ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (เดิม)
- มาตรา ๑๕๖ ในกรณีที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มิได้อยู่ในพรรคการเมืองที่สมาชิกในสังกัด
ของพรรคนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีมีจำนวนไม่ถึงเกณฑ์ที่จะเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปตามมาตรา ๑๕๔
หรือมาตรา ๑๕๕ ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรดังกล่าวทั้งหมดเท่าที่มีอยู่มีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปราย
ทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลตามมาตรา ๑๕๔ หรือมาตรา ๑๕๕ ได้
เมื่อคณะรัฐมนตรีได้บริหารราชการแผ่นดินมาเกินกว่าสองปีแล้ว
- มาตรา ๑๕๗ สมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่าสามในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่
ของวุฒิสภา มีสิทธิเข้าชื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไปในวุฒิสภาเพื่อให้คณะรัฐมนตรีแถลงข้อเท็จจริงหรือชี้แจงปัญหา
สำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินโดยไม่มีการลงมติ การขอเปิดอภิปรายทั่วไปตามมาตรานี้ จะกระทำ
ได้ครั้งเดียวในสมัยประชุมหนึ่ง
- มาตรา ๑๕๘ ในกรณีที่มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาเพื่อตั้งกระทู้ถามในเรื่องใด
เกี่ยวกับงานในหน้าที่ หรือการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีผู้ใด ให้เป็นหน้าที่ของนายก
รัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีผู้นั้นต้องเข้าร่วมประชุมสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาเพื่อชี้แจงหรือตอบกระทู้ถามในเรื่อง
นั้นด้วยตนเอง เว้นแต่มีเหตุจำเป็นอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ทำให้ไม่อาจเข้าชี้แจงหรือตอบกระทู้ แต่ต้องแจ้งให้
ประธานสภาผู้แทนราษฎรหรือประธานวุฒิสภาทราบก่อนหรือในวันประชุมสภาในเรื่องดังกล่าวสมาชิกสภาผู้แทน
ราษฎรมีอิสระจากมติพรรคการเมืองในการตั้งกระทู้ถาม การอภิปราย และการลงมติในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐
- มาตรา ๑๕๗ สมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่าสามในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่
ของวุฒิสภา มีสิทธิเข้าชื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไปในวุฒิสภาเพื่อให้คณะรัฐมนตรีแถลงข้อเท็จจริงหรือชี้แจงปัญหา
สำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินโดยไม่มีการลงมติการขอเปิดอภิปรายทั่วไปตามมาตรานี้ จะกระทำ
ได้ครั้งเดียวในสมัยประชุมหนึ่ง
- มาตรา ๑๘๗ สมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่าสามในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่
ของวุฒิสภา มีสิทธิเข้าชื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไปในวุฒิสภาเพื่อให้คณะรัฐมนตรีแถลงข้อเท็จจริงหรือชี้แจงปัญหา
สำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินโดยไม่มีการลงมติการขอเปิดอภิปรายทั่วไปตามมาตรานี้ จะกระทำ
ได้ครั้งเดียวในสมัยประชุมหนึ่ง
เหตุผลที่แก้ไข
แก้ไขมาตราที่ 156
กำหนดขึ้นเพื่อให้สามารถมีการเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีหรือ
รัฐมนตรีได้ ในกรณีที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝ่ายค้านมีจำนวนไม่ถึงเกณฑ์การเข้าชื่อเพื่อญัตติขอเปิดอภิปราย
ไม่ไว้วางใจตามปกติได้ โดยจะกระทำได้เมื่อคณะรัฐมนตรีได้บริหารราชการแผ่นดินมาเกินกว่าสองปีแล้ว
ทั้งนี้ เพื่อให้คณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดินมาแล้วระยะเวลาหนึ่ง จะต้องถูกตรวจสอบได้
แก้ไขมาตราที่ 158
มีหน้าที่ต้องเข้าร่วมประชุมสภาฯเพื่อชี้แจงหรือตอบกระทู้ด้วยตนเอง เว้นแต่มีเหตุจำเป็นแต่ต้อง
แจ้งให้ประธานสภาของแต่ละสภาทราบก่อนหรือในวันประชุมสภาฯ
(ยังมีต่อ)