หมวด ๖
รัฐสภา
ส่วนที่ ๓
วุฒิสภา
มาตรา ๑๐๖ วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจำนวนหนึ่งร้อยหกสิบคนซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากบุคคลที่ได้รับการสรรหา ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา
ในกรณีที่ตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาว่างลงไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ และยังมิได้มีการสรรหาขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง ให้วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกวุฒิสภาเท่าที่มีอยู่
ในกรณีที่มีเหตุการณ์ใด ๆ ทำให้มีสมาชิกวุฒิสภาไม่ครบจำนวนหนึ่งร้อยหกสิบคนภายในกำหนดเวลาตามมาตรา ๑๐๗ แต่มีจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละเก้าสิบห้าของจำนวนสมาชิกวุฒิสภาทั้งหมด ให้ถือว่าวุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจำนวนดังกล่าว แต่ต้องมีการสรรหาให้ได้สมาชิกวุฒิสภาครบจำนวนหนึ่งร้อยหกสิบคนภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ได้รับบัญชีรายชื่อจากคณะกรรมการการเลือกตั้งตามมาตรา ๑๐๗ ในกรณีนี้ ให้สมาชิกวุฒิสภาผู้ได้รับการสรรหาเข้ามานั้นอยู่ในตำแหน่งเพียงเท่าอายุของวุฒิสภาที่เหลืออยู่
มาตรา ๑๐๗ ให้มีคณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาคณะหนึ่ง ประกอบด้วย ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานกรรมการการเลือกตั้ง ประธานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดินผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกาที่ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกามอบหมายจำนวนหนึ่งคน และตุลาการในศาลปกครองสูงสุดที่ที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดมอบหมายจำนวนหนึ่งคนเป็นกรรมการ ทำหน้าที่สรรหาบุคคลตามมาตรา ๑๐๘ ให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับบัญชีรายชื่อจากคณะกรรมการการเลือกตั้งตามมาตรา ๑๐๙ แล้วจัดส่งให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา
ในกรณีที่ไม่มีกรรมการในตำแหน่งใด หรือมีแต่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ถ้ากรรมการที่เหลืออยู่นั้นมีจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ให้คณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาประกอบด้วยกรรมการที่เหลืออยู่
ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา
มาตรา ๑๐๘ ให้คณะกรรมการสรรหาสรรหาสมาชิกวุฒิสภาดำเนินการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา โดยวิธีการดังต่อไปนี้
(๑) ให้สรรหาบุคคลที่มีความเหมาะสมจากผู้สมัครเข้ารับการสรรหาในแต่ละจังหวัดเพื่อให้ได้บุคคลที่สมควรเป็นสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดละหนึ่งคน
(๒) ให้สรรหาบุคคลที่มีความเหมาะสมจากผู้ได้รับการเสนอชื่อจากองค์กรต่าง ๆ ในภาควิชาการ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาชีพ และภาคอื่นที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ของวุฒิสภา เพื่อให้ได้บุคคลที่สมควรเป็นสมาชิกวุฒิสภาตามจำนวนที่เหลืออยู่จนครบจำนวนสมาชิกวุฒิสภาที่จะพึงมี
ในการสรรหาบุคคลตามวรรคหนึ่ง ให้คำนึงถึงความรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ที่จะเป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานของวุฒิสภาเป็นสำคัญ และให้คำนึงถึงองค์ประกอบจากบุคคลที่มีความรู้ในด้านต่าง ๆ ที่แตกต่างกัน ความเท่าเทียมกันทางเพศ รวมทั้งการให้โอกาสกับ
ผู้ด้อยโอกาสทางสังคมด้วย
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา
มาตรา ๑๐๙ ให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งในการรับสมัครบุคคลเข้ารับการสรรหาตามมาตรา ๑๐๘ (๑) การรับรายชื่อบุคคลที่องค์กรต่างๆ เสนอตามมาตรา ๑๐๘ (๒) การตรวจสอบคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม รวมทั้งประวัติ และความประพฤติของผู้สมัครและผู้ได้รับการเสนอชื่อและนำเสนอคณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาเพื่อพิจารณา
มาตรา ๑๑๐ บุคคลผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้เป็นผู้มีสิทธิได้รับการเสนอชื่อเพื่อเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภา
(๑) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
(๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบปีบริบูรณ์ในวันสมัครหรือวันที่ได้รับการเสนอชื่อ
(๓) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
(๔) มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา ๙๕ (๔) ในกรณีที่เป็นผู้สมัครตามมาตรา ๑๐๘ (๑)
(๕) ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมืองหรือเคยดำรงตำแหน่งและพ้นจากการดำรงตำแหน่งใด ๆ ในพรรคการเมืองมาแล้วยังไม่เกินสองปีนับถึงวันสมัครหรือวันที่ได้รับการเสนอชื่อ
(๖) ไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและพ้นจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้วไม่เกินหนึ่งปีนับถึงวันสมัครหรือวันที่ได้รับการเสนอชื่อ
(๗) เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามมาตรา ๙๖ (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) (๙) (๑๑) (๑๒) (๑๓) หรือ (๑๔)
มาตรา ๑๑๑ สมาชิกวุฒิสภาจะเป็นรัฐมนตรีหรือข้าราชการการเมืองอื่นมิได้
บุคคลผู้เคยดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกภาพสิ้นสุดลงมาแล้วยังไม่เกินหนึ่งปี จะเป็นรัฐมนตรีหรือข้าราชการการเมืองอื่นมิได้
มาตรา ๑๑๒ สมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภาเริ่มตั้งแต่วันที่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง
อายุของวุฒิสภามีกำหนดคราวละหกปีนับแต่วันแต่งตั้ง โดยสมาชิกวุฒิสภาจะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินหนึ่งวาระไม่ได้
ให้สมาชิกวุฒิสภาซึ่งสิ้นสุดสมาชิกภาพตามวาระ อยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภาขึ้นใหม่
มาตรา ๑๑๓ ในวาระเริ่มแรกเมื่อครบกำหนดสามปีนับแต่วันที่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา ให้สมาชิกวุฒิสภาประชุมกันเพื่อให้มีการจับสลากให้สมาชิกวุฒิสภาจำนวนกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกวุฒิสภาแต่ละประเภทพ้นจากตำแหน่ง และให้ถือว่าการพ้นจากตำแหน่งโดยการจับสลากดังกล่าวเป็นการสิ้นสุดสมาชิกภาพตามวาระ
มาตรา ๑๑๔ สมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภาสิ้นสุดลง เมื่อ
(๑) ถึงคราวออกตามอายุของวุฒิสภา
(๒) ตาย
(๓) ลาออก
(๔) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๑๐
(๕) กระทำการอันต้องห้ามตามมาตรา ๑๑๑ มาตรา ๒๕๖ หรือมาตรา ๒๕๗
(๖) วุฒิสภามีมติตามมาตรา ๒๖๕ ให้ถอดถอนออกจากตำแหน่ง หรือ ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้พ้นจากสมาชิกภาพตามมาตรา ๘๙ ในกรณีเช่นนี้ ให้ถือว่าสิ้นสุดสมาชิกภาพนับแต่วันที่วุฒิสภามีมติหรือศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย แล้วแต่กรณี
(๗) ขาดประชุมเกินจำนวนหนึ่งในสี่ของจำนวนวันประชุมในสมัยประชุมที่มีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวัน โดยไม่ได้รับอนุญาตจากประธานวุฒิสภา
(๘) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก แม้จะมีการรอการลงโทษ เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
มาตรา ๑๑๕ เมื่อตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาว่างลงเพราะเหตุตามมาตรา ๑๑๓ หรือ มาตรา ๑๑๔ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๐๗ มาตรา ๑๐๘ และมาตรา ๑๐๙ มาใช้บังคับกับการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาแทนตำแหน่งที่ว่าง
มาตรา ๑๑๖ ในการพิจารณาเลือก แต่งตั้ง ให้คำแนะนำ หรือให้ความเห็นชอบให้บุคคลดำรงตำแหน่งใดตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญนี้ ให้วุฒิสภาแต่งตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นคณะหนึ่ง ทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติ ความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งนั้น รวมทั้งรวบรวมข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานอันจำเป็นแล้วรายงานต่อวุฒิสภาเพื่อประกอบการพิจารณาต่อไป
การดำเนินการของคณะกรรมาธิการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา
--คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ--
รัฐสภา
ส่วนที่ ๓
วุฒิสภา
มาตรา ๑๐๖ วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจำนวนหนึ่งร้อยหกสิบคนซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากบุคคลที่ได้รับการสรรหา ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา
ในกรณีที่ตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาว่างลงไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ และยังมิได้มีการสรรหาขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง ให้วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกวุฒิสภาเท่าที่มีอยู่
ในกรณีที่มีเหตุการณ์ใด ๆ ทำให้มีสมาชิกวุฒิสภาไม่ครบจำนวนหนึ่งร้อยหกสิบคนภายในกำหนดเวลาตามมาตรา ๑๐๗ แต่มีจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละเก้าสิบห้าของจำนวนสมาชิกวุฒิสภาทั้งหมด ให้ถือว่าวุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจำนวนดังกล่าว แต่ต้องมีการสรรหาให้ได้สมาชิกวุฒิสภาครบจำนวนหนึ่งร้อยหกสิบคนภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ได้รับบัญชีรายชื่อจากคณะกรรมการการเลือกตั้งตามมาตรา ๑๐๗ ในกรณีนี้ ให้สมาชิกวุฒิสภาผู้ได้รับการสรรหาเข้ามานั้นอยู่ในตำแหน่งเพียงเท่าอายุของวุฒิสภาที่เหลืออยู่
มาตรา ๑๐๗ ให้มีคณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาคณะหนึ่ง ประกอบด้วย ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานกรรมการการเลือกตั้ง ประธานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดินผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกาที่ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกามอบหมายจำนวนหนึ่งคน และตุลาการในศาลปกครองสูงสุดที่ที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดมอบหมายจำนวนหนึ่งคนเป็นกรรมการ ทำหน้าที่สรรหาบุคคลตามมาตรา ๑๐๘ ให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับบัญชีรายชื่อจากคณะกรรมการการเลือกตั้งตามมาตรา ๑๐๙ แล้วจัดส่งให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา
ในกรณีที่ไม่มีกรรมการในตำแหน่งใด หรือมีแต่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ถ้ากรรมการที่เหลืออยู่นั้นมีจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ให้คณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาประกอบด้วยกรรมการที่เหลืออยู่
ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา
มาตรา ๑๐๘ ให้คณะกรรมการสรรหาสรรหาสมาชิกวุฒิสภาดำเนินการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา โดยวิธีการดังต่อไปนี้
(๑) ให้สรรหาบุคคลที่มีความเหมาะสมจากผู้สมัครเข้ารับการสรรหาในแต่ละจังหวัดเพื่อให้ได้บุคคลที่สมควรเป็นสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดละหนึ่งคน
(๒) ให้สรรหาบุคคลที่มีความเหมาะสมจากผู้ได้รับการเสนอชื่อจากองค์กรต่าง ๆ ในภาควิชาการ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาชีพ และภาคอื่นที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ของวุฒิสภา เพื่อให้ได้บุคคลที่สมควรเป็นสมาชิกวุฒิสภาตามจำนวนที่เหลืออยู่จนครบจำนวนสมาชิกวุฒิสภาที่จะพึงมี
ในการสรรหาบุคคลตามวรรคหนึ่ง ให้คำนึงถึงความรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ที่จะเป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานของวุฒิสภาเป็นสำคัญ และให้คำนึงถึงองค์ประกอบจากบุคคลที่มีความรู้ในด้านต่าง ๆ ที่แตกต่างกัน ความเท่าเทียมกันทางเพศ รวมทั้งการให้โอกาสกับ
ผู้ด้อยโอกาสทางสังคมด้วย
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา
มาตรา ๑๐๙ ให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งในการรับสมัครบุคคลเข้ารับการสรรหาตามมาตรา ๑๐๘ (๑) การรับรายชื่อบุคคลที่องค์กรต่างๆ เสนอตามมาตรา ๑๐๘ (๒) การตรวจสอบคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม รวมทั้งประวัติ และความประพฤติของผู้สมัครและผู้ได้รับการเสนอชื่อและนำเสนอคณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาเพื่อพิจารณา
มาตรา ๑๑๐ บุคคลผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้เป็นผู้มีสิทธิได้รับการเสนอชื่อเพื่อเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภา
(๑) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
(๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบปีบริบูรณ์ในวันสมัครหรือวันที่ได้รับการเสนอชื่อ
(๓) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
(๔) มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา ๙๕ (๔) ในกรณีที่เป็นผู้สมัครตามมาตรา ๑๐๘ (๑)
(๕) ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมืองหรือเคยดำรงตำแหน่งและพ้นจากการดำรงตำแหน่งใด ๆ ในพรรคการเมืองมาแล้วยังไม่เกินสองปีนับถึงวันสมัครหรือวันที่ได้รับการเสนอชื่อ
(๖) ไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและพ้นจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้วไม่เกินหนึ่งปีนับถึงวันสมัครหรือวันที่ได้รับการเสนอชื่อ
(๗) เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามมาตรา ๙๖ (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) (๙) (๑๑) (๑๒) (๑๓) หรือ (๑๔)
มาตรา ๑๑๑ สมาชิกวุฒิสภาจะเป็นรัฐมนตรีหรือข้าราชการการเมืองอื่นมิได้
บุคคลผู้เคยดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกภาพสิ้นสุดลงมาแล้วยังไม่เกินหนึ่งปี จะเป็นรัฐมนตรีหรือข้าราชการการเมืองอื่นมิได้
มาตรา ๑๑๒ สมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภาเริ่มตั้งแต่วันที่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง
อายุของวุฒิสภามีกำหนดคราวละหกปีนับแต่วันแต่งตั้ง โดยสมาชิกวุฒิสภาจะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินหนึ่งวาระไม่ได้
ให้สมาชิกวุฒิสภาซึ่งสิ้นสุดสมาชิกภาพตามวาระ อยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภาขึ้นใหม่
มาตรา ๑๑๓ ในวาระเริ่มแรกเมื่อครบกำหนดสามปีนับแต่วันที่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา ให้สมาชิกวุฒิสภาประชุมกันเพื่อให้มีการจับสลากให้สมาชิกวุฒิสภาจำนวนกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกวุฒิสภาแต่ละประเภทพ้นจากตำแหน่ง และให้ถือว่าการพ้นจากตำแหน่งโดยการจับสลากดังกล่าวเป็นการสิ้นสุดสมาชิกภาพตามวาระ
มาตรา ๑๑๔ สมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภาสิ้นสุดลง เมื่อ
(๑) ถึงคราวออกตามอายุของวุฒิสภา
(๒) ตาย
(๓) ลาออก
(๔) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๑๐
(๕) กระทำการอันต้องห้ามตามมาตรา ๑๑๑ มาตรา ๒๕๖ หรือมาตรา ๒๕๗
(๖) วุฒิสภามีมติตามมาตรา ๒๖๕ ให้ถอดถอนออกจากตำแหน่ง หรือ ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้พ้นจากสมาชิกภาพตามมาตรา ๘๙ ในกรณีเช่นนี้ ให้ถือว่าสิ้นสุดสมาชิกภาพนับแต่วันที่วุฒิสภามีมติหรือศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย แล้วแต่กรณี
(๗) ขาดประชุมเกินจำนวนหนึ่งในสี่ของจำนวนวันประชุมในสมัยประชุมที่มีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวัน โดยไม่ได้รับอนุญาตจากประธานวุฒิสภา
(๘) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก แม้จะมีการรอการลงโทษ เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
มาตรา ๑๑๕ เมื่อตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาว่างลงเพราะเหตุตามมาตรา ๑๑๓ หรือ มาตรา ๑๑๔ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๐๗ มาตรา ๑๐๘ และมาตรา ๑๐๙ มาใช้บังคับกับการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาแทนตำแหน่งที่ว่าง
มาตรา ๑๑๖ ในการพิจารณาเลือก แต่งตั้ง ให้คำแนะนำ หรือให้ความเห็นชอบให้บุคคลดำรงตำแหน่งใดตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญนี้ ให้วุฒิสภาแต่งตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นคณะหนึ่ง ทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติ ความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งนั้น รวมทั้งรวบรวมข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานอันจำเป็นแล้วรายงานต่อวุฒิสภาเพื่อประกอบการพิจารณาต่อไป
การดำเนินการของคณะกรรมาธิการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา
--คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ--