ร่าง
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
หมวด 8
ศาล
ส่วนที่ 3
ศาลยุติธรรม
มาตรา 270 ศาลยุติธรรมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญนี้หรือ กฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่น
มาตรา 271 ศาลยุติธรรมมีสามชั้น คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา
ในการพิจารณาพิพากษาคดี ให้ศาลฎีกาพิจารณาพิพากษาได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย เว้นแต่ที่ มีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในรัฐธรรมนูญนี้
มาตรา 272 การแต่งตั้งและการให้ผู้พิพากษาในศาลยุติธรรมพ้นจากตำแหน่ง ต้องได้รับความ เห็นชอบของคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมก่อน แล้วจึงนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งต่อไป
การเลื่อนตำแหน่ง การเลื่อนเงินเดือน และการลงโทษผู้พิพากษาในศาลยุติธรรม ต้องได้รับ ความเห็นชอบของคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ในการนี้ให้คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมแต่ง ตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นชั้นนศาลละหนึ่งคณะ เพื่อเสนอความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าวเพื่อประกอบการพิ จารณา
มาตรา 273 คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมประกอบด้วยบุคคลดังต่อไปนี้
(1) ประธานศาลฎีกาเป็นประธานกรรมการ
(2) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละชั้นศาล ชั้นศาลละสี่คน รวมเป็นสิบสองคน ซึ่งเป็นข้าราช การตุลาการในแต่ละชั้นศาล และได้รับเลือกจากข้าราชการตุลาการในทุกชั้นศาล
(3) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสองคน ซึ่งไม่เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการตุลาการ และได้ รับเลือกจากรัฐสภา
คุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม และวิธีการเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิให้เป็นไปตามที่กฎหมาย บัญญัติ
มาตรา 274 ศาลยุติธรรมมีหน่วยธุรการของศาลยุติธรรมที่เป็นอิสระโดยมีเลขาธิการสำนัก งานศาลยุติธรรมเป็นผู้บังคับบัญชาขึ้นตรงต่อประธานศาลฎีกา
การแต่งตั้งเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมต้องได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการตุลา การศาลยุติธรรม
สำนักงานศาลยุติธรรมมีอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณและการดำเนินการอื่น ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
--คณะกรรมาธิการประชาสัมพันธ์สภาร่างรัฐธรรมนูญ--
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
หมวด 8
ศาล
ส่วนที่ 3
ศาลยุติธรรม
มาตรา 270 ศาลยุติธรรมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญนี้หรือ กฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่น
มาตรา 271 ศาลยุติธรรมมีสามชั้น คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา
ในการพิจารณาพิพากษาคดี ให้ศาลฎีกาพิจารณาพิพากษาได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย เว้นแต่ที่ มีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในรัฐธรรมนูญนี้
มาตรา 272 การแต่งตั้งและการให้ผู้พิพากษาในศาลยุติธรรมพ้นจากตำแหน่ง ต้องได้รับความ เห็นชอบของคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมก่อน แล้วจึงนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งต่อไป
การเลื่อนตำแหน่ง การเลื่อนเงินเดือน และการลงโทษผู้พิพากษาในศาลยุติธรรม ต้องได้รับ ความเห็นชอบของคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ในการนี้ให้คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมแต่ง ตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นชั้นนศาลละหนึ่งคณะ เพื่อเสนอความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าวเพื่อประกอบการพิ จารณา
มาตรา 273 คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมประกอบด้วยบุคคลดังต่อไปนี้
(1) ประธานศาลฎีกาเป็นประธานกรรมการ
(2) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละชั้นศาล ชั้นศาลละสี่คน รวมเป็นสิบสองคน ซึ่งเป็นข้าราช การตุลาการในแต่ละชั้นศาล และได้รับเลือกจากข้าราชการตุลาการในทุกชั้นศาล
(3) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสองคน ซึ่งไม่เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการตุลาการ และได้ รับเลือกจากรัฐสภา
คุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม และวิธีการเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิให้เป็นไปตามที่กฎหมาย บัญญัติ
มาตรา 274 ศาลยุติธรรมมีหน่วยธุรการของศาลยุติธรรมที่เป็นอิสระโดยมีเลขาธิการสำนัก งานศาลยุติธรรมเป็นผู้บังคับบัญชาขึ้นตรงต่อประธานศาลฎีกา
การแต่งตั้งเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมต้องได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการตุลา การศาลยุติธรรม
สำนักงานศาลยุติธรรมมีอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณและการดำเนินการอื่น ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
--คณะกรรมาธิการประชาสัมพันธ์สภาร่างรัฐธรรมนูญ--