเป็นกรรมการดังกล่าว ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2550 เป็นต้นไป
7. แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นายกฤษดา เรืองอารีย์รัชต์)
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 82/2550 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง นายกฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง ตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง (รองนายกรัฐมนตรี นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 19 มีนาคม 2550 เป็นต้นไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 มีนาคม 2550--จบ--
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอการแต่งตั้งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นรองประธานกรรมการ เพิ่มเติมในคณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน ครั้งที่ 24 พ.ศ. 2550
2. แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในคณะกรรมการสภาการศึกษา
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอให้แต่งตั้ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์เชาวเลิศ เลิศชโลฬาร เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในคณะกรรมการสภาการศึกษา แทนนายกฤษณพงศ์ กีรติกร ซึ่งลาออก ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2550 เป็นต้นไป
3. การแต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี รวม 2 คณะ
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 80/2550 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี รวม 2 คณะ
โดยที่สมควรปรับปรุงคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 41/2550 ลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2550 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี รวม 3 คณะ เพื่อให้สอดคล้องกับคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 70/2550 เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 12 มีนาคม 2550 ในอันที่จะทำให้การพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ที่เสนอต่อคณะรัฐมนตรีมีการตรวจสอบกลั่นกรองข้อมูล ความจำเป็น ความเหมาะสม และความสอดคล้องกับนโยบายของคณะรัฐมนตรีและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอย่างเป็นระบบและรอบคอบรัดกุมมากยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ประกอบกับมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548 นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงให้ยกเลิกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 41/2550 ลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2550 และมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี รวม 2 คณะ โดยมีองค์ประกอบ อำนาจหน้าที่และกลไกการปฏิบัติงาน ดังต่อไปนี้
1. คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 1
1.1 องค์ประกอบ
1.1.1 รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ
(นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์)
1.1.2 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากร รองประธานกรรมการ คนที่ 1
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
1.1.3 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รองประธานกรรมการ คนที่ 2
1.1.4 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กรรมการ
(นายประสิทธิ์ โฆวิไลกูล)
1.1.5 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กรรมการ
(คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์)
1.1.6 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กรรมการ
1.1.7 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กรรมการ
1.1.8 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กรรมการ
1.1.9 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยี กรรมการ
สารสนเทศและการสื่อสาร
1.1.10 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กรรมการ
1.1.11 รัฐมนตรีว่าการกระทรวง กรรมการ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
1.1.12 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง กรรมการ
เกษตรและสหกรณ์
1.1.13 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กรรมการ
1.1.14 ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ
1.1.15 เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการ กรรมการ
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
1.1.16 เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กรรมการ
1.1.17 เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กรรมการ
1.1.18 เลขาธิการคณะรัฐมนตรี กรรมการและเลขานุการ
1.1.19 รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กรรมการและ
ฝ่ายการเมืองประจำรองนายกรัฐมนตรี ผู้ช่วยเลขานุการ
(นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์)
1.2 อำนาจหน้าที่
1.2.1 พิจารณากลั่นกรองเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพลังงาน กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงาน ก.พ. สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตลอดจนเรื่องที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
1.2.2 มีอำนาจเชิญรัฐมนตรีและหน่วยงานอื่น ๆ มาชี้แจง
1.3 กลไกการปฏิบัติงาน
1.3.1 ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจัดส่งเรื่องสำคัญในปัญหาตามที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานของรัฐ ตามข้อ 1.2.1 เสนอมาเพื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณา พร้อมทั้งความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเอกสารประกอบ ให้คณะกรรมการดังกล่าวพิจารณากลั่นกรองก่อนที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรี
1.3.2 เรื่องสำคัญซึ่งจะต้องเสนอคณะกรรมการตามคำสั่งนี้ หมายถึงเรื่องที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
1.3.2.1 เรื่องที่เป็นปัญหาในเชิงนโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน
1.3.2.2 เรื่องที่ต้องใช้งบประมาณดำเนินการเป็นจำนวนมาก
1.3.2.3 เรื่องที่กระทบต่อการปฏิบัติราชการของหลายหน่วยงาน
1.3.2.4 เรื่องที่หน่วยงานต่าง ๆ มีความเห็นไม่สอดคล้องกัน
1.3.2.5 เรื่องที่ยังไม่เคยมีระเบียบแบบแผนในการปฏิบัติมาก่อน
1.3.2.6 เรื่องที่อาจมีผลกระทบต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สังคมจิตวิทยา หรือความมั่นคงหรือเสถียรภาพทางเศรษฐกิจโดยรวมในส่วนที่เกี่ยวข้อง
1.3.2.7 เรื่องที่คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีคณะอื่น นายกรัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรีขอให้พิจารณา
1.3.3 รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีทุกคนจะเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการดังกล่าวก็ได้ตามที่เห็นสมควร ในกรณีเช่นนี้ ให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่เข้าร่วมประชุมเป็นกรรมการด้วย ทั้งนี้ ให้ฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการจัดส่งระเบียบวาระการประชุมและเอกสาร อื่น ๆ ให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีทุกคนทราบทุกครั้งด้วย
1.3.4 ให้เลขาธิการนายกรัฐมนตรี และโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากบุคคลดังกล่าวเข้าร่วมประชุมเป็นกรรมการด้วย ทั้งนี้ ให้ฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการจัดส่งระเบียบวาระการประชุมและเอกสารอื่น ๆ ให้บุคคลดังกล่าวทราบทุกครั้ง
1.3.5 คณะกรรมการมีอำนาจเชิญผู้แทนกระทรวง ทบวง กรม หน่วยงานของรัฐหรือบุคคลอื่นที่อาจให้ข้อมูลเข้าร่วมประชุมในปัญหาที่เกี่ยวข้องได้ตามที่เห็นสมควร
1.3.6 วันเวลา สถานที่ และการประชุม ให้เป็นตามที่คณะกรรมการกำหนด
2. คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2
2.1 องค์ประกอบ
2.1.1 รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ
(นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม)
2.1.2 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รองประธานกรรมการ คนที่ 1
2.1.3 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รองประธานกรรมการ คนที่ 2
2.1.4 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กรรมการ
(คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์)
2.1.5 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กรรมการ
(นายธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์)
2.1.6 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กรรมการ
2.1.7 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยว กรรมการ
และกีฬา
2.1.8 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรรมการ
2.1.9 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กรรมการ
2.1.10 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กรรมการ
2.1.11 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กรรมการ
2.1.12 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กรรมการ
2.1.13 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคม กรรมการ
และความมั่นคงของมนุษย์
2.1.14 ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ
2.1.15 เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการ กรรมการ
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
2.1.16 เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กรรมการ
2.1.17 เลขาธิการคณะรัฐมนตรี กรรมการและเลขานุการ
2.1.18 รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
ฝ่ายการเมืองประจำรองนายกรัฐมนตรี
(นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม)
2.2 อำนาจหน้าที่
2.2.1 พิจารณากลั่นกรองเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงกลาโหม กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงแรงงาน กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม กรมประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ราชบัณฑิตยสถาน และองค์กรอิสระต่าง ๆ ตลอดจนเรื่องที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
2.2.2 มีอำนาจเชิญรัฐมนตรี และหน่วยงานอื่น ๆ มาชี้แจง
2.3 กลไกการปฏิบัติงาน
2.3.1 ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจัดส่งเรื่องสำคัญในปัญหาตามที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานของรัฐ ตามข้อ 2.2.1 เสนอมาเพื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาหรือเรื่องที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมายให้พิจารณา พร้อมทั้งความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเอกสารประกอบให้คณะกรรมการดังกล่าวพิจารณากลั่นกรองก่อนที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรี
2.3.2 เรื่องสำคัญตามคำสั่งนี้ซึ่งจะต้องเสนอคณะกรรมการหมายถึงเรื่องที่มีลักษณะตามข้อ 1.3.2 ข้างต้น
2.3.4 ให้นำข้อ 1.3.3 — ข้อ 1.3.6 ข้างต้น มาใช้บังคับด้วย
3. ให้มีการประชุมคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ อย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้งเว้นแต่ไม่มีเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ
ในกรณีที่ประธานกรรมการกลั่นกรอง ฯ ไม่อยู่ หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานกรรมการกลั่นกรอง ฯ เป็นผู้นัดประชุมและปฏิบัติหน้าที่เป็นประธานกรรมการกลั่นกรอง ฯ แทน เว้นแต่ในกรณีที่รองนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเข้าร่วมประชุม ให้รองนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีทำหน้าที่ประธานที่ประชุมคราวนั้นแทนรองประธานกรรมการกลั่นกรอง ฯ หากรองนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเข้าร่วมประชุมหลายคน ให้รองนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีผู้อยู่ในลำดับต้นของคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 69/2550 ลงวันที่ 12 มีนาคม 2550 เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรีและมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนกัน
4. เมื่อคณะกรรมการกลั่นกรองฯ มีมติเป็นประการใด ให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบหรือพิจารณา แล้วแต่กรณี เว้นแต่คณะกรรมการกลั่นกรองฯ จะเห็นควรดำเนินการเป็นประการอื่น ก็ให้ดำเนินการตามมตินั้น
5. ในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ซึ่งเป็นกรรมการในคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ ไม่อาจเข้าประชุมได้ ให้มอบหมายรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเข้าประชุมแทนและหากจำเป็นอาจพิจารณามอบหมายให้ผู้บังคับบัญชาระดับสูง ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบและรู้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่คณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ จะพิจารณาเป็นอย่างดี เป็นผู้เข้าประชุมแทน
ในกรณีที่ปลัดกระทรวง เลขาธิการ ผู้อำนวยการหรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งเทียบเท่าปลัดกระทรวง ซึ่งเป็นกรรมการในคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ ไม่อาจเข้าประชุมได้ ให้มอบหมายรองปลัดกระทรวง รองเลขาธิการ หรือรองผู้อำนวยการเป็นผู้เข้าประชุมแทน
6. ในกรณีเห็นสมควร คณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ ตามคำสั่งนี้จะจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ หลายคณะร่วมกัน เพื่อพิจารณาปัญหาคาบเกี่ยวให้เกิดความรอบคอบ ชัดเจน และมีการประสานสอดคล้องกันก็ได้
7. เรื่องใดที่ประธานกรรมการกลั่นกรองฯ คณะใดเห็นว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องหรืออยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ คณะอื่นที่ไม่ใช่คณะของตนให้ประธานกรรมการกลั่นกรองฯ คณะนั้นมีอำนาจสั่งการให้เสนอคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ ตามที่เห็นสมควรเป็นผู้พิจารณาได้
8. ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีและสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีอำนวยความสะดวกในการประชุมคณะกรรมการทุกคณะตามคำสั่งนี้ และมีอำนาจออกระเบียบหรือคำสั่งที่จำเป็นเพื่อให้การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายเลขานุการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
9. ในกรณีที่มีปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำสั่งนี้ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอาจขอให้นายกรัฐมนตรีหรือที่ประชุมร่วมรองนายกรัฐมนตรีวินิจฉัยหรือสั่งการตามที่เห็นสมควรได้บทเฉพาะกาล
10. ในระยะเริ่มแรก ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีประสานกับรองนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ ทั้ง 2 คณะ เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่ระหว่างการจัดเข้าระเบียบวาระ ฯ ของคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ ทั้งหมด ให้เหมาะสมสอดคล้องกับกรอบอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ ที่ได้จัดตั้งขึ้นใหม่ด้วย
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป
4. การแต่งตั้งประธานและกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอการแต่งตั้งประธานและกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ดังนี้ 1. นายณรงค์ชัย อัครเศรณี เป็นประธานกรรมการแทนนายวีรพงษ์ รามางกูร 2. นางสาวอรจิต สิงคาลวนิช เป็นกรรมการแทนนายณรงค์ชัย อัครเศรณี 3. นายวิศาล บุปผเวส เป็นกรรมการแทนนายก้องเกียรติ โอภาสวงการ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2550 เป็นต้นไป โดยให้ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทน อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งไว้แล้ว ตามนัยมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2536
5. การแต่งตั้งผู้แทนกระทรวงการคลังเป็นกรรมการในคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอให้แต่งตั้งนายศานิต ร่างน้อย ผู้แทนกระทรวงการคลังเป็นกรรมการในคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2550 เป็นต้นไป
6. แต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการการท่าเรือแห่งประเทศไทย
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอให้แต่งตั้งนายประสงค์ ตันมณีวัฒนา เป็นกรรมการอื่นในคณะกรรมการการท่าเรือแห่งประเทศไทย แทนนายถวัลย์รัฐ อ่อนศิระ ที่ขอลาออกจากการเป็นกรรมการดังกล่าว ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2550 เป็นต้นไป
7. แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นายกฤษดา เรืองอารีย์รัชต์)
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 82/2550 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง นายกฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง ตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง (รองนายกรัฐมนตรี นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 19 มีนาคม 2550 เป็นต้นไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 มีนาคม 2550--จบ--