(ต่อ1) คำอธิบายร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช .(ฉบับรับฟังความคิดเห็น)

ข่าวการเมือง Friday May 25, 2007 14:31 —สภาร่างรัฐธรรมนูญ

ขั้นตอนที่ยุ่งยากและปรับปรุงการทำงาน เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกสูงสุด
หน้าที่ของชนชาวไทยในส่วนอื่นที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงก็ได้แก่ หน้าที่พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ
ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตย (มาตรา ๖๙) หน้าที่ป้องกัน
ประเทศและปฏิบัติตามกฎหมาย (มาตรา ๗๐) และหน้าที่รับราชการทหาร เสียภาษีอากร ช่วยเหลือ
ราชการ รับการศึกษาอบรม พิทักษ์ ปกป้อง และสืบสานศิลปวัฒนธรรมของชาติและภูมิปัญญาท้อง
ถิ่น และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (มาตรา ๗๒)
หมวด ๕
แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ (มาตรา ๗๔-๘๖)
แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ คือ กรอบหรือแนวทางที่กำหนดในรัฐธรรมนูญในฐานะที่เป็น
ภารกิจของรัฐที่ต้องดำเนินการแก่ประชาชน เป็นกรอบหรือแนวทางในการตรากฎหมายและ
กำหนดนโยบาย ซึ่งในรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ และฉบับก่อนๆ ก็ได้บัญญัติแนวนโยบายพื้นฐานแห่ง
รัฐเอาไว้ แต่อย่างไรก็ดี หลักการของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามร่างรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ จะ
มีความแตกต่างกับหลักการของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามรัฐธรรนูญฉบับที่ผ่านๆมา ตรงที่
แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามร่างรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ จะไม่เป็นเพียงแค่ “แนวทาง” เท่านั้น แต่
จะเป็น “กรอบ” ซึ่งมีสภาพบังคับให้รัฐต้องดำเนินการตาม นอกจากนี้ ร่างรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ ยัง
ได้กำหนดสาระสำคัญของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐแตกต่างจากเดิม และกำหนดเป็นหัวข้อของ
แนวนโยบายแต่ละด้านชัดเจน ทำให้ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
ของคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาได้ง่ายขึ้น
๕.๑ บททั่วไป (มาตรา ๗๔-๗๕)
ร่างรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ มาตรา ๗๔ เป็นบททั่วไปที่กำหนดสถานะของแนวนโยบายพื้น
ฐานแห่งรัฐ โดยเปลี่ยนแปลงถ้อยคำและหลักการจากเดิม ที่ใช้คำว่า “...เป็นแนวทาง...” มาเป็น “...
เป็นเจตจำนง...” (มาตรา ๗๔ วรรคหนึ่ง) เมื่อพิจารณาประกอบกับหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีในการ
แถลงนโยบายต่อรัฐสภา ซึ่งมาตรา ๗๔ วรรคสอง ประกอบกับมาตรา ๑๗๒ กำหนดให้คณะรัฐ
มนตรีที่จะเข้าบริหารราชการแผ่นดินต้องชี้แจงให้ชัดเจนว่า จะดำเนินการใดในการบริหารราชการ
แผ่นดินให้เป็นไปตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ประกอบกับต้องชี้แจงกรอบเวลาในการดำเนิน
การด้วย และมาตรา ๗๕ ประกอบกับมาตรา ๑๗๒ ที่กำหนดให้คณะรัฐมนตรีเมื่อเข้ารับหน้าที่แล้ว
ต้องจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดินซึ่งจะต้องสอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ จึง
เห็นได้ว่าแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐที่บัญญัติไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ มีสภาพบังคับให้รัฐ
ต้องดำเนินการตามอย่างแท้จริง
๕.๒ แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐในด้านต่างๆ
๕.๒.๑ แนวนโยบายด้านความมั่นคง (มาตรา ๗๖)
รวมเอามาตรา ๗๑ และ ๗๒ เดิมเข้าไว้ด้วยกัน และบัญญัติเพิ่มความชัดเจนในเรื่องกำลัง
ทหาร โดยรัฐต้องจัดให้มีอาวุธยุทโธปกรณ์ และเทคโนโลยีที่ทันสมัย จำเป็น และเพียงพอแก่การ
รักษาความมั่นคงของชาติ
๕.๒.๒ แนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน (มาตรา ๗๗)
รวมเอามาตรา ๗๗ และ ๗๘ เดิมเข้าไว้ด้วยกัน และบัญญัติเพิ่มเติมหลักการบริหารราชการ
แผ่นดินขึ้นใหม่ รวมถึงแก้ไขหลักการเดิมให้มีสาระสำคัญชัดเจนยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น การกำหนดให้
การบริหารราชการแผ่นดินต้องเป็นไปเพื่อการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และความมั่นคงของประเทศ
อย่างยั่งยืน และต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติในภาพรวมเป็นสำคัญ (มาตรา ๗๗(๑))
มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพ คุณธรรม และจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ (มาตรา๗๗(๔)) จัดระบบ
งานของรัฐให้การจัดทำบริการสาธารณะเป็นไปอย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบ
ได้ (มาตรา ๗๗(๕)) และต้องจัดทำมาตรฐานคุณธรรมและจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการ
เมือง และเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยมีองค์กรที่เรียกว่า “สภาพัฒนาการเมือง” คอยติดตามให้มีการ
ปฏิบัติตามมาตรฐานดังกล่าว (มาตรา ๗๗(๙))
๕.๒.๓ แนวนโยบายด้านศาสนา สังคม การศึกษา และวัฒนธรรม (มาตรา ๗๘, ๗๙)
ในด้านศาสนานั้น (มาตรา ๗๘) รัฐต้องให้การสนับสนุนและคุ้มครองทุกศาสนา ซึ่งเป็น
หลักการและถ้อยคำเดิมตามรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ มาตรา ๗๒ ทุกประการ ในส่วนแนวนโยบายด้าน
สังคม การศึกษา และวัฒนธรรม (มาตรา ๗๙) รวมเอามาตรา ๘๐ ถึง ๘๒ เดิมเข้าไว้ด้วยกัน และ
บัญญัติเพิ่มเติมหลักการใหม่ อย่างเช่น การกำหนดให้ปลูกฝังความรู้และจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับ
คุณธรรม จริยธรรม และแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (มาตรา ๗๙(๓)) สนับสนุนการกระจาย
อำนาจการจัดการศึกษาเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน องค์การทางศาสนา และเอกชน
จัดและมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนามาตรฐานและคุณภาพการศึกษาให้เท่าเทียมและ
สอดคล้องกับความต้องการในแต่ละพื้นที่ (มาตรา ๗๙(๔)) เผยแพร่ข้อมูลผลการศึกษาวิจัยที่ได้รับ
ทุนสนับสนุนการศึกษาวิจัยจากรัฐ รวมทั้งเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลดังกล่าว (มาตรา ๗๙
(๕))
๕.๒.๔ แนวนโยบายด้านกฎหมายและการยุติธรรม (มาตรา ๘๐)
คงหลักการตามมาตรา ๗๕ เดิมนั่นคือ รัฐต้องจัดระบบงานของกระบวนการยุติธรรมให้มี
ประสิทธิภาพ (มาตรา ๘๐(๔)) และอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนอย่างรวดเร็วและเท่าเทียมกัน
โดยเพิ่มคำว่า “ทั่วถึง” เข้าไป (มาตรา ๘๐(๑)) นอกจากนี้ต้องจัดให้มีกฎหมายจัดตั้งองค์กรเพื่อการ
ปฏิรูปกฎหมาย เพื่อทำการปรับปรุงและพัฒนากฎหมายของประเทศให้เป็นไปอย่างเหมาะสม
(มาตรา ๘๐(๕)) และจัดให้มีกฎหมายจัดตั้งองค์กรเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมทางอาญา
เพื่อทำการศึกษา วิเคราะห์ และติดตามการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติ
ธรรมทางอาญา (มาตรา ๘๐(๖))
นอกจากนี้ ในบทเฉพาะกาลมาตรา ๒๙๗ กำหนดให้คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการ
ปฏิรูปกฎหมาย โดยให้คณะกรรมการดังกล่าวจัดทำกฎหมายเพื่อจัดตั้งองค์กรเพื่อการปฏิรูป
กฎหมาย ตามมาตรา ๘๐(๕) ให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้
16
๕.๒.๕ แนวนโยบายด้านการต่างประเทศ (มาตรา ๘๑)
เพิ่มเติมหลักการตามมาตรา ๗๔ เดิม โดยรัฐต้องปฏิบัติตามพันธกรณีที่ได้กระทำไว้กับ
นานาประเทศและองค์การระหว่างประเทศ ต้องส่งเสริมการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวกับ
นานาประเทศ ตลอดจนต้องให้ความคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์ของคนไทยในต่างประเทศ
๕.๒.๖ แนวนโยบายด้านเศรษฐกิจ (มาตรา ๘๒, ๘๓)
มาตรา ๘๒ บัญญัติให้รัฐต้องส่งเสริมและสนันสนุนให้มีการตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอ
เพียง ส่วนมาตรา ๘๓ เป็นการรวมมาตรา ๘๓ ถึง ๘๗ เดิมไว้ด้วยกัน และเพิ่มเติมหลักการขึ้นใหม่
อย่างเช่น รัฐต้องปรับปรุงระบบการจัดเก็บภาษีอากรให้มีความเป็นธรรม (มาตรา ๘๓(๓)) ต้องคุ้ม
ครองและรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกรในการผลิตและการตลาดสินค้าเกษตร (มาตรา ๘๓ (๙))
ต้องจัดให้มีสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานอันจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของประชาชนและต้องระมัดระวัง
ในการกระทำใดอันทำให้สาธารณูปโภคดังกล่าวตกอยู่ในความผูกขาดของเอกชน (มาตรา ๘๓
(๑๑))
๕.๒.๗ แนวนโยบายด้านที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม (มาตรา ๘๔)
ในเรื่องที่ดิน รัฐต้องกำหนดหลักเกณฑ์การใช้ที่ดินโดยให้คำนึงถึงสภาพแวดล้อมทาง
ธรรมชาติของพื้นที่นั้นๆตามหลักวิชา และจัดให้มีผังเมืองรวม ที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของ
พื้นที่นั้นๆ โดยกำหนดมาตรฐานการใช้อย่างยั่งยืนด้วยการให้ประชาชนในพื้นที่ที่มีผลกระทบต่อ
นโยบายการใช้ที่ดินนั้นร่วมในการตัดสินใจด้วย (มาตรา ๘๔(๑)) ในส่วนของทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อมนั้น รัฐต้องจัดให้มีแผนการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างเป็นระบบ โดย
ให้ประชาชน ชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนดัง
กล่าวด้วย (มาตรา ๘๔(๕))
๕.๒.๘ แนวนโยบายด้านวิทยาศาสตร์ ทรัพย์สินทางปัญญา และพลังงาน (มาตรา ๘๕)
รัฐต้องส่งเสริมให้มีการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านต่าง ๆ โดย
จัดให้มีกฎหมายเฉพาะด้าน จัดงบประมาณสนับสนุน และให้มีสถาบันการศึกษาและพัฒนา จัดให้มี
การใช้ประโยชน์จากผลการศึกษาและพัฒนา ระบบการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพและ
การพัฒนาบุคลากรที่เหมาะสม (มาตรา ๘๕(๑)) รัฐต้องรักษาและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น (มาตรา
๘๕(๒)) ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย พัฒนา และใช้ประโยชน์จากพลังงานทดแทน (มาตรา ๘๕
(๔))
นอกจากนี้ในบทเฉพาะกาลมาตรา ๒๙๓(๒) กำหนดให้มีการตรากฎหมายตามมาตรา ๘๕
(๑)ให้แล้วเสร็จภายใน ๒ ปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรนูญ
๕.๒.๙ แนวนโยบายด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน (มาตรา ๘๖)
แนวนโยบายที่สำคัญได้แก่ การส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการ
ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ (มาตรา ๘๖(๓)) ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนและชุมชนมีส่วน
17
ร่วมในการปกครองท้องถิ่น ตลอดจนการตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานขององค์กรปก
ครองส่วนท้องถิ่น (มาตรา๘๖(๔)) ส่งเสริมและให้การศึกษาแก่ประชาชนเกี่ยวกับการปกครอง
ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนได้ใช้สิทธิ
เลือกตั้ง (มาตรา ๘๖(๖))
หมวด ๖
รัฐสภา (มาตรา ๘๗-๑๕๘)
รัฐสภาประกอบด้วยสมาชิกสองประเภท
๖.๑ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)
๖.๑.๑ ที่มาและจำนวนของ ส.ส.
ส.ส. ตามร่างรัฐธรรมนูญมาตรา ๙๑ มีจำนวน ๔๐๐ คน โดยตามมาตรา ๙๒ กำหนดให้มี
สมาชิก ๒ ประเภท คือ
๑) สมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ๓๒๐ คน โดยกำหนดให้แบ่งเขต
จังหวัดออกเป็นเขตเลือกตั้ง และแต่ละเขตเลือกตั้งมี ส.ส. ได้เขตละ ๓ คน โดยที่ประชาชนมีสิทธิลง
คะแนนเสียงได้ตามจำนวน ส.ส. ที่มีในเขตนั้น ๆ และพรรคการเมืองจะส่งสมาชิกเข้าเป็นผู้สมัครรับ
เลือกตั้งได้ไม่เกินจำนวน ส.ส. ที่จะพึงมีในเขตการเลือกตั้งนั้น ๆ เช่นกัน (มาตรา ๙๗) ทั้งนี้เมื่อพรรค
การเมืองใดส่งสมาชิกเข้าสมัครรับเลือกตั้งแล้ว จะถอนการสมัครรับเลือกตั้งไม่ได้ (มาตรา ๙๘)
๒) สมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วน ๘๐ คน โดยกำหนดให้มี ๔ เขตเลือกตั้ง และ
แต่ละเขตเลือกตั้งมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน ๒๐ คน โดยใช้วิธีการคำนวณหาสัดส่วน
จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากสัดส่วนคะแนนตามบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองจัดทำขึ้น การ
คำนวณสัดส่วนไม่มีการตัดที่ ๕ % โดยคำนวณที่นั่งแต่ละภาคแยกกัน
ในการลงคะแนนเสียงของประชาชนนั้น ประชาชนมีสิทธิลงคะแนนในบัตรเลือกตั้ง ๒
บัตร บัตรแรกเป็นบัตรเลือก ส.ส. แบบแบ่งเขต เขตละ ๓ คน ส่วนบัตรที่สองเป็นบัตรเลือก ส.ส.
แบบสัดส่วน
๖.๑.๒ คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทน
ราษฎร
ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มาตรา ๙๕ ได้แก้ไขคุณสมบัติของผู้มีสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้ง
โดยได้ตัดเงื่อนไขว่าผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งต้องมีวุฒิการศึกษาปริญญาตรีออกไป และได้แก้ไขระยะ
เวลาที่ผู้ลงสมัครต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองในกรณีที่มีการเลือกตั้งทั่วไปเพราะเหตุยุบสภา โดย
กำหนดให้ต้องเป็นสมาชิกพรรคไม่น้อยกว่า ๓๐ วันเท่านั้น อีกทั้งยังได้กำหนดให้สามารถบัญญัติ
คุณสมบัติอื่นได้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน
ราษฎรและการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา เพื่อให้การกำหนดคุณสมบัติของผู้สมัครมีความยืดหยุ่น
ในเรื่องของคุณสมบัติต้องห้ามนั้นได้มีการแก้ไขในสองส่วน กล่าวคือ แต่เดิมกำหนดห้ามผู้
ที่เป็นบุคคลล้มละลายลงสมัครรับเลือกตั้ง ได้แก้ไขเป็นห้ามผู้ที่เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็น
บุคคลล้มละลายทุจริตลงสมัครรับเลือกตั้ง ทั้งนี้ก็เพื่อให้สอดคล้องกับหลักกฎหมายเกี่ยวกับการล้ม
ละลาย และได้แก้ไขให้ผู้ที่เคยต้องโทษจำคุกโดยพ้นโทษมายังไม่ถึงห้าปีในวันเลือกตั้งไม่ว่าโทษจำ
คุกดังกล่าวจะมีระยะเวลาเท่าใดก็ตาม เว้นแต่ในความผิดอันกระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุ
โทษ เนื่องจากไม่ต้องการให้เกิดการมัวหมองในการปฏิบัติหน้าที่ ส.ส. นั่นเอง ตามมาตรา ๙๖
เมื่อ ส.ส. ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีแล้ว แต่เดิมตามรัฐธรรมนูญปี
๒๕๔๐ ได้กำหนดให้สมาชิกภาพของ ส.ส. ผู้นั้นสิ้นสุดลง แต่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้แก้ไขโดย
ตัดข้อกำหนดดังกล่าวออก ดังนั้นแม้ ส.ส. ผู้ใดจะได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐ
มนตรี สมาชิกภาพของ ส.ส. ผู้นั้นก็มิได้สิ้นสุดไปด้วย
๖.๑.๓ หลักความเป็นอิสระในการปฎิบัติหน้าที่เพื่อการปฏิบัติหน้าที่ที่เป็นอิสระและปราศ
จากการครอบงำของพรรคการเมือง ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้บัญญัติคุ้มครองความเป็นอิสระในการ
ปฏิบัติหน้าที่ของ ส.ส. ไว้ชัดเจน เช่นการเสนอร่างพระราชบัญญัติตามมาตรา ๑๓๘ กำหนดให้ ส.ส.
ไม่น้อยกว่ายี่สิบคนสามารถเสนอร่างพระราชบัญญัติได้โดยไม่จำเป็นต้องมีมติของพรรคที่ ส.ส. ผู้นั้น
สังกัดดังเช่นที่เคยเป็นมา
การเสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญตามมาตรา ๒๘๒ ส.ส. จำนวนไม่
น้อยกว่าหนี่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิก
วุฒิสภาจำนวนไม่น้อยว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ทั้งสองสภา สามารถเสนอ
ญัตติได้โดยไม่จำต้องมีมติของพรรคการเมือง
มาตรา ๑๕๘ ก็ได้กำหนดให้ ส.ส. มีอิสระจากมติของพรรคการเมืองในการตั้ง
กระทู้ถาม การอภิปราย และการลงมติในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ
๖.๑.๔ อำนาจหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎร
อำนาจหน้าที่ในการตรากฎหมาย ถือเป็นอำนาจหน้าที่หลักของสภาผู้แทน
ราษฎรในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติ อำนาจหน้าที่ในการตรากฎหมายเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการเสนอร่าง
กฎหมาย ซึ่งรัฐธรรมนูญกำหนดให้เป็นอำนาจของ ส.ส. และ คณะรัฐมนตรี (ศาลหรือองค์กรอิสระ
ตามรัฐธรรมนูญ และประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งแม้จะสามารถเสนอร่างกฎหมายได้ แต่ก็ถูกจำกัด
ประเภทของร่างกฎหมายที่สามารถเสนอได้) นอกจากนี้สภาผู้แทนราษฎรยังมีหน้าที่ในการพิจารณา
เพื่อให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ความเห็นชอบร่างกฎหมายในอันที่จะประกาศใช้ต่อไป (มาตรา
๑๔๒-๑๔๔) ซึ่งรวมไปถึงการให้ความเห็นชอบต่อกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหารด้วย (มาตรา
๑๘๐) โดยร่างรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ได้แยกกระบวนการตรากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญออกจาก
กระบวนการตรากฎหมายทั่วไป เพื่อแสดงให้เห็นถึงสถานะและความสำคัญของกฎหมายประกอบ
รัฐธรรมนูญ
อำนาจหน้าที่ในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน โดยสภาผู้แทนราษฎรมี
เครื่องมือที่ใช้ในการควบคุมฝ่ายบริหารหลายประการด้วยกัน อย่างเช่น การตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรี
(มาตรา ๑๕๒, ๑๕๓) การอภิปรายไม่ไว้วางใจ (มาตรา ๑๕๔) ซึ่งร่างรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ได้เปลี่ยน
แปลงหลักการตามรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐หลายเรื่อง เช่น การลดจำนวน ส.ส.ที่ต้องใช้เพื่อเสนอญัตติ
ขออภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี (มาตรา ๑๕๔ วรรคหนึ่ง) หรือกรณีที่สมาชิกสภาผู้แทน
ราษฎรที่มิได้อยู่ในพรรคการเมืองที่สมาชิกในสังกัดของพรรคนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีมีจำนวน
ไม่ถึงเกณฑ์ที่จะเสนอญัตติขอเปิดอภิปราย ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรดังกล่าวทั้งหมดเท่าที่มีอยู่มี
สิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลได้ เมื่อคณะรัฐ
มนตรีได้บริหารราชการแผ่นดินมาเกินกว่าสองปีแล้ว (มาตรา ๑๕๖) การกำหนดให้สามารถ
อภิปรายรัฐมนตรีได้แม้จะได้มีการย้ายตำแหน่งก่อนการเสนอเปิดอภิปราย (มาตรา ๑๕๕ วรรค
สอง) เครื่องมือในการควบคุมฝ่ายบริหารยังรวมไปถึงการพิจารณาอนุมัติร่างพระราชบัญญัติงบ
ประมาณรายจ่ายประจำปี (หมวด ๘) อีกด้วย
อำนาจหน้าที่อื่นๆ อย่างเช่น อำนาจหน้าที่ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบผู้ที่
จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี (มาตรา ๑๖๘) การควบคุมความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมาย
ก่อนการประกาศใช้ (มาตรา ๑๕๐) การให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระ
องค์ในกรณีที่พระมหากษัตริย์ไม่สามารถทรงแต่งตั้งได้ด้วยพระองค์เอง (มาตรา ๑๙) เป็นต้น
๖.๒ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.)
๖.๒.๑ ที่มาและจำนวนของ ส.ว.
มาตรา ๑๐๖ บัญญัติให้มี ส.ว. จำนวน ๑๖๐ คน โดยคณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา
เป็นผู้สรรหาจากผู้สมัครเข้ารับการสรรหา ๒ ประเภท ได้แก่
๑) ส.ว. จังหวัดจำนวน ๗๖ คน โดยคณะกรรมการสรรหาเลือกจากผู้สมัครเข้ารับการสรร
หาในแต่ละจังหวัด ให้เหลือจังหวัดละ ๑ คน
๒) ส.ว. จากองค์กรวิชาชีพ จำนวน ๘๔ คน โดยคัดมาจากการเสนอชื่อจากองค์กรต่าง ๆ
ในภาควิชาการ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาชีพ และภาคอื่นที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ของ
วุฒิสภา และคณะกรรมการสรรหาเลือกให้เหลือ ๘๔ คน
ทั้งนี้หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการสรรหานั้นจะเป็นไปตามพระราชบัญญัติ
ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา
๖.๒.๒ องค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา
กรรมการสรรหาประกอบด้วยประธานศาลรัฐธรรมนูญประธานกรรมการการเลือกตั้ง
ประธานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ประธาน ป.ป.ช. ประธาน ค.ต.ง. ผู้พิพากษา ศาลฎีกา ๑
คน ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ๑ คน กรรมการสรรหาระดับจังหวัดยังไม่ได้ตกลงว่าจะมีหรือ
ไม่ ขึ้นกับกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ (อาจจะมีหรือไม่ก็ได้)
๖.๒.๓ อำนาจหน้าที่ของวุฒิสภา
อำนาจหน้าที่ในการกลั่นกรองกฎหมาย แม้สมาชิกวุฒิสภาจะไม่สามารถเสนอ
ร่างกฎหมายได้อย่างเช่นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่วุฒิสภามีบทบาทสำคัญในกระบวนการ
พิจารณาร่างกฎหมายในฐานะองค์กรที่ทำหน้าที่กลั่นกรองร่างกฎหมายโดยการแก้ไขเพิ่มเติม หรือ
การยับยั้งร่างกฎหมาย (มาตรา ๑๔๓)
อำนาจหน้าที่ในการแต่งตั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญ วุฒิสภามีอำนาจหน้าที่ใน
การให้คำแนะนำหรือให้ความเห็นชอบให้บุคคลเข้าดำรงตำแหน่งตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ เช่น
การให้ความเห็นชอบแก่บุคคลที่จะดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (มาตรา ๒๐๒(๒)) หรือ
การให้ความเห็นชอบแก่บุคคลที่จะดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ (หมวด ๑๑)
เป็นต้น โดยรัฐธรรมนูญกำหนดให้ในการใช้อำนาจแต่งตั้งของวุฒิสภา วุฒิสภาต้องแต่งตั้งคณะ
กรรมาธิการขึ้นคณะหนึ่ง ทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติ ความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรม
ของบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งนั้น รวมทั้งรวบรวมข้อเท็จจริงและพยานหลักฐาน
อันจำเป็น แล้วรายงานต่อวุฒิสภาเพื่อประกอบการพิจารณาต่อไป (มาตรา ๑๑๖)
อำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบและถอดถอน วุฒิสภามีอำนาจในการเข้าชื่อขอ
เปิดอภิปรายทั่วไปในวุฒิสภาเพื่อให้คณะรัฐมนตรีแถลงข้อเท็จจริงหรือชี้แจงปัญหาสำคัญเกี่ยวกับ
การบริหารราชการแผ่นดินโดยไม่มีการลงมติ (มาตรา ๑๕๗) นอกจากนี้วุฒิสภายังทำหน้าที่เป็น
องค์กรชี้ขาดในกรณีที่มีการกล่าวหาว่าผู้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๒๖๑ มีพฤติกรรมส่อว่ากระทำ
ความผิดต่อหน้าที่ ร่ำรวยผิดปกติ ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือ
กฎหมาย หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง และ ป.ป.ช.ได้ชี้ว่ามี
มูลความผิดแล้ว หากวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่า ๓ ใน ๕ ของสมาชิกเท่าที่มีอยู่เห็นว่าควรถอดถอน
ผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว บุคคลนั้นก็จะต้องพ้นจากตำแหน่งนับแต่วันที่มีการลงมติถอดถอนโดยวุฒิ
สภา (มาตรา ๒๖๑-๒๖๕)
หมวด ๗
การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน (มาตรา ๑๕๙-๑๖๑)
ร่างรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ ได้รวมเอาบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองโดย
ตรงของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ เอาไว้ในหมวดเดียวกัน และได้เปลี่ยนแปลงเงื่อนไข
ของการเสนอร่างกฎหมาย และการริเริ่มกระบวนการถอดถอนให้ให้มีความเคร่งครัดน้อยลง เพื่อให้
การมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นไปโดยง่าย นอกจากนี้ยังกำหนดให้การออกเสียงประชามติมี
สภาพบังคับไม่เพียงแต่เป็นแค่ “การให้คำปรึกษา” แก่คณะรัฐมนตรีเท่านั้น แต่อาจมีผลเป็นการ “ชี้
ขาด” ในประเด็นปัญหาเรื่องใดเรื่องหนึ่งก็ได้
๗.๑ การเสนอร่างกฎหมายโดยประชาชน (มาตรา ๑๕๙)
ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน ๒๐,๐๐๐คน (เดิมกำหนดไว้ ๕๐,๐๐๐คน) มีสิทธิเข้าชื่อ
เพื่อเสนอร่างกฎหมายต่อประธานรัฐสภา โดยจัดทำร่างกฎหมายที่ต้องการเสนอแนบมาด้วย แต่ทั้ง
นี้ร่างกฎหมายที่ประชาชนสามารถเสนอได้นั้นจำกัดอยู่เฉพาะกฎหมายตามที่กำหนดไว้ในเรื่องสิทธิ
และเสรีภาพของชนชาวไทย หรือแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐเท่านั้น
ปัจจุบันกฎหมายที่ใช้บังคับแก่การเข้าชื่อเสนอกฎหมายคือ พระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้า
ชื่อเสนอกฎหมาย ๒๕๔๒ ซึ่งจะต้องมีการแก้ไขให้สอดคล้องต่อหลักเกณฑ์ที่เปลี่ยนไปภายหลังรัฐ
ธรรมนูญประกาศใช้
๗.๒ การริเริ่มกระบวนการถอดถอนโดยประชาชน (มาตรา ๑๖๐)
ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน ๒๐,๐๐๐ คน (เดิมกำหนดไว้ ๕๐,๐๐๐ คน) มีสิทธิเข้าชื่อ
เสนอต่อประธานวุฒิสภา เพื่อให้วุฒิสภาเริ่มกระบวนการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๒๖๑
โดยระบุพฤติการณ์ที่กล่าวหาว่าผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวกระทำความผิดเป็นข้อๆให้ชัดเจน หลัง
จากประธานวุฒิสภาได้รับคำร้องแล้ว จะส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการ
ทุจริตแห่งชาติชี้มูลความผิด (มาตรา ๒๖๓) หากเห็นว่าข้อกล่าวหามีมูลก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการลงมติ
ถอดถอนโดยวุฒิสภาต่อไป (มาตรา ๒๖๔, ๒๖๕)
๗.๓ การออกเสียงประชามติ (มาตรา ๑๖๑)
ตามรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ กำหนดให้การออกเสียงประชามติจะมีขึ้นก็ต่อเมื่อคณะรัฐมนตรี
เห็นสมควรเท่านั้น ร่างรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ ได้เพิ่มเหตุในการออกเสียงประชามติเข้ามา คือ ใน
กรณีที่มีกฎหมายบัญญัติให้มีการออกเสียงประชามติ (มาตรา ๑๖๑ วรรคสอง (๒)) และการออก
เสียงประชามติอาจให้เป็นการให้คำปรึกษาหรือให้มีผลเป็นข้อยุติก็ได้ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับเรื่องที่จะ
ดำเนินการให้มีการออกเสียงประชามติ (มาตรา ๑๖๑ วรรคสาม) ต่างจากรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ ที่มี
ผลเป็นการให้คำปรึกษาเท่านั้น และเพิ่มหลักการในการออกเสียงประชามติที่รัฐต้องดำเนินการให้
ข้อมูลอย่างเพียงพอ และให้บุคคลฝ่ายที่เห็นชอบและไม่เห็นชอบกับกิจการนั้น มีโอกาสแสดงความ
คิดเห็นของตนได้อย่างเท่าเทียมกัน (มาตรา ๑๖๑ วรรคห้า)
นอกจากนี้ร่างรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ มิได้กำหนดรายละเอียดของการออกเสียงประชามติไว้
อย่างเช่นในรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ จึงทำให้การตราและการแก้ไขเปลี่ยนแปลงพระราชบัญญัติ
ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติมีอิสระในการกำหนดเงื่อนไขให้เหมาะสมมาก
ขึ้น
หมวด ๘
การเงิน การคลัง และงบประมาณ (มาตรา ๑๖๒-๑๖๖)
๘.๑ ลักษณะของงบประมาณ
เพื่อให้การจัดทำและการบริหารงบประมาณของรัฐมีความชัดเจน โปร่งใส สามารถตรวจ
สอบได้ และมีความคล่องตัว ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงได้บัญญัติหมวดที่เกี่ยวกับการเงิน การคลัง
และงบประมาณ ขึ้นมาเป็นเอกเทศ โดยกำหนดรายละเอียดของการจัดทำงบประมาณไว้อยู่ ๔
ลักษณะ ได้แก่
๘.๑.๑ งบประมาณรายจ่ายประจำปี
มาตรา ๑๖๒ บัญญัติให้จัดทำงบประมาณรายจ่ายของแผ่นดินเป็นพระราชบัญญัติ โดยร่าง
รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้บัญญัติเพิ่มเติมในมาตรา ๑๖๓ ว่าในร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวจะต้องมีราย
ละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับงบประมาณ เช่น รายละเอียดเกี่ยวกับประมาณการรายรับ กำหนดวัตถุ
ประสงค์ กิจกรรม แผนงาน และโครงการในแต่ละรายข่ายงบประมาณ แสดงฐานะทางการคลังของ
ประเทศเกี่ยวกับภาพรวมจากการใช้จ่ายและการจัดหารายได้ เป็นต้น
๘.๑.๒ งบประมาณในเหตุจำเป็น ภาวะสงครามหรือสถานการณ์ฉุกเฉิน
โดยปรกติรายจ่ายเงินแผ่นดินจะกระทำได้ก็เฉพาะตามกฎหมายอันเกี่ยวด้วยงบประมาณ
เท่านั้น แต่ถ้าในกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วนจะจ่ายไปก่อนก็ได้ แต่ต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายชดใช้
ต่อไป หรือในกรณีที่ประเทศอยู่ในภาวะสงคราม หรือในระหว่างเวลาที่มีการประกาศสถานการณ์
ฉุกเฉิน ซึ่งอาจทำให้รัฐไม่สามารถใช้จ่ายตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยงบประมาณได้ คณะรัฐ
มนตรีย่อมมีอำนาจโอนหรือนำรายจ่ายที่กำหนดไว้สำหรับราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ไปใช้ในกิจการ
ที่แตกต่างจากที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีได้
ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๖๕
๘.๑.๓ งบกลาง
งบกลางนี้เป็นงบประมาณที่กำหนดขึ้นเพื่อความยืดหยุ่นในการใช้จ่ายเงินของรัฐบาล ซึ่งรัฐ
ธรรมนูญปี ๒๕๔๐ ก็ได้มีหลักเรื่องงบกลางนี้เช่นกัน แต่เพื่อป้องกันไม่ให้มีการใช้จ่ายงบกลางอย่าง
ไม่มีวินัย ร่างรัฐธรรมนูญจึงได้บัญญัติให้ต้องแสดงเหตุผลและความจำเป็นในการกำหนดงบ
ประมาณรายจ่ายงบากลางนั้นไว้ด้วยในมาตรา ๑๖๓ วรรคสอง
๘.๑.๔ เงินนอกงบประมาณ
เงินนอกงบประมาณ คือ เงินที่ไม่ได้อยู่ภายใต้กฎหมายว่าด้วยงบประมาณ กล่าวคือเงินราย
ได้ของหน่วยงานที่ไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน เพื่อป้องกันไม่ให้นำเงินดังกล่าวไปใช้อย่างไม่มี
วินัย และเพื่อหวังผลทางการเมืองอย่างใด ๆ มาตรา ๑๖๖ จึงได้บัญญัติให้หน่วยงานของรัฐนั้น ๆ
ดำเนินการจัดทำรายงานการรับและการใช้จ่ายเงินดังกล่าวเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเมื่อสิ้นปีงบ
ประมาณ และคณะรัฐมนตรีต้องทำรายงานเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต่อไป
๘.๒ การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ ร่างพระราชบัญญัติ
งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม และร่างพระราชบัญญัติโอนงบประมาณรายจ่าย
สภาผู้แทนราษฎรต้องพิจารณาร่างพระราชบัญญัติให้แล้วเสร็จภายใน ๑๐๕ วัน โดยในการ
พิจารณานั้น สภาผู้แทนราษฎรจะแปรญัตติได้เฉพาะในทางตัดทอนรายจ่ายซึ่งมิใช่รายจ่ายตามข้อ
ผูกพันเงินส่งใช้ต้นเงินกู้ ดอกเบี้ยเงินกู้ หรือเงินที่กำหนดให้จ่ายตามกฎหมาย ทั้งนี้ผู้แปรญัตติดัง
กล่าวจะต้องไม่มีส่วนไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมในการใช้งบประมาณประจำปีนั้น
เมื่อสภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบแล้ว หรือพิจารณาไม่แล้วเสร็จภายใน 105 วัน ให้เสนอร่าง
พระราชบัญญัติไปยังวุฒิสภา โดยวุฒิสภาต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 20 วัน โดยจะแก้ไขเพิ่ม
เติมใด ๆ ไม่ได้เลย และถ้าวุฒิสภาเห็นชอบด้วยร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ก็ให้นำขึ้นทูลเกล้าฯ
เพื่อพระมาหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธย
ถ้าวุฒิสภาไม่เห็นชอบด้วยร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ก็ให้ตั้งคณะกรรมาธิการร่วมของทั้ง
สองสภาขึ้นมาเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ และถ้าคณะกรรมาธิการเห็นชอบด้วย ก็ให้นำร่าง
พระราชบัญญัติขึ้นทูลเกล้าฯ ต่อไป
นอกจากนี้แล้ว ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ยังบัญญัติให้รัฐต้องจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอ
กับการบริหารงานของรัฐสภา ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง คณะกรรมการการเลือก
ตั้ง ผู้ตรวจการแผนดินของรัฐสภา คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะ
กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งถ้าองค์กรดังกล่าวเห็นว่า
งบประมาณที่ได้รับการจัดสรรให้นั้นไม่เพียงพอต่อการบริหารงาน ก็สามารถแปรญัตติต่อคณะกรร
มาธิการได้โดยตรงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๖๔ วรรคท้าย
หมวด ๙
คณะรัฐมนตรี (มาตรา ๑๖๗-๑๙๒)
๙.๑ องค์ประกอบของคณะรัฐมนตรี (มาตรา ๑๖๗)
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ