คำอธิบายร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช .(ฉบับรับฟังความคิดเห็น)

ข่าวการเมือง Friday May 25, 2007 14:31 —สภาร่างรัฐธรรมนูญ

          หมวด ๑
บททั่วไป (มาตรา ๑-๗)
ร่างรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ ในบททั่วไปนั้นยังคงหลักการและโครงสร้างเดิมตามรัฐธรรมนูญ
๒๕๔๐ แต่ก็ได้บัญญัติเพิ่มเติมบางมาตราให้มีความชัดเจนในหลักการมากยิ่งขึ้น
๑.๑ ประเทศไทยเป็นรัฐเดี่ยวและปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น
ประมุข (มาตรา ๑, ๒)
ในเรื่องรูปของรัฐยังคงบัญญัติไว้ในมาตรา ๑ เพื่อยืนยันความเป็นรัฐเดี่ยวและมิอาจถูกแบ่ง
แยกได้ของราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๒ กำหนดให้ประเทศไทยมีการปกครองในระบอบ
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยทั้งสองมาตรายังคงใช้คำตามรัฐธรรมนูญ
๒๕๔๐ ทุกประการ นอกจากนี้ หลักการทั้งสองยังถือเป็น “หลักการที่ไม่อาจถูกแก้ไขได้” ไม่ว่าจะ
โดยวิธีการใดๆ ดังจะเห็นได้จากมาตรา ๒๘๒ (๑) วรรคสอง ที่กำหนดห้ามเสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่ม
เติมรัฐธรรมนูญที่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์
ทรงเป็นประมุข หรือเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐ
๑.๒ อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย (มาตรา ๓ วรรคหนึ่ง)
อำนาจอธิปไตย หรือ อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ เป็นข้อถกเถียงประการหนึ่งใน
การร่างรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ คือ จะเขียนว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของ หรือ มาจาก ปวงชนชาวไทย
ซึ่งในทางทฤษฎีการเขียนสองแบบนี้ มีหลักการที่แตกต่างกัน การเขียนว่า “อำนาจอธิปไตยเป็นของ
(Belong to) ปวงชนชาวไทย” ก็ต้องถือว่าประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย และแม้จะมอบ
หมายให้ผู้แทนใช้อำนาจอธิปไตยแทนตนเอง อำนาจอธิปไตยก็ยังคงอยู่กับประชาชน ในการปก
ครองประเทศประชาชนต้องมีส่วนในการใช้อำนาจโดยตรง ประชาชนต้องเสนอกฎหมายได้
พิจารณากฎหมายได้ ต้องตัดสินใจในเรื่องสำคัญได้ รวมถึงสามารถถอดถอนผู้แทนของตนได้ ใน
ทางกลับกัน หากเขียนว่า “อำนาจอธิปไตยมาจาก (Emanate from) ประชาชน” แล้ว การปกครอง
ประเทศโดยหลักก็ต้องขึ้นอยู่กับการทำหน้าที่ของผู้แทนที่ประชาชนเลือกขึ้นมา ประชาชนอาจมี
ส่วนร่วมในการปกครองประเทศได้ แต่ก็ในวงจำกัด การตัดสินใจในขั้นตอนสำคัญมิได้เป็นอำนาจ
ของประชาชน และการถอดถอนผู้แทนโดยประชาชนย่อมไม่อาจทำได้ ที่ประชุมส่วนใหญ่เห็นว่า
ในรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ ควรจะใช้คำว่า “อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย”
ในร่างรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ ยังคงหลักอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทยเอาไว้เช่น
เดิม(มาตรา ๓) นอกจากนี้ยังทำให้การมีส่วนร่วมในการปกครองง่ายขึ้น โดยการลดความเคร่งครัด
ของเงื่อนไขในการเริ่มต้นกระบวนการบางอย่างลง อย่างเช่นในการเสนอร่างกฎหมายซึ่งแต่เดิม
ต้องใช้รายชื่อประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน ๕๐,๐๐๐คน ก็ลดลงเหลือเพียง ๒๐,๐๐๐คน
(มาตรา ๑๕๙)
๑.๓ หลักนิติธรรม (มาตรา ๓ วรรคสอง)
เป็นหลักที่บัญญัติเพิ่มเติมไว้ในมาตรา ๓ วรรคสอง กำหนดให้การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา
คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานของรัฐต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของ
บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีความเป็นธรรมซึ่งสามารถอธิบายให้เหตุผลได้ และไม่อาจใช้อำนาจรัฐ
โดยที่ไม่มีกฎหมายรองรับ
อันที่จริงนั้นหลักการของ “หลักนิติธรรม” มีปรากฎอยู่ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร
ไทยทุกฉบับ เพียงแต่มิได้บัญญัติไว้โดยชัดเจนว่าเป็นหลักนิติธรรม แต่อย่างไรก็ดี การที่ร่างรัฐ
ธรรมนูญ ๒๕๕๐ นำมาบัญญัติไว้โดยชัดเจนในมาตรา ๓ วรรคสองนั้น ย่อมมีผลดีในแง่ของความ
ชัดเจนในการตีความการใช้อำนาจรัฐโดยองค์กรที่มีอำนาจตีความ อย่างเช่น ศาลรัฐธรรมนูญ
เป็นต้น
๑.๔ หลักการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค (มาตรา ๔)
เป็นหลักการที่ยังคงเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ แต่ได้เพิ่มเติมในมาตรา ๔ ให้มีความ
ชัดเจนขึ้นว่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญ ประเพณีการปกครอง
ของประเทศไทย และพันธกรณีระหว่างประเทศได้รับรองเอาไว้นั้น ย่อมได้รับความคุ้มครอง นอก
จากนี้ ยังได้เพิ่มเติมให้ความคุ้มครองรวมไปถึงความเสมอภาคของบุคคลอีกด้วย
๑.๕ หลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ (มาตรา ๖)
หากไม่มีหลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรนูญอยู่แล้ว รัฐธรรมนูญก็ไม่ต่างจากพระ
ราชบัญญัติที่อาจถูกแก้ไขได้ทุกเมื่อโดยฝ่ายนิติบัญญัติ และโดยกระบวนการแก้ไขที่กระทำได้โดย
ง่ายหากสามารถคุมเสียงข้างมากในสภาได้ จึงมีการบัญญัติรับรองหลักความเป็นกฎหมายสูงสุด
ของรัฐธรรมนูญเอาไว้ให้ชัดเจนในมาตรา ๖ ตอนต้น ซึ่งยังคงหลักการและถ้อยคำเดิมเอาไว้ทุก
ประการ
อย่างไรก็ดี การบัญญัติให้รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดจะเป็นเพียงคำพูดลอยๆถ้าหากใน
รัฐธรรมนูญมิได้กำหนดกลไกสำคัญ ๒ ประการเอาไว้ ประการแรกคือ การกำหนดให้กฎหมายใด
ที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญจะใช้บังคับมิได้ ซึ่งก็ได้บัญญัติเอาไว้ในมาตรา ๖ ตอนท้าย ประการที่
สองคือ กำหนดกระบวนการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญให้ “แก้ไขยาก” กว่ากฎหมายทั่วไป ซึ่ง
ก็ได้บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๘๒
๑.๖ บทบัญญัติเพื่ออุดช่องว่างในรัฐธรรมนูญ (มาตรา ๗)
เช่นเดียวกับกฎหมายอื่นๆ รัฐธรรมนูญแม้จะพยายามบัญญัติให้ครอบคลุมกว้างขวางเพียง
ใด ก็ไม่สามารถครอบคลุมเนื้อหาได้ทุกเรื่อง จึงจำเป็นต้องใช้ประเพณีการปกครองเป็นบท
ประกอบให้รัฐธรรมนูญมีความสมบูรณ์ ประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยมีลักษณะ
สำคัญ ๒ ประการ คือ (๑) เป็นทางปฏิบัติหรือธรรมเนียมที่เคยกระทำสืบต่อกันมาในทางการเมือง
โดยที่มิได้มีกฎหมายใดกำหนดเอาไว้ และ (๒) ทางปฏิบัตินั้นต้องมีผลผูกพันต่อบุคคลหรือองค์กร
ที่เกี่ยวข้องให้ต้องกระทำหรือไม่กระทำการใดๆตามที่ทางปฏิบัตินั้นๆได้กำหนดแนวทางไว้
หมวด ๒
พระมหากษัตริย์ (มาตรา ๘-๒๕)
ร่างรัฐรรมนูญ ๒๕๕๐ มิได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือตัดทอนบทบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวกับ
พระราชสถานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์แม้แต่มาตราเดียว
๒.๑ พระราชสถานะ
๒.๑.๑ ทรงดำรงอยู่ในสถานะอันสูงสุด (มาตรา ๘)
รัฐธรรมนูญรับรองพระราชสถานะว่าองค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันสูงสุด ผู้
ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระองค์ในทางใดมิได้ ไม่ว่าจะเป็นทางแพ่งหรืออาญา และทรงอยู่เหนือ
ความรับผิดชอบทางการเมืองทั้งปวง ดังคำที่กล่าวว่า The King Can Do No Wrong
๒.๑.๒ ทรงเป็นพุทธมากะและองค์อัครศาสนูปถัมภก (มาตรา ๙)
รัฐธรรมนูญบัญญัติรับรองความเป็นพุทธศาสนิกชนขององค์พระมหากษัตริย์ดังที่เป็นสืบ
มานับแต่อดีต แต่ทั้งนี้ มิได้หมายความว่าพระองค์จะทรงดูแลแต่ศาสนาพุทธเท่านั้น พระองค์ยัง
ทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก (หัวหน้าผู้ทำนุบำรุงศาสนา) คือ ทรงทำนุบำรุงอุปถัมภ์ศาสนาต่างๆที่มีผู้
นับถืออยู่ในประเทศไทย อีกด้วย
๒.๑.๓ ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย (มาตรา ๑๐)
๒.๒ พระราชอำนาจ
๒.๒.๑ ทรงมีพระราชอำนาจสถาปนาฐานันดรศักดิ์และพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
(มาตรา ๑๑)
พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจดังกล่าวมาแต่อดีต ซึ่งทรงใช้ตามพระราชอัธยาศัย
แม้จะเปลี่ยนระบอบการปกครองแล้ว
๒.๒.๒ ทรงมีพระราชอำนาจในการแต่งตั้งและถอดถอนองคมนตรี (มาตรา ๑๒, ๑๓)
คณะองมนตรี คือ คณะบุคคลที่มีหน้าที่ถวายความเห็นต่อพระมหากษัตริย์ในพระราช
กรณียกิจทั้งปวงที่ทรงปรึกษาและหน้าที่อื่นตามรัฐธรรมนูญ พระองค์ทรงแต่งตั้งองคมนตรีจาก
บุคคลผู้ทรงคุณวุฒิและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับทางการเมือง (มาตรา ๑๔) ตามพระราชอัธยาศัย
ตลอดจนการถอดถอนองคมนตรีก็เป็นไปตามพระราชอัธยาศัยเช่นเดียวกัน
๒.๒.๓ ทรงมีพระราชอำนาจในการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (มาตรา ๑๘)
หมวด ๓
สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย (มาตรา ๒๖-๖๘)
ร่างรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ ในหมวดว่าด้วยสิทธิเสรีภาพมีการเพิ่มเติมหลักการในบางเรื่องซึ่ง
ก็รวมไปถึงการบัญญัติให้หลักการที่มีอยู่เดิมมีความกระจ่างชัดมากขึ้น และจัดประเภทของสิทธิเสรี
ภาพเอาไว้เป็นหมวดหมู่ทำให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ โดยมิได้มีการตัดทอนสิทธิเสรีภาพที่รัฐ
ธรรมนูญ ๒๕๔๐ รับรองเอาไว้
๓.๑ บททั่วไป (มาตรา ๒๖-๓๑)
๓.๑.๑ การทำให้สิทธิที่รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญมีผลในทางปฏิบัติได้จริง(มาตรา๒๗, ๒๘)
ปัญหาที่เกิดขึ้นในรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ คือ สิทธิเสรีภาพบางอย่างที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้
ไม่มีผลเกิดขึ้นจริงในทางปฏิบัติ โดยเฉพาะบทบัญญัติที่กำหนดเงื่อนไขไว้ในตอนท้ายว่า “ทั้งนี้
ตามที่กฎหมายบัญญัติ” ซึ่งองค์กรที่มีอำนาจในการดำเนินการหรือสั่งการต่างปฏิเสธที่จะบังคับการ
ให้เป็นไปตามสิทธิที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ โดยให้เหตุผลว่า “ยังไม่มีกฎหมายลูกออกมาใช้บังคับ”
ทั้งที่ความจริงแล้ว สิทธิที่รัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ได้รับรองไว้นั้น มีผลผูกพันต่อการใช้อำนาจรัฐโดย
ตรงอยู่แล้วตามมาตรา ๒๗ เดิม
ดังนั้นในร่างรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ จึงวางหลักการดังกล่าวให้มีความชัดเจนโดยการตัด คำ
ว่า “ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ” และกำหนดสาระสำคัญแห่งสิทธิเหล่านั้นลงไปให้ชัดเจน เพื่อให้
ประชาชนสามารถใช้สิทธิเสรีภาพที่รับรองไว้ได้ทันทีโดยไม่ต้องรอให้มีการตรากฎหมายลูกขึ้นมา
ก่อน โดยกำหนดกลไกการบังคับการเอาไว้ในมาตรา ๒๘ วรรคสาม ให้บุคคลสามารถใช้สิทธิทาง
ศาลเพื่อบังคับให้รัฐต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติในหมวดสิทธิเสรีภาพได้โดยตรง กล่าวคือ ในกรณีที่
ไม่มีกฎหมายบัญญัติถึงสิทธิเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้อย่างชัดเจน ศาลก็จะต้องตีความรับ
รองสิทธิเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ให้มีผลบังคับได้โดยตรง
นอกจากนี้ ร่างรัฐธรรนูญ ๒๕๕๐ ยังได้กำหนดเอาไว้ในบทเฉพาะกาลให้รัฐดำเนินการจัด
ทำหรือปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวกับการกำหนดรายละเอียดเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองการใช้สิทธิเสรี
ภาพตามในบางเรื่องที่รับรองไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ ให้แล้วเสร็จภายใน ๑ ปีนับแต่วัน
ประกาศใช้ร่างรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ (มาตรา ๒๙๓)
๓.๑.๒ ข้อจำกัดในการตรากฎหมายจำกัดสิทธิ (มาตรา ๒๙)
เพิ่มหลักการ “ห้ามตรากฎหมายจำกัดสิทธินอกเหนือไปจากที่ร่างรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐
กำหนดไว้” นั่นคือ ในกรณีที่ร่างรัฐธรรมนูญบัญญัตติให้ตรากฎหมายจำกัดสิทธิในเรื่องใดเอาไว้
โดยเฉพาะ รัฐจะตรากฎหมายออกมาจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้เฉพาะเรื่องดังกล่าวเท่า
นั้น
ส่วนหลักการตรากฎหมายจำกัดสิทธิอื่นๆนั้นก็ยังคงตามหลักการเดิมในรัฐธรรมนูญ
๒๕๔๐ ซึ่งก็ได้แก่ หลักความพอสมควรแก่เหตุ หลักการไม่กระทบต่อสาระสำคัญแห่งสิทธิ และ
หลักการมีผลบังคับเป็นการทั่วไป ทั้งนี้ มีข้อสังเกตคือ ร่างรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ ได้ตัด “หลักการ
ระบุบทบัญญัติที่ให้อำนาจในการตรากฎหมาย” ออกไป เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการที่เปลี่ยนไป
นั่นคือการตัดคำว่า “ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ” ออกไป ทำให้ไม่มีมาตราที่จะอ้างได้
๓.๑.๓ หลักความเสมอภาค (มาตรา ๕, ๓๐, ๓๑)
ในร่างรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ ยังคงหลักการและถ้อยคำเดิมตามรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ ทุก
ประการ กล่าวคือ ยังคงยึดถือหลักที่ว่า ต้องปฏิบัติต่อบุคคลที่เหมือนกันในสาระสำคัญอย่างเดียว
กัน และปฏิบัติต่อบุคคลที่แตกต่างกันในสาระสำคัญต่างกันออกไปตามลักษณะเฉพาะของแต่ละ
คน ทั้งนี้ ร่างรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ได้นำเอา มาตรา๖๔ เดิม มาบัญญัติไว้เป็นมาตรา ๓๑ เนื่องจาก
มาตราดังกล่าวเป็นเรื่องของความเสมอภาคเช่นเดียวกัน
๓.๒ สิทธิและเสรีภาพที่รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ
ร่างรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ บัญญัติรับรองสิทธิเสรีภาพแบ่งออกเป็น ๑๑ ส่วนดังนี้
๓.๒.๑ สิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล (มาตรา ๓๒-๓๘)
สิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย (มาตรา ๓๒) มีการเพิ่มเติมเรื่องการรับรอง
การใช้สิทธิทางศาลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐดำเนินคดีอาญาต่อบุคคลใดโดยชอบด้วยกฎหมาย และ
ในกรณีที่เกิดความเสียหายต้องดำเนินการแก้ไข เยียวยาให้กับบุคคลดังกล่าว
เสรีภาพในเคหะสถาน (มาตรา ๓๓) หลักการคงเดิม แต่เพิ่มเรื่องการค้นต้องมี
หมายศาลเอาไว้ในวรรคสองเพื่อความชัดเจน
เสรีภาพในการเดินทางและเลือกถิ่นที่อยู่ (มาตรา ๓๔) คงหลักการและถ้อยคำ
เดิมไว้ทุกประการ
สิทธิในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง ข้อมูลส่วนบุคคล และความเป็นอยู่ส่วนตัว
(มาตรา ๓๕) เพิ่มเติมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อไม่ให้ผู้ใดนำไปเผยแพร่หรือนำไปใช้โดยมิ
ชอบ เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะ
เสรีภาพในการสื่อสาร (มาตรา ๓๖) คงหลักการและถ้อยคำเดิมไว้ทุกประการ
เสรีถาพในการนับถือศาสนา (มาตรา ๓๗) เพิ่มเติมคำว่า “ศาสนธรรม” (คำสั่ง
สอนในศาสนา) ซึ่งมีความหมายกว้างกว่าคำที่ใช้อยู่เดิมคือ “ศาสนบัญญัติ” ที่หมายความเฉพาะคำ
สอนที่มีการบัญญัตไว้เท่านั้น แต่ ศาสนธรรมนั้น ครอบคลุมถึงการประพฤติปฏิบัติตามหลักศีล
ธรรมทั้งหมด ไม่ว่าจะมีการบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ตาม
สิทธิที่จะไม่ถูกเกณฑ์แรงงาน (มาตรา ๓๘) คงหลักการและถ้อยคำเดิมไว้ทุก
ประการ
๓.๒.๒ สิทธิในกระบวนการยุติธรรม (มาตรา ๓๙, ๔๐)
กำหนดสาระสำคัญของสิทธิพื้นฐานที่ประชาชนพึงได้รับในการดำเนินกระบวนยุติธรรม
เอาไว้ในมาตรา ๔๐ โดยไม่บัญญัติลงรายละเอียดเนื่องจากได้มีการนำไปบัญญัติไว้ในประมวล
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแล้ว อีกทั้งการกำหนดรายละเอียดลงในรัฐธรรมนูญจะทำให้การ
ปรับปรุงกฎหมายในส่วนนี้เป็นไปได้ยากเพราะจะเกิดปัญหาการขัดต่อรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้ยัง
ได้เพิ่มหลักการในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมเพื่อเป็นหลักประกันสิทธิ โดยกำหนดไว้ใน
มาตรา ๔๐ (๑) ให้บุคคลย่อมมีสิทธิเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยง่าย สะดวก รวดเร็ว ทั่วถึง
และเสียค่าใช้จ่ายตามควรแก่กรณี
ในบทเฉพาะกาล มาตรา ๒๙๓ ยังกำหนดให้มีการดำเนินการจัดทำหรือปรับปรุงกฎหมาย
เพื่อคุ้มครองและส่งเสริมการใช้สิทธิตามมาตรา ๔๐ ภายใน ๑ ปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ
อีกด้วย
๓.๒.๓ สิทธิในทรัพย์สิน (มาตรา ๔๑, ๔๒)
ยังคงหลักการและถ้อยคำเดิมตามรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ ทุกประการ ทั้งในเรื่องสิทธิของ
บุคคลในทรัพย์สิน และการใช้อำนาจเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของรัฐ
๓.๒.๔ สิทธิและเสรีภาพในการประกอบอาชีพ (มาตรา ๔๓, ๔๔)
คงหลักการและถ้อยคำเดิมในเรื่องเสรีภาพในการประกอบอาชีพและการแข่งขันโดยเสรี
และเป็นธรรม และเพิ่มเติมในส่วนของสิทธิที่จะได้รับหลักประกันจากรัฐในเรื่องสวัสดิภาพ ความ
ปลอดภัยในการทำงาน รวมถึงการได้รับหลักประกันในการดำรงชีพทั้งในระหว่างการทำงานและ
เมื่อพ้นภาวะการทำงาน ทั้งนี้ ตามมาตรา ๔๔
๓.๒.๕ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคลและสื่อมวลชน (มาตรา ๔๕-๔๗)
ร่างรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ บัญญัติให้เสรีภาพในการแทรกความคิดเห็นเพิ่มมากขึ้น โดยการ
ให้ความคุ้มครองทั้งผู้ประกอบการและลูกจ้างที่ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชน นอกจากนี้ในบท
เฉพาะกาล มาตรา ๒๙๓ ยังกำหนดให้มีการดำเนินการจัดทำหรือปรับปรุงกฎหมายเพื่อคุ้มครอง
และส่งเสริมการใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น (ส่วนที่ ๗) ภายใน ๑ ปีนับแต่วันประกาศใช้
รัฐธรรมนูญอีกด้วย
เสรีภาพในการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน (มาตรา ๔๕) แก้ไขถ้อยคำในมาตรา ๓๙
วรรคสามเดิม โดยใช้คำว่า “สื่อมวลชน” เพื่อให้ครอบคลุมถึงบรรดาสื่อทุกชนิด และเพิ่มหลัก
ประกันในการประกอบวิชาชีพของสื่อมวลชนในอันที่จะไม่ถูกครอบงำโดยรัฐเข้าไว้ในวรรคสี่
กำหนดให้การห้ามหรือการแทรกแซงใดๆอันเป็นการริดรอนเสรีภาพตามมาตรานี้จะกระทำมิได้
นอกเสียจากอาศัยอำนาจตามกฎหมาย โดยกฎหมายดังกล่าวต้องตราขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
รักษาความมั่นคงของรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ เกียรติยศชื่อเสียง สิทธิในครอบครัวหรือความ
เป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลอื่น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือ
เพื่อป้องกันหรือระงับความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชน (มาตรา ๔๕ วรรคสอง)
เสรีภาพในการเสนอข่าวและแสดงความคิดเห็นของบุคคลผู้เป็นลูกจ้าง (มาตรา
๔๖) ยังคงหลักการและถ้อยคำเดิมตามรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ ที่คุ้มครองเสรีภาพในการเสนอข่าวและ
แสดงความคิดเห็นของพนักงานและลูกจ้างของเอกชนที่ประกอบวิชาชีพสื่อ (วรรคหนึ่ง) รวมไปถึง
เจ้าหน้าที่ของรัฐ (วรรคสอง) และได้เพิ่มการห้ามผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เจ้าหน้าที่ของรัฐ
หรือเจ้าของกิจการใดๆ กระทำการอันเป็นการขัดขวางหรือแทรกแซงการเสนอข่าวหรือแสดงความ
คิดเห็นของบุคคลผู้ได้รับความคุ้มครองตามมาตรานี้ การฝ่าฝืนให้ถือเป็นการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิ
ชอบ และหากเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐก็อาจมีความผิดทางอาญา อย่างไรก็ดี การขัดขวางหรือการ
แทรกแซงอาจทำได้หากเป็นไปตามกฎหมายหรือเพื่อให้เป็นไปตามจริยธรรมแห่งการประกอบ
อาชีพ (วรรคสาม)
เสรีภาพในการเสนอข่าวและแสดงความคิดเห็นของบุคคลตามวรรคหนึ่งและสองต้องอยู่
ภายใต้ข้อจำกัดตามรัฐธรรมนูญมาตราอื่น ตัวอย่างเช่น ข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับความคุ้มครอง
ตามร่างฯมาตรา ๓๕ ย่อมเป็นข้อจำกัดข้อหนึ่งของเสรีภาพตามมาตรานี้
สิทธิในคลื่นความถี่ (มาตรา ๔๗) ร่างรัฐธรรมนูญกำหนดให้มีองค์กรหนึ่งทำหน้า
ที่จัดสรรคลื่นความถี่ กำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทร
คมนาคม (วรรคสอง) โดยการกำกับต้องมีมาตราการเพื่อป้องกันการควบรวมหรือครอบงำอันจะทำ
ให้เสรีภาพในการได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชนถูกปิดกั้น (วรรคสี่) และองค์กรดังกล่าวต้อง
จัดให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินการสื่อมวลชนสาธารณะ (วรรคสาม)
นอกจากนี้ยังกำหนดห้ามผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเข้าเป็นเจ้าของกิจการ เป็นผู้ถือหุ้น
หรือดำเนินการโดยวิธีใดที่จะทำให้สามารถบริหารกิจการหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทร
ทัศน์ หรือโทรคมนาคม (วรรคห้า)
๓.๒.๖ สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา (มาตรา ๔๘, ๔๙)
เพิ่มเติมให้ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ต้องได้รับการ
สนับสนุนด้านการศึกษาจากรัฐเช่นเดียวกับบุคคลอื่น นอกจากนี้รัฐยังต้องคุ้มครองและส่งเสริมการ
ศึกษาทางเลือก การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชนอีกด้วย
และในบทเฉพาะกาล มาตรา ๒๙๓ กำหนดให้มีการดำเนินการจัดทำหรือปรับปรุงกฎหมาย
เพื่อคุ้มครองและส่งเสริมในเรื่องสิทธิและเสรีภาพในการศึกษา (ส่วนที่ ๘) ภายใน ๑ ปีนับแต่วัน
ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ
๓.๒.๗ สิทธิในการได้รับบริการสาธารณะสุขและสวัสดิการจากรัฐ (มาตรา ๕๐-๕๔)
สิทธิในการรับบริการทางสาธารณะสุข (มาตรา ๕๐) คงหลักการเดิมตามรัฐธรรม
นูญ ๒๕๔๐
สิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองจากการใช้ความรุนแรงและการปฏิบัติอันไม่เป็น
ธรรม (มาตรา ๕๑) เพิ่มการคุ้มครองแก่เด็ก เยาวชน และบุคคลในครอบครัวให้ได้รับหลักประกัน
ในการอยู่รอด และได้รับการพัฒนาร่างกาย จิตใจ และสติปัญญาในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
(วรรคหนึ่งตอนท้าย) การแทรกแซงหรือจำกัดสิทธิดังกล่าวจะทำได้ก็แต่โดยกฎหมายที่มีวัตถุ
ประสงค์เพื่อสงวนและรักษาไว้ซึ่งสถานะของครอบครัวหรือประโยชน์สูงสุดของบุคคลดังกล่าว
เท่านั้น (วรรคสอง)
สิทธิของผู้ชรา ผู้พิการหรือทุพพลภาพ และผู้ไร้ที่อยู่อาศัยในอันที่จะได้รับความ
ช่วยเหลือจากรัฐ (มาตรา ๕๒-๕๔) คงหลักการเดิมในเรื่องสิทธิของผู้ชราและผู้พิการ และได้เพิ่ม
เติมให้สิทธิแก่ผู้ไร้ที่อยู่อาศัย โดยรัฐมีหน้าที่ต้องให้ความช่วยเหลือดูแลให้มีที่อยู่อาศัยตามสมควร
นอกจากนี้ในบทเฉพาะกาล มาตรา ๒๙๓ กำหนดให้มีการดำเนินการจัดทำหรือปรับ
ปรุงกฎหมายเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมในเรื่องสิทธิในการได้รับบริการสาธารณะสุขและสวัสดิการ
จากรัฐ (ส่วนที่ ๙) ภายใน ๑ ปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญอีกด้วย
๓.๒.๘ สิทธิในข้อมูลข่าวสารและการร้องเรียน (มาตรา ๕๕-๖๑)
โดยส่วนมากยังคงหลักการเดิม แต่ได้ตัดคำว่า “ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ” ออก เพื่อให้
สิทธิที่รับรองไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ มีผลผูกพันต่อรัฐทันทีโดยไม่ต้องรอให้มีการตรา
กฎหมายใดๆ นอกจากนี้ในบทเฉพาะกาล มาตรา ๒๙๓ กำหนดให้มีการดำเนินการจัดทำหรือปรับ
ปรุงกฎหมายเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมในเรื่องสิทธิในข้อมูลข่าวสารและการร้องเรียน (ส่วนที่ ๑๐)
ภายใน ๑ ปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญอีกด้วย
สิทธิได้รับทราบข้อมูลข่าวสาร (มาตรา ๕๕) คงหลักการเดิมตามรัฐธรรมนูญ
๒๕๔๐
สิทธิได้รับข้อมูล คำชี้แจง และเหตุผลจากหน่วยงานของรัฐ (มาตรา ๕๖) เพิ่ม
สิทธิของประชาชนในการมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินโครง
การของรัฐ เพื่อนำไปประกอบการพิจารณา (วรรคหนึ่ง) รวมทั้งการออกกฎที่จะมีผลกระทบต่อ
ความเป็นอยู่ของประชาชน รัฐมีหน้าที่ต้องดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างทั่วถึง
ก่อนจะดำเนินการ (วรรคสอง)
สิทธิมีส่วนร่วมในกระบวนพิจารณาของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่จะมีผลกระทบต่อสิทธิ
เสรีภาพของตน (มาตรา ๕๗) สิทธิเสนอเรื่องราวร้องทุกข์ (มาตรา ๕๘) สิทธิฟ้องหน่วยงานของ
รัฐ (มาตรา ๕๙) ทั้งหมดนี้ยังคงหลักการเดิมตามรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐
สิทธิของผู้บริโภค (มาตรา ๖๐) เพิ่มรายละเอียดการคุ้มครองให้ชัดเจนขึ้น โดยผู้
บริโภคย่อมได้รับความคุ้มครองในการได้รับข้อมูลที่เป็นความจริง มีสิทธิร้องเรียนเพื่อให้ได้รับการ
แก้ไขเยียวยาความเสียหาย รวมทั้งมีสิทธิรวมตัวกันเพื่อพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภค เพื่อเป็นแนวทาง
ในการใช้อำนาจของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยไม่ต้องรอให้มีการตรากฎหมายลูก (วรรคหนึ่ง) รวม
ทั้งกำหนดให้มีองค์การเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคแยกต่างหากจากการดำเนินการของรัฐ ทำหน้าที่ให้
ความเห็นต่อการดำเนินการของรัฐในส่วนที่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้ง
ตรวจสอบและรายงานการกระทำหรือละเลยการกระทำอันเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค (วรรคสอง)
ในบทเฉพาะกาลยังกำหนดให้มีการตรากฎหมายจัดตั้งองค์กรดังกล่าวภายใน ๑ ปีนับแต่วัน
ประกาศใช้รัฐธรรมนูญด้วย
สิทธิติดตามและร้องขอให้มีการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ดำรงตำแหน่ง
ทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ (มาตรา ๖๑) เป็นหลักการที่เพิ่มขึ้นมาใหม่ ให้สิทธิแก่ประชาชน
ในการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ และให้
ความคุ้มครองต่อบุคคลผู้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการตรวจสอบ
๓.๒.๙ เสรีภาพในการชุมนุมและสมาคม (มาตรา ๖๒-๖๔)
เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ (มาตรา ๖๒) ยังคงหลักการและ
ถ้อยคำตามรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ ทุกประการ
เสรีภาพในการรวมกลุ่ม (มาตรา ๖๓) คงหลักการเดิม และเพิ่มหลักการในส่วน
ของการให้เจ้าหน้าที่ของรัมีเสรีภาพในการรวมกลุ่มเช่นเดียวกับบุคคลโดยทั่วไป เพื่อใช้เป็นวิถีทาง
ในการเจรจากับรัฐให้ได้รับความเป็นธรรม แต่ทั้งนี้ การรวมกลุ่มดังกล่าวต้องไม่ส่งผลกระทบต่อ
ประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดิน และความต่อเนื่องในการจัดทำบริการสาธารณะ
เสรีภาพในการจัดตั้งพรรคการเมือง (มาตรา ๖๔) ยังคงหลักการและถ้อยคำตาม
รัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ ทุกประการ
๓.๒.๑๐ สิทธิชุมชน (มาตรา ๖๕, ๖๖)
ขยายสิทธิชุมชน โดยการเพิ่มสิทธิของชุมชน และชุมชนท้องถิ่นเพื่อให้ครอบคลุมถึงกรณี
การรวมตัวกันของบุคคลขึ้นเป็นชุมชนโดยไม่จำเป็นต้องเป็นการรวมตัวกันมาเป็นเวลานานจนถือ
ว่าเป็นชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม (มาตรา ๖๕) นอกจากนี้ การดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้
เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากรธรรมชาติ จะต้องจัดให้มีกระบวน
การรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียก่อน (มาตรา ๖๖ วรรคสอง) โดยชุมชนมี
สิทธิที่จะฟ้องหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรอื่นของ
รัฐที่เป็นนิติบุคคลเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติรับรองสิทธิชุมชนไว้ (มาตรา ๖๖ วรรค
สาม)
ในบทเฉพาะกาลกำหนดให้มีการตรากฎหมายกำหนดรายละเอียดของสิทธิชุมชน (ส่วนที่
๑๒) ภายใน ๑ ปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ
๓.๒.๑๑ สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (มาตรา ๖๗, ๖๘)
ยังคงหลักการเดิม คือ รัฐธรรมนูญห้ามบุคคลใดกระทำการอันเป็นการล้มล้างระบบการปก
ครองระบอบประชาธิปไตย (มาตรา ๖๗) และให้ความคุ้มครองแก่บุคคลผู้ต่อต้านการกระทำดัง
กล่าวโดยสันติวิธี (มาตร๖๘ วรรคหนึ่ง)
นอกจากนี้ได้เพิ่มความในมาตรา ๖๘วรรคสองให้มีคณะบุคคลซึ่งประกอบด้วยผู้รับผิด
ชอบในการปฏิบัติหน้าที่ด้านต่างๆตามรัฐธรรมนูญ เป็นกลุ่มที่จะพิจารณาหาแนวทางแก้ไขปัญหา
วิกฤติของประเทศที่ไม่อาจแก้ไขโดยวิถีทางปกติได้
หมวด ๔
หน้าที่ของชนชาวไทย (มาตรา ๖๙-๗๓)
ร่างรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ บัญญัติเรื่องหน้าที่ของชนชาวไทยเอาไว้เช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญ
๒๕๔๐ โดยมีการแก้ไขและเพิ่มเติมหลักการรวม ๓ ประเด็น ได้แก่
๔.๑ แก้ไขในเรื่องหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง (มาตรา ๗๑)
การกำหนดให้การใช้สิทธิเลือกตั้งเป็นหน้าที่นั้น เป็นหลักการเดิมตามรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐
ที่ต้องการให้ประชาชนมีรู้สึก “รับผิดชอบ” ต่อหน้าที่ของตนเอง เนื่องจากเดิมก่อนประกาศใช้รัฐ
ธรรมนูญ ๒๕๔๐ การเลือกตั้งยังเป็น “สิทธิ” อยู่ ประชาชนจึงเกิดความรู้สึกว่าจะไปใช้สิทธิหรือไม่
ก็ได้ ทำให้อัตราการไปใช้สิทธิเลือกตั้งค่อนข้างต่ำ และไม่เป็นผลดีต่อการปกครองระบอบ
ประชาธิปไตยทางผู้แทน รัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ จึงกำหนดให้การเลือกตั้งเป็น “หน้าที่” ของประชา
ชน ซึ่งหมายความว่า ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีหน้าที่ไปใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้ง แต่จะเลือกผู้
แทนคนใดหรือจะไม่เลือกใครเลยก็ถือเป็นสิทธิของประชาชน
รัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ และกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญได้กำหนดให้ผู้ไม่ไปใช้สิทธิเลือก
ตั้งต้องเสียสิทธิ ๘ ประการ เพื่อบังคับให้ประชาชนต้องไปใช้สิทธิเลือกตั้ง แต่อย่างไรก็ดี สิทธิทั้ง
๘ ประการนั้นล้วนแล้วแต่ป็นสิทธิทางการเมือง การกำหนดให้เสียสิทธิดังกล่าวไปนั้นจึงหาได้ส่ง
ผลต่อการตัดสินใช้สิทธิเลือกตั้งของประชาชนโดยรวมมากนัก ร่างรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ จึงวาง
หลักการใหม่ โดยยังคงกำหนดให้ผู้ที่ไม่ไปเลือกตั้งเสียสิทธิบางประการ แต่กำหนดให้ผู้ที่ไปเลือก
ตั้งได้รับสิทธิบางประการตามที่กฎหมายบัญญัติ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่จากเดิมมีลักษณะของการ
“บังคับ” มาเป็นการ “จูงใจ” ให้ประชาชนไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
๔.๒ กำหนดหน้าที่ในการให้ความช่วยเหลือป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติสาธารณะ (มาตรา ๗๒)
เป็นการเพิ่มเติมหน้าที่ของชนชาวไทยขึ้นใหม่ โดยบัญญัติเพิ่มไว้มาตรา ๖๙ เดิม
๔.๓ กำหนดให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องเป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้าน
เมืองที่ดี (มาตร ๗๓)
หลักการดังกล่าวเป็นแนวทางที่กำหนดไว้เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องปฏิบัติงานเพื่อ
ประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก และต้องมีการปฏิบัติงานที่โปร่งใสมีผลสัมฤทธิ์ในงานที่ทำ ลด
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ