แท็ก
ร่างรัฐธรรมนูญ
หมวด ๕
แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
ส่วนที่ ๑๐
แนวนโยบายด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน
มาตรา ๘๖ รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนดังต่อไปนี้
(๑) ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ
(๒) ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตัดสินใจทางการเมืองการวางแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง รวมทั้งการจัดทำบริการสาธารณะ โดยต้องจัดให้มีการให้ข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วนและรับฟังความคิดเห็นของประชาชนก่อนการวางแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ตลอดจนการจัดทำบริการสาธารณะ และต้องจัดให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูล สรุปผลการรับฟังความคิดเห็น และผลการตัดสินใจของรัฐได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
(๓) ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทุกระดับ ในรูปแบบองค์การทางวิชาชีพที่หลากหลายหรือรูปแบบอื่น และต้องไม่กระทำการที่มีลักษณะเป็นการแทรกแซงการดำเนินงานของสื่อมวลชนทั้งของรัฐและเอกชนในการเสนอข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการใช้อำนาจรัฐ เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสาร
(๔) จัดให้มีมาตรฐานกลางในการกำกับดูแล ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนและชุมชนมีส่วนร่วมในการปกครองท้องถิ่น ตลอดจนการตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(๕) ส่งเสริมให้ประชาชนมีความเข้มแข็งในทางการเมือง และให้มีการตรากฎหมายเพื่อจัดตั้งกองทุนพัฒนาการเมืองภาคพลเมืองเพื่อช่วยเหลือการดำเนินกิจกรรมสาธารณะของชุมชนรวมทั้งสนับสนุนการดำเนินการของกลุ่มประชาชนที่รวมตัวกันในลักษณะเครือข่ายทุกรูปแบบที่จะสามารถแสดงความคิดเห็นและเสนอความต้องการของชุมชนในพื้นที่
(๖) ส่งเสริมและให้การศึกษาแก่ประชาชนเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนได้ใช้สิทธิเลือกตั้ง
--คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ--
แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
ส่วนที่ ๑๐
แนวนโยบายด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน
มาตรา ๘๖ รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนดังต่อไปนี้
(๑) ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ
(๒) ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตัดสินใจทางการเมืองการวางแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง รวมทั้งการจัดทำบริการสาธารณะ โดยต้องจัดให้มีการให้ข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วนและรับฟังความคิดเห็นของประชาชนก่อนการวางแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ตลอดจนการจัดทำบริการสาธารณะ และต้องจัดให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูล สรุปผลการรับฟังความคิดเห็น และผลการตัดสินใจของรัฐได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
(๓) ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทุกระดับ ในรูปแบบองค์การทางวิชาชีพที่หลากหลายหรือรูปแบบอื่น และต้องไม่กระทำการที่มีลักษณะเป็นการแทรกแซงการดำเนินงานของสื่อมวลชนทั้งของรัฐและเอกชนในการเสนอข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการใช้อำนาจรัฐ เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสาร
(๔) จัดให้มีมาตรฐานกลางในการกำกับดูแล ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนและชุมชนมีส่วนร่วมในการปกครองท้องถิ่น ตลอดจนการตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(๕) ส่งเสริมให้ประชาชนมีความเข้มแข็งในทางการเมือง และให้มีการตรากฎหมายเพื่อจัดตั้งกองทุนพัฒนาการเมืองภาคพลเมืองเพื่อช่วยเหลือการดำเนินกิจกรรมสาธารณะของชุมชนรวมทั้งสนับสนุนการดำเนินการของกลุ่มประชาชนที่รวมตัวกันในลักษณะเครือข่ายทุกรูปแบบที่จะสามารถแสดงความคิดเห็นและเสนอความต้องการของชุมชนในพื้นที่
(๖) ส่งเสริมและให้การศึกษาแก่ประชาชนเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนได้ใช้สิทธิเลือกตั้ง
--คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ--