ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (เดิม)
หมวด ๑๑องค์กรตามรัฐธรรมนูญ
ส่วนที่ ๑องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
๑. คณะกรรมการการเลือกตั้ง
- มาตรา ๒๒๔ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ประกอบด้วยประธานกรรมการคนหนึ่งและกรรมการ
อื่นอีกสี่คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภาจากผู้ซึ่งมีความเป็นกลางทางการเมืองและมี
ความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ ให้ประธานวุฒิสภาลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง
ประธานกรรมการและกรรมการตามวรรคหนึ่ง
- มาตรา ๒๒๕ กรรมการการเลือกตั้งต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(๑) มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบปีบริบูรณ์ (๒) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
(๓) มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๐๑ (๑) (๔) (๕) และ (๖)
(๔) ไม่เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา กรรมการป้องกันและ
ปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน หรือกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ให้นำบทบัญญัติ
มาตรา ๒๐๓ มาใช้บังคับกับกรรมการการเลือกตั้งด้วยโดยอนุโลม
- มาตรา ๒๒๖ การสรรหาและการเลือกประธานกรรมการและกรรมการการเลือกตั้ง ให้ดำเนิน
การดังนี้ (๑) ให้มีคณะกรรมการสรรหากรรมการการเลือกตั้งจำนวนห้าคน ซึ่งประกอบด้วยประธาน
ศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานสภาผู้แทนราษฎร และผู้นำฝ่ายค้านในสภา
ผู้แทนราษฎร เป็นกรรมการทำหน้าที่สรรหาผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา ๒๒๕ ซึ่งสมควรเป็นกรรมการการเลือกตั้ง
จำนวนสามคน เสนอต่อประธานวุฒิสภา โดยต้องเสนอพร้อมความยินยอมของผู้ได้รับการเสนอชื่อนั้น มติในการ
สรรหาดังกล่าวต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ในกรณีที่ไม่มี
กรรมการในตำแหน่งใด หรือมีแต่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ถ้ากรรมการที่เหลืออยู่นั้นมีจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง
ให้คณะกรรมการสรรหากรรมการการเลือกตั้งประกอบด้วยกรรมการที่เหลืออยู่ (๒) ให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา
พิจารณาสรรหาผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา ๒๒๕ ซึ่งสมควรเป็นกรรมการการเลือกตั้งจำนวนสองคน เสนอต่อประธาน
วุฒิสภา โดยต้องเสนอพร้อมความยินยอมของผู้นั้น (๓) การสรรหาตาม (๑) และ (๒) ให้กระทำ
ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีเหตุที่ทำให้ต้องมีการเลือกบุคคลให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว ในกรณีที่มีเหตุที่ทำให้ไม่
อาจดำเนินการสรรหาได้ภายในเวลาที่กำหนดหรือไม่อาจสรรหาได้ครบจำนวนภายในเวลาที่กำหนดตาม (๑)
ให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาพิจารณาสรรหาแทนจนครบจำนวนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ครบกำหนดตาม (๑)(๒)
(๓) หรือ (๔) มาใช้บังคับ แล้วแต่กรณี ถ้าคณะกรรมการสรรหาหรือที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ไม่เห็นด้วยกับมติ
ของวุฒิสภาและยืนยันด้วยมติเอกฉันท์ของคณะกรรมการสรรหาหรือด้วยคะแนนไม่น้อยกว่าสองในสามของที่ประชุม
ใหญ่ศาลฎีกา แล้วแต่กรณี ให้ส่งให้ประธานวุฒิสภาเพื่อดำเนินการตาม (๖) ต่อไป (๖) ให้ผู้ได้รับความเห็น
ชอบตาม (๔) หรือ (๕) ประชุมและเลือกกันเองให้คนหนึ่งเป็นประธานกรรมการการเลือกตั้ง และแจ้งผลให้
ประธานวุฒิสภาทราบ และให้ประธานวุฒิสภานำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งต่อไป (๔) ให้ประธานวุฒิสภา
เรียกประชุมวุฒิสภาเพื่อมีมติให้ความเห็นชอบผู้ได้รับการสรรหาตาม (๑) (๒) หรือ (๓) ซึ่งต้องกระทำโดย
วิธีลงคะแนนลับ (๕) ในกรณีที่วุฒิสภามีมติไม่เห็นชอบผู้ได้รับการสรรหาตาม (๑) (๒) หรือ (๓)
ทั้งหมดหรือบางส่วน ให้ประธานวุฒิสภาส่งชื่อผู้ได้รับการสรรหาที่วุฒิสภาไม่ให้ความเห็นชอบให้คณะกรรมการ
สรรหาตาม (๑) หรือที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาตาม (๒) หรือ (๓) แล้วแต่กรณี หากคณะกรรมการสรรหาหรือ
ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาเห็นด้วยกับมติของวุฒิสภา ให้นำ (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) มาใช้บังคับ แล้วแต่กรณี
ถ้าคณะกรรมการสรรหาหรือที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ไม่เห็นด้วยกับมติของวุฒิสภาและยืนยันด้วยมติเอกฉันท์ของ
คณะกรรมการสรรหาหรือด้วยคะแนนไม่น้อยกว่าสองในสามของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา แล้วแต่กรณี ให้ส่งให้
ประธานวุฒิสภาเพื่อดำเนินการตาม (๖) ต่อไป (๖) ให้ผู้ได้รับความเห็นชอบตาม (๔) หรือ
(๕) ประชุมและเลือกกันเองให้คนหนึ่งเป็นประธานกรรมการการเลือกตั้ง และแจ้งผลให้ประธานวุฒิสภาทราบ
และให้ประธานวุฒิสภานำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งต่อไป
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐
ส่วนที่ ๔คณะกรรมการการเลือกตั้ง
- มาตรา ๑๓๖ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ประกอบด้วยประธานกรรมการคนหนึ่งและกรรมการ
อื่นอีกสี่คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภาจากผู้ซึ่งมีความเป็นกลางทางการเมืองและมี
ความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ ให้ประธานวุฒิสภาลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง
ประธานกรรมการและกรรมการตามวรรคหนึ่ง
- มาตรา ๑๓๗ กรรมการการเลือกตั้งต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(๑) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด (๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบปีบริบูรณ์ในวันเสนอชื่อ
(๓) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
(๔) ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๐๖ หรือมาตรา ๑๐๙ (๑) (๒) (๔) (๕) (๖) (๗)
(๑๓) หรือ (๑๔) (๕) ไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น
หรือผู้บริหารท้องถิ่น (๖) ไม่เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกหรือผู้ดำรงตำแหน่งอื่นของพรรคการเมืองในระยะห้าปี
ก่อนดำรงตำแหน่ง (๗) ไม่เป็นผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลปกครอง กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือกรรมการ
ตรวจเงินแผ่นดิน
- มาตรา ๑๓๘ การสรรหาและการเลือกประธานกรรมการและกรรมการการเลือกตั้ง ให้ดำเนิน
การดังนี้ (๑) ให้มีคณะกรรมการสรรหากรรมการการเลือกตั้งจำนวนสิบคน ซึ่งประกอบด้วยประธาน
ศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด อธิการบดีของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่เป็นนิติบุคคลทุกแห่งซึ่งเลือก
กันเองให้เหลือสี่คน ผู้แทนพรรคการเมืองทุกพรรคที่มีสมาชิกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคละหนึ่งคน ซึ่งเลือก
กันเองให้เหลือสี่คน ทำหน้าที่พิจารณาสรรหาผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา ๑๓๗ ซึ่งสมควรเป็นกรรมการการเลือกตั้ง
จำนวนห้าคน เสนอต่อประธานวุฒิสภาโดยต้องเสนอพร้อมความยินยอมของผู้ได้รับการเสนอชื่อนั้นมติในการเสนอ
ชื่อดังกล่าวต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนกรรมการสรรหาทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ (๒) ให้ที่ประชุม
ใหญ่ศาลฎีกาพิจารณาสรรหาผู้สมควรเป็นกรรมการการเลือกตั้งจำนวนห้าคน เสนอต่อประธานวุฒิสภา โดยต้อง
เสนอพร้อมความยินยอมของผู้ได้รับการเสนอชื่อนั้น(๓) การเสนอชื่อตาม (๑) และ (๒) ให้กระทำภายในสาม
สิบวันนับแต่วันที่มีเหตุที่ทำให้ต้องมีการเลือกบุคคลให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว ในกรณีที่คณะกรรมการสรรหาตาม
(๑) ไม่อาจเสนอชื่อได้ภายในเวลาที่กำหนด หรือไม่อาจเสนอชื่อได้ครบจำนวนภายในเวลาที่กำหนด ให้ที่
ประชุมใหญ่ศาลฎีกาพิจารณาเสนอชื่อแทนจนครบจำนวนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ครบกำหนดต้องเสนอชื่อตาม
(๑) (๔) ให้ประธานวุฒิสภาเรียกประชุมวุฒิสภาเพื่อมีมติเลือกผู้ได้รับการเสนอชื่อตาม (๑) (๒) และ (๓)
ซึ่งต้องกระทำโดยวิธีลงคะแนนลับ ในการนี้ ให้ห้าคนแรกซึ่งได้รับคะแนนสูงสุดและมีคะแนนมากกว่ากึ่งหนึ่งของ
จำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา เป็นผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการการเลือกตั้งแต่ถ้าจำนวนผู้ได้รับเลือก
ดังกล่าวมีไม่ครบห้าคน ให้นำรายชื่อผู้ไม่ได้รับเลือกในคราวแรกนั้นมาให้สมาชิกวุฒิสภาออกเสียงลงคะแนนเลือก
อีกครั้งหนึ่งต่อเนื่องกันไป และในกรณีนี้ ให้ถือว่าผู้ได้รับคะแนนเสียงสูงสุดเรียงลงไปตามลำดับจนครบห้าคน
เป็นผู้ได้รับเลือกให้เป็นกรรมการการเลือกตั้ง ในครั้งนี้ถ้ามีผู้ได้คะแนนเสียงเท่ากันในลำดับใดอันเป็นเหตุให้มี
ผู้ได้รับเลือกเกินห้าคน ให้ประธานวุฒิสภาจับสลากว่าผู้ใดเป็นผู้ได้รับเลือก (๕) ให้ผู้ได้รับเลือกตาม (๔)
ประชุมและเลือกกันเองให้คนหนึ่งเป็นประธานกรรมการการเลือกตั้ง และแจ้งผลให้ประธานวุฒิสภาทราบ
และให้ประธานวุฒิสภานำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งต่อไป
เหตุผลที่แก้ไข
แก้ไขมาตราที่ 226
ยังคงหลักการเดิมแต่ปรับเปลี่ยนจากการสรรหาเพื่อเสนอรายชื่อบุคคลเพื่อให้วุฒิสภาพิจารณา
คัดเลือกมาเป็นการสรรหาให้ได้ตามจำนวนที่จะพึงมีแล้วเสนอให้วุฒิสภาให้ความเห็นชอบเพื่อกราบบังคมทูล
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง โดยในการสรรหานั้นจะกำหนดให้มีคณะกรรมการสรรหาประกอบด้วย
ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานสภาผู้แทนราษฎร และผู้นำ
ฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรโดยทำหน้าที่สรรหาผู้ซึ่งได้รับการเสนอชื่อเป็น คณะกรรมการการเลือกตั้ง
จำนวนสามคน และที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาสรรหาผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นคณะกรรมการการเลือกตั้ง จำนวน
สองคน เพื่อเสนอต่อวุฒิสภาให้ความเห็นชอบ โดยในกรณีที่คณะกรรมการสรรหาไม่สามารถสรรหาได้ หรือไม่มี
คณะกรรมการสรรหา ให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาเป็นผู้เสนอรายชื่อตามจำนวนที่คณะกรรมการสรรหาจะต้องเสนอ
แทน เพื่อแก้ไขปัญหาการสรรหาคณะกรรมการการเลือกตั้งไม่ได้ และการแก้ไขให้วุฒิสภาเห็นชอบ มิใช่เสนอ
จำนวนสองเท่าเพื่อให้วุฒิสภาเลือก จะทำให้เกิดความโปร่งใส ที่จะไม่มีการกำหนดตัวบุคคลและวิ่งเต้นเพื่อ
ให้ได้รับการคัดเลือกดังที่เคยเกิดปัญหา
(ยังมีต่อ)