กรุงเทพ--9 ก.ค.--ศูนย์ข่าว ส.ส.ร.
การประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญเป็นการภายในวันนี้ (9 กรกฎาคม 2540) เพื่อหารือถึงกรอบเวลาในการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญวาระ 2 ขั้นแปรญัตติ ซึ่งที่ผ่านมาการประชุมดำเนินไปแล้ว 3 วัน แต่สมาชิกยังคงพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญได้ประมาณ 30 มาตรา จึงเกรงว่าการพิจารณาอาจไม่ทันตามกรอบเวลาที่วางไว้ โดย นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญกล่าวภายหลังการประชุมว่า ทางสภาร่างรัฐธรรมนูญจะขยายเวลาการประชุมออกไปเป็น 7 วันตลอดสัปดาห์ คือจะจัดประชุมเพื่อแปรญัตติร่างรัฐธรรมนูญในวันเสาร์และอาทิตย์ด้วย จากที่เดิมประชุมกันเพียง 5 วันต่อสัปดาห์ โดยระหว่างวันเสาร์-วันอังคารจะมีการประชุมตลอดวัน ส่วนวันพุธและวันพฤหัสบดีได้จัดประชุมสภาร่างฯ ช่วงเช้า และจะมีนัดหารือเป็นการภายในช่วงบ่าย เพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นกันในประเด็นที่ยังไม่ได้ข้อยุติ รวมทั้งประชุมกันอีกในวันศุกร์ช่วงบ่าย ซึ่งหากฟังเหตุผลซึ่งกันและกันแล้วพอที่จะยอมรับได้ในระหว่างการประชุมนอกรอบ ก็จะสามารถช่วยให้การประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญเป็นไปได้อย่างสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น
ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญกล่าวเพิ่มเติมว่า ข่าว ส.ส.ร.แจกโผนั้นคงไม่ถึงกับเป็นใบสำคัญตามที่ตั้งข้อสังเกตกัน รวมทั้งอยากให้มองในแง่ดีว่า เป็นเพียงการเสนอความเห็นที่ต่างจากร่างรัฐธรรมนูญแล้วต้องการบอกต่อแก่ผู้อื่นด้วย ซึ่งไม่ถือเป็นการแบ่งแยกระหว่าง ส.ส.ร.สายนักวิชาการและส.ส.ร.จังหวัด
ด้าน น.ท.สุรินทร์ แสงสนิท ส.ส.ร.จังหวัดดอุตรดิดถ์ กล่าวถึงเรื่องเดียวกันว่าได้มีการทำความเข้าใจกันแล้วว่าเป็นเพียงการรวมตัวของสมาชิกที่มีแนวความคิดสอดคล้องกัน เพื่อการแปรญัตติร่วมการประชุมจะได้มียืดเยื้อเกินไป ซึ่งไม่ถือเป็นการบีบบังคับให้สมาชิกคนอื่น ๆ ต้องลงมติตาม
ขณะที่นายประวิทย์ เจนวีระนนท์ กรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญกล่าวว่า ในที่ประชุมบรรดา สมาชิกพยายามหาข้อยุติร่วมกันถึงกรอบการประชุม เพื่อให้การอภิปรายแปรญัตติของสมาชิกเป็นไปอย่างราบรื่น ทั้งนี้มีผู้เสนอว่าจะจัดคณะกรรมการประสานงานหรือวิปขึ้นประสานความคิดเห็น เพื่อหาข้อสรุปในร่างรัฐธรรมนูญโดยเฉพาะมาตราที่ยังคงเห็นขัดแย้งกันระหว่างฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ก่อนที่จะนำข้อหารืออย่างเป็นทางการในที่ประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะช่วยให้เกิดทิศทางที่ชัดเจนและอภิปรายกันแต่เฉพาะสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญ
อย่างไรก็ตามข้อเสนอที่ให้มีการตั้งคณะกรรมการประสานงานดังกล่าวขึ้นในสภาร่างรัฐธรรมนูญนั้นประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญเห็นว่าคงเป็นไปได้ยาก เพราะบรรดาสมาชิกต่างมีความคิดเห็นกันอย่างหลากหลาย--จบ--
การประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญเป็นการภายในวันนี้ (9 กรกฎาคม 2540) เพื่อหารือถึงกรอบเวลาในการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญวาระ 2 ขั้นแปรญัตติ ซึ่งที่ผ่านมาการประชุมดำเนินไปแล้ว 3 วัน แต่สมาชิกยังคงพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญได้ประมาณ 30 มาตรา จึงเกรงว่าการพิจารณาอาจไม่ทันตามกรอบเวลาที่วางไว้ โดย นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญกล่าวภายหลังการประชุมว่า ทางสภาร่างรัฐธรรมนูญจะขยายเวลาการประชุมออกไปเป็น 7 วันตลอดสัปดาห์ คือจะจัดประชุมเพื่อแปรญัตติร่างรัฐธรรมนูญในวันเสาร์และอาทิตย์ด้วย จากที่เดิมประชุมกันเพียง 5 วันต่อสัปดาห์ โดยระหว่างวันเสาร์-วันอังคารจะมีการประชุมตลอดวัน ส่วนวันพุธและวันพฤหัสบดีได้จัดประชุมสภาร่างฯ ช่วงเช้า และจะมีนัดหารือเป็นการภายในช่วงบ่าย เพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นกันในประเด็นที่ยังไม่ได้ข้อยุติ รวมทั้งประชุมกันอีกในวันศุกร์ช่วงบ่าย ซึ่งหากฟังเหตุผลซึ่งกันและกันแล้วพอที่จะยอมรับได้ในระหว่างการประชุมนอกรอบ ก็จะสามารถช่วยให้การประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญเป็นไปได้อย่างสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น
ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญกล่าวเพิ่มเติมว่า ข่าว ส.ส.ร.แจกโผนั้นคงไม่ถึงกับเป็นใบสำคัญตามที่ตั้งข้อสังเกตกัน รวมทั้งอยากให้มองในแง่ดีว่า เป็นเพียงการเสนอความเห็นที่ต่างจากร่างรัฐธรรมนูญแล้วต้องการบอกต่อแก่ผู้อื่นด้วย ซึ่งไม่ถือเป็นการแบ่งแยกระหว่าง ส.ส.ร.สายนักวิชาการและส.ส.ร.จังหวัด
ด้าน น.ท.สุรินทร์ แสงสนิท ส.ส.ร.จังหวัดดอุตรดิดถ์ กล่าวถึงเรื่องเดียวกันว่าได้มีการทำความเข้าใจกันแล้วว่าเป็นเพียงการรวมตัวของสมาชิกที่มีแนวความคิดสอดคล้องกัน เพื่อการแปรญัตติร่วมการประชุมจะได้มียืดเยื้อเกินไป ซึ่งไม่ถือเป็นการบีบบังคับให้สมาชิกคนอื่น ๆ ต้องลงมติตาม
ขณะที่นายประวิทย์ เจนวีระนนท์ กรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญกล่าวว่า ในที่ประชุมบรรดา สมาชิกพยายามหาข้อยุติร่วมกันถึงกรอบการประชุม เพื่อให้การอภิปรายแปรญัตติของสมาชิกเป็นไปอย่างราบรื่น ทั้งนี้มีผู้เสนอว่าจะจัดคณะกรรมการประสานงานหรือวิปขึ้นประสานความคิดเห็น เพื่อหาข้อสรุปในร่างรัฐธรรมนูญโดยเฉพาะมาตราที่ยังคงเห็นขัดแย้งกันระหว่างฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ก่อนที่จะนำข้อหารืออย่างเป็นทางการในที่ประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะช่วยให้เกิดทิศทางที่ชัดเจนและอภิปรายกันแต่เฉพาะสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญ
อย่างไรก็ตามข้อเสนอที่ให้มีการตั้งคณะกรรมการประสานงานดังกล่าวขึ้นในสภาร่างรัฐธรรมนูญนั้นประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญเห็นว่าคงเป็นไปได้ยาก เพราะบรรดาสมาชิกต่างมีความคิดเห็นกันอย่างหลากหลาย--จบ--