เปรียบเทียบร่างรัฐธรรมนูญเดิมกับรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตราที่ 45-46

ข่าวการเมือง Friday June 22, 2007 14:05 —สภาร่างรัฐธรรมนูญ

ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (เดิม)
ส่วนที่ ๗ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคลและสื่อมวลชน
- มาตรา ๔๕ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียนการพิมพ์
การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่นการจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่ง จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดย
อาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ
เกียรติยศชื่อเสียง สิทธิในครอบครัวหรือความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลอื่น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย
หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
หรือเพื่อป้องกันหรือระงับความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชนการสั่งปิดกิจการ
หนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นเพื่อลิดรอนเสรีภาพตามมาตรานี้ จะกระทำมิได้การห้ามหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชน
อื่นเสนอข่าวสารหรือแสดงความคิดเห็นทั้งหมดหรือบางส่วน หรือการแทรกแซงด้วยวิธีการใด ๆ เพื่อลิดรอน
เสรีภาพตามมาตรานี้ จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายซึ่งได้ตราขึ้นตามวรรคสอง
การให้นำข่าวหรือบทความไปให้เจ้าหน้าที่ตรวจก่อนนำไปโฆษณาในหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่น จะกระทำมิได้
เว้นแต่จะกระทำในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ในภาวะสงครามหรือการรบ แต่ทั้งนี้จะต้องกระทำโดยอาศัย
อำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายซึ่งได้ตราขึ้นตามวรรคสองเจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นต้อง
เป็นบุคคลสัญชาติไทยการให้เงินหรือทรัพย์สินอื่นเพื่ออุดหนุนกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นของเอกชน รัฐ
จะกระทำมิได้
- มาตรา ๔๖ พนักงานหรือลูกจ้างของเอกชนที่ประกอบกิจการหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง
วิทยุโทรทัศน์ หรือสื่อมวลชนอื่น ย่อมมีเสรีภาพในการเสนอข่าวและแสดงความคิดเห็นภายใต้ข้อจำกัดตาม
รัฐธรรมนูญ โดยไม่ตกอยู่ภายใต้อาณัติของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือเจ้าของกิจการนั้น
แต่ต้องไม่ขัดต่อจริยธรรมแห่งการประกอบวิชาชีพข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงาน
ของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจในกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรือสื่อมวลชนอื่น ย่อมมีเสรีภาพเช่นเดียวกับ
พนักงานหรือลูกจ้างของเอกชนตามวรรคหนึ่งการกระทำใด ๆ ไม่ว่าในทางตรงหรือทางอ้อมของผู้ดำรงตำแหน่ง
ทางการเมืองเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือเจ้าของกิจการ อันเป็นการขัดขวางหรือแทรกแซงการเสนอข่าวหรือแสดง
ความคิดเห็นในประเด็นสาธารณะของบุคคลตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ให้ถือว่าเป็นการจงใจใช้อำนาจหน้าที่
โดยมิชอบและไม่มีผลใช้บังคับ เว้นแต่เป็นการกระทำเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายหรือจริยธรรมแห่งการ
ประกอบวิชาชีพ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐
- มาตรา ๓๙ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์
การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่นการจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดย
อาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ
เกียรติยศ ชื่อเสียง สิทธิในครอบครัวหรือความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลอื่น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย
หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันหรือระงับความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชน
การสั่งปิดโรงพิมพ์ สถานีวิทยุกระจายเสียง หรือสถานีวิทยุโทรทัศน์ เพื่อลิดรอนเสรีภาพตามมาตรานี้จะ
กระทำมิได้การให้นำข่าวหรือบทความไปให้เจ้าหน้าที่ตรวจก่อนนำไปโฆษณาในหนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์ วิทยุ
กระจายเสียง หรือวิทยุโทรทัศน์ จะกระทำมิได้ เว้นแต่จะกระทำในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ในภาวะ
การสงครามหรือการรบ แต่ทั้งนี้จะต้องกระทำโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายซึ่งได้ตราขึ้นตาม
ความในวรรคสองเจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทย ทั้งนี้ ตามที่กฎหมาย
บัญญัติการให้เงินหรือทรัพย์สินอย่างอื่นอุดหนุนหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นของเอกชน รัฐจะกระทำมิได้
- มาตรา ๔๑ พนักงานหรือลูกจ้างของเอกชนที่ประกอบกิจการหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง
หรือวิทยุโทรทัศน์ ย่อมมีเสรีภาพในการเสนอข่าวและแสดงความคิดเห็นภายใต้ข้อจำกัดตามรัฐธรรมนูญ โดย
ไม่ตกอยู่ภายใต้อาณัติของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือเจ้าของกิจการนั้น แต่ต้องไม่ขัด
ต่อจรรยาบรรณแห่งการประกอบวิชาชีพ ข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ
หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ในกิจการวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์ ย่อมมีเสรีภาพเช่นเดียวกับ
พนักงานหรือลูกจ้างของเอกชนตามวรรคหนึ่ง
เหตุผลที่แก้ไข
แก้ไขมาตรา 45
เพิ่มเติมการคุ้มครองสิทธิที่รัฐจะสั่งห้ามหรือแทรกแซงด้วยประการใด ๆ เพื่อลิดรอนเสรีภาพ
ในการเสนอข่าวหรือแสดงความคิดเห็น ของหนังสือพิมพ์ รวมทั้งสื่อมวลชนอื่นทุกประเภท มิได้ เพื่อเป็นหลัก
ประกันในการประกอบวิชาชีพของหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นที่จะไม่ถูกครอบงำโดยรัฐ ซึ่งจะทำให้การ
เสนอข่าวหรือให้ความเห็นเป็นไปโดยอิสระ และสามารถตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ เพื่อเป็นข้อมูลให้
ประชาชนได้รับทราบความเป็นจริง
แก้ไขมาตรา 46
เพิ่มกรณีการห้ามผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือเจ้าของกิจการกระทำการใด ๆ
ไม่ว่าในทางตรงหรือทางอ้อมอันเป็นการขัดขวางหรือแทรกแซงการเสนอข่าว หรือแสดงความคิดเห็นในประเด็น
สาธารณะของพนักงานหรือลูกจ้างของเอกชนที่ประกอบกิจการหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์
หรือสื่อมวลชนอื่น ให้ถือว่าเป็นการจงใจใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบและไม่มีผลใช้บังคับ เว้นแต่การแทรกแซง
หรือขัดขวาง การนำเสนอข่าวหรือการแทรกแซงการเสนอข่าวของสื่อมวลชนเป็นไปเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย
หรือจรรยาบรรณแห่งการประกอบวิชาชีพ ทั้งนี้ เพื่อให้การนำเสนอข่าวหรือการแสดงความคิดเห็นในประเด็น
สาธารณะ เช่น การเสนอข่าวหรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำงานของรัฐบาลที่มีผลกระทบต่อประชาชน
โดยรวมสามารถกระทำได้โดยปราศจากการแทรกแซงหรือการใช้อิทธิพลครอบงำของผู้ดำรงตำแหน่งทางการ
เมืองหรือหน่วยงานของรัฐ อันเป็นมาตรการคุ้มครองผู้ปฏิบัติงานในสื่อมวลชนให้มีผลบังคับได้อย่างแท้จริง
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ