กรุงเทพ--9 ก.ค.--ศูนย์ข่าว ส.ส.ร.
การประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญวันนี้ (9 กรกฎาคม 2540) เริ่มเข้าสู่การพิจารณาร่างฯ หมวดสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย โดยสมาชิกได้อภิปรายกันอย่างกว้างขวาง ในส่วนที่กำหนดถึงสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย ซึ่งก่อนหน้านี้คณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญได้ระบุเพิ่มเติมไว้ตอนท้ายประโยคว่า โดยต้องไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การทรมาน ทารุณกรรม ลงโทษด้วยวิธีการโหดร้าย หรือไร้มนุษยธรรมจะกระทำมิได้นั้น สมาชิกได้แสดงความคิดเห็นกันอย่างหลากหลายว่า การบัญญัติเช่นนั้นจะส่งผลต่อการกำหนดบทลงโทษทางกฎหมายหรือไม่ โดยเฉพาะโทษประหารชีวิตจะต้องถูกยกเลิกไปโดยปริยายหรือไม่ เพราะอาจถูกตีความได้ว่าเป็นบทลงโทษที่โหดร้าย
ทางด้านนายพนัส ทัศนียานนท์ ส.ส.ร.จังหวัดตาก จึงเสนอว่าน่าจะระบุไว้ในร่างรัฐธรรมนูญให้บทลงโทษประหารชีวิตสามารถกระทำได้ตามกฎหมายเพื่อป้องกันไม่ให้ถูกตีความเป็นอื่น ส่วนนายพงษ์เทพ เทพกาญจนา ผู้ช่วยเลขานุการฯ ชี้แจงว่าบทบัญญัติคำกล่าวเป็นข้อห้ามที่รัฐไม่อาจกระทำต่อประชาชน อันจะเป็นการล่วงละเมิดสิทธิเสรีภาพ ส่วนการลงโทษนั้น รัฐจะต้องกำหนดบทลงโทษให้เหมาะสมกับการกระทำผิด หากโทษรุนแรงเกินกว่าเหตุก็ถือว่าเป็นการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้าย ขณะเดียวกัน นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขานุการ กล่าวว่าการบัญญัติเช่นนี้ในร่างฯ เจ้าพนักงานตำรวจจะไม่สามารถกระทำการวิสามัญฆาตกรรมได้อีกต่อไป เว้นแต่เป็นการป้องกันตัว แต่ก็จะต้องเป็นการป้องกันตัวที่สมควรกับเหตุ อย่างไรก็ตามเพื่อไม่ให้เกิดการตีความที่คลาดเคลื่อน ทางคณะกรรมาธิการเห็นว่าข้อความในบางส่วนที่มี ส.ส.ร.แสดงความลังเลใจ สามารถตัดข้อความดังกล่าวออกได้ พร้อมที่จะปรับปรุงถ้อยคำที่สมาชิกท้วงติงว่าบทบัญญัติของร่างฯ อาจส่งผลให้โทษประหารชีวิตถูกยกเลิกได้ โดยได้แก้ไขจนเหลือข้อความดังต่อไปนี้
มาตรา 30 บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย การทรมาน ทารุณกรรมหรือการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรมจะกระทำมิได้ แต่การลงโทษประหารชีวิตตามที่กฎหมายบัญญัติ ไม่ถือเป็นการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้าย หรือไร้มนุษยธรรม
การจับกุม คุมขัง ตรวจค้นตัวบุคคล หรือการกระทำใดอันกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
ส่วนมาตรา 32 ที่กล่าวถึงคดีอาญา ซึ่งตามร่างรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ว่า "ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด" นายประชุม ทองมี ส.ส.ร.จังหวัดนครปฐม ในฐานะกรรมาธิการเสียงข้างน้อยที่ขอสงวนความเห็นไว้ได้ลุกขึ้นอภิปรายว่า ควรเปลี่ยนถ้อยคำจากคำว่า "ให้" เป็นคำว่า "ต้อง" แทน เพื่อให้มีสภาพบังคับอย่างแท้จริง ทั้งนี้ภายหลังการลงมติเสียงส่วนใหญ่เห็นชอบให้แก้ไขตามข้อเสนอของนายประชุม ดังกล่าว
สำหรับมาตรา 33 ซึ่งได้กล่าวถึง สิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง หรือความเป็นอยู่ส่วนตัวจะต้องได้รับความคุ้มครอง โดยที่การกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายด้วยข้อความหรือภาพ หรือไม่ว่าด้วยวิธีการใดไปยังสาธารณชน ที่จะเป็นการกระทบถึงสิทธินั้น ตามร่างรัฐธรรมนูญ ได้กำหนดไว้ว่าจะกระทำมิได้ เว้นแต่กรณีที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนนั้นก็ได้มี ส.ส.ร. หลายคนอภิปรายทักท้วง ทั้งนายเสรี สุวรรณภานนท์ ส.ส.ร.กรุงเทพฯ และนายสมเกียรติ อ่อนวิมล ส.ส.ร.จังหวัดสุพรรณบุรี ต่างเห็นตรงกันว่า การกล่าวหรือไขข่าวไปยังสาธารณชน หากกระทบสิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียงหรือความเป็นอยู่ส่วนตัว ไม่ว่ากรณีใด ต้องถือว่ากระทำมิได้โดยไม่มีการยกเว้น ขณะที่ทางคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ ผู้ช่วยเลขานุการฯ ชี้แจงว่า การบัญญัติไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ โดยเปิดกว้างให้สามารถกระทำได้ ถ้าเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนก็เพื่อเปิดโอกาสให้การตรวจสอบบุคคลสาธารณะ เช่นนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีกระทำได้โดยง่าย อย่างไรก็ตามที่ประชุมยังไม่ได้ข้อยุติในมาตราดังกล่าวโดยประธานในที่ประชุมนายกระมล ทองธรรมชาติ รองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ ขอเลื่อนไปพิจารณาต่อในวันพรุ่งนี้ (10 กรกฎาคม 2540)--จบ--
การประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญวันนี้ (9 กรกฎาคม 2540) เริ่มเข้าสู่การพิจารณาร่างฯ หมวดสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย โดยสมาชิกได้อภิปรายกันอย่างกว้างขวาง ในส่วนที่กำหนดถึงสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย ซึ่งก่อนหน้านี้คณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญได้ระบุเพิ่มเติมไว้ตอนท้ายประโยคว่า โดยต้องไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การทรมาน ทารุณกรรม ลงโทษด้วยวิธีการโหดร้าย หรือไร้มนุษยธรรมจะกระทำมิได้นั้น สมาชิกได้แสดงความคิดเห็นกันอย่างหลากหลายว่า การบัญญัติเช่นนั้นจะส่งผลต่อการกำหนดบทลงโทษทางกฎหมายหรือไม่ โดยเฉพาะโทษประหารชีวิตจะต้องถูกยกเลิกไปโดยปริยายหรือไม่ เพราะอาจถูกตีความได้ว่าเป็นบทลงโทษที่โหดร้าย
ทางด้านนายพนัส ทัศนียานนท์ ส.ส.ร.จังหวัดตาก จึงเสนอว่าน่าจะระบุไว้ในร่างรัฐธรรมนูญให้บทลงโทษประหารชีวิตสามารถกระทำได้ตามกฎหมายเพื่อป้องกันไม่ให้ถูกตีความเป็นอื่น ส่วนนายพงษ์เทพ เทพกาญจนา ผู้ช่วยเลขานุการฯ ชี้แจงว่าบทบัญญัติคำกล่าวเป็นข้อห้ามที่รัฐไม่อาจกระทำต่อประชาชน อันจะเป็นการล่วงละเมิดสิทธิเสรีภาพ ส่วนการลงโทษนั้น รัฐจะต้องกำหนดบทลงโทษให้เหมาะสมกับการกระทำผิด หากโทษรุนแรงเกินกว่าเหตุก็ถือว่าเป็นการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้าย ขณะเดียวกัน นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขานุการ กล่าวว่าการบัญญัติเช่นนี้ในร่างฯ เจ้าพนักงานตำรวจจะไม่สามารถกระทำการวิสามัญฆาตกรรมได้อีกต่อไป เว้นแต่เป็นการป้องกันตัว แต่ก็จะต้องเป็นการป้องกันตัวที่สมควรกับเหตุ อย่างไรก็ตามเพื่อไม่ให้เกิดการตีความที่คลาดเคลื่อน ทางคณะกรรมาธิการเห็นว่าข้อความในบางส่วนที่มี ส.ส.ร.แสดงความลังเลใจ สามารถตัดข้อความดังกล่าวออกได้ พร้อมที่จะปรับปรุงถ้อยคำที่สมาชิกท้วงติงว่าบทบัญญัติของร่างฯ อาจส่งผลให้โทษประหารชีวิตถูกยกเลิกได้ โดยได้แก้ไขจนเหลือข้อความดังต่อไปนี้
มาตรา 30 บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย การทรมาน ทารุณกรรมหรือการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรมจะกระทำมิได้ แต่การลงโทษประหารชีวิตตามที่กฎหมายบัญญัติ ไม่ถือเป็นการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้าย หรือไร้มนุษยธรรม
การจับกุม คุมขัง ตรวจค้นตัวบุคคล หรือการกระทำใดอันกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
ส่วนมาตรา 32 ที่กล่าวถึงคดีอาญา ซึ่งตามร่างรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ว่า "ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด" นายประชุม ทองมี ส.ส.ร.จังหวัดนครปฐม ในฐานะกรรมาธิการเสียงข้างน้อยที่ขอสงวนความเห็นไว้ได้ลุกขึ้นอภิปรายว่า ควรเปลี่ยนถ้อยคำจากคำว่า "ให้" เป็นคำว่า "ต้อง" แทน เพื่อให้มีสภาพบังคับอย่างแท้จริง ทั้งนี้ภายหลังการลงมติเสียงส่วนใหญ่เห็นชอบให้แก้ไขตามข้อเสนอของนายประชุม ดังกล่าว
สำหรับมาตรา 33 ซึ่งได้กล่าวถึง สิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง หรือความเป็นอยู่ส่วนตัวจะต้องได้รับความคุ้มครอง โดยที่การกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายด้วยข้อความหรือภาพ หรือไม่ว่าด้วยวิธีการใดไปยังสาธารณชน ที่จะเป็นการกระทบถึงสิทธินั้น ตามร่างรัฐธรรมนูญ ได้กำหนดไว้ว่าจะกระทำมิได้ เว้นแต่กรณีที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนนั้นก็ได้มี ส.ส.ร. หลายคนอภิปรายทักท้วง ทั้งนายเสรี สุวรรณภานนท์ ส.ส.ร.กรุงเทพฯ และนายสมเกียรติ อ่อนวิมล ส.ส.ร.จังหวัดสุพรรณบุรี ต่างเห็นตรงกันว่า การกล่าวหรือไขข่าวไปยังสาธารณชน หากกระทบสิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียงหรือความเป็นอยู่ส่วนตัว ไม่ว่ากรณีใด ต้องถือว่ากระทำมิได้โดยไม่มีการยกเว้น ขณะที่ทางคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ ผู้ช่วยเลขานุการฯ ชี้แจงว่า การบัญญัติไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ โดยเปิดกว้างให้สามารถกระทำได้ ถ้าเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนก็เพื่อเปิดโอกาสให้การตรวจสอบบุคคลสาธารณะ เช่นนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีกระทำได้โดยง่าย อย่างไรก็ตามที่ประชุมยังไม่ได้ข้อยุติในมาตราดังกล่าวโดยประธานในที่ประชุมนายกระมล ทองธรรมชาติ รองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ ขอเลื่อนไปพิจารณาต่อในวันพรุ่งนี้ (10 กรกฎาคม 2540)--จบ--