ร่าง
ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
หมวด 7
คณะรัฐมนตรีและรัฐมนตรี
มาตรา 201 พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนหนึ่ง และรัฐมนตรีอื่นไม่เกินสี่สิบ เก้าคน
นายกรัฐมนตรีต้องแต่งตั้งจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือผู้เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่พ้นจากสมาชิกภาพตามมาตรา 117 (7) ในอายุของสภาผู้แทนราษฎรชุดเช่นเดียวกัน
ในการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ให้ประธานรัฐสภาถวายคำแนะนำตามมติของสภาผู้แทนราษฎร และเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
มาตรา 202 คณะรัฐมนตรีประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอื่นตามมาตรา 201 วรรค หนึ่ง ที่นายกรัฐมนตรีกำหนดจำนวนไม่เกินยี่สิบเก้าคน มีหน้าที่กำหนดและดำเนินนโยบายบริหารราชการ แผ่นดิน
มาตรา 203 ให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคล ซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็น นายกรัฐมนตรีให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อให้สมาชิกได้มาประ ชุมเป็นครั้งแรก
การเสนอชื่อบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีตามวรรคหนึ่งต้องมีสมาชิกสภาผู้ แทนราษฎรไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีของสภาผู้แทนราษฎร รับรอง
มติของสภาผู้แทนราษฎรที่เห็นชอบด้วยในการแต่งตั้งบุคคลใดให้เป็นนายกรัฐมนตรี ต้องมีคะ แนนเสียงเกินกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกเท่าที่มีของสภาผู้แทนราษฎรการลงมติในกรณีเช่นว่านี้ให้กระทำ โดยการลงคะแนนโดยเปิดเผย
มาตรา 204 ในกรณีที่พ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่มีการเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อให้สมาชิก ได้มาประชุมเป็นครั้งแรกแล้ว ไม่ปรากฏว่ามีบุคคลใดได้รับคะแนนเสียงเห็นชอบให้ได้รับแต่งตั้งเป็นนายก รัฐมนตรี ตามมาตรา 203 วรรคสาม ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาดังกล่าว ให้ประธานรัฐ สภาถวายคำแนะนำเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งบุคคลซึ่งได้รับคะแนน เสียงสูงสุดให้เป็นนายกรัฐมนตรี
มาตรา 205 นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีจะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาใน ขณะเดียวกันมิได้
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีหรือสมาชิกวุฒิสภาซึ่ง ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี ให้พ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา แล้วแต่กรณี เมื่อ พ้นสามสิบวันนับแต่วันที่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง
มาตรา 206 ก่อนเข้ารับหน้าที่ รัฐมนตรีต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ด้วยถ้อยคำดัง ต่อไปนี้
"ข้าพระพุทธเจ้า (ชื่อผู้ปฏิญาณ) ขอถวายสัตย์ปฏิญาณว่า ข้าพระพุทธเจ้าจะจงรักภักดีต่อพระ มหากษัตริย์ และจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชน ทั้งจะ รักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ"
มาตรา 207 คณะรัฐมนตรีที่จะเข้าบริหารราชการแผ่นดินต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภาโดยไม่ มีการลงมติความไว้วางใจ ทั้งนี้ ภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันเข้ารับหน้าที่ตามมาตรา 206
มาตรา 208 รัฐมนตรีต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
(1) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
(2) มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปีบริบูรณ์
(3) ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 108 (1)(2)(3)(6)(7)(8)(12) หรือ (14)
(4) ไม่เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกตั้งแต่สองปีขึ้นไป โดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึงห้าปีก่อนได้รับ แต่งตั้ง เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาท
มาตรา 209 รัฐมนตรีจะเป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำนอกจากข้าราชการ การเมืองมิได้
มาตรา 210 รัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งหรือกระทำการใด ๆ ตามที่บัญญัติในมาตรา 109 มิ ได้ เว้นแต่ตำแหน่งที่ต้องดำรงตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย และจะเป็นประธานกรรมการ กรรมการผู้จัด การ ผู้จัดการ หรือดำรงตำแหน่งอื่นใดในห้างหุ้นส่วนบริษัท หรือองค์การใด ๆ ที่ดำเนินธุรกิจโดยมุ่งหา ผลประโยชน์หรือรายได้มาแบ่งปันกันหรือเป็นลูกจ้างของบุคคลใด ๆ ก็มิได้ด้วย
มาตรา 211 รัฐมนตรีย่อมมีสิทธิเข้าประชุมและแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นในที่ ประชุมสภา แต่ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน
เอกสิทธิ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 159 และมาตรา 160 ให้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา 212 ในการบริหารราชการแผ่นดิน รัฐมนตรีต้องดำเนินการตามบทบัญญัติแห่งรัฐ ธรรมนูญกฎหมาย และนโยบายที่ได้แถลงไว้ตามมาตรา 207 และต้องรับผิดชอบต่อสภาผู้แทนราษฎรใน หน้าที่ของตน รวมทั้งต้องรับผิดชอบร่วมกันต่อรัฐสภาในนโยบายทั่วไปของคณะรัฐมนตรี
มาตรา 213 ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินที่คณะรัฐมนตรีเห็นสมควรจะ ฟังความคิดเห็นของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา นายกรัฐมนตรีจะแจ้งไปยังประธานรัฐสภา ขอให้มีการเปิดอภิปรายทั่วไปในที่ประชุมรัฐสภาก็ได้ ในกรณีเช่นว่านี้ รัฐสภาจะลงมติในปัญหาที่อภิปรายมิ ได้
มาตรา 214 รัฐมนตรีทุกคนพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(1) ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงตามมาตรา 215
(2) อายุสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงหรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร
(3) คณะรัฐมนตรีลาออก
คณะรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอื่นที่มิได้เป็นสมาชิกในคณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่ง ต้องอยู่ในตำ แหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอื่นที่มิได้เป็นสมาชิกในคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่ จะเข้ารับหน้าที่ แต่ในกรณีพ้นจากตำแหน่งตาม (2) จะใช้อำนาจแต่งตั้งหรือโยกย้ายข้าราชการประจำ ไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง
มาตรา 215 ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัว เมื่อ
(1) ตาย
(2) ลาออก
(3) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 208
(4) ต้องคำพิพากษาให้จำคุก
(5) สภาผู้แทนราษฎรลงมติไม่ไว้วางใจตามมาตรา 186 หรือมาตรา 187
(6) กระทำการอันต้องห้ามตามมาตรา 210
(7) มีพระบรมราชโองการตามมาตรา 216
(8) รัฐสภามีมติให้ถอดถอนออกจากตำแหน่งตามมาตรา 305
ให้นำบทบัญญัติ มาตรา 94 และมาตรา 95 มาใช้บังคับแก่การสิ้นสุดของความเป็นรัฐมนตรี ตาม (2)(3)(4) หรือ (6)
มาตรา 216 พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐ มนตรีตามที่นายกรัฐมนตรีถวายคำแนะนำ
มาตรา 217 ในกรณีเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัย สาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ พระมหากษัตริย์จะ ทรงตราพระราชกำหนดให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติก็ได้
การตราพระราชกำหนดตามวรรหนึ่ง ให้กระทำได้เฉพาะเมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นว่าเป็นกรณีฉุก เฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้
ในการประชุมรัฐสภาคราวต่อไป ให้คณะรัฐมนตรีเสนอพระราชกำหนดนั้นต่อรัฐสภาเพื่อพิ จารณาโดยไม่ชักช้า ถ้าอยู่นอกสมัยประชุมและการรอการเปิดสมัยประชุมสามัญจะเป็นการชักช้า คณะรัฐ มนตรีต้องดำเนินการให้มีการเรียกประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญเพื่อพิจารณาอนุมัติหรือไม่อนุมัติพระราชกำ หนดโดยเร็ว ถ้าสภาผู้แทนราษฎรไม่อนุมัติหรือสภาผู้แทนราษฎรอนุมัติแต่วุฒิสภาไม่อนุมัติและสภาผู้แทนรา ษฎรยืนยันการอนุมัติด้วยคะแนนเสียงไม่มากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนรา ษฎรให้พระราชกำหนดนั้นตกไป แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนกิจการที่ได้เป็นไปในระหว่างที่ใช้พระราชกำ หนดนั้น
หากพระราชกำหนดตามวรรคหนึ่งมีผลเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ใด และพระราชกำหนดนั้นต้องตกไปตามวรรคสาม ให้บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีอยู่ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติม หรือยกเลิกมีผลใช้บังคับต่อไปนับแต่วันที่การไม่อนุมัติพระราชกำหนดนั้นมีผล
ถ้าสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาอนุมัติพระราชกำหนดนั้น หรือถ้าวุฒิสภาไม่อนุมัติและสภาผู้แทน ราษฎรยืนยันการอนุมัติด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่สภาผู้แทนราษฎร
ให้พระราชกำหนดนั้นมีผลใช้บังคับเป็นพระราชบัญญัติต่อไป
การอนุมัติหรือไม่อนุมัติพระราชกำหนด ให้นายกรัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา ใน กรณีไม่อนุมัติ ให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
การพิจารณาพระราชกำหนดของวุฒิสภาและของสภาผู้แทนราษฎร ในกรณียืนยันการอนุมัติพระ ราชกำหนด จะต้องกระทำในโอกาสแรกที่มีการประชุมสภานั้น ๆ
มาตรา 218 ก่อนที่สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาจะได้อนุมัติพระราชกำหนดใดตามมาตรา 217
วรรคสาม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกสภา ทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา มีสิทธิเข้าชื่อเสนอความเห็นต่อประธานสภาที่ตนเป็นสมาชิกว่าพระราชกำ หนดนั้นไม่เป็นไปตามมาตรา 217 วรรคหนึ่ง และให้ประธานแห่งสภาที่ได้รับความเห็นดังกล่าว ส่งความ เห็นนั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย เมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแล้ว ให้ศาลรัฐธรรมนูญแจ้งคำวินิจฉัย นั้นไปยังประธานแห่งสภาที่ส่งความเห็นนั้นมา
เมื่อประธานสภาผู้แทนราษฎรหรือประธานวุฒิสภาได้รับความเห็นของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภาตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้รอการพิจารณาพระราชกำหนดนั้นไว้ก่อนจนกว่าจะได้รับแจ้งคำ วินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญตามวรรคหนึ่ง
ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าพระราชกำหนดใดไม่เป็นไปตามมาตรา 217 วรรคหนึ่ง ให้พระราชกำหนดนั้นไม่มีผลบังคับมาแต่ต้น
คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญว่าพระราชกำหนดใดไม่เป็นไปตามมาตรา 217 วรรคหนึ่ง ต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้งหมด
มาตรา 219 ในระหว่างสมัยประชุม ถ้ามีความจำเป็นต้องมีกฎหมายเกี่ยวด้วยภาษีอากรหรือ เงินตราซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาโดยด่วนและลับเพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดิน พระมหากษัตริย์จะ ทรงตราพระราชกำหนดให้ใช้บังคับเช่นพระราชบัญญัติก็ได้
พระราชกำหนดที่ได้ตราขึ้นตามวรรคหนึ่ง จะต้องนำเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรภายในสามวันนับ แต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา และให้นำบทบัญญัติมาตรา 217 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา 220 พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการตราพระราชกฤษฎีกาโดยไม่ขัด ต่อกฎหมาย
มาตรา 221 พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการประกาศใช้และเลิกใช้กฎอัย การศึกตามลักษณะและวิธีการตามกฎหมายว่าด้วยกฎอัยการศึก
ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องประกาศใช้กฎอัยการศึกเฉพาะแห่งเป็นการรีบด่วน เจ้าหน้าที่ ฝ่ายทหารย่อมกระทำได้ตามกฎหมายว่าด้วยกฎด้วยอัยการศึก
มาตรา 222 พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการประกาศสงครามเมื่อได้รับ ความเห็นชอบของรัฐสภา
มติให้ความเห็นชอบของรัฐสภาต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกทั้ง หมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา
ในระหว่างที่อายุสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดหรือสภาผู้แทนราษฎรถูกยุบให้วุฒิสภาทำหน้าที่รัฐสภาใน การให้ความเห็นชอบตามวรรคหนึ่ง และการลงมติต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมา ชิกวุฒิสภาทั้งหมดเท่าที่มีอยู่
มาตรา 223 พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการทำหนังสือสัญญาสันติภาพ สัญญา สงบศึก และสัญญาอื่นกับนานาประเทศหรือกับองค์การระหว่างประเทศ
หนังสือสัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทยหรือเขตอำนาจแห่งรัฐ หรือจะต้องออกพระ ราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามสัญญา ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา
มาตรา 224 พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษ
มาตรา 225 พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการถอดถอนฐานันดรศักดิ์และ เรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์
มาตรา 226 พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งข้าราชการฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือนตำแหน่งปลัด กระทรวง อธิบดี และเทียบเท่า และทรงให้พ้นจากตำแหน่ง เว้นแต่กรณีที่พ้นจากตำแหน่งเพราะความ ตาย
มาตรา 227 ข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำและมิใช่ข้าราชการการเมือง จะ เป็นข้าราชการการเมืองมิได้
มาตรา 228 เงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นขององคมนตรี ประธานและ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานและรองประธานวุฒิสภา ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร สมา ชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่น ดินของรัฐสภา กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และกรรมการตรวจเงินแผ่นดินของรัฐ ให้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
มาตรา 229 การจัดตั้ง การโอนหรือการยุบเลิกกระทรวง ทบวง กรมให้ตราเป็นพระราช กฤษฎีกา
พระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่ง ให้ระบุอำนาจหน้าที่ของกระทรวง ทบวง กรม ที่จัดตั้งขึ้น ใหม่ การโอนอำนาจหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายซึ่งหน่วยราชการหรือเจ้าพนักงานที่มีอยู่เดิม การ โอนข้าราชการและงบประมาณรายจ่าย ถ้ามี เอาไว้ด้วย
มาตรา 230 บทกฎหมาย พระราชหัตถเลขา และพระบรมราชโองการใด ๆ อันเกี่ยว กับราชการแผ่นดิน ต้องมีรัฐมนตรีลงนามรับรองสนองพระบรมราชโองการเว้นแต่ที่มีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ในรัฐธรรมนูญนี้
มาตรา 231 บทกฎหมายที่ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้วหรือถือเสมือนหนึ่งว่าได้ทรงลงพระปรมา ภิไธยแล้ว ให้นำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาโดยพลัน แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินเจ็ดวันนับแต่วันที่ทรงลงพระ ปรมาภิไธยหรือนับแต่วันที่ถือว่าได้ทรงลงพระปรมาภิไธย
--คณะกรรมาธิการประชาสัมพันธ์สภาร่างรัฐธรรมนูญ--
ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
หมวด 7
คณะรัฐมนตรีและรัฐมนตรี
มาตรา 201 พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนหนึ่ง และรัฐมนตรีอื่นไม่เกินสี่สิบ เก้าคน
นายกรัฐมนตรีต้องแต่งตั้งจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือผู้เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่พ้นจากสมาชิกภาพตามมาตรา 117 (7) ในอายุของสภาผู้แทนราษฎรชุดเช่นเดียวกัน
ในการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ให้ประธานรัฐสภาถวายคำแนะนำตามมติของสภาผู้แทนราษฎร และเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
มาตรา 202 คณะรัฐมนตรีประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอื่นตามมาตรา 201 วรรค หนึ่ง ที่นายกรัฐมนตรีกำหนดจำนวนไม่เกินยี่สิบเก้าคน มีหน้าที่กำหนดและดำเนินนโยบายบริหารราชการ แผ่นดิน
มาตรา 203 ให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคล ซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็น นายกรัฐมนตรีให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อให้สมาชิกได้มาประ ชุมเป็นครั้งแรก
การเสนอชื่อบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีตามวรรคหนึ่งต้องมีสมาชิกสภาผู้ แทนราษฎรไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีของสภาผู้แทนราษฎร รับรอง
มติของสภาผู้แทนราษฎรที่เห็นชอบด้วยในการแต่งตั้งบุคคลใดให้เป็นนายกรัฐมนตรี ต้องมีคะ แนนเสียงเกินกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกเท่าที่มีของสภาผู้แทนราษฎรการลงมติในกรณีเช่นว่านี้ให้กระทำ โดยการลงคะแนนโดยเปิดเผย
มาตรา 204 ในกรณีที่พ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่มีการเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อให้สมาชิก ได้มาประชุมเป็นครั้งแรกแล้ว ไม่ปรากฏว่ามีบุคคลใดได้รับคะแนนเสียงเห็นชอบให้ได้รับแต่งตั้งเป็นนายก รัฐมนตรี ตามมาตรา 203 วรรคสาม ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาดังกล่าว ให้ประธานรัฐ สภาถวายคำแนะนำเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งบุคคลซึ่งได้รับคะแนน เสียงสูงสุดให้เป็นนายกรัฐมนตรี
มาตรา 205 นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีจะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาใน ขณะเดียวกันมิได้
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีหรือสมาชิกวุฒิสภาซึ่ง ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี ให้พ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา แล้วแต่กรณี เมื่อ พ้นสามสิบวันนับแต่วันที่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง
มาตรา 206 ก่อนเข้ารับหน้าที่ รัฐมนตรีต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ด้วยถ้อยคำดัง ต่อไปนี้
"ข้าพระพุทธเจ้า (ชื่อผู้ปฏิญาณ) ขอถวายสัตย์ปฏิญาณว่า ข้าพระพุทธเจ้าจะจงรักภักดีต่อพระ มหากษัตริย์ และจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชน ทั้งจะ รักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ"
มาตรา 207 คณะรัฐมนตรีที่จะเข้าบริหารราชการแผ่นดินต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภาโดยไม่ มีการลงมติความไว้วางใจ ทั้งนี้ ภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันเข้ารับหน้าที่ตามมาตรา 206
มาตรา 208 รัฐมนตรีต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
(1) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
(2) มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปีบริบูรณ์
(3) ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 108 (1)(2)(3)(6)(7)(8)(12) หรือ (14)
(4) ไม่เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกตั้งแต่สองปีขึ้นไป โดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึงห้าปีก่อนได้รับ แต่งตั้ง เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาท
มาตรา 209 รัฐมนตรีจะเป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำนอกจากข้าราชการ การเมืองมิได้
มาตรา 210 รัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งหรือกระทำการใด ๆ ตามที่บัญญัติในมาตรา 109 มิ ได้ เว้นแต่ตำแหน่งที่ต้องดำรงตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย และจะเป็นประธานกรรมการ กรรมการผู้จัด การ ผู้จัดการ หรือดำรงตำแหน่งอื่นใดในห้างหุ้นส่วนบริษัท หรือองค์การใด ๆ ที่ดำเนินธุรกิจโดยมุ่งหา ผลประโยชน์หรือรายได้มาแบ่งปันกันหรือเป็นลูกจ้างของบุคคลใด ๆ ก็มิได้ด้วย
มาตรา 211 รัฐมนตรีย่อมมีสิทธิเข้าประชุมและแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นในที่ ประชุมสภา แต่ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน
เอกสิทธิ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 159 และมาตรา 160 ให้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา 212 ในการบริหารราชการแผ่นดิน รัฐมนตรีต้องดำเนินการตามบทบัญญัติแห่งรัฐ ธรรมนูญกฎหมาย และนโยบายที่ได้แถลงไว้ตามมาตรา 207 และต้องรับผิดชอบต่อสภาผู้แทนราษฎรใน หน้าที่ของตน รวมทั้งต้องรับผิดชอบร่วมกันต่อรัฐสภาในนโยบายทั่วไปของคณะรัฐมนตรี
มาตรา 213 ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินที่คณะรัฐมนตรีเห็นสมควรจะ ฟังความคิดเห็นของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา นายกรัฐมนตรีจะแจ้งไปยังประธานรัฐสภา ขอให้มีการเปิดอภิปรายทั่วไปในที่ประชุมรัฐสภาก็ได้ ในกรณีเช่นว่านี้ รัฐสภาจะลงมติในปัญหาที่อภิปรายมิ ได้
มาตรา 214 รัฐมนตรีทุกคนพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(1) ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงตามมาตรา 215
(2) อายุสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงหรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร
(3) คณะรัฐมนตรีลาออก
คณะรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอื่นที่มิได้เป็นสมาชิกในคณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่ง ต้องอยู่ในตำ แหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอื่นที่มิได้เป็นสมาชิกในคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่ จะเข้ารับหน้าที่ แต่ในกรณีพ้นจากตำแหน่งตาม (2) จะใช้อำนาจแต่งตั้งหรือโยกย้ายข้าราชการประจำ ไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง
มาตรา 215 ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัว เมื่อ
(1) ตาย
(2) ลาออก
(3) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 208
(4) ต้องคำพิพากษาให้จำคุก
(5) สภาผู้แทนราษฎรลงมติไม่ไว้วางใจตามมาตรา 186 หรือมาตรา 187
(6) กระทำการอันต้องห้ามตามมาตรา 210
(7) มีพระบรมราชโองการตามมาตรา 216
(8) รัฐสภามีมติให้ถอดถอนออกจากตำแหน่งตามมาตรา 305
ให้นำบทบัญญัติ มาตรา 94 และมาตรา 95 มาใช้บังคับแก่การสิ้นสุดของความเป็นรัฐมนตรี ตาม (2)(3)(4) หรือ (6)
มาตรา 216 พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐ มนตรีตามที่นายกรัฐมนตรีถวายคำแนะนำ
มาตรา 217 ในกรณีเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัย สาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ พระมหากษัตริย์จะ ทรงตราพระราชกำหนดให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติก็ได้
การตราพระราชกำหนดตามวรรหนึ่ง ให้กระทำได้เฉพาะเมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นว่าเป็นกรณีฉุก เฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้
ในการประชุมรัฐสภาคราวต่อไป ให้คณะรัฐมนตรีเสนอพระราชกำหนดนั้นต่อรัฐสภาเพื่อพิ จารณาโดยไม่ชักช้า ถ้าอยู่นอกสมัยประชุมและการรอการเปิดสมัยประชุมสามัญจะเป็นการชักช้า คณะรัฐ มนตรีต้องดำเนินการให้มีการเรียกประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญเพื่อพิจารณาอนุมัติหรือไม่อนุมัติพระราชกำ หนดโดยเร็ว ถ้าสภาผู้แทนราษฎรไม่อนุมัติหรือสภาผู้แทนราษฎรอนุมัติแต่วุฒิสภาไม่อนุมัติและสภาผู้แทนรา ษฎรยืนยันการอนุมัติด้วยคะแนนเสียงไม่มากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนรา ษฎรให้พระราชกำหนดนั้นตกไป แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนกิจการที่ได้เป็นไปในระหว่างที่ใช้พระราชกำ หนดนั้น
หากพระราชกำหนดตามวรรคหนึ่งมีผลเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ใด และพระราชกำหนดนั้นต้องตกไปตามวรรคสาม ให้บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีอยู่ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติม หรือยกเลิกมีผลใช้บังคับต่อไปนับแต่วันที่การไม่อนุมัติพระราชกำหนดนั้นมีผล
ถ้าสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาอนุมัติพระราชกำหนดนั้น หรือถ้าวุฒิสภาไม่อนุมัติและสภาผู้แทน ราษฎรยืนยันการอนุมัติด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่สภาผู้แทนราษฎร
ให้พระราชกำหนดนั้นมีผลใช้บังคับเป็นพระราชบัญญัติต่อไป
การอนุมัติหรือไม่อนุมัติพระราชกำหนด ให้นายกรัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา ใน กรณีไม่อนุมัติ ให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
การพิจารณาพระราชกำหนดของวุฒิสภาและของสภาผู้แทนราษฎร ในกรณียืนยันการอนุมัติพระ ราชกำหนด จะต้องกระทำในโอกาสแรกที่มีการประชุมสภานั้น ๆ
มาตรา 218 ก่อนที่สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาจะได้อนุมัติพระราชกำหนดใดตามมาตรา 217
วรรคสาม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกสภา ทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา มีสิทธิเข้าชื่อเสนอความเห็นต่อประธานสภาที่ตนเป็นสมาชิกว่าพระราชกำ หนดนั้นไม่เป็นไปตามมาตรา 217 วรรคหนึ่ง และให้ประธานแห่งสภาที่ได้รับความเห็นดังกล่าว ส่งความ เห็นนั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย เมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแล้ว ให้ศาลรัฐธรรมนูญแจ้งคำวินิจฉัย นั้นไปยังประธานแห่งสภาที่ส่งความเห็นนั้นมา
เมื่อประธานสภาผู้แทนราษฎรหรือประธานวุฒิสภาได้รับความเห็นของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภาตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้รอการพิจารณาพระราชกำหนดนั้นไว้ก่อนจนกว่าจะได้รับแจ้งคำ วินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญตามวรรคหนึ่ง
ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าพระราชกำหนดใดไม่เป็นไปตามมาตรา 217 วรรคหนึ่ง ให้พระราชกำหนดนั้นไม่มีผลบังคับมาแต่ต้น
คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญว่าพระราชกำหนดใดไม่เป็นไปตามมาตรา 217 วรรคหนึ่ง ต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้งหมด
มาตรา 219 ในระหว่างสมัยประชุม ถ้ามีความจำเป็นต้องมีกฎหมายเกี่ยวด้วยภาษีอากรหรือ เงินตราซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาโดยด่วนและลับเพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดิน พระมหากษัตริย์จะ ทรงตราพระราชกำหนดให้ใช้บังคับเช่นพระราชบัญญัติก็ได้
พระราชกำหนดที่ได้ตราขึ้นตามวรรคหนึ่ง จะต้องนำเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรภายในสามวันนับ แต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา และให้นำบทบัญญัติมาตรา 217 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา 220 พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการตราพระราชกฤษฎีกาโดยไม่ขัด ต่อกฎหมาย
มาตรา 221 พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการประกาศใช้และเลิกใช้กฎอัย การศึกตามลักษณะและวิธีการตามกฎหมายว่าด้วยกฎอัยการศึก
ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องประกาศใช้กฎอัยการศึกเฉพาะแห่งเป็นการรีบด่วน เจ้าหน้าที่ ฝ่ายทหารย่อมกระทำได้ตามกฎหมายว่าด้วยกฎด้วยอัยการศึก
มาตรา 222 พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการประกาศสงครามเมื่อได้รับ ความเห็นชอบของรัฐสภา
มติให้ความเห็นชอบของรัฐสภาต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกทั้ง หมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา
ในระหว่างที่อายุสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดหรือสภาผู้แทนราษฎรถูกยุบให้วุฒิสภาทำหน้าที่รัฐสภาใน การให้ความเห็นชอบตามวรรคหนึ่ง และการลงมติต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมา ชิกวุฒิสภาทั้งหมดเท่าที่มีอยู่
มาตรา 223 พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการทำหนังสือสัญญาสันติภาพ สัญญา สงบศึก และสัญญาอื่นกับนานาประเทศหรือกับองค์การระหว่างประเทศ
หนังสือสัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทยหรือเขตอำนาจแห่งรัฐ หรือจะต้องออกพระ ราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามสัญญา ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา
มาตรา 224 พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษ
มาตรา 225 พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการถอดถอนฐานันดรศักดิ์และ เรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์
มาตรา 226 พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งข้าราชการฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือนตำแหน่งปลัด กระทรวง อธิบดี และเทียบเท่า และทรงให้พ้นจากตำแหน่ง เว้นแต่กรณีที่พ้นจากตำแหน่งเพราะความ ตาย
มาตรา 227 ข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำและมิใช่ข้าราชการการเมือง จะ เป็นข้าราชการการเมืองมิได้
มาตรา 228 เงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นขององคมนตรี ประธานและ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานและรองประธานวุฒิสภา ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร สมา ชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่น ดินของรัฐสภา กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และกรรมการตรวจเงินแผ่นดินของรัฐ ให้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
มาตรา 229 การจัดตั้ง การโอนหรือการยุบเลิกกระทรวง ทบวง กรมให้ตราเป็นพระราช กฤษฎีกา
พระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่ง ให้ระบุอำนาจหน้าที่ของกระทรวง ทบวง กรม ที่จัดตั้งขึ้น ใหม่ การโอนอำนาจหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายซึ่งหน่วยราชการหรือเจ้าพนักงานที่มีอยู่เดิม การ โอนข้าราชการและงบประมาณรายจ่าย ถ้ามี เอาไว้ด้วย
มาตรา 230 บทกฎหมาย พระราชหัตถเลขา และพระบรมราชโองการใด ๆ อันเกี่ยว กับราชการแผ่นดิน ต้องมีรัฐมนตรีลงนามรับรองสนองพระบรมราชโองการเว้นแต่ที่มีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ในรัฐธรรมนูญนี้
มาตรา 231 บทกฎหมายที่ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้วหรือถือเสมือนหนึ่งว่าได้ทรงลงพระปรมา ภิไธยแล้ว ให้นำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาโดยพลัน แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินเจ็ดวันนับแต่วันที่ทรงลงพระ ปรมาภิไธยหรือนับแต่วันที่ถือว่าได้ทรงลงพระปรมาภิไธย
--คณะกรรมาธิการประชาสัมพันธ์สภาร่างรัฐธรรมนูญ--