กรุงเทพ--9 พ.ค.--ศูนย์ข่าว ส.ส.ร.
นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานวุฒิสภากล่าวว่า การจัดสัมมนาวุฒิสมาชิกที่จังหวัดกาญจนบุรี ระหว่างวันที่ 9-11 พฤษภาคม 2540 นี้ ไม่ได้เป็นการกดดันสภาร่างรัฐธรรมนูญ แต่เป็นการทำงานตามปกติ ซึ่งข้อเสนอที่จะรวบรวมส่งไปยังส.ส.ร.นั้น จะเป็นเรื่องดีเพราะ ส.ส.ร. จะได้ไม่ต้องทำประชาพิจารณ์มาก โดยวุฒิสมาชิกก็ถือว่ามีฐานะเหมือนบุคคลทั่วไปที่ ส.ส.ร.จะได้รับฟังความคิดเห็นส่วน ส.ส.ร. จะรับไว้พิจารณาหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับเหตุผลที่ให้ไป
ประธานวุฒิสภา กล่าวด้วยว่า การที่วุฒิสมาชิกมาร่วมในการสัมมนาครั้งนี้ในจำนวนไม่มากนักไม่ใช่เรื่องสำคัญ เพราะเป็นเพียงการรวบรวมความคิดเห็นของวุฒิสมาชิกแต่ละคน ซึ่งส.ส.ร.คงนำไปพิจารณาสำหรับวัตถุประสงค์ของการสัมมนา คือ เพื่อประโยชน์ของวุฒิสภาที่มีความเข้าใจในเนื้อหาของรัฐธรรมนูญ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน และเพื่อให้ความร่วมมือกัน ส.ส.ร.ในกรณีมีข้อบกพร่อง ส.ส.ร. จะได้นำความเห็นเหล่านี้ไปปรับปรุง
สำหรับการสัมมนาวุฒิสมาชิกเรื่องทิศทางของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ได้เน้นคำว่าการสัมมนาครั้งนี้เป็นการนำประสบการณ์ของวุฒิสมาชิกมาท้วงติง เสนอแนะ ก่อนลงคะแนนเพื่อรับหรือไม่รับหลักการร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งในการลงมติขึ้นอยู่กับความคิดเห็นของแต่ละคน แต่ก่อนที่จะมีการลงคะแนนจะต้องทราบในรายละเอียดของร่างรัฐธรรมนูญก่อนว่าจะรับได้หรือไม่ โดยจะต้องมีเหตุผลประกอบด้วย
นายมีชัย กล่าวว่า แม้สภาร่างรัฐธรรมนูญ จะมีเจตนาดีในร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้ แต่อาจจะสร้างความสับสนและความขัดแย้งได้ไม่มากก็น้อย เนื่องจาก ส.ส.ร. มีเวลาจำกัดในการทำงาน ดังนั้น วุฒิสมาชิกจะได้นำข้อสรุป แนวทางแก้ไขเพื่อเสนอต่อ ส.ส.ร. ต่อไปโดย ส.ส.ร. จะรับหรือไม่นั้นเป็นสิทธิของ ส.ส.ร. แต่ก็เป็นสิทธิของวุฒิสมาชิกเช่นกันว่าจะรับหลักการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้หรือไม่ ซึ่งจะต้องมีเหตุผลชี้แจงในกรณีรับหรือไม่รับหลักการ
ทางด้าน นายไพศาล กุมาลย์วิสัย ประธานคณะทำงานตรวจถ้อยคำร่างรัฐธรรมนูญ ได้ชี้จุดเด่นของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ว่า ให้ความคุ้มครองสิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การปฎิรูปการเมือง เช่น เรื่องตำแหน่งทางการเมืองไม่ว่าจะเป็น ส.ส. วุฒิสมาชิก ผู้บริหารประเทศและคณะรัฐมนตรี รวมทั้งมีการปรับปรุงโครงสร้างอำนาจของฝ่ายตุลาการ
นายไพศาล กล่าวด้วยว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ยังมีจุดเด่นในเรื่องการให้มีการตรวจสอบอำนาจรัฐ เช่น การแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน การตั้งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติและการให้มีอำนาจถอดถอนผู้มีตำแหน่งทางการเมือง นอกจากนี้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ยังเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและบริหารประเทศมากขึ้น เช่น ประชาชนสามารถเสนอกฎหมายต่อรัฐสภาได้ การออกเสียงประชามติรวมถึงการถอดถอนผู้ที่ประพฤติมิชอบ--จบ--
นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานวุฒิสภากล่าวว่า การจัดสัมมนาวุฒิสมาชิกที่จังหวัดกาญจนบุรี ระหว่างวันที่ 9-11 พฤษภาคม 2540 นี้ ไม่ได้เป็นการกดดันสภาร่างรัฐธรรมนูญ แต่เป็นการทำงานตามปกติ ซึ่งข้อเสนอที่จะรวบรวมส่งไปยังส.ส.ร.นั้น จะเป็นเรื่องดีเพราะ ส.ส.ร. จะได้ไม่ต้องทำประชาพิจารณ์มาก โดยวุฒิสมาชิกก็ถือว่ามีฐานะเหมือนบุคคลทั่วไปที่ ส.ส.ร.จะได้รับฟังความคิดเห็นส่วน ส.ส.ร. จะรับไว้พิจารณาหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับเหตุผลที่ให้ไป
ประธานวุฒิสภา กล่าวด้วยว่า การที่วุฒิสมาชิกมาร่วมในการสัมมนาครั้งนี้ในจำนวนไม่มากนักไม่ใช่เรื่องสำคัญ เพราะเป็นเพียงการรวบรวมความคิดเห็นของวุฒิสมาชิกแต่ละคน ซึ่งส.ส.ร.คงนำไปพิจารณาสำหรับวัตถุประสงค์ของการสัมมนา คือ เพื่อประโยชน์ของวุฒิสภาที่มีความเข้าใจในเนื้อหาของรัฐธรรมนูญ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน และเพื่อให้ความร่วมมือกัน ส.ส.ร.ในกรณีมีข้อบกพร่อง ส.ส.ร. จะได้นำความเห็นเหล่านี้ไปปรับปรุง
สำหรับการสัมมนาวุฒิสมาชิกเรื่องทิศทางของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ได้เน้นคำว่าการสัมมนาครั้งนี้เป็นการนำประสบการณ์ของวุฒิสมาชิกมาท้วงติง เสนอแนะ ก่อนลงคะแนนเพื่อรับหรือไม่รับหลักการร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งในการลงมติขึ้นอยู่กับความคิดเห็นของแต่ละคน แต่ก่อนที่จะมีการลงคะแนนจะต้องทราบในรายละเอียดของร่างรัฐธรรมนูญก่อนว่าจะรับได้หรือไม่ โดยจะต้องมีเหตุผลประกอบด้วย
นายมีชัย กล่าวว่า แม้สภาร่างรัฐธรรมนูญ จะมีเจตนาดีในร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้ แต่อาจจะสร้างความสับสนและความขัดแย้งได้ไม่มากก็น้อย เนื่องจาก ส.ส.ร. มีเวลาจำกัดในการทำงาน ดังนั้น วุฒิสมาชิกจะได้นำข้อสรุป แนวทางแก้ไขเพื่อเสนอต่อ ส.ส.ร. ต่อไปโดย ส.ส.ร. จะรับหรือไม่นั้นเป็นสิทธิของ ส.ส.ร. แต่ก็เป็นสิทธิของวุฒิสมาชิกเช่นกันว่าจะรับหลักการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้หรือไม่ ซึ่งจะต้องมีเหตุผลชี้แจงในกรณีรับหรือไม่รับหลักการ
ทางด้าน นายไพศาล กุมาลย์วิสัย ประธานคณะทำงานตรวจถ้อยคำร่างรัฐธรรมนูญ ได้ชี้จุดเด่นของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ว่า ให้ความคุ้มครองสิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การปฎิรูปการเมือง เช่น เรื่องตำแหน่งทางการเมืองไม่ว่าจะเป็น ส.ส. วุฒิสมาชิก ผู้บริหารประเทศและคณะรัฐมนตรี รวมทั้งมีการปรับปรุงโครงสร้างอำนาจของฝ่ายตุลาการ
นายไพศาล กล่าวด้วยว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ยังมีจุดเด่นในเรื่องการให้มีการตรวจสอบอำนาจรัฐ เช่น การแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน การตั้งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติและการให้มีอำนาจถอดถอนผู้มีตำแหน่งทางการเมือง นอกจากนี้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ยังเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและบริหารประเทศมากขึ้น เช่น ประชาชนสามารถเสนอกฎหมายต่อรัฐสภาได้ การออกเสียงประชามติรวมถึงการถอดถอนผู้ที่ประพฤติมิชอบ--จบ--