ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (เดิม)
- มาตรา ๑๖๓ ในการนำเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
ต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับประมาณการรายรับ และกำหนดวัตถุประสงค์ กิจกรรม แผนงาน และโครงการใน
แต่ละรายจ่ายงบประมาณ รวมทั้งต้องแสดงฐานะทางการคลังของประเทศเกี่ยวกับภาพรวมจากการใช้จ่ายและ
การจัดหารายได้ การขาดรายได้จากการยกเว้นภาษีเฉพาะรายในรูปแบบต่าง ๆ ความจำเป็นในการตั้งงบ
ประมาณผูกพันข้ามปี การก่อหนี้ของรัฐและฐานะทางการเงินของรัฐวิสาหกิจ ถ้ารายจ่ายใดที่ไม่สามารถจัดสรร
เป็นรายจ่ายในรายการใดได้ ให้จัดสรรไว้ในรายการรายจ่ายงบกลาง โดยต้องแสดงเหตุผลและความจำเป็น
ในการกำหนดงบประมาณรายจ่ายงบกลางนั้นด้วย
ให้มีกฎหมายการเงินการคลังของรัฐเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดหารายได้ การกำหนดราย
จ่าย การก่อหนี้หรือการดำเนินการที่ผูกพันทรัพย์สินของรัฐ หลักเกณฑ์การกำหนดวงเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉิน
หรือจำเป็น และการอื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะใช้เป็นกรอบในการกำกับการใช้จ่ายเงินตามแนวทางการรักษาวินัยการ
เงิน การคลัง และรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน รวมทั้งเป็นแนวทางในการจัดทำงบประมาณรายจ่าย
ของแผ่นดิน
- มาตรา ๑๖๔ ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ ร่างพระราชบัญญัติ
งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม และร่างพระราชบัญญัติโอนงบประมาณรายจ่าย สภาผู้แทนราษฎรจะต้องวิเคราะห์
และพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยห้าวันนับแต่วันที่ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาถึงสภาผู้แทนราษฎร
ถ้าสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้นไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาที่กล่าวในวรรคหนึ่ง
ให้ถือว่าสภาผู้แทนราษฎรได้ให้ความเห็นชอบในร่างพระราชบัญญัตินั้นและให้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวต่อ
วุฒิสภา ในการพิจารณาของวุฒิสภา วุฒิสภาจะต้องให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ความเห็นชอบภายใน
ยี่สิบวันนับแต่วันที่ร่างพระราชบัญญัตินั้นมาถึงวุฒิสภา โดยจะแก้ไขเพิ่มเติมใด ๆ มิได้ ถ้าพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว
ให้ถือว่าวุฒิสภาได้ให้ความเห็นชอบในร่างพระราชบัญญัตินั้นในกรณีเช่นนี้และในกรณีที่วุฒิสภาให้ความเห็นชอบ
ให้ดำเนินการต่อไปตามมาตรา ๑๔๖ ถ้าร่างพระราชบัญญัติดังกล่าววุฒิสภาไม่เห็นชอบด้วย ให้นำ
บทบัญญัติมาตรา ๑๔๔ วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบ
ประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม และร่างพระราชบัญญัติโอน
งบประมาณรายจ่าย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะแปรญัตติเพิ่มเติมรายการหรือจำนวนในรายการมิได้ แต่อาจ
แปรญัตติในทางลดหรือตัดทอนรายจ่ายซึ่งมิใช่รายจ่ายตามข้อผูกพันอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(๑) เงินส่งใช้ต้นเงินกู้ (๒) ดอกเบี้ยเงินกู้ (๓) เงินที่กำหนดให้จ่ายตามกฎหมาย
ในการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือของคณะกรรมาธิการ การเสนอ การแปรญัตติ หรือการกระทำ
ด้วยประการใดๆ ที่มีผลให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือกรรมาธิการ มีส่วนไม่ว่าโดยตรงหรือ
โดยอ้อมในการใช้งบประมาณรายจ่าย จะกระทำมิได้ในกรณีที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา มีจำนวน
ไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา เห็นว่ามีการกระทำฝ่าฝืนบทบัญญัติตาม
วรรคหก ให้เสนอความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ
เพื่อพิจารณา และศาลรัฐธรรมนูญต้องพิจารณาวินิจฉัยภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับความเห็นดังกล่าว
ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ามีการกระทำฝ่าฝืนบทบัญญัติตามวรรคหก ให้การเสนอ การแปรญัตติหรือการ
กระทำดังกล่าวสิ้นผลไป รัฐต้องจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอกับการบริหารงานโดยอิสระของรัฐสภา
ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง คณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และคณะกรรมการสิทธิ
มนุษยชนแห่งชาติ ในการพิจารณางบประมาณรายจ่ายของรัฐสภา ศาล และองค์กรตามวรรคแปด
หากหน่วยงานนั้นเห็นว่างบประมาณรายจ่ายที่ได้รับการจัดสรรให้นั้นไม่เพียงพอให้สามารถเสนอคำขอแปรญัตติ
ต่อคณะกรรมาธิการได้โดยตรง
- มาตรา ๑๖๕ การจ่ายเงินแผ่นดินจะกระทำได้ก็เฉพาะที่ได้อนุญาตไว้ในกฎหมายว่าด้วยงบ
ประมาณรายจ่าย กฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ กฎหมายเกี่ยวด้วยการโอนงบประมาณหรือกฎหมายว่าด้วย
เงินคงคลัง เว้นแต่ในกรณีจำเป็นเร่งด่วนจะจ่ายไปก่อนก็ได้แต่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมาย
บัญญัติ ในกรณีเช่นว่านี้จะต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายชดใช้ในพระราชบัญญัติโอนงบประมาณรายจ่าย พระราช
บัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม หรือพระราชบัญญัติ
งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณถัดไป ทั้งนี้ ให้กำหนดแหล่งที่มาของรายได้เพื่อชดใช้รายจ่ายที่ได้ใช้
เงินคงคลังจ่ายไปก่อนแล้วด้วย ในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ในภาวะสงครามหรือในระหว่าง
เวลาที่มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน คณะรัฐมนตรีมีอำนาจโอนหรือนำรายจ่ายที่กำหนดไว้สำหรับส่วนราชการ
หรือรัฐวิสาหกิจใด ไปใช้ในกิจการที่แตกต่างจากที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีได้
ทันที และให้รายงานรัฐสภาทราบโดยไม่ชักช้า
- มาตรา ๑๖๖ เงินรายได้ของหน่วยงานใดของรัฐที่ไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน ให้หน่วย
งานของรัฐนั้นดำเนินการจัดทำรายงานการรับและการใช้จ่ายเงินดังกล่าวเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเมื่อสิ้นปีงบ
ประมาณทุกปีและให้คณะรัฐมนตรีทำรายงานเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต่อไป
หมวด ๙คณะรัฐมนตรี
- มาตรา ๑๖๗ พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนหนึ่งและรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกินสาม
สิบห้าคนประกอบเป็นคณะรัฐมนตรี มีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินตามหลักความรับผิดชอบร่วมกัน นายกรัฐมนตรี
ต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งได้รับแต่งตั้งตามมาตรา ๑๖๘ ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนอง
พระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระหรือ
เกินกว่าแปดปีมิได้ สุดแต่ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งกรณีใดจะยาวกว่ากัน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐
- มาตรา ๑๘๐ ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ ร่างพระราชบัญญัติ
งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม และร่างพระราชบัญญัติโอนงบประมาณรายจ่าย สภาผู้แทนราษฎรจะต้องพิจารณา
ให้เสร็จภายในหนึ่งร้อยห้าวันนับแต่วันที่ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาถึงสภาผู้แทนราษฎรถ้าสภาผู้แทนราษฎร
พิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้นไม่เสร็จภายในกำหนดเวลาที่กล่าวในวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าสภาผู้แทนราษฎรได้ให้
ความเห็นชอบในร่างพระราชบัญญัตินั้น และให้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวต่อวุฒิสภาในการพิจารณาของ
วุฒิสภา วุฒิสภาจะต้องให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ความเห็นชอบภายในยี่สิบวันนับแต่วันที่ร่างพระราชบัญญัตินั้น
มาถึงวุฒิสภา โดยจะแก้ไขเพิ่มเติมใดๆ มิได้ ถ้าพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวให้ถือว่าวุฒิสภาได้ให้ความเห็นชอบ
ในร่างพระราชบัญญัตินั้น ในกรณีเช่นนี้และในกรณีที่วุฒิสภาให้ความเห็นชอบ ให้ดำเนินการต่อไปตามมาตรา ๙๓
ถ้าร่างพระราชบัญญัติดังกล่าววุฒิสภาไม่เห็นชอบด้วย ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๗๖ วรรคสอง
มาใช้บังคับ โดยอนุโลมในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ ร่างพระราช
บัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม และร่างพระราชบัญญัติโอนงบประมาณรายจ่าย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะ
แปรญัตติเพิ่มเติมรายการหรือจำนวนในรายการมิได้ แต่อาจแปรญัตติได้ในทางลดหรือตัดทอนรายจ่ายซึ่งมิใช่
รายจ่ายตามข้อผูกพันอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (๑) เงินส่งใช้ต้นเงินกู้
(๒) ดอกเบี้ยเงินกู้ (๓) เงินที่กำหนดให้จ่ายตามกฎหมาย ในการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรหรือของคณะ
กรรมาธิการ การเสนอการแปรญัตติ หรือการกระทำด้วยประการใดๆ ที่มีผลให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิก
วุฒิสภา หรือกรรมาธิการ มีส่วนไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมในการใช้งบประมาณรายจ่าย จะกระทำมิได้
ในกรณีที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา มีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่า
ที่มีอยู่ของแต่ละสภา เห็นว่ามีการกระทำฝ่าฝืนบทบัญญัติตามวรรคหก ให้เสนอความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อ
พิจารณาและศาลรัฐธรรมนูญต้องพิจารณาวินิจฉัยภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับความเห็นดังกล่าว ในกรณีที่ศาล
รัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ามีการกระทำฝ่าฝืนบทบัญญัติตามวรรคหก ให้การเสนอการ แปรญัตติ หรือการกระทำ
ดังกล่าวสิ้นผลไป
- มาตรา ๑๘๑ การจ่ายเงินแผ่นดินจะกระทำได้ก็เฉพาะที่ได้อนุญาตไว้ในกฎหมายว่าด้วย
งบประมาณรายจ่าย กฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ กฎหมายเกี่ยวด้วยการโอนงบประมาณ หรือกฎหมาย
ด้วยเงินคงคลัง เว้นแต่ในกรณีจำเป็นรีบด่วนจะจ่ายไปก่อนก็ได้ แต่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่
กฎหมายบัญญัติ ในกรณีเช่นว่านี้ต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายชดใช้ในพระราชบัญญัติโอนงบประมาณรายจ่าย
พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม หรือพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณถัดไป
หรือเว้นแต่เป็นกรณีตามมาตรา ๒๓๐ วรรคสอง
- มาตรา ๒๐๑ พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนหนึ่งและรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกินสาม
สิบห้าคนประกอบเป็นคณะรัฐมนตรี มีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินนายกรัฐมนตรีต้องแต่งตั้งจากสมาชิกสภาผู้แทน
ราษฎรหรือผู้เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแต่พ้นจากสมาชิกภาพตามมาตรา ๑๑๘ (๗) ในอายุของสภาผู้แทน
ราษฎรชุดเดียวกัน ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง
นายกรัฐมนตรี
เหตุผลที่แก้ไข
แก้ไขมาตราที่ 163
เพิ่มขึ้นใหม่เพื่อให้มีการชี้แจงรายละเอียดประกอบร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี
และให้มีกฎหมายการเงินการคลังของรัฐเป็นกรอบควบคุมการใช้จ่ายเงินของรัฐ
แก้ไขมาตราที่ 164
คงหลักการเดิม แต่ได้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดสรรงบประมาณให้แก่องค์กรตามรัฐธรรมนูญมา
บัญญัติรวมไว้ด้วยกัน และเพิ่มหลักการให้องค์กรเหล่านั้นสามารถเสนอคำขอแปรญัตติต่อกรรมาธิการได้โดยตรง
เพื่อเป็นหลักประกันความเป็นอิสระจากคณะรัฐมนตรีในการบริหารงบประมาณให้พอเพียงกับการปฏิบัติหน้าที่
แก้ไขมาตราที่ 165
ความในวรรคหนึ่งคงเดิม แต่ได้เพิ่มความเป็นวรรคสอง เพื่อให้คณะรัฐมนตรีสามารถแก้ไขปัญหา
กรณีมีเหตุฉุกเฉินได้ โดยการโอนงบประมาณไปใช้ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทันทีแล้วแจ้งให้รัฐสภาทราบ
แก้ไขมาตราที่ 166
เพิ่มขึ้นใหม่เพื่อให้สามารถตรวจสอบการใช้จ่ายเงินนอกงบประมาณ
แก้ไขมาตราที่ 167
คงหลักการเดิมในเรื่ององค์ประกอบและจำนวนรัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรี โดยกำหนดให้นายกรัฐมนตรี
ต้องได้รับการแต่งตั้งจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รวมทั้งกำหนดวาระการดำรงตำแหน่งของบุคคลซึ่งจะได้รับการ
แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้นจะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระหรือจะเกินกว่าแปดปีมิได้ เพื่อมิให้
มีการดำรงตำแหน่งอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจสร้างอิทธิพลหรือเข้าครอบงำการบริหารประเทศโดยไม่ชอบได้
(ยังมีต่อ)