(ต่อ1) ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ....

ข่าวการเมือง Tuesday August 28, 2007 15:51 —สภาร่างรัฐธรรมนูญ

ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ามติหรือข้อบังคับดังกล่าวขัดหรือแย้งกับ
หลักการพื้นฐานแห่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ตามรัฐธรรมนูญ ให้มติหรือข้อบังคับดังกล่าวนั้นเป็นอันยกเลิกไป
มาตรา ๓๘ ในกรณีที่พรรคการเมืองใดจัดตั้งสาขาพรรคการเมืองนั้น ให้หัวหน้า
พรรคการเมืองมีหนังสือแจ้งการจัดตั้งสาขาพรรคการเมืองต่อนายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่
วันที่จัดตั้งสาขาพรรคการเมืองนั้น
หนังสือแจ้งการจัดตั้งสาขาพรรคการเมืองให้เป็นไปตามแบบที่นายทะเบียนกำหนด
และอย่างน้อยจะต้องมีรายการแสดงที่ตั้งสาขาพรรคการเมือง รายชื่อ อาชีพ และที่อยู่ของกรรมการ
สาขาพรรคการเมืองนั้น
เมื่อนายทะเบียนได้รับแจ้งการจัดตั้งสาขาพรรคการเมืองแล้ว ให้ออกหนังสือรับรอง
การจัดตั้งสาขาพรรคการเมืองภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
มาตรา ๓๙ คณะกรรมการสาขาพรรคการเมือง ประกอบด้วย ประธานสาขาพรรค
การเมือง รองประธานสาขาพรรคการเมือง เลขานุการสาขาพรรคการเมือง รองเลขานุการสาขาพรรค
การเมือง เหรัญญิกสาขาพรรคการเมือง โฆษกสาขาพรรคการเมือง และกรรมการอื่นของสาขาพรรค
การเมือง โดยต้องมีคุณสมบัติหรือไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด
มาตรา ๔๐ ให้คณะกรรมการสาขาพรรคการเมืองมีหน้าที่ดำเนินกิจการให้เป็นไป
ตามนโยบายและข้อบังคับของพรรคการเมืองตามที่ได้รับมอบหมาย
มาตรา ๔๑ เมื่อได้มีการประกาศพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎร คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองมีหน้าที่ต้องควบคุมไม่ให้ผู้สมัครรับเลือกตั้ง
ของพรรคการเมืองกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง อันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา หรือระเบียบ หรือประกาศของ
คณะกรรมการการเลือกตั้งซึ่งทำให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม
มาตรา ๔๒ ให้หัวหน้าพรรคการเมืองจัดทำรายงานการดำเนินกิจการของพรรค
การเมืองในรอบปีปฏิทินที่ผ่านมาให้ถูกต้องตามความเป็นจริงตามวิธีการที่นายทะเบียนกำหนดและ
แจ้งให้นายทะเบียนทราบภายในเดือนมีนาคมของทุกปีเพื่อประกาศให้สาธารณชนทราบ เว้นแต่พรรค
การเมืองที่จัดตั้งขึ้นยังไม่ถึงเก้าสิบวันนับจนถึงวันสิ้นปีปฏิทิน
เมื่อครบระยะเวลาการรายงานตามวรรคหนึ่งแล้ว หากพรรคการเมืองใด
ยังไม่ได้รายงาน ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้หัวหน้าพรรคการเมืองรายงานภายในระยะเวลา
ที่กำหนด ถ้าพ้นกำหนดระยะเวลาแล้วยังมิได้รายงานโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ให้นายทะเบียน
รายงานต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งเพื่อสั่งเลิกพรรคการเมืองนั้น
มาตรา ๔๓ ห้ามมิให้พรรคการเมือง กรรมการบริหารพรรคการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่ง
ใดในพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่อื่นของพรรคการเมือง ช่วยเหลือหรือสนับสนุนผู้สมัครรับเลือกตั้ง
เป็นสมาชิกวุฒิสภาไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม
หมวด ๓
การเงินและการอุดหนุนทางการเงินของพรรคการเมือง
ส่วนที่ ๑
การเงินของพรรคการเมือง
มาตรา ๔๔ ให้คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการ
บริหารการเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดของพรรคการเมืองและสาขาพรรคการเมือง ตลอดจน
จัดให้มีการทำบัญชีตามมาตรา ๔๕ ให้ถูกต้องตามความเป็นจริง
ในกรณีที่มีการจัดตั้งสาขาพรรคการเมือง ให้ประธานสาขาพรรคการเมืองจัดให้มีการ
ทำบัญชีของสาขาพรรคการเมืองตามมาตรา ๔๕ และรับรองความถูกต้อง ตลอดจนจัดส่งบัญชีของ
สาขาพรรคการเมืองเพื่อแสดงรวมไว้ในบัญชีของพรรคการเมือง
มาตรา ๔๕ บัญชีของพรรคการเมืองและบัญชีของสาขาพรรคการเมืองประกอบด้วย
(๑) บัญชีรายวันแสดงรายได้หรือรายรับ และแสดงค่าใช้จ่ายหรือรายจ่าย
(๒) บัญชีแสดงรายรับจากการบริจาคตามมาตรา ๕๘
(๓) บัญชีแยกประเภท
(๔) บัญชีแสดงสินทรัพย์และหนี้สิน
การลงรายการบัญชีต้องมีเอกสารประกอบการลงบัญชีที่ถูกต้องสมบูรณ์โดยครบถ้วน
บัญชีตาม (๑) และ (๒) ต้องลงรายการให้แล้วเสร็จภายในสิบห้าวันนับแต่รายการนั้น
เกิดขึ้น
บัญชีตาม (๓) และ (๔) ต้องลงรายการให้แล้วเสร็จภายในสิบห้าวันนับแต่วันสิ้นเดือน
ของเดือนที่รายการนั้นเกิดขึ้น
มาตรา ๔๖ พรรคการเมืองและสาขาพรรคการเมืองต้องปิดบัญชีครั้งแรกภายใน
วันสิ้นปีปฏิทินที่ได้รับการจดทะเบียนจัดตั้งขึ้น และครั้งต่อไปเป็นประจำทุกปีในวันสิ้นปีปฏิทิน
การปิดบัญชีให้จัดทำงบการเงิน ซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วย งบดุลและงบรายได้
และค่าใช้จ่ายของพรรคการเมือง กรณีที่มีสาขาพรรคการเมือง งบการเงินให้รวมถึงงบการเงินของสาขา
พรรคการเมืองทุกสาขาพรรคการเมืองด้วย
งบดุลต้องแสดงรายการ สินทรัพย์ หนี้สิน และทุนของพรรคการเมือง
งบรายได้และค่าใช้จ่ายอย่างน้อยต้องแสดงที่มาของรายได้ ซึ่งได้รับจากเงินบริจาค
เงินสนับสนุนจากรัฐ และรายได้อื่นที่มีกับทางใช้ไปของค่าใช้จ่ายดำเนินการของพรรคการเมือง
โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งต้องแสดงไว้โดยชัดเจน
งบดุลต้องจัดให้มีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตรวจสอบและรับรองการสอบบัญชี
มาตรา ๔๗ งบการเงินที่ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตรวจสอบและรับรองแล้วต้องเสนอที่
ประชุมใหญ่ของพรรคการเมืองอนุมัติภายในเดือนเมษายนของทุกปี โดยแจ้งให้สมาชิกทราบล่วงหน้า
และปิดประกาศไว้ ณ ที่ตั้งสำนักงานของพรรคการเมืองและสาขาพรรคการเมืองไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน
งบการเงินซึ่งที่ประชุมใหญ่ของพรรคการเมืองอนุมัติแล้วตามวรรคหนึ่ง หัวหน้า
พรรคการเมืองต้องรับรองความถูกต้องร่วมกับเหรัญญิกพรรคการเมือง และให้หัวหน้าพรรคการเมือง
ส่งงบการเงินต่อนายทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ที่ประชุมใหญ่ของพรรคการเมืองอนุมัติ
พร้อมทั้งสำเนาบัญชีตามมาตรา ๔๕
เมื่อนายทะเบียนได้รับงบการเงินและสำเนาบัญชีตามวรรคสองแล้ว ให้นายทะเบียน
โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้งคณะบุคคลขึ้นคณะหนึ่งหรือหลายคณะ
เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบงบการเงินตามวรรคสองเสนอต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งเพื่อพิจารณา
และประกาศให้สาธารณชนทราบ
คณะบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งตามวรรคสาม ให้ได้รับค่าตอบแทนตามที่
คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด
มาตรา ๔๘ รายได้และทรัพย์สินที่พรรคการเมืองได้รับตามพระราชบัญญัติประกอบ
รัฐธรรมนูญนี้ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีตามประมวลรัษฎากร
มาตรา ๔๙ ให้หัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมือง มีหน้าที่
ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต่อ
นายทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เข้าดำรงตำแหน่งและภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พ้นจาก
ตำแหน่ง
บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามแบบที่
คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด
ในกรณีที่บุคคลตามวรรคหนึ่งได้ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตน
คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะตามกฎหมายอื่นแล้ว บุคคลนั้นอาจส่งสำเนาบัญชีแสดงรายการ
ทรัพย์สินและหนี้สินที่ยื่นไว้ตามกฎหมายอื่นนั้นต่อนายทะเบียนแทนก็ได้
มาตรา ๕๐ เมื่อได้มีการประกาศพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎร คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองต้องควบคุมพรรคการเมืองไม่ให้ใช้จ่ายเกี่ยวกับ
การเลือกตั้งของพรรคการเมืองนั้นเกินวงเงินที่นายทะเบียนกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ
การเลือกตั้ง และควบคุมไม่ให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคการเมืองใช้จ่ายเกี่ยวกับการเลือกตั้ง
เกินวงเงินตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน
ราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา
มาตรา ๕๑ ให้คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองจัดสรรเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่าย
เกี่ยวกับการเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคการเมือง ดังนี้
(๑) ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วนให้จัดสรร
เป็นจำนวนรวม โดยพิจารณาตามจำนวนผู้สมัครรับเลือกตั้งที่พรรคการเมืองเสนอไว้ในบัญชีรายชื่อ
แต่ละบัญชีที่ยื่นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง
(๒) ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง
ให้จัดสรรให้แก่ผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคการเมืองเป็นรายบุคคล
ค่าใช้จ่ายที่จัดสรรตาม (๑) และ (๒) ให้เป็นไปตามมติของที่ประชุมคณะกรรมการ
บริหารพรรคการเมือง
ห้ามมิให้คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองจัดสรรเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับ
การเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคการเมืองตาม (๑) และ (๒) เกินกว่าจำนวนที่กำหนดไว้
ในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิก
วุฒิสภา
ส่วนที่ ๒
รายได้พรรคการเมือง
มาตรา ๕๒ รายได้ของพรรคการเมืองจากการเก็บค่าธรรมเนียมการรับสมัครสมาชิก
พรรคการเมือง และค่าบำรุงพรรคการเมืองให้เป็นไปตามข้อบังคับของแต่ละพรรคการเมือง
มาตรา ๕๓ การหารายได้จากการจัดกิจกรรมหาทุนของพรรคการเมืองต้องกระทำ
โดยเปิดเผยและแสดงวัตถุประสงค์ว่าเป็นการหาทุนของพรรคการเมืองอย่างชัดเจน ทั้งนี้ เมื่อพรรค
การเมืองดำเนินกิจกรรมหาทุนในแต่ละครั้งเสร็จเรียบร้อยแล้วจะต้องรายงานรายได้ที่หาได้และ
กิจกรรมที่จัดขึ้นต่อนายทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่จัดกิจกรรมดังกล่าว
ส่วนที่ ๓
การบริจาคแก่พรรคการเมือง
มาตรา ๕๔ การบริจาคแก่พรรคการเมืองตั้งแต่ห้าพันบาทขึ้นไป ให้กระทำโดย
เปิดเผยตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด
มาตรา ๕๕ การบริจาคแก่พรรคการเมืองตั้งแต่สองหมื่นบาทขึ้นไป จะต้องบริจาค
โดยวิธีการสั่งจ่ายเป็นตั๋วแลกเงิน หรือเช็คขีดคร่อม
มาตรา ๕๖ เมื่อมีการบริจาคแก่พรรคการเมือง ให้พรรคการเมืองออกหลักฐานการรับ
บริจาคให้แก่ผู้บริจาคตามแบบที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด
เมื่อมีการบริจาคแก่พรรคการเมือง ให้หัวหน้าพรรคการเมือง กรรมการบริหารพรรค
การเมือง กรรมการสาขาพรรคการเมือง หรือสมาชิกพรรคการเมือง ซึ่งเป็นผู้ที่รับเงินบริจาคต้องจัดทำ
บันทึกการรับบริจาคไว้เป็นหลักฐาน และจัดส่งบันทึกการรับบริจาคของพรรคการเมืองพร้อมเงิน
ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดที่อาจคำนวณเป็นเงินได้ รวมทั้งเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ให้แก่พรรค
การเมือง เพื่อนำส่งเข้าบัญชีแสดงรายรับจากการบริจาคของพรรคการเมืองไว้ก่อนภายในเจ็ดวันนับแต่
วันที่ได้รับบริจาค
ในกรณีการบริจาคเป็นเงินสด ให้หัวหน้าพรรคการเมืองและเหรัญญิกพรรคการเมือง
นำไปฝากไว้กับธนาคารพาณิชย์ โดยระบุชื่อเจ้าของบัญชีในนามของพรรคการเมืองนั้น แล้วออก
ใบเสร็จรับเงินให้แก่ผู้บริจาคไว้เป็นหลักฐานภายในวันที่ได้รับบันทึกการบริจาค
ในกรณีการบริจาคเงินโดยวิธีการสั่งจ่ายเป็นตั๋วแลกเงิน หรือเช็คขีดคร่อม
ให้หัวหน้าพรรคการเมือง และเหรัญญิกพรรคการเมือง นำส่งเข้าบัญชีเงินฝากของพรรคการเมือง
ตามวรรคสาม เมื่อตั๋วแลกเงินหรือเช็คขีดคร่อมดังกล่าวไม่ถูกปฏิเสธการจ่ายเงิน ให้พรรคการเมือง
ออกใบเสร็จรับเงินให้แก่ผู้บริจาคไว้เป็นหลักฐานภายในวันที่ที่มีรายการนั้นเกิดขึ้น
เมื่อพรรคการเมืองได้รับเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดที่อาจคำนวณเป็นเงิน
ได้จากการบริจาคแล้ว ให้ลงรายการการรับบริจาคในบัญชีแสดงรายรับจากการบริจาคของพรรค
การเมืองให้แล้วเสร็จภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่รายการนั้นเกิดขึ้น และให้จัดส่งใบเสร็จรับเงิน
หรือหลักฐานการรับบริจาคให้แก่ผู้บริจาคภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ออกใบเสร็จรับเงินหรือหลักฐาน
การรับบริจาค
ในกรณีที่มีการบริจาคให้แก่พรรคการเมือง ให้หัวหน้าพรรคการเมืองจัดทำประกาศ
บัญชีรายชื่อผู้บริจาค และจำนวนเงิน รายการทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดที่อาจคำนวณเป็นเงินได้
ที่ได้รับบริจาคในแต่ละสัปดาห์ให้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริงให้แล้วเสร็จภายในวันทำการวันแรก
ของสัปดาห์ถัดมา แล้วปิดประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของพรรคการเมืองเป็นเวลา
ไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน และจัดส่งประกาศดังกล่าวให้นายทะเบียนทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่
ประกาศ
มาตรา ๕๗ ผู้บริจาคเงินแก่พรรคการเมืองมีสิทธินำจำนวนเงินที่บริจาคไปหัก
เป็นค่าลดหย่อนตามที่กำหนดในประมวลรัษฎากรได้
มาตรา ๕๘ ให้หัวหน้าพรรคการเมืองจัดให้มีบัญชีแสดงรายรับจากการบริจาค
ซึ่งต้องมีรายการ ดังต่อไปนี้
(๑) ชื่อ ที่อยู่ จำนวนเงิน และรายการทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดที่อาจคำนวณ
เป็นเงินได้ของผู้บริจาคทุกราย ในกรณีที่เป็นการบริจาคผ่านทางสมาชิกให้ระบุชื่อสมาชิกผู้รับ
การบริจาคด้วย
(๒) วัน เดือน ปี ที่รับบริจาค
(๓) สำเนาหลักฐานการรับบริจาค
ในกรณีที่การบริจาคเป็นการให้หรือให้ใช้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดที่อาจ
คำนวณเป็นเงินได้ ให้คิดมูลค่าโดยคำนวณตามอัตราค่าเช่าหรือค่าตอบแทนตามปกติในท้องที่นั้นหรือ
ค่าของสิทธินั้นก่อนจึงบันทึกลงในบัญชี และในกรณีที่ไม่อาจคิดมูลค่าได้ให้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับ
ทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นนั้นให้ชัดเจนเท่าที่จะกระทำได้
มาตรา ๕๙ หัวหน้าพรรคการเมือง กรรมการบริหารพรรคการเมือง กรรมการสาขา
พรรคการเมือง และสมาชิกซึ่งได้รับการบริจาคต้องนำส่งเข้าบัญชีแสดงรายรับจากการบริจาคตาม
มาตรา ๕๘ ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับการบริจาค
มาตรา ๖๐ บรรดาเงินที่พรรคการเมืองได้รับการบริจาคมา ให้หัวหน้าพรรคการเมือง
และเหรัญญิกพรรคการเมืองนำไปฝากไว้กับธนาคารพาณิชย์โดยระบุชื่อเจ้าของบัญชีในนามของ
พรรคการเมืองนั้น
ในกรณีที่หัวหน้าพรรคการเมืองและเหรัญญิกพรรคการเมืองนำเงินไปฝากไว้กับ
ธนาคารพาณิชย์ ให้หัวหน้าพรรคการเมืองแจ้งหมายเลขบัญชีของบัญชีเงินฝากและจำนวนเงินที่เปิด
บัญชีของทุกบัญชี พร้อมทั้งส่งสำเนาบัญชีเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์รับรองแก่นายทะเบียนภายใน
เจ็ดวันนับแต่วันที่ได้เปิดบัญชี
มาตรา ๖๑ ห้ามมิให้หัวหน้าพรรคการเมือง กรรมการบริหารพรรคการเมือง
กรรมการสาขาพรรคการเมืองหรือสมาชิกพรรคการเมืองผู้ใดรับเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด
ที่เป็นการบริจาคโดยไม่เปิดเผย
มาตรา ๖๒ ห้ามมิให้พรรคการเมืองหรือสมาชิกผู้ใด รับเงิน ทรัพย์สินหรือประโยชน์
อื่นใดจากผู้ใด เพื่อกระทำการหรือสนับสนุนการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของ
ราชอาณาจักร ราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดิน หรือกระทำการอันเป็นการ
ก่อกวนหรือคุกคามความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือกระทำการอันเป็นการ
ทำลายทรัพยากรของประเทศ หรือเป็นการบั่นทอนสุขภาพอนามัยของประชาชน
มาตรา ๖๓ ห้ามมิให้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลบริจาคให้แก่พรรคการเมือง
เกินกว่าห้าสิบล้านบาทต่อปี
ในกรณีที่นิติบุคคลบริจาคให้แก่พรรคการเมืองตั้งแต่หนึ่งล้านบาทขึ้นไป จะต้อง
ได้รับอนุมัติโดยมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของนิติบุคคลนั้นหรือสมาชิกของนิติบุคคลนั้น
ห้ามมิให้หัวหน้าพรรคการเมือง กรรมการบริหารพรรคการเมือง กรรมการสาขาพรรค
การเมือง หรือสมาชิกพรรคการเมืองผู้ใดรับบริจาคจากบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลเกินกว่าจำนวน
ที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่ง
มาตรา ๖๔ ห้ามมิให้พรรคการเมืองหรือสมาชิกผู้ใดรับเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์
อื่นใดเพื่อดำเนินกิจการของพรรคการเมืองจาก
(๑) บุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทย
(๒) นิติบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจหรือกิจการหรือจดทะเบียน
สาขาอยู่ในหรือนอกราชอาณาจักร
(๓) นิติบุคคลที่จดทะเบียนในราชอาณาจักร ซึ่งมีบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยมีทุนหรือ
เป็นผู้ถือหุ้น
(๔) องค์การหรือนิติบุคคลที่ได้รับทุนหรือได้รับเงินอุดหนุนจากต่างประเทศ ซึ่งมี
วัตถุประสงค์ดำเนินกิจการเพื่อประโยชน์ของบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทย หรือมีผู้จัดการ หรือกรรมการ
เป็นบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทย
(๕) บุคคล องค์การ หรือนิติบุคคลที่ได้รับเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด
เพื่อดำเนินกิจการของพรรคการเมืองหรือเพื่อดำเนินกิจการในทางการเมืองจากบุคคล องค์การ หรือ
นิติบุคคลตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔)
(๖) บุคคล องค์การ หรือนิติบุคคลตามที่กำหนดในประกาศของคณะกรรมการ
การเลือกตั้ง
มาตรา ๖๕ ห้ามมิให้บุคคล องค์การ หรือนิติบุคคลตามมาตรา ๖๔ บริจาคเงิน
ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดแก่พรรคการเมืองหรือสมาชิกผู้ใดเพื่อดำเนินกิจการของพรรคการเมือง
หรือเพื่อดำเนินกิจการในทางการเมือง
มาตรา ๖๖ ห้ามมิให้ราชการส่วนท้องถิ่น นิติบุคคลที่เป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมาย
ว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือกิจการที่รัฐถือหุ้นใหญ่ หรือนิติบุคคลอื่นตามที่กำหนดในประกาศ
ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง บริจาคเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดแก่พรรคการเมือง
มาตรา ๖๗ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการเกี่ยวกับการบริจาคแก่พรรคการเมือง
ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจกำหนด
มาตรการและวิธีการควบคุมการได้รับการบริจาคของพรรคการเมืองให้เป็นไปโดยเปิดเผย และให้มี
อำนาจตรวจสอบความถูกต้องของการบริจาคแก่พรรคการเมือง รวมทั้งให้มีอำนาจออกคำสั่งตามที่
เห็นสมควรเพื่อให้พรรคการเมืองปฏิบัติให้เป็นไปโดยถูกต้อง
ให้พรรคการเมืองมีหน้าที่ปฏิบัติให้เป็นไปตามคำสั่งของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
ส่วนที่ ๔
การสนับสนุนพรรคการเมืองโดยรัฐ
มาตรา ๖๘ ให้มีกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมืองในสำนักงานคณะกรรมการ
การเลือกตั้ง เพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนและใช้จ่ายในการสนับสนุนพรรคการเมืองและการดำเนินการ
อื่นใดที่เกี่ยวกับการพัฒนาพรรคการเมืองตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด โดยกองทุน
ประกอบด้วยเงินและทรัพย์สินดังต่อไปนี้
(๑) เงินที่ได้รับจากงบประมาณรายจ่าย
(๒) เงินค่าธรรมเนียมการสมัครรับเลือกตั้งตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ
ว่าดว้ ยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการไดม้ ซึ่งสมาชิกวุฒิสภา
(๓) เงินค่าปรับที่ได้รับจากการลงโทษผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบ
รัฐธรรมนูญนี้
(๔) เงินหรือทรัพย์สินที่พรรคการเมืองได้รับโดยฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกอบ
รัฐธรรมนูญนี้
(๕) เงินหรือทรัพย์สินที่ตกเป็นของกองทุนตามมาตรา ๘๑
(๖) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้มอบให้เพื่อสมทบกองทุน
(๗) เงินดอกผลของกองทุน
(๘) เงินรายรับอื่น
การส่งเงินค่าปรับตาม (๓) หรือเงินหรือทรัพย์สินตาม (๔) เข้ากองทุน ให้เป็นไป
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด
มาตรา ๖๙ ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจและหน้าที่ในการจัดสรรเงิน
สนับสนุนแก่พรรคการเมือง ควบคุมดูแลการใช้จ่ายเงินทุนหมุนเวียน และพัฒนาพรรคการเมือง
ในการจัดสรรเงินสนับสนุนแก่พรรคการเมืองและควบคุมดูแลกองทุน
ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่งเพื่อทำหน้าที่แทน โดยคณะกรรมการ
ดังกล่าวให้ประกอบด้วย นายทะเบียนเป็นประธานกรรมการ กรรมการการเลือกตั้งซึ่งคณะกรรมการ
การเลือกตั้งมอบหมายหนึ่งคน ผู้แทนกระทรวงการคลังหนึ่งคน ผู้แทนสำนักงบประมาณหนึ่งคน
ผู้แทนของพรรคการเมืองในสภาผู้แทนราษฎรที่สมาชิกในสังกัดของพรรคตนดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี
ซึ่งเลือกกันเองจำนวนหนึ่งคน ผู้แทนพรรคการเมืองในสภาผู้แทนราษฎรที่สมาชิกในสังกัดของพรรค
ตนมิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ซึ่งเลือกกันเองจำนวนหนึ่งคน และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนหนึ่งคน
เป็นกรรมการ และให้เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นกรรมการและเลขานุการ
วาระการดำรงตำแหน่งและการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการซึ่งเป็นผู้แทนของ
พรรคการเมือง และการประชุมของคณะกรรมการตามวรรคสอง ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการ
การเลือกตั้งกำหนด
ในกรณีที่ไม่มีกรรมการครบองค์ประกอบคณะกรรมการตามวรรคสองให้คณะกรรมการ
ประกอบด้วยกรรมการเท่าที่มีอยู่
ในการดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาพรรคการเมืองตามวรรคหนึ่ง คณะกรรมการ
การเลือกตั้งอาจใช้เงินกองทุนเพื่อจัดตั้งสถาบันเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกตั้ง การเมือง
การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญกับสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น กรรมการบริหารพรรค
การเมือง หรือบุคลากรของพรรคการเมือง รวมถึงประชาชนโดยทั่วไป ทั้งนี้ หลักเกณฑ์และวิธีการ
ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด
มาตรา ๗๐ ในการจัดสรรเงินสนับสนุนแก่พรรคการเมืองให้จัดสรรเป็นรายปี
ให้แก่พรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป
ครั้งหลังสุด โดยได้รับคะแนนเสียงจากบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองในการเลือกตั้งแบบสัดส่วน
ไม่น้อยกว่าร้อยละศูนย์จุดห้าของคะแนนเสียงผู้มาใช้สิทธิในการเลือกตั้งแบบสัดส่วนทุกกลุ่มจังหวัด
หรือได้รับคะแนนเสียงจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ไม่น้อยกว่าร้อยละศูนย์จุดห้าของคะแนน
เสียงผู้มาใช้สิทธิในการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งทั้งประเทศ
การจัดสรรเงินให้แก่พรรคการเมืองที่มีสิทธิได้รับการจัดสรรเงินสนับสนุน
ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดสรรโดยจัดสรรเงินตามจำนวนคะแนนเสียงจากการเลือกตั้งแบบ
สัดส่วน ร้อยละสี่สิบของจำนวนเงินทั้งหมดที่รัฐจัดสรร คะแนนเสียงจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต
เลือกตั้ง ร้อยละสี่สิบของจำนวนเงินทั้งหมดที่รัฐจัดสรร สาขาพรรคการเมือง ร้อยละสิบของจำนวนเงิน
ทั้งหมดที่รัฐจัดสรร และจำนวนสมาชิกพรรคการเมือง ร้อยละสิบของจำนวนเงินทั้งหมดที่รัฐจัดสรร
ทั้งนี้ตามหลักเกณฑแ ละวิธีการที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศกำหนด
ในกรณีที่เป็นพรรคการเมืองที่จัดตั้งขึ้นใหม่และยังไม่เคยส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปครั้งหลังสุด ให้จัดสรรเงินสนับสนุนตาม
โครงการและแผนงานในการดำเนินกิจการของพรรคการเมืองดังกล่าวที่ยื่นต่อคณะกรรมการ
การเลือกตั้ง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศกำหนด
มาตรา ๗๑ ให้พรรคการเมืองที่มีสิทธิได้รับเงินสนับสนุนตามมาตรา ๗๐ จัดทำ
แผนการดำเนินงานของพรรคการเมืองในแต่ละปี ยื่นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง ตามหลักเกณฑ์
และวิธีการที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด
ให้พรรคการเมืองใช้จ่ายเงินสนับสนุนเป็นจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของเงิน
สนับสนุนที่พรรคการเมืองได้รับเพื่อการบริหารพรรคการเมืองและสาขาพรรคการเมือง การหาสมาชิก
เพิ่ม การใช้จ่ายในการเลือกตั้งและการให้ความรู้ทางการเมืองแก่สมาชิกและประชาชนทั่วไป
ให้สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งจัดให้มีการติดตามประเมินผลการดำเนิน
กิจการของพรรคการเมืองเพื่อให้เป็นไปตามแผนการดำเนินงานที่ได้ยื่นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง
มาตรา ๗๒ ให้นายทะเบียนประสานงานกับผู้มีหน้าที่รับผิดชอบสถานีวิทยุ
กระจายเสียง และสถานีวิทยุโทรทัศน์ของรัฐให้จัดสรรเวลาออกอากาศให้แก่พรรคการเมืองที่มีสมาชิก
ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกพรรค โดยคำนึงถึงจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ของแต่ละพรรคการเมืองเพื่อให้แถลงผลงานของพรรคการเมืองปีหนึ่งไม่น้อยกว่าสามครั้งโดยไม่คิด
ค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศกำหนด
มาตรา ๗๓ คณะกรรมการการเลือกตั้งอาจกำหนดให้พรรคการเมืองได้รับการ
สนับสนุนในเรื่องค่าไปรษณียากร ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสาธารณูปโภค และด้านอื่น ๆ เพื่อดำเนินกิจการ
ในทางการเมืองอย่างเท่าเทียมกันตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศ
กำหนด
มาตรา ๗๔ พรรคการเมืองที่ได้รับเงินสนับสนุนต้องใช้จ่ายเงินสนับสนุนให้เป็นไป
ตามที่บัญญัติไว้ในส่วนนี้ และจะต้องจัดทำรายงานการใช้จ่ายเงินสนับสนุนของพรรคการเมือง
ในรอบปีปฏิทินให้ถูกต้องตามความเป็นจริงและยื่นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งภายในเดือนมีนาคม
ของปีถัดไป
มาตรา ๗๕ ในกรณีที่พรรคการเมืองใดได้รับเงินสนับสนุนไปแล้ว ถ้าต่อมา
ปรากฏต่อนายทะเบียนว่าพรรคการเมืองนั้นไม่ดำเนินการตามมาตรา ๔๔ มาตรา ๔๕ มาตรา ๔๖
หรือมาตรา ๔๗ ให้นายทะเบียนเรียกคืนเงินสนับสนุนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมายและ
ให้นายทะเบียนนำเงินสนับสนุนที่เรียกคืนส่งเข้ากองทุน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการ
การเลือกตั้งประกาศกำหนด
มาตรา ๗๖ พรรคการเมืองใดได้รับเงินสนับสนุนไปแล้ว ภายหลังปรากฏว่ามีเหตุ
ต้องเลิกหรือยุบพรรคการเมืองตามหมวด ๔ ให้พรรคการเมืองนั้นคืนเงินสนับสนุนแก่กองทุนตาม
หลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด
หมวด ๔
การเลิกหรือยุบพรรคการเมือง
ส่วนที่ ๑
การเลิกพรรคการเมือง
มาตรา ๗๗ พรรคการเมืองย่อมเลิกด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(๑) มีเหตุต้องเลิกตามข้อบังคับของพรรคการเมือง ทั้งนี้ ภายใต้บังคับ
มาตรา ๗๘ (๑)
(๒) มีจำนวนสมาชิกเหลือไม่ถึงห้าพันคนหรือมีสมาชิกซึ่งมีที่อยู่ในจังหวัดต่าง ๆ
จังหวัดละห้าสิบคนไม่ถึงสองจังหวัดของแต่ละกลุ่มจังหวัด ทั้งนี้ เป็นเวลาติดต่อกันหกเดือน
(๓) ไม่ส่งสมาชิกลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้ง
ทั่วไปเกินสองครั้งติดต่อกัน
(๔) มีการยุบพรรคการเมืองไปรวมกับพรรคการเมืองอื่นตามหมวด ๕
(๕) มีคำสั่งคณะกรรมการการเลือกตั้งเลิกพรรคการเมือง
เมื่อปรากฏต่อนายทะเบียนว่าพรรคการเมืองใดมีเหตุตามที่ระบุไว้ใน (๑) (๒) (๓)
หรือ (๔) ให้นายทะเบียนดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริง ถ้าเห็นว่ามีเหตุดังกล่าวเกิดขึ้นกับ
พรรคการเมืองจริง ให้นายทะเบียนโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งสั่งเลิก
พรรคการเมือง
เมื่อนายทะเบียนมีคำสั่งเลิกพรรคการเมืองใดตามวรรคสองแล้ว ให้นายทะเบียน
ประกาศคำสั่งเลิกพรรคการเมืองในราชกิจจานุเบกษา
ส่วนที่ ๒
การยุบพรรคการเมือง
มาตรา ๗๘ พรรคการเมืองย่อมยุบด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(๑) มีเหตุต้องเลิกตามข้อบังคับของพรรคการเมือง ในกรณีที่พรรคการเมืองนั้น
ยังมีสมาชิกพรรคที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอยู่
(๒) ไม่ดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรา ๗๔
เมื่อปรากฏต่อนายทะเบียนว่าพรรคการเมืองใดมีเหตุตามที่ระบุไว้ใน (๑) หรือ (๒)
ให้นายทะเบียนโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน
สิบห้าวันนับแต่วันที่ความปรากฏต่อนายทะเบียน เมื่อศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้วเห็นว่ามีเหตุ
ดังกล่าวเกิดขึ้นกับพรรคการเมืองตามคำร้องของนายทะเบียน ให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้ยุบพรรค
การเมืองนั้น
ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมืองใดแล้ว ให้นายทะเบียนประกาศ
คำสั่งยุบพรรคการเมืองนั้นในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๗๙ เมื่อพรรคการเมืองกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ อาจถูก
ศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคการเมือง
(๑) กระทำการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์
ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการ
ซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
(๒) กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา หรือระเบียบหรือประกาศของคณะกรรมการ
การเลือกตั้ง ซึ่งมีผลทำให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม
(๓) กระทำการอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ
(๔) กระทำการอันเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐทั้งภายในและภายนอกราชอาณาจักร
กระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรม
อันดีของประชาชน หรือ
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ