ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (เดิม)
- มาตรา ๑๙๑ บทกฎหมาย พระราชหัตถเลขา และพระบรมราชโองการอันเกี่ยวกับราชการ
แผ่นดิน ต้องมีรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ เว้นแต่ที่มีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในรัฐธรรมนูญนี้
บทกฎหมายที่ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้วหรือถือเสมือนหนึ่งว่าได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว ให้
ประกาศในราชกิจจานุเบกษาโดยพลัน
- มาตรา ๑๙๒ เงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นขององคมนตรี ประธาน
และรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานและรองประธานวุฒิสภา ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร สมาชิก
สภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา ให้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาบำเหน็จบำนาญหรือประโยชน์ตอบแทนอย่าง
อื่นขององคมนตรี ประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานและรองประธานวุฒิสภา นายกรัฐมนตรี
รัฐมนตรี ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งพ้นจากตำแหน่ง
ให้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
หมวด ๑๐ศาล ส่วนที่ ๑บททั่วไป
- มาตรา ๑๙๓ การพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเป็นอำนาจของศาลซึ่งต้องดำเนินการให้เป็นไป
โดยยุติธรรมตามรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมาย และในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ ผู้พิพากษาและตุลาการมีอิสระ
ในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีให้เป็นไปโดยถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรมตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย
การโยกย้ายผู้พิพากษาและตุลาการโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้พิพากษาและตุลาการนั้น จะกระทำมิได้
เว้นแต่เป็นการโยกย้ายตามวาระตามที่กฎหมายบัญญัติ เป็นการเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้น เป็นกรณีที่อยู่ในระหว่าง
ถูกดำเนินการทางวินัย หรือตกเป็นจำเลยในคดีอาญาเป็นกรณีที่กระทบกระเทือนต่อความยุติธรรมในการพิจารณา
พิพากษาคดี มีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจำเป็นอื่นอันไม่อาจก้าวล่วงได้ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติผู้พิพากษาและตุลาการ
จะเป็นข้าราชการการเมืองหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมิได้
- มาตรา ๑๙๔ บรรดาศาลทั้งหลายจะตั้งขึ้นได้ก็แต่โดยพระราชบัญญัติการตั้งศาลขึ้นใหม่เพื่อ
พิจารณาพิพากษาคดีใดคดีหนึ่งหรือคดีที่มีข้อหาฐานใดฐานหนึ่งโดยเฉพาะแทนศาลที่มีอยู่ตามกฎหมายสำหรับพิจารณา
พิพากษาคดีนั้น จะกระทำมิได้ การบัญญัติกฎหมายให้มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขเพิ่มเติม
กฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลหรือวิธีพิจารณาเพื่อใช้แก่คดีใดคดีหนึ่งโดยเฉพาะจะกระทำมิได้
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐
- มาตรา ๒๓๑ บทกฎหมาย พระราชหัตถเลขา และพระบรมราชโองการ อันเกี่ยวกับราชการ
แผ่นดิน ต้องมีรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ เว้นแต่ที่มีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในรัฐธรรมนูญนี้
- มาตรา ๒๓๒ บทกฎหมายที่ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้วหรือถือเสมือนหนึ่งว่าได้ทรงลงพระปรมา
ภิไธยแล้ว ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาโดยพลัน
- มาตรา ๒๒๙ เงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นขององคมนตรี ประธานและ
รองประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานและรองประธานวุฒิสภา ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภา
ผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา ให้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาบำเหน็จบำนาญหรือประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่น
ขององคมนตรี ประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานและรองประธานวุฒิสภา นายกรัฐมนตรี
รัฐมนตรี ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งพ้นจากตำแหน่ง
ให้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
หมวด ๘ศาลส่วนที่ ๑บททั่วไป
- มาตรา ๒๓๓ การพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเป็นอำนาจของศาลซึ่งต้องดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ
ตามกฎหมาย และในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ มาตรา ๒๔๙ ผู้พิพากษาและตุลาการมีอิสระในการพิจารณา
พิพากษาอรรถคดีให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีของผู้พิพากษาและตุลาการไม่
อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาตามลำดับชั้นการจ่ายสำนวนคดีให้ผู้พิพากษาและตุลาการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมาย
บัญญัติ
การเรียกคืนสำนวนคดีหรือการโอนสำนวนคดี จะกระทำมิได้ เว้นแต่เป็นกรณีที่จะกระทบกระเทือน
ต่อความยุติธรรมในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี การโยกย้ายผู้พิพากษาและตุลาการโดยไม่ได้รับ
ความยินยอมจากผู้พิพากษาและตุลาการนั้น จะกระทำมิได้ เว้นแต่เป็นการโยกย้ายตามวาระตามที่กฎหมายบัญญัติ
เป็นการเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้น เป็นกรณีที่อยู่ในระหว่างถูกดำเนินการทางวินัย หรือตกเป็นจำเลยในคดีอาญา
- มาตรา ๒๕๐ ผู้พิพากษาและตุลาการจะเป็นข้าราชการการเมืองหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการ
เมืองมิได้
- มาตรา ๒๓๔ บรรดาศาลทั้งหลายจะตั้งขึ้นได้ก็แต่โดยพระราชบัญญัติการตั้งศาลขึ้นใหม่เพื่อ
พิจารณาพิพากษาคดีใดคดีหนึ่งหรือคดีที่มีข้อหาฐานใดฐานหนึ่งโดยเฉพาะแทนศาลที่มีอยู่ตามกฎหมายสำหรับพิจารณา
พิพากษาคดีนั้น จะกระทำมิได้ มาตรา ๒๓๕ การบัญญัติกฎหมายให้มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงหรือ
แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลหรือวิธีพิจารณาเพื่อใช้แก่คดีใดคดีหนึ่งโดยเฉพาะจะกระทำมิได้
เหตุผลที่แก้ไข
แก้ไขมาตราที่ 193
เพื่อให้เป็นไปตามหลักการพิจารณาคดีที่ดีที่ต้องเป็นไปโดยยุติธรรมและย้ายข้อความจากมาตรา ๒๔๙
และมาตรา ๒๕๐ ของรัฐธรรมนูญเดิม โดยแก้ไขให้ใช้หลักความถูกต้อง รวดเร็วและเป็นธรรมเป็นลักษณะสำคัญ
ทางการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ดีและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งแก้ไขถ้อยคำเพื่อให้เหตุยกเว้นเกี่ยวกับการโยกย้าย
ผู้พิพากษาและตุลาการครบถ้วนสมบูรณ์ยิ่งขึ้น นอกจากนั้น ได้ตัดบทบัญญัติในรายละเอียดที่เป็นระเบียบวิธีปฏิบัติ
ตามปกติของศาลอยู่แล้ว
(ยังมีต่อ)