ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (เดิม)
- ส่วนที่ ๙สิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุขและสวัสดิการจากรัฐ
มาตรา ๕๐ บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการทางสาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน
และผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการบริการสาธารณสุขจากรัฐซึ่งต้องเป็นไปอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ
บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการป้องกันและขจัดโรคติดต่ออันตรายจากรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายและทันต่อเหตุการณ์
- มาตรา ๕๑ เด็ก เยาวชน และบุคคลในครอบครัวมีสิทธิได้รับความคุ้มครองจากรัฐจาก
การใช้ความรุนแรงและการปฏิบัติอันไม่เป็นธรรม รวมทั้งมีสิทธิในการอยู่รอดและได้รับการพัฒนาด้านร่างกาย
จิตใจ และสติปัญญาตามศักยภาพในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมการแทรกแซงและการจำกัดสิทธิของเด็ก
เยาวชน และบุคคลในครอบครัวจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะ
เพื่อสงวนและรักษาไว้ซึ่งสถานะของครอบครัวหรือประโยชน์สูงสุดของบุคคลนั้น
เด็กและเยาวชนซึ่งไม่มีผู้ดูแลมีสิทธิได้รับการเลี้ยงดูและการศึกษาอบรมจากรัฐ
- มาตรา ๕๒ บุคคลซึ่งมีอายุเกินหกสิบปีบริบูรณ์และไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ มีสิทธิ
ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐ
- มาตรา ๕๓ บุคคลซึ่งพิการหรือทุพพลภาพ มีสิทธิได้รับสวัสดิการ สิ่งอำนวยความสะดวกอัน
เป็นสาธารณะ และความช่วยเหลืออื่นจากรัฐ
- มาตรา ๕๔ บุคคลที่ไร้ที่อยู่อาศัยและไม่มีรายได้เพียงพอย่อมมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือจากรัฐ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐
- มาตรา ๕๒ บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการทางสาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน
และผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ทั้งนี้
ตามที่กฎหมายบัญญัติการบริการทางสาธารณสุขของรัฐต้องเป็นไปอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ โดยจะต้อง
ส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเอกชนมีส่วนร่วมด้วยเท่าที่จะกระทำได้การป้องกันและขจัดโรค
ติดต่ออันตราย รัฐต้องจัดให้แก่ประชาชนโดยไม่คิดมูลค่าและทันต่อเหตุการณ์ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
- มาตรา ๕๓ เด็ก เยาวชน และบุคคลในครอบครัว มีสิทธิได้รับความคุ้มครองโดยรัฐจาก
การใช้ความรุนแรงและการปฏิบัติอันไม่เป็นธรรม
เด็กและเยาวชนซึ่งไม่มีผู้ดูแล มีสิทธิได้รับการเลี้ยงดูและการศึกษาอบรมจากรัฐทั้งนี้ ตามที่
กฎหมายบัญญัติ
- มาตรา ๕๔ บุคคลซึ่งมีอายุเกินหกสิบปีบริบูรณ์และไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ มีสิทธิ
ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
- มาตรา ๕๕ บุคคลซึ่งพิการหรือทุพพลภาพ มีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ
และความช่วยเหลืออื่นจากรัฐ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
เหตุผลที่แก้ไข
แก้ไขมาตรา 50
กำหนดให้รัฐให้หลักประกันแก่ประชาชนในการเข้าถึงระบบสาธารณสุข เพื่อคุ้มครองสิทธิของ
ประชาชนในการได้รับการดูแลด้านสาธารณสุขอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ ส่วนการส่งเสริมให้องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นและเอกชนมีส่วนร่วมในการสาธารณสุขได้ย้ายไปบัญญัติในหมวด ๕ แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
เพื่อให้เข้าใจชัดเจนขึ้นว่า มาตรานี้เป็นเรื่องสิทธิของบุคคลที่จะได้รับการคุ้มครอง
แก้ไขมาตรา 51
เพิ่มการคุ้มครองแก่เด็ก เยาวชน และบุคคลในครอบครัวให้ได้รับหลักประกันในการอยู่รอด
การพัฒนา และการห้ามแทรกแซงหรือจำกัดสิทธิ เพื่อให้สถาบันครอบครัวได้รับการดูแลอย่างอบอุ่นและมีการ
คุ้มครองโดยกฎหมายอย่างครบถ้วน
ไม่มีแก้ไขมาตรา 52-53
แก้ไขมาตรา 54
เพิ่มสิทธิของบุคคลในการได้รับความคุ้มครองการไม่มีที่อยู่อาศัย โดยรัฐจะต้องช่วยเหลือดูแล
ให้สามารถมีที่อยู่อาศัยที่พอสมควร
(ยังมีต่อ)