เปรียบเทียบร่างรัฐธรรมนูญเดิมกับรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตราที่ 81-86

ข่าวการเมือง Monday June 25, 2007 14:57 —สภาร่างรัฐธรรมนูญ

ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (เดิม)
ส่วนที่ ๖แนวนโยบายด้านการต่างประเทศ
- มาตรา ๘๑ รัฐต้องส่งเสริมสัมพันธไมตรีและความร่วมมือกับนานาประเทศ และพึงถือหลัก
ในการปฏิบัติต่อกันอย่างเสมอภาค ตลอดจนต้องปฏิบัติตามพันธกรณีที่ได้กระทำไว้กับนานาประเทศและองค์การ
ระหว่างประเทศ รัฐต้องส่งเสริมการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวกับนานาประเทศ ตลอดจน
ต้องให้ความคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์ของคนไทยในต่างประเทศส่วนที่ ๗แนวนโยบายด้านเศรษฐกิจ
มาตรา ๘๒ รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการดำเนินการตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
มาตรา ๘๓ รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านเศรษฐกิจ ดังต่อไปนี้
(๑) สนับสนุนระบบเศรษฐกิจแบบเสรีโดยอาศัยกลไกตลาด และสนับสนุนให้มีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
โดยต้องยกเลิกและละเว้นการตรากฎหมายและกฎเกณฑ์ที่ควบคุมธุรกิจที่ไม่สอดคล้องกับความจำเป็นทางเศรษฐกิจ
และต้องไม่ประกอบกิจการที่มีลักษณะเป็นการแข่งขันกับเอกชน เว้นแต่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการรักษา
ความมั่นคงของรัฐ รักษาผลประโยชน์ส่วนรวม หรือการจัดให้มีสาธารณูปโภค
(๒) สนับสนุนให้มีการใช้หลักคุณธรรม จริยธรรม และหลักธรรมาภิบาล ควบคู่กับการประกอบกิจการ
(๓) ปรับปรุงระบบการจัดเก็บภาษีอากรให้มีความเป็นธรรม และสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพ
เศรษฐกิจและสังคม
(๔) รักษาวินัยการเงินการคลัง เพื่อสนับสนุนเสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
(๕) จัดให้มีการออมเพื่อการดำรงชีพในยามชราแก่ประชาชนอย่างทั่วถึง
(๖) กำกับให้การประกอบกิจการมีการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม ป้องกันการผูกขาดตัดตอนไม่ว่าโดย
ทางตรงและทางอ้อม และคุ้มครองผู้บริโภค
(๗) ดำเนินการให้มีการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม ขยายโอกาสในการประกอบอาชีพของประชาชน
และส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทย เพื่อใช้ในการผลิตสินค้า บริการ และการ
ประกอบอาชีพ
(๘) ส่งเสริมให้ประชากรวัยทำงานมีงานทำ คุ้มครองแรงงานเด็กและสตรี จัดระบบแรงงานสัมพันธ์
และระบบไตรภาคีที่ผู้ทำงานมีสิทธิเลือกผู้แทนของตน จัดระบบประกันสังคม รวมทั้งคุ้มครองให้ผู้ทำงาน
คุณค่าอย่างเดียวกัน ได้รับค่าตอบแทนที่เป็นธรรม ได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เท่าเทียมกันโดย
ไม่เลือกปฏิบัติ
๙) คุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกรในการผลิตและการตลาด
ส่งเสริมให้สินค้าเกษตรได้รับผลตอบแทนสูงสุด รวมทั้งส่งเสริมการรวมกลุ่มของเกษตรกร เพื่อวางแผน
การเกษตรและรักษาผลประโยชน์ร่วมกันของเกษตรกร
๑๐) ส่งเสริม สนับสนุน และคุ้มครองระบบสหกรณ์ หรือการรวมกลุ่มของประชาชนในการดำเนินกิจการ
ด้านเศรษฐกิจ
(๑๑) จัดให้มีสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานอันจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของประชาชน
เพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของรัฐในทางเศรษฐกิจ และต้องใช้ความระมัดระวังในการกระทำใด
อันอาจทำให้สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานอันจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของประชาชนอยู่ในความผูกขาดของเอกชนอัน
อาจก่อความเสียหายแก่รัฐ
(๑๒) คุ้มครองและส่งเสริมการประกอบอาชีพของประชาชนเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ รวมทั้งการสนับสนุนการ
รวมกลุ่มของผู้ประกอบวิชาชีพ
ส่วนที่ ๘แนวนโยบายด้านที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
- มาตรา ๘๔ รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
ดังต่อไปนี้
(๑) กำหนดหลักเกณฑ์การใช้ที่ดินโดยให้คำนึงถึงสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติของพื้นที่นั้น ๆ ตาม
หลักวิชาให้ครอบคลุมทั่วประเทศทั้งผืนดิน ผืนน้ำ และจัดให้มีผังเมืองรวม ที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมดังกล่าว
โดยกำหนดมาตรฐานการใช้อย่างยั่งยืนด้วยการให้ประชาชนในพื้นที่ที่มีผลกระทบต่อนโยบายการใช้ที่ดินนั้นร่วม
ในการตัดสินใจด้วย
(๒) ดำเนินการให้เกษตรกรมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิในที่ดินเพื่อประกอบเกษตร
กรรมอย่างทั่วถึงโดยการปฏิรูปที่ดินหรือวิธีอื่น
(๓) จัดให้มีการวางผังเมือง พัฒนา และดำเนินการตามผังเมืองอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อ
ประโยชน์ต่อการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ
(๔) จัดระบบการดูแลและการใช้ทรัพยากรน้ำให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวม รวมทั้งจัดหาแหล่งน้ำ
เพื่อให้เกษตรกรมีน้ำใช้อย่างพอเพียงและเหมาะสมแก่การเกษตร
(๕) จัดให้มีแผนการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างเป็นระบบ โดยให้ประชาชน ชุมชน
และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนดังกล่าวด้วย
(๖) ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการสงวน บำรุงรักษาและใช้ประโยชน์จาก
ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุล
(๗) ส่งเสริม บำรุงรักษา และคุ้มครองคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยให้
ประชาชน ชุมชนท้องถิ่น และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางการดำเนินงาน
(๘) ควบคุมและกำจัดภาวะมลพิษที่มีผลต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ และคุณภาพชีวิตของประชาชน
ส่วนที่ ๙แนวนโยบายด้านวิทยาศาสตร์ ทรัพย์สินทางปัญญา และพลังงาน
- มาตรา ๘๕ รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านวิทยาศาสตร์ ทรัพย์สินทางปัญญา
และพลังงานดังต่อไปนี้
(๑) ส่งเสริมให้มีการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านต่าง ๆ โดยจัดให้
มีกฎหมายเฉพาะด้าน จัดงบประมาณสนับสนุนการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และให้มีสถาบันการศึกษาและพัฒนา จัด
ให้มีการใช้ประโยชน์จากผลการศึกษาและพัฒนา จัดให้มีระบบการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพและการ
พัฒนาบุคลากรที่เหมาะสม
(๒) ส่งเสริมการประดิษฐ์หรือการค้นคิดสิ่งใหม่ รักษาและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งให้ความ
คุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
(๓) เผยแพร่ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ และสนับสนุนให้ประชาชนใช้หลัก
ด้านวิทยาศาสตร์ในการดำรงชีวิต
(๔) ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย พัฒนา และใช้ประโยชน์จากพลังงานทดแทนซึ่งได้จากธรรมชาติ
และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ
ส่วนที่ ๑๐แนวนโยบายด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน
- มาตรา ๘๖ รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนดังต่อไปนี้
(๑) ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจทั้งใน
ระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ
(๒) ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตัดสินใจทางการเมือง การวางแผน
พัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง รวมทั้งการจัดทำบริการสาธารณะ โดยต้องจัดให้มีการให้ข้อมูลที่ถูกต้อง
ครบถ้วนและรับฟังความคิดเห็นของประชาชนก่อนการวางแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ตลอดจน
การจัดทำบริการสาธารณะ และต้องจัดให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูล สรุปผลการรับฟังความคิดเห็น และผล
การตัดสินใจของรัฐได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
(๓) ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทุกระดับ
ในรูปแบบองค์การทางวิชาชีพที่หลากหลายหรือรูปแบบอื่น และต้องไม่กระทำการที่มีลักษณะเป็นการแทรกแซงการ
ดำเนินงานของสื่อมวลชนทั้งของรัฐและเอกชนในการเสนอข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการใช้อำนาจรัฐ เพื่อให้
ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสาร
(๔) จัดให้มีมาตรฐานกลางในการกำกับดูแล ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานของ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนและชุมชนมีส่วนร่วมในการปกครองท้องถิ่น
ตลอดจนการตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(๕) ส่งเสริมให้ประชาชนมีความเข้มแข็งในทางการเมือง และให้มีการตรากฎหมายเพื่อจัดตั้ง
กองทุนพัฒนาการเมืองภาคพลเมืองเพื่อช่วยเหลือการดำเนินกิจกรรมสาธารณะของชุมชน รวมทั้งสนับสนุนการ
ดำเนินการของกลุ่มประชาชนที่รวมตัวกันในลักษณะเครือข่ายทุกรูปแบบที่จะสามารถแสดงความคิดเห็นและเสนอ
ความต้องการของชุมชนในพื้นที่
(๖) ส่งเสริมและให้การศึกษาแก่ประชาชนเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระ
มหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนได้ใช้สิทธิเลือกตั้ง
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐
-
เหตุผลที่แก้ไข
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ