เปรียบเทียบร่างรัฐธรรมนูญเดิมกับรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตราที่ 294-299

ข่าวการเมือง Thursday July 12, 2007 14:23 —สภาร่างรัฐธรรมนูญ

ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (เดิม)
- มาตรา ๒๙๔ ให้ดำเนินการจัดทำประมวลจริยธรรมตามมาตรา ๒๗๐ ให้แล้วเสร็จภาย
ในหนึ่งปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้
- มาตรา ๒๙๕ ในวาระเริ่มแรก มิให้นำบทบัญญัติดังต่อไปนี้มาใช้บังคับกับกรณีต่าง ๆ
ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้ (๑) มิให้นำบทบัญญัติมาตรา ๔๗ วรรคสอง มาใช้บังคับจนกว่าจะมีการตรากฎหมาย
เพื่อจัดตั้งองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระองค์กรหนึ่งทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่และกำกับดูแลการประกอบกิจการวิทยุ
กระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ซึ่งต้องไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้
ทั้งนี้ กฎหมายที่จะตราขึ้นต้องไม่กระทบกระเทือนถึงการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาซึ่งมีผลสมบูรณ์อยู่ในขณะที่
กฎหมายดังกล่าวมีผลใช้บังคับ จนกว่าการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญานั้นจะสิ้นผล (๒) มิให้นำบทบัญญัติมาตรา
๑๓๖ มาใช้บังคับกับการตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญตามมาตรา ๒๘๖ (๓) มิให้นำบทบัญญัติมาตรา
๑๖๓ วรรคหนึ่ง และวรรคสอง มาตรา ๑๖๔ วรรคเก้า มาตรา ๑๖๕ เฉพาะกรณีการกำหนดแหล่งที่มาของ
รายได้เพื่อชดใช้รายจ่ายที่ได้ใช้เงินคงคลังจ่ายไปก่อน และมาตรา ๑๖๖ มาใช้บังคับภายในหนึ่งปีนับแต่วัน
ประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้(๔) มิให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๘๖ วรรคสาม มาใช้บังคับกับการจัดทำสนธิสัญญาที่อยู่
ในระหว่างการดำเนินการก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ และให้นำมาใช้บังคับกับการเริ่มดำเนินการสนธิ
สัญญาภายหลังจากวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ (๕) มิให้นำบทบัญญัติมาตรา ๒๐๕ (๒) มาใช้บังคับ
กับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ (๖) มิให้นำบทบัญญัติ
มาตรา ๒๔๖ วรรคสี่และวรรคห้า มาใช้บังคับภายในหนึ่งปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้
- มาตรา ๒๙๖ ในวาระเริ่มแรก ให้ผู้พิพากษาอาวุโสที่เคยดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษา
ศาลฎีกาสามารถปฏิบัติหน้าที่ในศาลฎีกาตามมาตรา ๒๑๔ วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ ได้ตามหลักเกณฑ์
ที่ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกากำหนด ทั้งนี้ จนกว่าจะมีการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดหลักเกณฑ์การปฏิบัติ
หน้าที่ของผู้พิพากษาอาวุโส
- มาตรา ๒๙๗ ให้คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายที่มีการดำเนินการที่เป็นอิสระ
ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ โดยให้คณะกรรมการดังกล่าวมีหน้าที่ศึกษาและเสนอแนะการ
จัดทำกฎหมายที่จำเป็นต้องตราขึ้นเพื่ออนุวัตรการตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ และให้คณะกรรมการดังกล่าว
จัดทำกฎหมายเพื่อจัดตั้งองค์กรเพื่อการปฏิรูปกฎหมาย ตามมาตรา ๘๐ (๕) ให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วัน
ประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ โดยในกฎหมายดังกล่าวอย่างน้อยต้องมีบทบัญญัติกำหนดให้มีหน้าที่สนับสนุนการดำเนิน
การร่างกฎหมายของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งด้วย การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ไม่เป็นการตัดอำนาจหน้าที่
ของหน่วยงานอื่นที่มีหน้าที่ต้องจัดทำกฎหมายในความรับผิดชอบ
- มาตรา ๒๙๘ ให้มีการจัดทำและปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการกำหนดแผนและขั้นตอนการกระ
จายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประมวลกฎหมายท้องถิ่น และกฎหมายเกี่ยวกับข้าราชการส่วนท้องถิ่น
เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญนี้ ภายในสองปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้
- มาตรา ๒๙๙ บรรดาการใด ๆ ที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
(ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ ว่าเป็นการชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการกระทำที่เกี่ยวเนื่อง
กับกรณีดังกล่าวไม่ว่าก่อนหรือหลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ให้ถือว่าการนั้นและการกระทำนั้นชอบด้วย
รัฐธรรมนูญนี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ....ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐
-
เหตุผลที่แก้ไข
แก้ไขมาตราที่ 295
โดยที่การปฏิบัติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญในบางเรื่องจำเป็นต้องมีการเตรียมการหรือ
ดำเนินการตรากฎหมายเพื่อรองรับบทบัญญัตินั้นเสียก่อน จึงต้องกำหนดระยะเวลาที่ยังไม่นำบทบัญญัติบางเรื่อง
มาใช้จนกว่าจะปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด
แก้ไขมาตราที่ 296
โดยที่ร่างรัฐธรรมนูญนี้ได้กำหนดหน้าที่ของศาลฎีกาเพิ่มขึ้นทั้งในคดีเลือกตั้งและคดีอาญา ผู้ดำรง
ตำแหน่งทางการเมือง จึงกำหนดให้ผู้พิพากษาอาวุโสมาปฏิบัติหน้าที่ในศาลฎีกาได้ เพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงาน
ของศาลฎีกา
แก้ไขมาตราที่ 297
กำหนดให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย เพื่อเตรียมการจัดตั้งองค์กรเพื่อการปฏิรูป
กฎหมาย และทำหน้าที่ศึกษาและเสนอแนะการจัดทำกฎหมายเพื่อให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ เพื่อให้มีการดำเนิน
การตรากฎหมายให้การบังคับใช้รัฐธรรมนูญเป็นไปอย่างสมบูรณ์ แต่อย่างไรก็ตาม หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบ
เกี่ยวกับการตรากฎหมายที่เกี่ยวข้องก็ยังมีหน้าที่ดำเนินการต่อไปเช่นเดิม
แก้ไขมาตราที่ 298
โดยที่รัฐธรรมนูญนี้ได้มีการปรับปรุงการดำเนินการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลายประการ
จึงกำหนดให้มีการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญนี้ด้วย
แก้ไขมาตราที่ 299ฃ
กำหนดขึ้นเพื่อรองรับการดำเนินการใด ๆ ที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว)
พุทธศักราช ๒๕๔๙ได้รับรองว่าชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ ให้ยังคงเป็นการชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้ต่อไป
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ