เปรียบเทียบร่างรัฐธรรมนูญเดิมกับรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตราที่ 244-245

ข่าวการเมือง Wednesday July 11, 2007 14:03 —สภาร่างรัฐธรรมนูญ

ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (เดิม)
- มาตรา ๒๔๔ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีหน่วยธุรการของ
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติที่เป็นอิสระ และมีหน้าที่กำกับดูแลคุณธรรมและจริย
ธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
แห่งชาติเป็นผู้บังคับบัญชาขึ้นตรงต่อประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
การแต่งตั้งเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ต้องได้รับความ
เห็นชอบของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติและวุฒิสภา
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีอิสระในการบริหารงานบุคคล
การงบประมาณ และการดำเนินการอื่น ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
๔. คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
- มาตรา ๒๔๕ การตรวจเงินแผ่นดินให้กระทำโดยคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินที่เป็นอิสระ
และเป็นกลาง คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ประกอบด้วย ประธานกรรมการคนหนึ่งและกรรมการอื่นอีกหกคน
ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากผู้มีความชำนาญและประสบการณ์ด้านการตรวจเงินแผ่นดิน การบัญชี การตรวจ
สอบภายใน การเงินการคลัง และด้านอื่น คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินมีหน่วยธุรการของคณะ
กรรมการตรวจเงินแผ่นดินที่เป็นอิสระ โดยมีผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้บังคับบัญชาอยู่ในการกำกับของประธาน
กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน
การสรรหาและการเลือกกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๒๐๐
วรรคสามและวรรคสี่ มาตรา ๒๐๒ และมาตรา ๒๐๓ มาใช้บังคับโดยอนุโลม เว้นแต่องค์ประกอบของคณะ
กรรมการสรรหาให้เป็นไปตามมาตรา ๒๓๖ ให้ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง
ประธานกรรมการและกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน กรรมการตรวจเงินแผ่นดินมีวาระ
การดำรงตำแหน่งคราวละหกปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว
คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินมีอำนาจหน้าที่กำหนดหลักเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดิน ให้คำปรึกษา
แนะนำ และเสนอแนะให้มีการแก้ไขข้อบกพร่องเกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดิน โดยมีอำนาจวินิจฉัยการดำเนินการ
ที่เกี่ยวกับวินัยทางการเงิน การคลัง และการงบประมาณ และให้คดีที่พิพาทเกี่ยวกับคำวินิจฉัยของคณะกรรมการ
ตรวจเงินแผ่นดินในเรื่องดังกล่าวเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง ให้ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินมีอำนาจหน้าที่
ตรวจสอบการใช้จ่ายเงินภาครัฐ โดยเป็นอิสระและเป็นกลาง และอยู่ในการกำกับการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ
ตรวจเงินแผ่นดินคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม และการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการ
ตรวจเงินแผ่นดิน รวมทั้งอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และสำนัก
งานการตรวจเงินแผ่นดิน ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน
การกำหนดคุณสมบัติและวิธีการเลือกบุคคลซึ่งจะได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการ
ตรวจเงินแผ่นดิน จะต้องเป็นไปเพื่อให้ได้บุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสม มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์
และเพื่อให้ได้หลักประกันความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลดังกล่าว
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐
- มาตรา ๓๐๒ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีหน่วยธุรการของ
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติที่เป็นอิสระ โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการป้องกัน
และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเป็นผู้บังคับบัญชาขึ้นตรงต่อประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการ
ทุจริตแห่งชาติ
การแต่งตั้งเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ต้องได้รับความ
เห็นชอบของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติและวุฒิสภา
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีอิสระในการบริหารงานบุคคล
การงบประมาณ และการดำเนินการอื่น ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
หมวด ๑๑ การตรวจเงินแผ่นดิน
- มาตรา ๓๑๒ การตรวจเงินแผ่นดิน ให้กระทำโดยคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่า
การตรวจเงินแผ่นดินที่เป็นอิสระและเป็นกลาง คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ประกอบด้วย
ประธานกรรมการคนหนึ่งและกรรมการอื่นอีกเก้าคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา
จากผู้มีความชำนาญและประสบการณ์ด้านการตรวจเงินแผ่นดิน การบัญชี การตรวจสอบภายใน การเงินการคลัง
และด้านอื่นคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินมีหน่วยธุรการของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินที่เป็นอิสระ โดยมี
ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้บังคับบัญชาขึ้นตรงต่อประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย
ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดินพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินตามคำแนะนำ
ของวุฒิสภา จากผู้มีความชำนาญและประสบการณ์ด้านการตรวจเงินแผ่นดิน การบัญชี การตรวจสอบภายใน
การเงินการคลัง หรือด้านอื่น ให้ประธานวุฒิสภาลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานกรรมการ
และกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินกรรมการตรวจเงินแผ่นดินมีวาระการดำรงตำแหน่ง
คราวละหกปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียวคุณสมบัติ ลักษณะต้อง
ห้าม การสรรหาและการเลือก และการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงิน
แผ่นดิน รวมทั้งอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และสำนักงานการ
ตรวจเงินแผ่นดิน ให้เป็นไปตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดินการกำหนดคุณสมบัติและ
วิธีการเลือกบุคคลซึ่งจะได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน จะต้อง
เป็นไปเพื่อให้ได้บุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมและมีความซื่อสัตย์สุจริต และเพื่อให้ได้หลักประกัน
ความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลดังกล่าว
เหตุผลที่แก้ไข
แก้ไขมาตราที่ 244
เพื่อให้สอดคล้องกับการกำหนดหลักการใหม่เรื่องคุณธรรมและจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่ง
ทางการเมืองในรัฐธรรมนูญ ซึ่งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติจะต้องกำกับการปฏิบัติ
ตามคุณธรรมและจริยธรรมด้วย
แก้ไขมาตราที่ 245
ลดจำนวนคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินโดยเหตุผลเดียวกับศาลรัฐธรรมนูญ และกำหนดให้ผู้ว่า
การตรวจเงินแผ่นดินปฏิบัติงานในกำกับของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เพื่อให้ชัดเจนในบทบาทหน้าที่
และให้ศาลปกครองมีอำนาจวินิจฉัยคำสั่งของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินได้
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ