ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐มีสาระสำคัญที่ให้ประโยชน์ต่อประชาชนโดยตรง ๔ ประการ คือ
๑. คุ้มครอง ส่งเสริม ขยายสิทธิและเสรีภาพ ของประชาชนอย่างเต็มที่
๒. ลดการผูกขาดอำนาจรัฐ และเพิ่มอำนาจประชาชน
๓. การเมืองมีความโปร่งใส มีคุณธรรม และจริยธรรม
๔. ทำให้องค์กรตรวจสอบมีความอิสระ เข้มแข็ง และทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
๑. การคุ้มครอง ส่งเสริม และการขยายสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอย่างเต็มที่
๑.๑ เพิ่มประเภทสิทธิและเสรีภาพให้มากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งมากกว่ารัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ สิทธิและเสรีภาพที่เพิ่มขึ้น อาทิ
๑) คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลไม่ให้ถูกละเมิด
๒) ประชาชนสามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยง่าย สะดวก รวดเร็ว และทั่วถึง
๓) สิทธิและเสรีภาพของสื่อมวลชนได้รับการคุ้มครองอย่างไม่เคยมีมาก่อน ไม่เพียงแต่ห้าม
ปิดกิจการสื่อมวลชนเท่านั้น ยังห้ามแทรกแซงสื่อมวลชนในการเสนอข่าวสาร รวมทั้งห้ามผู้ดำรงตำแหน่ง
ทางการเมืองเป็นเจ้าของกิจการหรือเป็นผู้ถือหุ้นในกิจการสื่อมวลชนด้วย เพื่อป้องกันการใช้สื่อสารมวลชน
เพื่อประโยชน์ของตนเอง
๔) ประชาชนได้รับการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ๑๒ ปีโดยเท่าเทียมกัน
๕) เด็ก เยาวชน และบุคคลในครอบครัวได้รับสิทธิเพิ่มขึ้นในการพัฒนาด้านร่างกาย จิตใจ และ
สติปัญญา
๖) บุคคลที่ไร้ที่อยู่อาศัยและไม่มีรายได้เพียงพอมีสิทธิได้รับการช่วยเหลือจากรัฐเป็นครั้งแรก
๗) ขยายสิทธิชุมชน การดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรง
ต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากรธรรมชาติ จะต้องจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
และผู้มีส่วนได้เสียก่อน ชุมชนมีสิทธิที่จะฟ้ององค์กรของรัฐ เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายบัญญัติรับรอง
สิทธิชุมชน
๘) ในการทำหนังสือสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างประเทศทั้งหลายที่มีผลกระทบต่อประชาชน
รัฐจะต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนก่อน และต้องแก้ไขเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการ
ลงนามในหนังสือสัญญาอย่างรวดเร็ว เหมาะสม และเป็นธรรม
๙) ให้สิทธิประชาชนเป็นครั้งแรก โดยกำหนดให้ ๕๐,๐๐๐ คนเข้าชื่อเพื่อเสนอขอแก้ไขเพิ่มเติม
รัฐธรรมนูญได้
๑.๒ ทำให้การใช้สิทธิและเสรีภาพง่ายขึ้นกว่าเดิม
๑) สิทธิและเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญได้รับรองและคุ้มครองไว้ แม้ยังไม่มีกฎหมายลูกออกมา
รองรับประชาชนก็สามารถใช้สิทธิและเสรีภาพเหล่านั้นได้ทันทีโดยการร้องขอต่อศาล
2) ลดจำนวนประชาชนในการเข้าชื่อเสนอร่างกฎหมายจาก ๕๐,๐๐๐ ชื่อ เหลือเพียง
๑๐,๐๐๐ ชื่อ และถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจาก ๕๐,๐๐๐ ชื่อ เหลือเพียง ๒๐,๐๐๐ ชื่อ
๑.๓ ทำให้การใช้สิทธิเสรีภาพมีประสิทธิภาพและมีมาตรการคุ้มครองอย่างชัดเจน
๑) กำหนดระยะเวลาในการตรากฎหมายลูก เพื่อรองรับเรื่องต่างๆ ตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติ
ได้ชัดเจน (ส่วนใหญ่ประมาณ ๑ ปี ไม่เกิน ๒ ปี)
๒) ประชาชนมีสิทธิฟ้องศาลรัฐธรรมนูญได้โดยตรง ในกรณีที่กฎหมายมีบทญัตติที่มีการละเมิด
สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ
๓) ชุมชนมีสิทธิฟ้องศาลได้ในกรณีที่มีการละเมิดสิทธิของชุมชน
๔) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติฟองศาลรัฐธรรมนูญและศาลปกครองได้ในกรณีที่มี
การละเมิดสิทธิมนุษยชน
๑.๔ ทำให้แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐมีความชัดเจนและผูกพันรัฐมากกว่าเดิม อีกทั้ง
ปรับปรุงการกระจายอำนาจให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้เหมาะสมขึ้น
๑)ปฏิรูประบบการบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้บุคลากรมีฐานะเป็น
ข้าราชการเช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือน และให้มีคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมระดับท้องถิ่น
๒) ลดจำนวนประชาชนที่เข้าชื่อถอดถอนนักการเมืองและการเสนอร่างข้อบัญญัติท้องถิ่น
รวมทั้งการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรายงานการดำเนินงานต่อประชาชนในเรื่องการจัดทำงบประมาณ
การใช้จ่าย และผลการดำเนินงานในรอบปี เพื่อประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบและกำกับดูแลการ
บริหารจัดการ
๒. ลดการผูกขาดอำนาจรัฐ และเพิ่มอำนาจประชาชน
๒.๑ เสริมสร้างอำนาจทางการเมืองให้แก่ประชาชน
๑) ให้ประชาชนและชุมชนมีอำนาจในการฟ้องร้องรัฐที่ใช้อำนาจไม่เป็นธรรมได้
๒) ให้ประชาชนใช้สิทธิทางการเมืองได้ง่ายขึ้น เช่น การลดจำนวนประชาชนในการเข้าชื่อ
ถอดถอนนักการเมือง และการเสนอกฎหมาย ทั้งในระดับประเทศและในระดับท้องถิ่น
๒.๒ จำกัดการผูกขาดและการใช้อำนาจที่ไม่เป็นธรรมของรัฐบาล
๑) นายกรัฐมนตรีอยู่ในตำแหน่งได้ไม่เกิน ๘ ปี
๒) การตราพระราชกำหนดของรัฐบาลจะต้องถูกตรวจสอบโดยเคร่งครัดจาก
ศาลรัฐธรรมนูญมิใช่ตามอำเภอใจของรัฐบาลอีกต่อไป
๓) มีหมวดการเงิน การคลัง และงบประมาณขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เพื่อมิให้
รัฐบาลใช้จ่ายเงินอย่างไม่มีวินัยการเงินและงบประมาณ และรายจ่ายงบกลางกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
ต้องมีหลักเกณฑ์และต้องแสดงเหตุผลและความจำเป็นด้วย
๔) กำหนดให้องค์กรอัยการเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ เพื่อมีอิสระในการพิจารณา
สั่งคดีและปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปโดยเที่ยงธรรม
๕) ห้ามควบรวมพรรคการเมืองในระหว่างที่อายุของสภาผู้แทนราษฎรยังไม่สิ้นสุดลง
เพื่อป้องกันการเกิดเสียงข้างมากอย่างผิดปกติในสภา
๒.๓ ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นอิสระจากการครอบงำของพรรคการเมือง
เพื่อทำหน้าที่ในฐานะผู้แทนปวงชนได้อย่างเต็มที่ โดยกำหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
มีอิสระจากมติพรรคการเมืองในการตั้งกระทู้ถาม การอภิปราย และการลงมติในการ
อภิปรายไม่ไว้วางใจ
๒.๔ ให้สมาชิกวุฒิสภาปลอดจากอิทธิพลของพรรคการเมืองอย่างแท้จริง
๒.๕ ห้ามสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาแทรกแซงข้าราชการประจำ
๓. ทำให้การเมืองมีความโปร่งใส มีคุณธรรมและจริยธรรม
(เติมสิ่งที่ขาดหายไปในรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐)
๓.๑ บัญญัติหมวดคุณธรรมและจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่
ของรัฐไว้อย่างชัดเจน มีการกำหนดโทษ การฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรมที่ร้ายแรงของผู้ดำรงตำแหน่ง
ทางการเมือง นำไปสู่การถอดถอนออกจากตำแหน่ง
๓.๒ กำหนดมาตรการเพื่อไม่ให้มีผลประโยชน์ทับซ้อนทางการเมือง โดยกำหนดให้นายก
รัฐมนตรีและรัฐมนตรี ต้องไม่เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นของบริษัทต่อไป ทั้งนี้ ตามจำนวนที่กฎหมาย
บัญญัติซึ่งครอบคลุมถึงคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะด้วย
๓.๓ การแสดงทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีความเข้มข้นขึ้นไปถึง
ทรัพย์สินที่อยู่ในความครอบครองหรือดูแลของบุคคลอื่น การแสดงทรัพย์สินและหนี้สินของสมาชิกสภา
ผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาจะต้องเปิดเผยให้แก่สาธารณชนทราบ เช่นเดียวกับของนายกรัฐมนตรี
และรัฐมนตรี
๓.๔ ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี
พ้นตำแหน่ง ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้จำคุก แม้จะมีการรอการลงโทษก็พ้นจากตำแหน่ง
คณะกรรมาธิการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สภาร่างรัฐธรรมนูญ โทร ๐๒—๒๔๔—๑๒๔๓
๔
๓.๕ ห้ามประธานสภา รองประธานสภา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีดำเนินการ
ในลักษณะที่มีผลประโยชน์ทับซ้อน
๑) ประธานสภาและรองประธานสภาผู้แทนราษฎรในระหว่างดำรงแหน่งจะเป็นกรรมการ
บริหารหรือดำรงตำแหน่งจะเป็นกรรมการบริหารหรือดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมืองมิได้
๒) นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี ห้ามมิให้ออกเสียงลงคะแนนในเรื่องที่เกี่ยวกับการดำรง
ตำแหน่งการปฏิบัติหน้าที่หรือการมีส่วนได้เสียในเรื่องนั้น
๔. ทำให้องค์กรตรวจสอบมีความอิสระ เข้มแข็ง และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๔.๑ ปรับปรุงระบบการสรรหาองค์กรตรวจสอบเพื่อให้มีความอิสระและเหมาะสมกับบทบาท
อำนาจหน้าที่ของแต่ละองค์กรอย่างแท้จริง
๔.๒ ปรับปรุงอำนาจหน้าที่และระบบการทำงานขององค์กรตรวจสอบให้ดียิ่งขึ้น
๑) ให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจรับฟัองโดยตรงในเรื่องที่ประชาชนถูกละเมิดสิทธิและเสรีภาพได้
๒) ให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นผู้พิจารณาวินิจฉัยว่า
ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองผู้ใด จงใจไม่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน หรือยื่นด้วยข้อความอันเป็นเท็จ
๓) ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินสามารถหยิบยกเรื่องที่เกิดความเสียหายต่อประชาชนโดยรวมขึ้น
พิจารณาได้โดยไม่จำเป็นต้องมีการร้องเรียน
๔) ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสามารถเปิดอภิปรายนายกรัฐมนตรีได้ง่ายขึ้น โดยใช้เสียง
เพียง๑/๕ และรัฐมนตรี ๑/๖ หรือเมื่อครบ ๒ ปี ในกรณีเสียงไม่ถึงก็สามารถเปิดอภิปรายได้ด้วย
นอกจากนี้ ยังกำหนดให้สามารถอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีที่หลบการอภิปรายไม่ไว้วางใจโดย
ไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีอื่นได้
๔.๓ จัดให้มีระบบการตรวจสอบการทำงานขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
๑) การให้ใบเหลือง ใบแดง ของคณะกรรมการการเลือกตั้งในกรณี ส.ส./ส.ว. สามารถ
อุทธรณ์ต่อศาลฎีกาได้ ส่วนการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นยื่นต่อศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาค
๒) ผู้ตรวจการแผ่นดินมีอำนาจตรวจสอบการละเลยการปฏิบัติหน้าที่ หรือการปฏิบัติหน้าที่
โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
--สภาร่างรัฐธรรมนูญ--
๑. คุ้มครอง ส่งเสริม ขยายสิทธิและเสรีภาพ ของประชาชนอย่างเต็มที่
๒. ลดการผูกขาดอำนาจรัฐ และเพิ่มอำนาจประชาชน
๓. การเมืองมีความโปร่งใส มีคุณธรรม และจริยธรรม
๔. ทำให้องค์กรตรวจสอบมีความอิสระ เข้มแข็ง และทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
๑. การคุ้มครอง ส่งเสริม และการขยายสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอย่างเต็มที่
๑.๑ เพิ่มประเภทสิทธิและเสรีภาพให้มากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งมากกว่ารัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ สิทธิและเสรีภาพที่เพิ่มขึ้น อาทิ
๑) คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลไม่ให้ถูกละเมิด
๒) ประชาชนสามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยง่าย สะดวก รวดเร็ว และทั่วถึง
๓) สิทธิและเสรีภาพของสื่อมวลชนได้รับการคุ้มครองอย่างไม่เคยมีมาก่อน ไม่เพียงแต่ห้าม
ปิดกิจการสื่อมวลชนเท่านั้น ยังห้ามแทรกแซงสื่อมวลชนในการเสนอข่าวสาร รวมทั้งห้ามผู้ดำรงตำแหน่ง
ทางการเมืองเป็นเจ้าของกิจการหรือเป็นผู้ถือหุ้นในกิจการสื่อมวลชนด้วย เพื่อป้องกันการใช้สื่อสารมวลชน
เพื่อประโยชน์ของตนเอง
๔) ประชาชนได้รับการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ๑๒ ปีโดยเท่าเทียมกัน
๕) เด็ก เยาวชน และบุคคลในครอบครัวได้รับสิทธิเพิ่มขึ้นในการพัฒนาด้านร่างกาย จิตใจ และ
สติปัญญา
๖) บุคคลที่ไร้ที่อยู่อาศัยและไม่มีรายได้เพียงพอมีสิทธิได้รับการช่วยเหลือจากรัฐเป็นครั้งแรก
๗) ขยายสิทธิชุมชน การดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรง
ต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากรธรรมชาติ จะต้องจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
และผู้มีส่วนได้เสียก่อน ชุมชนมีสิทธิที่จะฟ้ององค์กรของรัฐ เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายบัญญัติรับรอง
สิทธิชุมชน
๘) ในการทำหนังสือสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างประเทศทั้งหลายที่มีผลกระทบต่อประชาชน
รัฐจะต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนก่อน และต้องแก้ไขเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการ
ลงนามในหนังสือสัญญาอย่างรวดเร็ว เหมาะสม และเป็นธรรม
๙) ให้สิทธิประชาชนเป็นครั้งแรก โดยกำหนดให้ ๕๐,๐๐๐ คนเข้าชื่อเพื่อเสนอขอแก้ไขเพิ่มเติม
รัฐธรรมนูญได้
๑.๒ ทำให้การใช้สิทธิและเสรีภาพง่ายขึ้นกว่าเดิม
๑) สิทธิและเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญได้รับรองและคุ้มครองไว้ แม้ยังไม่มีกฎหมายลูกออกมา
รองรับประชาชนก็สามารถใช้สิทธิและเสรีภาพเหล่านั้นได้ทันทีโดยการร้องขอต่อศาล
2) ลดจำนวนประชาชนในการเข้าชื่อเสนอร่างกฎหมายจาก ๕๐,๐๐๐ ชื่อ เหลือเพียง
๑๐,๐๐๐ ชื่อ และถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจาก ๕๐,๐๐๐ ชื่อ เหลือเพียง ๒๐,๐๐๐ ชื่อ
๑.๓ ทำให้การใช้สิทธิเสรีภาพมีประสิทธิภาพและมีมาตรการคุ้มครองอย่างชัดเจน
๑) กำหนดระยะเวลาในการตรากฎหมายลูก เพื่อรองรับเรื่องต่างๆ ตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติ
ได้ชัดเจน (ส่วนใหญ่ประมาณ ๑ ปี ไม่เกิน ๒ ปี)
๒) ประชาชนมีสิทธิฟ้องศาลรัฐธรรมนูญได้โดยตรง ในกรณีที่กฎหมายมีบทญัตติที่มีการละเมิด
สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ
๓) ชุมชนมีสิทธิฟ้องศาลได้ในกรณีที่มีการละเมิดสิทธิของชุมชน
๔) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติฟองศาลรัฐธรรมนูญและศาลปกครองได้ในกรณีที่มี
การละเมิดสิทธิมนุษยชน
๑.๔ ทำให้แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐมีความชัดเจนและผูกพันรัฐมากกว่าเดิม อีกทั้ง
ปรับปรุงการกระจายอำนาจให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้เหมาะสมขึ้น
๑)ปฏิรูประบบการบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้บุคลากรมีฐานะเป็น
ข้าราชการเช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือน และให้มีคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมระดับท้องถิ่น
๒) ลดจำนวนประชาชนที่เข้าชื่อถอดถอนนักการเมืองและการเสนอร่างข้อบัญญัติท้องถิ่น
รวมทั้งการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรายงานการดำเนินงานต่อประชาชนในเรื่องการจัดทำงบประมาณ
การใช้จ่าย และผลการดำเนินงานในรอบปี เพื่อประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบและกำกับดูแลการ
บริหารจัดการ
๒. ลดการผูกขาดอำนาจรัฐ และเพิ่มอำนาจประชาชน
๒.๑ เสริมสร้างอำนาจทางการเมืองให้แก่ประชาชน
๑) ให้ประชาชนและชุมชนมีอำนาจในการฟ้องร้องรัฐที่ใช้อำนาจไม่เป็นธรรมได้
๒) ให้ประชาชนใช้สิทธิทางการเมืองได้ง่ายขึ้น เช่น การลดจำนวนประชาชนในการเข้าชื่อ
ถอดถอนนักการเมือง และการเสนอกฎหมาย ทั้งในระดับประเทศและในระดับท้องถิ่น
๒.๒ จำกัดการผูกขาดและการใช้อำนาจที่ไม่เป็นธรรมของรัฐบาล
๑) นายกรัฐมนตรีอยู่ในตำแหน่งได้ไม่เกิน ๘ ปี
๒) การตราพระราชกำหนดของรัฐบาลจะต้องถูกตรวจสอบโดยเคร่งครัดจาก
ศาลรัฐธรรมนูญมิใช่ตามอำเภอใจของรัฐบาลอีกต่อไป
๓) มีหมวดการเงิน การคลัง และงบประมาณขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เพื่อมิให้
รัฐบาลใช้จ่ายเงินอย่างไม่มีวินัยการเงินและงบประมาณ และรายจ่ายงบกลางกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
ต้องมีหลักเกณฑ์และต้องแสดงเหตุผลและความจำเป็นด้วย
๔) กำหนดให้องค์กรอัยการเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ เพื่อมีอิสระในการพิจารณา
สั่งคดีและปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปโดยเที่ยงธรรม
๕) ห้ามควบรวมพรรคการเมืองในระหว่างที่อายุของสภาผู้แทนราษฎรยังไม่สิ้นสุดลง
เพื่อป้องกันการเกิดเสียงข้างมากอย่างผิดปกติในสภา
๒.๓ ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นอิสระจากการครอบงำของพรรคการเมือง
เพื่อทำหน้าที่ในฐานะผู้แทนปวงชนได้อย่างเต็มที่ โดยกำหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
มีอิสระจากมติพรรคการเมืองในการตั้งกระทู้ถาม การอภิปราย และการลงมติในการ
อภิปรายไม่ไว้วางใจ
๒.๔ ให้สมาชิกวุฒิสภาปลอดจากอิทธิพลของพรรคการเมืองอย่างแท้จริง
๒.๕ ห้ามสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาแทรกแซงข้าราชการประจำ
๓. ทำให้การเมืองมีความโปร่งใส มีคุณธรรมและจริยธรรม
(เติมสิ่งที่ขาดหายไปในรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐)
๓.๑ บัญญัติหมวดคุณธรรมและจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่
ของรัฐไว้อย่างชัดเจน มีการกำหนดโทษ การฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรมที่ร้ายแรงของผู้ดำรงตำแหน่ง
ทางการเมือง นำไปสู่การถอดถอนออกจากตำแหน่ง
๓.๒ กำหนดมาตรการเพื่อไม่ให้มีผลประโยชน์ทับซ้อนทางการเมือง โดยกำหนดให้นายก
รัฐมนตรีและรัฐมนตรี ต้องไม่เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นของบริษัทต่อไป ทั้งนี้ ตามจำนวนที่กฎหมาย
บัญญัติซึ่งครอบคลุมถึงคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะด้วย
๓.๓ การแสดงทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีความเข้มข้นขึ้นไปถึง
ทรัพย์สินที่อยู่ในความครอบครองหรือดูแลของบุคคลอื่น การแสดงทรัพย์สินและหนี้สินของสมาชิกสภา
ผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาจะต้องเปิดเผยให้แก่สาธารณชนทราบ เช่นเดียวกับของนายกรัฐมนตรี
และรัฐมนตรี
๓.๔ ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี
พ้นตำแหน่ง ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้จำคุก แม้จะมีการรอการลงโทษก็พ้นจากตำแหน่ง
คณะกรรมาธิการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สภาร่างรัฐธรรมนูญ โทร ๐๒—๒๔๔—๑๒๔๓
๔
๓.๕ ห้ามประธานสภา รองประธานสภา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีดำเนินการ
ในลักษณะที่มีผลประโยชน์ทับซ้อน
๑) ประธานสภาและรองประธานสภาผู้แทนราษฎรในระหว่างดำรงแหน่งจะเป็นกรรมการ
บริหารหรือดำรงตำแหน่งจะเป็นกรรมการบริหารหรือดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมืองมิได้
๒) นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี ห้ามมิให้ออกเสียงลงคะแนนในเรื่องที่เกี่ยวกับการดำรง
ตำแหน่งการปฏิบัติหน้าที่หรือการมีส่วนได้เสียในเรื่องนั้น
๔. ทำให้องค์กรตรวจสอบมีความอิสระ เข้มแข็ง และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๔.๑ ปรับปรุงระบบการสรรหาองค์กรตรวจสอบเพื่อให้มีความอิสระและเหมาะสมกับบทบาท
อำนาจหน้าที่ของแต่ละองค์กรอย่างแท้จริง
๔.๒ ปรับปรุงอำนาจหน้าที่และระบบการทำงานขององค์กรตรวจสอบให้ดียิ่งขึ้น
๑) ให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจรับฟัองโดยตรงในเรื่องที่ประชาชนถูกละเมิดสิทธิและเสรีภาพได้
๒) ให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นผู้พิจารณาวินิจฉัยว่า
ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองผู้ใด จงใจไม่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน หรือยื่นด้วยข้อความอันเป็นเท็จ
๓) ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินสามารถหยิบยกเรื่องที่เกิดความเสียหายต่อประชาชนโดยรวมขึ้น
พิจารณาได้โดยไม่จำเป็นต้องมีการร้องเรียน
๔) ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสามารถเปิดอภิปรายนายกรัฐมนตรีได้ง่ายขึ้น โดยใช้เสียง
เพียง๑/๕ และรัฐมนตรี ๑/๖ หรือเมื่อครบ ๒ ปี ในกรณีเสียงไม่ถึงก็สามารถเปิดอภิปรายได้ด้วย
นอกจากนี้ ยังกำหนดให้สามารถอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีที่หลบการอภิปรายไม่ไว้วางใจโดย
ไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีอื่นได้
๔.๓ จัดให้มีระบบการตรวจสอบการทำงานขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
๑) การให้ใบเหลือง ใบแดง ของคณะกรรมการการเลือกตั้งในกรณี ส.ส./ส.ว. สามารถ
อุทธรณ์ต่อศาลฎีกาได้ ส่วนการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นยื่นต่อศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาค
๒) ผู้ตรวจการแผ่นดินมีอำนาจตรวจสอบการละเลยการปฏิบัติหน้าที่ หรือการปฏิบัติหน้าที่
โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
--สภาร่างรัฐธรรมนูญ--