เปรียบเทียบร่างรัฐธรรมนูญเดิมกับรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตราที่ 47-49

ข่าวการเมือง Friday June 22, 2007 14:12 —สภาร่างรัฐธรรมนูญ

ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (เดิม)
- มาตรา ๔๗ คลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคม
เป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ
ให้มีองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระองค์กรหนึ่งทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่ตามวรรคหนึ่ง และกำกับ
การประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมการดำเนินการตามวรรคสอง
ต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชนในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ทั้งในด้านการศึกษา วัฒนธรรม
ความมั่นคงของรัฐ และประโยชน์สาธารณะอื่นรวมทั้งการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม รวมทั้งต้องจัด
ให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินการสื่อมวลชนสาธารณะการกำกับการประกอบกิจการตามวรรคสอง
ต้องมีมาตรการเพื่อป้องกันการควบรวมหรือการครอบงำระหว่างสื่อมวลชนด้วยกันเองหรือโดยบุคคลอื่นใด
ซึ่งจะมีผลเป็นการขัดขวางเสรีภาพในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารหรือปิดกั้นการได้รับข้อมูลข่าวสารที่หลากหลาย
ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะเป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์วิทยุกระจายเสียง
วิทยุโทรทัศน์ หรือโทรคมนาคมมิได้ ไม่ว่าในนามของตนเองหรือให้ผู้อื่นเป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นแทน
หรือจะดำเนินการโดยวิธีการอื่นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมที่สามารถบริหารกิจการดังกล่าวได้ในทำนอง
เดียวกับการเป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นในกิจการดังกล่าวมิได้
- ส่วนที่ ๘ สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา
- มาตรา ๔๘ บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐ
จะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ในสภาวะ
ยากลำบาก ต้องได้รับการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น การจัดการศึกษา
อบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียน
รู้ตลอดชีวิต ย่อมได้รับความคุ้มครองและส่งเสริมจากรัฐ
- มาตรา ๔๙ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการการศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย
และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือ
ศีลธรรมอันดีของประชาชน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐
- มาตรา ๔๐ คลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และวิทยุโทรคมนาคม
เป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ
ให้มีองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่ตามวรรคหนึ่ง และกำกับดูแลการประกอบ
กิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติการดำเนินการตาม
วรรคสองต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชนในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ทั้งในด้านการศึกษา วัฒนธรรม
ความมั่นคงของรัฐ และประโยชน์สาธารณะอื่น รวมทั้งการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม
- มาตรา ๔๓ บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐ
จะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายการจัดการศึกษาอบรมของรัฐต้องคำนึงถึงการมีส่วน
ร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเอกชน ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ การจัดการศึกษาอบรมขององค์กร
วิชาชีพและเอกชนภายใต้การกำกับดูแลของรัฐ ย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
- มาตรา ๔๒ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย
และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ ย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือ
ศีลธรรมอันดีของประชาชน
เหตุผลที่แก้ไข
แก้ไขมาตรา 47
กำหนดห้ามผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเข้าเป็นเจ้าของกิจการหรือหรือถือหุ้นในกิจการ
หนังสือพิมพ์วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรือโทรคมนาคม ในนามตนเองหรือให้ผู้อื่นเป็นเจ้าของ
กิจการหรือถือหุ้นแทน หรือดำเนินการอื่นที่สามารถบริหารกิจการดังกล่าวได้ในทำนองเดียวกับการเป็น
เจ้าของกิจการไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม รวมทั้งต้องมีมาตรการมิให้มีการครอบงำสื่อ เพื่อป้องกัน
มิให้บุคคลดังกล่าวเข้าแทรกแซงสื่อในการนำเสนอข่าวหรือแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตกำหนดให้มีองค์กร
องค์กรหนึ่งที่เป็นอิสระ เพื่อทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่และกำกับดูแลการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง
วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคม เพื่อให้สามารถดูแลในภาพรวมของการใช้ประโยชน์จากคลื่นความถี่
และจัดสรรให้ภาคประชาชนได้มีสิทธิในการดำเนินการสื่อมวลชนที่เป็นสาธารณะได้
แก้ไขมาตรา 48
กำหนดบทบาทของรัฐที่จะต้องจัดให้มีการศึกษาและให้หลักประกันด้านคุณภาพของการศึกษา
โดยรัฐมีหน้าที่ต้องให้การสนับสนุนและจัดสรรทรัพยากรในการสนับสนุนและพัฒนาคุณภาพการศึกษา รวมทั้ง
ทำให้ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบากสามารถเข้าถึงการศึกษา
(access to education) อย่างเท่าเทียมผู้อื่น และเพิ่มการคุ้มครองการจัดการศึกษานอกระบบให้
สามารถกระทำได้ และรัฐต้องให้การส่งเสริม
ไม่มีการแก้ไขมาตรา 49
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ