ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (เดิม)
- มาตรา ๒๘ บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่
ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน
บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ สามารถยกบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญเพื่อใช้สิทธิทาง
ศาลหรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คดีในศาลได้
บุคคลย่อมสามารถใช้สิทธิทางศาลเพื่อบังคับให้รัฐต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติในหมวดนี้ได้โดยตรง
หากการใช้สิทธิและเสรีภาพในเรื่องใดมีกฎหมายบัญญัติรายละเอียดแห่งการใช้สิทธิและเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญนี้
รับรองไว้แล้ว ให้การใช้สิทธิและเสรีภาพในเรื่องนั้นเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติบุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการส่งเสริม
สนับสนุน และช่วยเหลือจากรัฐ ในการใช้สิทธิตามความในหมวดนี้
- มาตรา ๒๙ การจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ จะกระทำมิได้
เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ซึ่งต้องไม่กระทบกระเทือนสาระสำคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพนั้น
กฎหมายตามวรรคหนึ่งให้ตราได้เท่าที่จำเป็นและต้องมีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไป โดยไม่เจาะจงหรือมุ่งหมาย
ให้ใช้บังคับแก่กรณีใดกรณีหนึ่งหรือแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง และในกรณีที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้ตรากฎหมายจำกัดสิทธิ
และเสรีภาพเฉพาะเพื่อการใด ให้ตรากฎหมายจำกัดสิทธิและเสรีภาพได้เฉพาะเพื่อการที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้
บทบัญญัติในวรรคหนึ่งและวรรคสองให้นำมาใช้บังคับกับกฎที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายด้วย
โดยอนุโลม
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐
- มาตรา ๒๘ บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่
ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน
บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้ สามารถยกบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้เพื่อใช้สิทธิ
ทางศาลหรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คดีในศาลได้
- มาตรา ๒๙ การจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้จะกระทำมิได้ เว้นแต่
โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อการที่รัฐธรรมนูญนี้กำหนดไว้และเท่าที่จำเป็นเท่านั้น และจะ
กระทบกระเทือนสาระสำคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพนั้นมิได้ กฎหมายตามวรรคหนึ่งต้องมีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไป
และไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดกรณีหนึ่งหรือแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเจาะจง ทั้งต้องระบุบท
บัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจในการตรากฎหมายนั้นด้วยบทบัญญัติวรรคหนึ่งและวรรคสองให้นำมาใช้บังคับกับ
กฎหรือข้อบังคับที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายด้วย โดยอนุโลม
เหตุผลที่แก้ไข
แก้ไขมาตรา ๒๘
แก้ไขหลักการเดิมของหมวดสิทธิและเสรีภาพซึ่งเคยกำหนดให้การใช้สิทธิและเสรีภาพต้องเป็น
ไปตามที่กฎหมายบัญญัติ โดยแก้ไขใหม่เป็นให้สามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้ทันทีไม่ต้องรอให้มีกฎหมายบัญญัติ
ขึ้นเสียก่อน จึงตัดข้อความเดิมที่เคยบัญญัติว่า “ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ” ในมาตราต่าง ๆ ออก และบัญญัติ
สาระแห่งสิทธิและเสรีภาพไว้ในเนื้อหาของแต่ละมาตราแทน จึงต้องปรับปรุงมาตรานี้เพื่อให้ประชาชน
สามารถใช้สิทธิทางศาลเพื่อเรียกร้องให้รัฐปฏิบัติตามบทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพได้โดยตรง แม้จะยัง
ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ แต่ถ้าเรื่องใดมีกฎหมายบัญญัติรายละเอียดเพื่อช่วยเหลือหรือสนับสนุนการใช้สิทธิเสรีภาพ
ไว้แล้ว จึงจะเป็นไปตามกฎหมายนั้น
แก้ไขมาตรา ๒๙
แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพตามที่บัญญัติรับรองไว้ตามรัฐธรรมนูญนี้โดยหลัก
ไม่สามารถกระทำได้ เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติให้สามารถกระทำได้เพื่อให้สอดคล้องกับการตัดข้อความเดิม
ที่ว่า “ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ” ออก ซึ่งรัฐยังคงมีหน้าที่ตามกฎหมาย เพื่อสนับสนุนการใช้สิทธิอยู่ แต่
กฎหมายนั้นจะต้องไม่กระทบสาระสำคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพด้วย รวมทั้งจะต้องกระทำเท่าที่จำเป็นและใช้
บังคับเป็นกรณีทั่วไป นอกจากนั้น หากรัฐธรรมนูญนี้บัญญัติให้ตรากฎหมายเฉพาะเพื่อการใดจะตรากฎหมายนอก
เหนือจากที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ไม่ได้ตัดบทบัญญัติเดิมที่ให้ระบุบทบัญญัติที่ให้อำนาจตรากฎหมายออก เพื่อให้
สอดคล้องกับหลักการที่เปลี่ยนแปลงไปในร่างมาตรา ๒๘ ที่ไม่ได้ระบุข้อความว่า “ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ”
ออกแล้ว ทำให้ไม่มีมาตราที่จะอ้างได้ แต่อย่างไรก็ตาม
เงื่อนไขการตรากฎหมายก็ยังคงต้องเป็นไปตามร่างมาตรา ๒๙ ซึ่งต้องอยู่ในขอบเขตของเรื่องนั้น
และได้เพิ่มหลักการในร่างมาตรา ๑๓๘ การเสนอร่างกฎหมายต้องมีบันทึกวิเคราะห์สรุปสาระสำคัญซึ่งต้องระบุ
รายละเอียดในเรื่องนี้อยู่แล้ว
(ยังมีต่อ)