คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทย โดยสำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้สรุปสถานการณ์ภัยแล้งตลอดจนการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยจนถึงวันที่ 2 มีนาคม ดังนี้
1. สถานการณ์ภัยแล้ง(ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2549 ถึงวันที่ 2 มีนาคม 2550)
1.1 พื้นที่ประสบภัย รวม 46 จังหวัด 372 อำเภอ 38 กิ่งฯ 2,348 ตำบล 17,688 หมู่บ้าน (หมู่บ้านที่ประสบภัยแล้ง 17,688 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 33.70 ของหมู่บ้านทั้งหมดใน 46 จังหวัดที่ประสบภัยแล้ง และคิดเป็นร้อยละ 24.01 ของหมู่บ้านทั้งหมดของประเทศ) แยกเป็น
พื้นที่ประสบภัย ราษฎรประสบภัย
ที่ ภาค จังหวัด อำเภอ กิ่ง ตำบล หมู่บ้าน รายชื่อจังหวัด ครัวเรือน คน
1 เหนือ 15 121 9 671 4,653 กำแพงเพชร สุโขทัย 371,760 1,313,213
ลำปาง แพร่ ตาก
เพชรบูรณ์ น่าน ลำพูน
พิจิตร เชียงใหม่
เชียงราย อุตรดิตถ์
พิษณุโลก พะเยา
และแม่ฮ่องสอน
2 ตะวันออก 16 183 24 1,328 10,706 กาฬสินธุ์ ขอนแก่น 1,055,302 4,143,579
เฉียงเหนือ หนองคาย มุกดาหาร
ยโสธร ชัยภูมิ
อำนาจเจริญ
หนองบัวลำภู บุรีรัมย์
สกลนคร นครพนม
อุดรธานี ศรีสะเกษ
นครราชสีมา
อุบลราชธานี
มหาสารคาม
3 กลาง 6 29 1 119 818 สุพรรณบุรี อ่างทอง 74,244 241,193
ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์
สมุทรปราการ และ
กาญจนบุรี
4 ตะวันออก 5 26 4 156 952 จันทบุรี สระแก้ว 90,620 272,321
ตราด ฉะเชิงเทรา
และชลบุรี
5 ใต้ 4 13 0 74 559 ตรัง ระนอง 27,271 83,789
นครศรีธรรมราช
และชุมพร
รวมทั้งประเทศ 46 372 38 2,348 17,688 1,619,197 6,054,095
ตารางข้อมูลหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้ง ณ ปัจจุบัน (วันที่ 2 มีนาคม 2550) เปรียบเทียบกับจำนวนหมู่บ้านทั้งหมด
ที่ ภาค จำนวนหมู่บ้านทั้งหมด จำนวนหมู่บ้านที่ประสบภัย คิดเป็นร้อยละ
แล้งปัจจุบัน (ณ 2 มี.ค. 2550) (ของหมู่บ้านทั้งประเทศ)
1 ตะวันออกเฉียงเหนือ 32,576 10,706 32.86
2 เหนือ 16,306 4,653 28.54
3 ตะวันออก 4,816 952 19.77
4 กลาง 11,377 818 7.19
5 ใต้ 8,588 559 6.51
รวม 73,663 17,688 24.01
เปรียบเทียบกับสถานการณ์ภัยแล้งเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เมื่อวันที่ 26 ก.พ. 2550 (รวม 40 จังหวัด 311 อำเภอ 36 กิ่งฯ 1,947 ตำบล 15,698 หมู่บ้าน) ปรากฏว่ามีจังหวัดประสบภัยแล้งเพิ่มขึ้น จำนวน 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก พะเยา แม่ฮ่องสอน กาญจนบุรี นครศรีธรรมราช และชุมพร และจำนวนหมู่บ้านที่เพิ่มขึ้นของจังหวัดที่ประสบภัยแล้ง รวม 1,990 หมู่บ้าน
ตารางเปรียบเทียบข้อมูลหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งปี 2550 กับปี 2549 ในห้วงเวลาเดียวกัน
ข้อมูลปี 2550 ข้อมูลปี 2549 เปรียบเทียบข้อมูลภัยแล้ง
(ณ วันที่ 2 มี.ค. 2550) (ณ วันที่ 2 มี.ค. 2549) ปี 2550 กับปี 2549
ที่ ภาค หมู่บ้านที่ คิดเป็นร้อยละ หมู่บ้านที่ คิดเป็นร้อยละ จำนวนหมู่บ้าน คิดเป็น
ประสบภัยแล้ง (ของหมู่บ้าน ประสบภัยแล้ง (ของหมู่บ้าน + เพิ่ม - ลด ร้อยละ
ทั้งประเทศ) ทั้งประเทศ)
1 ตะวันออกเฉียง 10,706 32.86 18,009 55.28 -7,303 -40.55
เหนือ
2 เหนือ 4,653 28.54 4,213 25.84 440 10.44
3 ตะวันออก 952 19.77 617 12.81 335 54.29
4 กลาง 818 7.19 826 7.26 8 0.97
5 ใต้ 559 6.51 200 2.33 359 179.5
รวม 17,688 24.01 23,865 32.27 -6,177 -25.88
เปรียบเทียบหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งเมื่อปี 2549 ในช่วงเวลาเดียวกัน (วันที่ 2 มี.ค. 2549) รวม 53 จังหวัด 369 อำเภอ 38 กิ่งฯ 2,754 ตำบล 23,695 หมู่บ้าน (ร้อยละ 32.17 ของหมู่บ้านทั้งหมด) โดยปี 2550 (รวม 46 จังหวัด 372 อำเภอ 38 กิ่งฯ 2,348 ตำบล 17,688 หมู่บ้าน) มีหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งน้อยกว่า 6,177 หมู่บ้าน หรือคิดเป็นร้อยละ 25.88
1.2 ราษฎรเดือดร้อน จำนวน 1,619,197 ครัวเรือน 6,054,095 คน (จำนวนครัวเรือนที่เดือดร้อน 1,619,197 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 14.76 ของครัวเรือนทั้งหมดใน 46 จังหวัดที่ประสบภัยแล้ง)
1.3 พื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบ จำนวน 627,797 ไร่
2. การให้ความช่วยเหลือ
2.1 การจัดหาน้ำเพื่อการเกษตร
(1) การสนับสนุนเครื่องสูบน้ำ รวม 1,135 เครื่อง แยกเป็น
- จังหวัด/อำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้สนับสนุนเครื่องสูบน้ำ รวม 391 เครื่อง
- กรมชลประทาน ได้สนับสนุนเครื่องสูบน้ำ รวม 744 เครื่อง แยกเป็นเพื่อการเพาะปลูก 697 เครื่อง เพื่อการอุปโภคบริโภค 47 เครื่อง
(2) จังหวัด อำเภอ/กิ่งอำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้จัดทำทำนบ/ฝาย เก็บกักน้ำ (ชั่วคราว) 7,474 แห่ง และขุดลอกแหล่งน้ำ 967 แห่ง
2.2 การแจกจ่ายน้ำอุปโภค/บริโภคของจังหวัดที่ประสบภัย
ใช้รถบรรทุกน้ำ 629 คัน แจกจ่ายน้ำ 18,740 เที่ยว จำนวน 150,587,445 ลิตร
2.3 งบประมาณดำเนินการใช้จ่ายไปแล้ว จำนวน 263,833,658 บาท แยกเป็น
(1) งบทดรองราชการของจังหวัด (งบ 50 ล้านบาท) 250,427,847 บาท
(2) งบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 10,556,169 บาท
(3) งบอื่นๆ 2,849,642 บาท
3. การสนับสนุนน้ำประปาช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยแล้ง ของการประปาส่วนภูมิภาค
การประปาส่วนภูมิภาคได้ดำเนินการแจกจ่ายน้ำประปาให้แก่รถยนต์บรรทุกน้ำของทางราชการโดยไม่คิดมูลค่า (จ่ายน้ำฟรี) เพื่อนำไปช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ประสบภัยแล้งไปแล้ว จำนวน 94,024,000 ลิตร คิดเป็นเงิน 1,104,782 บาท สำหรับการประปาที่มีปัญหาขาดแคลนน้ำดิบของการประปาส่วนภูมิภาค มีจำนวน 2 แห่ง ได้แก่ การประปาปากท่อ จังหวัดราชบุรี และการประปาบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ แก้ไขปัญหาโดยจ่ายน้ำเป็นช่วงเวลาและใช้รถบรรทุกน้ำแจกจ่ายให้ประชาชน
4. คณะกรรมการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนแห่งชาติ ได้มีการประชุมเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2550 โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นประธาน ที่ประชุมรับทราบสถานการณ์ภัยแล้งและการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งประธานได้มีข้อสั่งการเพิ่มเติมให้ทุกหน่วยงานที่มีเครื่องมืออุปกรณ์ ประสานการปฏิบัติงานกับผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอในพื้นที่ที่ประสบภัย เพื่อเร่งระดมการให้ความช่วยเหลือในเรื่องน้ำกิน น้ำใช้และน้ำเพื่อการเกษตรให้ทั่วถึงและทันต่อเหตุการณ์ด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 6 มีนาคม 2550--จบ--
1. สถานการณ์ภัยแล้ง(ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2549 ถึงวันที่ 2 มีนาคม 2550)
1.1 พื้นที่ประสบภัย รวม 46 จังหวัด 372 อำเภอ 38 กิ่งฯ 2,348 ตำบล 17,688 หมู่บ้าน (หมู่บ้านที่ประสบภัยแล้ง 17,688 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 33.70 ของหมู่บ้านทั้งหมดใน 46 จังหวัดที่ประสบภัยแล้ง และคิดเป็นร้อยละ 24.01 ของหมู่บ้านทั้งหมดของประเทศ) แยกเป็น
พื้นที่ประสบภัย ราษฎรประสบภัย
ที่ ภาค จังหวัด อำเภอ กิ่ง ตำบล หมู่บ้าน รายชื่อจังหวัด ครัวเรือน คน
1 เหนือ 15 121 9 671 4,653 กำแพงเพชร สุโขทัย 371,760 1,313,213
ลำปาง แพร่ ตาก
เพชรบูรณ์ น่าน ลำพูน
พิจิตร เชียงใหม่
เชียงราย อุตรดิตถ์
พิษณุโลก พะเยา
และแม่ฮ่องสอน
2 ตะวันออก 16 183 24 1,328 10,706 กาฬสินธุ์ ขอนแก่น 1,055,302 4,143,579
เฉียงเหนือ หนองคาย มุกดาหาร
ยโสธร ชัยภูมิ
อำนาจเจริญ
หนองบัวลำภู บุรีรัมย์
สกลนคร นครพนม
อุดรธานี ศรีสะเกษ
นครราชสีมา
อุบลราชธานี
มหาสารคาม
3 กลาง 6 29 1 119 818 สุพรรณบุรี อ่างทอง 74,244 241,193
ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์
สมุทรปราการ และ
กาญจนบุรี
4 ตะวันออก 5 26 4 156 952 จันทบุรี สระแก้ว 90,620 272,321
ตราด ฉะเชิงเทรา
และชลบุรี
5 ใต้ 4 13 0 74 559 ตรัง ระนอง 27,271 83,789
นครศรีธรรมราช
และชุมพร
รวมทั้งประเทศ 46 372 38 2,348 17,688 1,619,197 6,054,095
ตารางข้อมูลหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้ง ณ ปัจจุบัน (วันที่ 2 มีนาคม 2550) เปรียบเทียบกับจำนวนหมู่บ้านทั้งหมด
ที่ ภาค จำนวนหมู่บ้านทั้งหมด จำนวนหมู่บ้านที่ประสบภัย คิดเป็นร้อยละ
แล้งปัจจุบัน (ณ 2 มี.ค. 2550) (ของหมู่บ้านทั้งประเทศ)
1 ตะวันออกเฉียงเหนือ 32,576 10,706 32.86
2 เหนือ 16,306 4,653 28.54
3 ตะวันออก 4,816 952 19.77
4 กลาง 11,377 818 7.19
5 ใต้ 8,588 559 6.51
รวม 73,663 17,688 24.01
เปรียบเทียบกับสถานการณ์ภัยแล้งเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เมื่อวันที่ 26 ก.พ. 2550 (รวม 40 จังหวัด 311 อำเภอ 36 กิ่งฯ 1,947 ตำบล 15,698 หมู่บ้าน) ปรากฏว่ามีจังหวัดประสบภัยแล้งเพิ่มขึ้น จำนวน 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก พะเยา แม่ฮ่องสอน กาญจนบุรี นครศรีธรรมราช และชุมพร และจำนวนหมู่บ้านที่เพิ่มขึ้นของจังหวัดที่ประสบภัยแล้ง รวม 1,990 หมู่บ้าน
ตารางเปรียบเทียบข้อมูลหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งปี 2550 กับปี 2549 ในห้วงเวลาเดียวกัน
ข้อมูลปี 2550 ข้อมูลปี 2549 เปรียบเทียบข้อมูลภัยแล้ง
(ณ วันที่ 2 มี.ค. 2550) (ณ วันที่ 2 มี.ค. 2549) ปี 2550 กับปี 2549
ที่ ภาค หมู่บ้านที่ คิดเป็นร้อยละ หมู่บ้านที่ คิดเป็นร้อยละ จำนวนหมู่บ้าน คิดเป็น
ประสบภัยแล้ง (ของหมู่บ้าน ประสบภัยแล้ง (ของหมู่บ้าน + เพิ่ม - ลด ร้อยละ
ทั้งประเทศ) ทั้งประเทศ)
1 ตะวันออกเฉียง 10,706 32.86 18,009 55.28 -7,303 -40.55
เหนือ
2 เหนือ 4,653 28.54 4,213 25.84 440 10.44
3 ตะวันออก 952 19.77 617 12.81 335 54.29
4 กลาง 818 7.19 826 7.26 8 0.97
5 ใต้ 559 6.51 200 2.33 359 179.5
รวม 17,688 24.01 23,865 32.27 -6,177 -25.88
เปรียบเทียบหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งเมื่อปี 2549 ในช่วงเวลาเดียวกัน (วันที่ 2 มี.ค. 2549) รวม 53 จังหวัด 369 อำเภอ 38 กิ่งฯ 2,754 ตำบล 23,695 หมู่บ้าน (ร้อยละ 32.17 ของหมู่บ้านทั้งหมด) โดยปี 2550 (รวม 46 จังหวัด 372 อำเภอ 38 กิ่งฯ 2,348 ตำบล 17,688 หมู่บ้าน) มีหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งน้อยกว่า 6,177 หมู่บ้าน หรือคิดเป็นร้อยละ 25.88
1.2 ราษฎรเดือดร้อน จำนวน 1,619,197 ครัวเรือน 6,054,095 คน (จำนวนครัวเรือนที่เดือดร้อน 1,619,197 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 14.76 ของครัวเรือนทั้งหมดใน 46 จังหวัดที่ประสบภัยแล้ง)
1.3 พื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบ จำนวน 627,797 ไร่
2. การให้ความช่วยเหลือ
2.1 การจัดหาน้ำเพื่อการเกษตร
(1) การสนับสนุนเครื่องสูบน้ำ รวม 1,135 เครื่อง แยกเป็น
- จังหวัด/อำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้สนับสนุนเครื่องสูบน้ำ รวม 391 เครื่อง
- กรมชลประทาน ได้สนับสนุนเครื่องสูบน้ำ รวม 744 เครื่อง แยกเป็นเพื่อการเพาะปลูก 697 เครื่อง เพื่อการอุปโภคบริโภค 47 เครื่อง
(2) จังหวัด อำเภอ/กิ่งอำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้จัดทำทำนบ/ฝาย เก็บกักน้ำ (ชั่วคราว) 7,474 แห่ง และขุดลอกแหล่งน้ำ 967 แห่ง
2.2 การแจกจ่ายน้ำอุปโภค/บริโภคของจังหวัดที่ประสบภัย
ใช้รถบรรทุกน้ำ 629 คัน แจกจ่ายน้ำ 18,740 เที่ยว จำนวน 150,587,445 ลิตร
2.3 งบประมาณดำเนินการใช้จ่ายไปแล้ว จำนวน 263,833,658 บาท แยกเป็น
(1) งบทดรองราชการของจังหวัด (งบ 50 ล้านบาท) 250,427,847 บาท
(2) งบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 10,556,169 บาท
(3) งบอื่นๆ 2,849,642 บาท
3. การสนับสนุนน้ำประปาช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยแล้ง ของการประปาส่วนภูมิภาค
การประปาส่วนภูมิภาคได้ดำเนินการแจกจ่ายน้ำประปาให้แก่รถยนต์บรรทุกน้ำของทางราชการโดยไม่คิดมูลค่า (จ่ายน้ำฟรี) เพื่อนำไปช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ประสบภัยแล้งไปแล้ว จำนวน 94,024,000 ลิตร คิดเป็นเงิน 1,104,782 บาท สำหรับการประปาที่มีปัญหาขาดแคลนน้ำดิบของการประปาส่วนภูมิภาค มีจำนวน 2 แห่ง ได้แก่ การประปาปากท่อ จังหวัดราชบุรี และการประปาบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ แก้ไขปัญหาโดยจ่ายน้ำเป็นช่วงเวลาและใช้รถบรรทุกน้ำแจกจ่ายให้ประชาชน
4. คณะกรรมการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนแห่งชาติ ได้มีการประชุมเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2550 โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นประธาน ที่ประชุมรับทราบสถานการณ์ภัยแล้งและการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งประธานได้มีข้อสั่งการเพิ่มเติมให้ทุกหน่วยงานที่มีเครื่องมืออุปกรณ์ ประสานการปฏิบัติงานกับผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอในพื้นที่ที่ประสบภัย เพื่อเร่งระดมการให้ความช่วยเหลือในเรื่องน้ำกิน น้ำใช้และน้ำเพื่อการเกษตรให้ทั่วถึงและทันต่อเหตุการณ์ด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 6 มีนาคม 2550--จบ--