คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง (กบร.) ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์) เป็นประธานในคราวการประชุม ครั้งที่ 1/2550 เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2550 เรื่อง การพิสูจน์สัญชาติแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา การนำแรงงานพม่าเข้ามาทำงานโดยถูกกฎหมาย และการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ ดังนี้
การพิสูจน์สัญชาติแรงงานต่างด้าวสัญชาติลาว และกัมพูชา
เห็นควรให้ดำเนินการพิสูจน์สัญชาติให้แก่แรงงานต่างด้าวสัญชาติลาว และกัมพูชา ที่ได้จัดทำทะเบียนประวัติหรือบัตรประจำตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร และได้รับอนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าว ซึ่งใบอนุญาตทำงานยังไม่สิ้นอายุและยังไม่ได้รับการพิสูจน์สัญชาติ จำนวน 99,698 คน ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่แรงงานต่างด้าวดังกล่าวได้รับการผ่อนผันให้อยู่ในราชอาณาจักรตามกระบวนการพิสูจน์สัญชาติ โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการดังนี้
(1) ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการเจรจากับผู้แทนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และราชอาณาจักรกัมพูชา เพื่อให้ส่งเจ้าหน้าที่มาดำเนินการพิสูจน์สัญชาติแรงงานสัญชาติลาวและกัมพูชา ที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานอยู่ในประเทศไทย เพื่อออกหนังสือเดินทางชั่วคราวหรือเอกสารรับรองบุคคลให้กับแรงงานที่ผ่านการรับรอง
(2) ให้กระทรวงมหาดไทยอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ออกประกาศมิให้นำบทบัญญัติมาตรา 12(3) มาใช้บังคับกับคนต่างด้าวสัญชาติลาวและกัมพูชา ที่ใบอนุญาตทำงานหมดอายุวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2550 และได้รับการพิสูจน์สัญชาติแล้ว ให้สามารถใช้หนังสือเดินทางชั่วคราว (Temporary Passport) หรือเอกสารรับรองบุคคล (Certificate of Identity) เพื่อขอรับการตรวจลงตราและประทับตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นเวลา 2 ปี และสามารถขออยู่ในราชอาณาจักรได้อีกครั้งเดียวระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี
(3) ให้สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองดำเนินการรับตรวจลงตราและตรวจประทับตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรแก่แรงงานต่างด้าวที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติ และจัดเก็บค่าธรรมเนียม การตรวจลงตราตามกฎกระทรวงที่กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการตรวจลงตรา สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ พ.ศ.2549 ในอัตรารายละ 500 บาท
(4) ให้กระทรวงแรงงานดำเนินการออกใบอนุญาตทำงานให้กับแรงงานต่างด้าว ที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติ ซึ่งได้รับการตรวจลงตราและตรวจประทับตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรแล้ว โดยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในรูปแบบศูนย์บริการเบ็ดเสร็จในการตรวจลงตราตรวจประทับตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรและการออกใบอนุญาตทำงาน โดยให้พิจารณาจัดหาสถานที่ที่เหมาะสม
(5) ให้กระทรวงแรงงานและกระทรวงการคลังร่วมกันพิจารณาการเก็บเงินค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงาน สำหรับแรงงานต่างด้าวที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติ ซึ่งมีใบอนุญาตทำงานตามระบบผ่อนผันเดิมและใบอนุญาตทำงานยังไม่หมดอายุ โดยยกเว้นการเก็บเงินค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงานในช่วงเวลาที่ทับซ้อนกัน
(6) ให้กระทรวงสาธารณสุขพิจารณาดำเนินการตรวจสุขภาพแรงงานต่างด้าว โดยไม่ให้แรงงาน ต่างด้าวที่ตรวจสุขภาพแล้วตามระบบผ่อนผันเดิมต้องตรวจสุขภาพซ้ำซ้อนอีก
การพิสูจน์สัญชาติแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า
เห็นควรให้ดำเนินการพิสูจน์สัญชาติให้แก่แรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่าที่ได้จัดทำทะเบียนประวัติหรือบัตรประจำตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรและได้รับอนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าว ซึ่งใบอนุญาตทำงานยังไม่สิ้นอายุและยังไม่ได้รับการพิสูจน์สัญชาติ จำนวน 568,878 คน (ใบอนุญาตทำงานหมดอายุวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2550 จำนวน 163,499 คน และใบอนุญาตทำงานหมดอายุวันที่ 30 มิถุนายน 2550 จำนวน 405,379 คน) ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่แรงงานต่างด้าวดังกล่าวได้รับการผ่อนผันให้อยู่ในราชอาณาจักรตามกระบวนการพิสูจน์สัญชาติ และให้กระทรวงการต่างประเทศ (คณะทำงานเร่งรัดติดตามการพิสูจน์สัญชาติแรงงาน ต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา) ดำเนินการเจรจากับสหภาพพม่าให้จัดส่งเจ้าหน้าที่เข้ามา ดำเนินการพิสูจน์สัญชาติแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่าในประเทศไทยเพื่อให้เป็นบรรทัดฐานเดียวกันกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และราชอาณาจักรกัมพูชา
การนำแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่าเข้ามาทำงานโดยถูกกฎหมาย
เห็นควรดำเนินการให้นำแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่าเข้ามาทำงาน โดยถูกกฎหมาย เป็นการนำร่อง (กรณีพิเศษ) จำนวน 10,000 คน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการโน้มน้าวให้ทางการพม่าจัดส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาพิสูจน์สัญชาติแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่าในประเทศไทย โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ
1) ให้กระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวงมารองรับในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวในอัตรา 500 บาท เมื่อกฎกระทรวงมีผลบังคับแล้ว
2) ให้สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองดำเนินการตรวจลงตราและตรวจประทับตรา ให้อยู่ในราชอาณาจักรแก่แรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่าเฉพาะการนำร่อง (กรณีพิเศษ) จำนวน 10,000 คน ในอัตราคนละ 500 บาท
3) ให้กระทรวงแรงงานดำเนินการออกใบอนุญาตทำงานให้แก่แรงงานต่างด้าว ที่ได้รับการตรวจ ลงตราและตรวจประทับตราให้อยู่ในราชอาณาจักร
4) ในระหว่างการดำเนินการออกกฎระเบียบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่แล้วเสร็จ ให้นายจ้างสามารถนำแรงงานพม่าเข้ามาทำงานโดยถูกกฎหมายได้ โดยเสียค่าธรรมเนียมการตรวจลงตราในอัตราปกติ
การจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวตามมาตรการสนับสนุนเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ 5 จังหวัด ชายแดนภาคใต้
เห็นควรให้ดำเนินการเปิดจดทะเบียนคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ที่หลบหนีเข้าเมืองและลักลอบทำงานอยู่แล้วใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (จังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส สตูล และสงขลา 4 อำเภอ คือ อำเภอเทพา สะบ้าย้อย นาทวี และจะนะ) โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการดังนี้
(1) ให้กระทรวงมหาดไทยอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ออกประกาศผ่อนผันให้คนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง สัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ที่หลบหนีเข้าเมืองและลักลอบทำงานอยู่ในประเทศไทยอยู่แล้วเฉพาะ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ทั้งที่เคยจดทะเบียน (มี ท.ร.38/1) และไม่เคยจดทะเบียน (ไม่มี ท.ร.38/1) ซึ่งนายจ้างรับรองว่าได้จ้างเข้าทำงานอยู่แล้วก่อนมีมติคณะรัฐมนตรีอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว เพื่อรอการส่งกลับเท่ากับระยะเวลาตามมาตรการสนับสนุนเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 โดยกำหนดเงื่อนไขการเคลื่อนย้ายออกนอกพื้นที่จังหวัดได้เฉพาะ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้
(2) ให้กรมการปกครองอาศัยอำนาจตามมาตรา 5 และมาตรา 8(1) แห่งพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534 ดำเนินการจัดทำทะเบียนประวัติคนต่างด้าว โดยการรับจดทะเบียนราษฎรคนต่างด้าว สัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชาตาม (1) ทุกคนที่มารายงานตัว ถ่ายรูป พิมพ์ลายนิ้วมือ กำหนดเลขประจำตัว 13 หลัก และออกเอกสารรับรองรายการทะเบียนประวัติคนต่างด้าว (ท.ร.38/1) สถานที่รับรายงานตัว ณ ที่ว่าการอำเภอเมืองปัตตานี ที่ว่าการอำเภอเมืองนราธิวาส ที่ว่าการอำเภอเมืองยะลา ที่ว่าการอำเภอเบตง ที่ว่าการอำเภอเมืองสตูล และที่ว่าการอำเภอจะนะ
(3) ให้กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพแก่คนต่างด้าวที่จัดทำทะเบียนประวัติแล้ว โดยเก็บค่าตรวจสุขภาพ จำนวน 600 บาท และค่าประกันสุขภาพ จำนวน 1,300 บาท
(4) ให้กระทรวงแรงงานดำเนินการพิจารณาอนุญาตทำงานให้กับแรงงานต่างด้าวที่ได้รับการผ่อนผันให้อยู่ในราชอาณาจักร ครั้งละไม่เกิน 1 ปี ทั้งนี้ต้องไม่เกินระยะเวลาตามมาตรการสนับสนุนเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ ส่วนการเปลี่ยนนายจ้างให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่นายทะเบียนกำหนด แต่ได้เฉพาะในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สำหรับค่ายื่นคำขอและค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงานให้คนต่างด้าวชำระตามอัตราที่กฎหมายกำหนด
(5) ให้กรมการปกครองดำเนินการจัดพิมพ์บัตรประจำตัวบุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทยและใบอนุญาตทำงานในบัตรเดียวกัน โดยให้กำหนดแถบสีให้แตกต่างจากใบอนุญาตทำงานของแรงงานต่างด้าวทั่วไป เพื่อให้สะดวก ต่อการตรวจสอบของพนักงานเจ้าหน้าที่
(6) ให้กองบัญชาการทหารสูงสุดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการป้องกันและสกัดกั้นการลักลอบเข้ามาของคนต่างด้าวรายใหม่ทั้งก่อนและระหว่างการดำเนินการจดทะเบียนคนต่างด้าว
(7) ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการปราบปรามจับกุมดำเนินคดีคนต่างด้าวที่ลักลอบทำงาน และนายจ้างผู้ให้ที่พักพิงคนต่างด้าวลักลอบทำงาน
ทั้งนี้ เนื่องจากการพิสูจน์สัญชาติแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองทั้ง 3 สัญชาติ ที่อยู่ในระบบผ่อนผัน จำนวน 668,576 คน (พม่า 568,878 คน ลาว 51,336 คน และกัมพูชา 48,362 คน) โดยคณะเจ้าหน้าที่ของประเทศต้นทาง มีผลให้สถานะของแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองดังกล่าวเป็นผู้เข้าเมืองโดยถูกกฎหมาย และการดำเนินการโครงการนำร่อง (กรณีพิเศษ) เพื่อการนำเข้าแรงงานรายใหม่จากพม่าโดยถูกกฎหมาย จำนวน 10,000 คน เป็นการดำเนินการตามขั้นตอนของยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญประการหนึ่งคือ ให้มีการใช้แรงงานต่างด้าวโดยถูกกฎหมายภายใต้บันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการจ้างแรงงาน ซึ่งรัฐบาลไทยได้ลงนามไว้กับรัฐบาลของประเทศทั้งสามและคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2549 เห็นชอบหลักการ ขอบเขต พื้นที่ และมาตรการสนับสนุนเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ซึ่งมีมาตรการสนับสนุนแรงงานต่างด้าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 30 มกราคม 2550--จบ--
การพิสูจน์สัญชาติแรงงานต่างด้าวสัญชาติลาว และกัมพูชา
เห็นควรให้ดำเนินการพิสูจน์สัญชาติให้แก่แรงงานต่างด้าวสัญชาติลาว และกัมพูชา ที่ได้จัดทำทะเบียนประวัติหรือบัตรประจำตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร และได้รับอนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าว ซึ่งใบอนุญาตทำงานยังไม่สิ้นอายุและยังไม่ได้รับการพิสูจน์สัญชาติ จำนวน 99,698 คน ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่แรงงานต่างด้าวดังกล่าวได้รับการผ่อนผันให้อยู่ในราชอาณาจักรตามกระบวนการพิสูจน์สัญชาติ โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการดังนี้
(1) ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการเจรจากับผู้แทนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และราชอาณาจักรกัมพูชา เพื่อให้ส่งเจ้าหน้าที่มาดำเนินการพิสูจน์สัญชาติแรงงานสัญชาติลาวและกัมพูชา ที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานอยู่ในประเทศไทย เพื่อออกหนังสือเดินทางชั่วคราวหรือเอกสารรับรองบุคคลให้กับแรงงานที่ผ่านการรับรอง
(2) ให้กระทรวงมหาดไทยอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ออกประกาศมิให้นำบทบัญญัติมาตรา 12(3) มาใช้บังคับกับคนต่างด้าวสัญชาติลาวและกัมพูชา ที่ใบอนุญาตทำงานหมดอายุวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2550 และได้รับการพิสูจน์สัญชาติแล้ว ให้สามารถใช้หนังสือเดินทางชั่วคราว (Temporary Passport) หรือเอกสารรับรองบุคคล (Certificate of Identity) เพื่อขอรับการตรวจลงตราและประทับตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นเวลา 2 ปี และสามารถขออยู่ในราชอาณาจักรได้อีกครั้งเดียวระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี
(3) ให้สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองดำเนินการรับตรวจลงตราและตรวจประทับตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรแก่แรงงานต่างด้าวที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติ และจัดเก็บค่าธรรมเนียม การตรวจลงตราตามกฎกระทรวงที่กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการตรวจลงตรา สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ พ.ศ.2549 ในอัตรารายละ 500 บาท
(4) ให้กระทรวงแรงงานดำเนินการออกใบอนุญาตทำงานให้กับแรงงานต่างด้าว ที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติ ซึ่งได้รับการตรวจลงตราและตรวจประทับตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรแล้ว โดยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในรูปแบบศูนย์บริการเบ็ดเสร็จในการตรวจลงตราตรวจประทับตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรและการออกใบอนุญาตทำงาน โดยให้พิจารณาจัดหาสถานที่ที่เหมาะสม
(5) ให้กระทรวงแรงงานและกระทรวงการคลังร่วมกันพิจารณาการเก็บเงินค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงาน สำหรับแรงงานต่างด้าวที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติ ซึ่งมีใบอนุญาตทำงานตามระบบผ่อนผันเดิมและใบอนุญาตทำงานยังไม่หมดอายุ โดยยกเว้นการเก็บเงินค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงานในช่วงเวลาที่ทับซ้อนกัน
(6) ให้กระทรวงสาธารณสุขพิจารณาดำเนินการตรวจสุขภาพแรงงานต่างด้าว โดยไม่ให้แรงงาน ต่างด้าวที่ตรวจสุขภาพแล้วตามระบบผ่อนผันเดิมต้องตรวจสุขภาพซ้ำซ้อนอีก
การพิสูจน์สัญชาติแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า
เห็นควรให้ดำเนินการพิสูจน์สัญชาติให้แก่แรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่าที่ได้จัดทำทะเบียนประวัติหรือบัตรประจำตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรและได้รับอนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าว ซึ่งใบอนุญาตทำงานยังไม่สิ้นอายุและยังไม่ได้รับการพิสูจน์สัญชาติ จำนวน 568,878 คน (ใบอนุญาตทำงานหมดอายุวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2550 จำนวน 163,499 คน และใบอนุญาตทำงานหมดอายุวันที่ 30 มิถุนายน 2550 จำนวน 405,379 คน) ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่แรงงานต่างด้าวดังกล่าวได้รับการผ่อนผันให้อยู่ในราชอาณาจักรตามกระบวนการพิสูจน์สัญชาติ และให้กระทรวงการต่างประเทศ (คณะทำงานเร่งรัดติดตามการพิสูจน์สัญชาติแรงงาน ต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา) ดำเนินการเจรจากับสหภาพพม่าให้จัดส่งเจ้าหน้าที่เข้ามา ดำเนินการพิสูจน์สัญชาติแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่าในประเทศไทยเพื่อให้เป็นบรรทัดฐานเดียวกันกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และราชอาณาจักรกัมพูชา
การนำแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่าเข้ามาทำงานโดยถูกกฎหมาย
เห็นควรดำเนินการให้นำแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่าเข้ามาทำงาน โดยถูกกฎหมาย เป็นการนำร่อง (กรณีพิเศษ) จำนวน 10,000 คน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการโน้มน้าวให้ทางการพม่าจัดส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาพิสูจน์สัญชาติแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่าในประเทศไทย โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ
1) ให้กระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวงมารองรับในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวในอัตรา 500 บาท เมื่อกฎกระทรวงมีผลบังคับแล้ว
2) ให้สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองดำเนินการตรวจลงตราและตรวจประทับตรา ให้อยู่ในราชอาณาจักรแก่แรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่าเฉพาะการนำร่อง (กรณีพิเศษ) จำนวน 10,000 คน ในอัตราคนละ 500 บาท
3) ให้กระทรวงแรงงานดำเนินการออกใบอนุญาตทำงานให้แก่แรงงานต่างด้าว ที่ได้รับการตรวจ ลงตราและตรวจประทับตราให้อยู่ในราชอาณาจักร
4) ในระหว่างการดำเนินการออกกฎระเบียบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่แล้วเสร็จ ให้นายจ้างสามารถนำแรงงานพม่าเข้ามาทำงานโดยถูกกฎหมายได้ โดยเสียค่าธรรมเนียมการตรวจลงตราในอัตราปกติ
การจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวตามมาตรการสนับสนุนเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ 5 จังหวัด ชายแดนภาคใต้
เห็นควรให้ดำเนินการเปิดจดทะเบียนคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ที่หลบหนีเข้าเมืองและลักลอบทำงานอยู่แล้วใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (จังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส สตูล และสงขลา 4 อำเภอ คือ อำเภอเทพา สะบ้าย้อย นาทวี และจะนะ) โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการดังนี้
(1) ให้กระทรวงมหาดไทยอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ออกประกาศผ่อนผันให้คนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง สัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ที่หลบหนีเข้าเมืองและลักลอบทำงานอยู่ในประเทศไทยอยู่แล้วเฉพาะ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ทั้งที่เคยจดทะเบียน (มี ท.ร.38/1) และไม่เคยจดทะเบียน (ไม่มี ท.ร.38/1) ซึ่งนายจ้างรับรองว่าได้จ้างเข้าทำงานอยู่แล้วก่อนมีมติคณะรัฐมนตรีอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว เพื่อรอการส่งกลับเท่ากับระยะเวลาตามมาตรการสนับสนุนเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 โดยกำหนดเงื่อนไขการเคลื่อนย้ายออกนอกพื้นที่จังหวัดได้เฉพาะ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้
(2) ให้กรมการปกครองอาศัยอำนาจตามมาตรา 5 และมาตรา 8(1) แห่งพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534 ดำเนินการจัดทำทะเบียนประวัติคนต่างด้าว โดยการรับจดทะเบียนราษฎรคนต่างด้าว สัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชาตาม (1) ทุกคนที่มารายงานตัว ถ่ายรูป พิมพ์ลายนิ้วมือ กำหนดเลขประจำตัว 13 หลัก และออกเอกสารรับรองรายการทะเบียนประวัติคนต่างด้าว (ท.ร.38/1) สถานที่รับรายงานตัว ณ ที่ว่าการอำเภอเมืองปัตตานี ที่ว่าการอำเภอเมืองนราธิวาส ที่ว่าการอำเภอเมืองยะลา ที่ว่าการอำเภอเบตง ที่ว่าการอำเภอเมืองสตูล และที่ว่าการอำเภอจะนะ
(3) ให้กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพแก่คนต่างด้าวที่จัดทำทะเบียนประวัติแล้ว โดยเก็บค่าตรวจสุขภาพ จำนวน 600 บาท และค่าประกันสุขภาพ จำนวน 1,300 บาท
(4) ให้กระทรวงแรงงานดำเนินการพิจารณาอนุญาตทำงานให้กับแรงงานต่างด้าวที่ได้รับการผ่อนผันให้อยู่ในราชอาณาจักร ครั้งละไม่เกิน 1 ปี ทั้งนี้ต้องไม่เกินระยะเวลาตามมาตรการสนับสนุนเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ ส่วนการเปลี่ยนนายจ้างให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่นายทะเบียนกำหนด แต่ได้เฉพาะในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สำหรับค่ายื่นคำขอและค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงานให้คนต่างด้าวชำระตามอัตราที่กฎหมายกำหนด
(5) ให้กรมการปกครองดำเนินการจัดพิมพ์บัตรประจำตัวบุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทยและใบอนุญาตทำงานในบัตรเดียวกัน โดยให้กำหนดแถบสีให้แตกต่างจากใบอนุญาตทำงานของแรงงานต่างด้าวทั่วไป เพื่อให้สะดวก ต่อการตรวจสอบของพนักงานเจ้าหน้าที่
(6) ให้กองบัญชาการทหารสูงสุดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการป้องกันและสกัดกั้นการลักลอบเข้ามาของคนต่างด้าวรายใหม่ทั้งก่อนและระหว่างการดำเนินการจดทะเบียนคนต่างด้าว
(7) ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการปราบปรามจับกุมดำเนินคดีคนต่างด้าวที่ลักลอบทำงาน และนายจ้างผู้ให้ที่พักพิงคนต่างด้าวลักลอบทำงาน
ทั้งนี้ เนื่องจากการพิสูจน์สัญชาติแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองทั้ง 3 สัญชาติ ที่อยู่ในระบบผ่อนผัน จำนวน 668,576 คน (พม่า 568,878 คน ลาว 51,336 คน และกัมพูชา 48,362 คน) โดยคณะเจ้าหน้าที่ของประเทศต้นทาง มีผลให้สถานะของแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองดังกล่าวเป็นผู้เข้าเมืองโดยถูกกฎหมาย และการดำเนินการโครงการนำร่อง (กรณีพิเศษ) เพื่อการนำเข้าแรงงานรายใหม่จากพม่าโดยถูกกฎหมาย จำนวน 10,000 คน เป็นการดำเนินการตามขั้นตอนของยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญประการหนึ่งคือ ให้มีการใช้แรงงานต่างด้าวโดยถูกกฎหมายภายใต้บันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการจ้างแรงงาน ซึ่งรัฐบาลไทยได้ลงนามไว้กับรัฐบาลของประเทศทั้งสามและคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2549 เห็นชอบหลักการ ขอบเขต พื้นที่ และมาตรการสนับสนุนเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ซึ่งมีมาตรการสนับสนุนแรงงานต่างด้าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 30 มกราคม 2550--จบ--