กรุงเทพ--19 มิ.ย.--ศูนย์ข่าว ส.ส.ร.
การประชุมคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ มีการพิจารณาเกี่ยวกับอำนาจในการออก กฎหมายของ ส.ส. ต่อเนื่องจากที่ค้างประชุมเมื่อวานนี้ (18 มิ.ย.2540) โดยเฉพาะร่างพระราชบัญญัติ เกี่ยวด้วยการเงิน ซึ่งกำหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะเสนอได้ก็ต่อเมื่อมีคำรับรองของนายกรัฐมนตรี นั้น ทางด้าน นายกระมล ทองธรรมชาติ กรรมาธิการเสนอร่างฯ ที่นำไปปรับปรุงแก้ไขใหม่ตามที่ได้รับ มอบหมายจากที่ประชุม โดยกำหนดให้การเสนอร่าง พ.ร.บ. หรือร่าง พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญของ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะกระทำได้ เมื่อมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่น้อยกว่า 20 คนรับรอง จากที่เดิม กำหนดให้ต้องมีมติจากพรรคการเมืองที่ส.ส.สังกัดอยู่ด้วย ซึ่งการตัดส่วนดังกล่าวออก ก็เนื่องจากเห็นว่า ควรให้อิสระกับ ส.ส.ได้เสนอร่าง พ.ร.บ.อย่างเต็มที่ โดยไม่ถูกจำกัดภายใต้มติพรรคการเมือง อย่าง ไรก็ตามหากเป็นร่าง พ.ร.บ. เกี่ยวด้วยการเงินยังคงจำเป็นที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะเสนอได้ ก็ เมื่อมีคำรับรองของนายกรัฐมนตรีเช่นเดิม โดยที่กำหนดประเภทของกฎหมายที่เข้าข่ายเป็นร่างพระราช บัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินไว้ ดังต่อไปนี้
- การตั้งขึ้น ยกเลิก ลด เปลี่ยนแปลง แก้ไข ผ่อน หรือวางระเบียบการบังคับเกี่ยวกับภาษี หรืออากร
- การจัดสรร รับ รักษา หรือจ่ายเงินแผ่นดิน หรือการโอนงบประมาณรายจ่ายของแผ่นดิน
- การกู้เงิน การค้ำประกัน หรือการใช้เงินกู้
- เงินตรา
ทั้งนี้ภายหลังที่กรรมาธิการได้แลกเปลี่ยนความเห็นต่อร่างฯ ที่นายกระมล นำกลับไปปรับปรุง แก้ไขใหม่แล้ว ท้ายที่สุดที่ประชุมส่วนใหญ่เห็นด้วยตามร่างฯ ดังกล่าว แต่ให้ฝ่ายเลขานุการฯ นำกลับไป ปรับปรุงแก้ไขถ้อยคำใหม่ให้รัดกุมยิ่งขึ้น
นอกจากนี้เพื่อไม่ให้การพิจารณากฎหมายของสภาผู้แทนราษฎรเป็นไปอย่างล่าช้า โดยเฉพาะ กรณีที่อายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงหรือเกิดมีการยุบสภา ให้รัฐสภา สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภา สา มารถพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมหรือร่าง พ.ร.บ.หรือร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ต่อ เนื่องจากที่รัฐสภายังไม่ได้ให้ความเห็นชอบต่อไปได้ ซึ่งคณะรัฐมนตรีตั้งขึ้นใหม่ (ภายหลังการเลือกตั้งทั่ว ไป) ร้องขอภายใน 60 วัน
สำหรับการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี ที่ประชุมเห็นว่าควรกำหนด เวลาให้สภาผู้แทนราษฎรต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 105 วันเช่นเดิม โดยที่การพิจารณาของสภาผู้ แทนราษฎรหรือของคณะกรรมาธิการ การเสนอขอแปรญัตติหรือการกระทำด้วยประการใด ๆ ที่มีผลให้ สมาชิกรัฐสภาหรือกรรมาธิการมีส่วนไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมในการใช้งบประมาณรายจ่ายนั้นให้กระทำ มิได้ ซึ่งในประเด็นนี้ นายพงษ์เทพ เทพกาญจนา ผู้ช่วยเลขานุการฯ ชี้แจงว่าจะช่วยให้การจัดสรรงบ พัฒนาจังหวัดของ ส.ส.ไม่สามารถกระทำเช่นเดิมได้อีกต่อไป ทั้งนี้หากปรากฎว่ามีการกระทำฝ่าฝืนบทบัญ ญัติดังกล่าว ร่างรัฐธรรมนูญกำหนดให้ ส.ส.หรือสมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 สามารถ เสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยการกระทำดังกล่าวได้ ภายใน 7 วัน ซึ่งกรรมาธิการส่วนใหญ่เห็นด้วยตาม ร่างฯ โดยผู้ที่ไม่เห็นด้วยก็ได้ขอสงวนคำแปรญัตติไว้
ในช่วงบ่าย การประชุมคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ ยังคงหารือกันถึง "บทที่ใช้ แค่สภาทั้งสอง" โดยในประเด็นการเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐ มนตรี มีกรรมาธิการฯ เห็นด้วยกับร่างฯเดิม ที่กำหนดให้ ส.ส.จำนวนไม่น้อยกว่า 2 ใน 5 จึงจะมีสิทธิ์ เข้าชื่อเสนอญัตติได้เช่นเดิม ทั้งนี้เพื่อไม่ให้การยื่นญัตติทำได้ง่ายจนเกินไป เพื่อเป็นการรักษาเสถียรภาพ ของประเทศ ประสิทธิภาพและภาวะความเป็นผู้นำของนายกรัฐมนตรี ขณะที่กรรมาธิการบางส่วนมีความ เห็นแย้งว่า เสียง ส.ส. ถึง 2 ใน 5 ที่จะเข้าชื่อกันได้นั้นถือว่ามากเกินไปจนอาจส่งผลให้การยื่นญัตติ แทบจะไม่มีโอกาสกระทำได้เลย เพราะในความเป็นจริงคงไม่มีพรรคการเมืองใดเพียงพรรคการเมือง หนึ่ง มีเสียง ส.ส. เพียงพอที่จะเข้าชื่อขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี นอกจากนี้ยังมีกรรมาธิ การแสดงความไม่เห็นด้วยที่การยื่นญัตติฯ จะต้องเสนอชื่อผู้ที่สมควรเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปควบคู่กันไป ด้วย ทั้งนี้ ท้ายที่สุดที่ประชุมเห็นควรให้ปรับเปลี่ยนจำนวน ส.ส. จาก 2 ใน 5 ลดลงเป็น 1 ใน 3 ใน การเข้าชื่อเสนอญัตติแต่ยังคงต้องเสนอชื่อผู้ที่สมควรเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปด้วยเช่นเดิม--จบ--
การประชุมคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ มีการพิจารณาเกี่ยวกับอำนาจในการออก กฎหมายของ ส.ส. ต่อเนื่องจากที่ค้างประชุมเมื่อวานนี้ (18 มิ.ย.2540) โดยเฉพาะร่างพระราชบัญญัติ เกี่ยวด้วยการเงิน ซึ่งกำหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะเสนอได้ก็ต่อเมื่อมีคำรับรองของนายกรัฐมนตรี นั้น ทางด้าน นายกระมล ทองธรรมชาติ กรรมาธิการเสนอร่างฯ ที่นำไปปรับปรุงแก้ไขใหม่ตามที่ได้รับ มอบหมายจากที่ประชุม โดยกำหนดให้การเสนอร่าง พ.ร.บ. หรือร่าง พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญของ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะกระทำได้ เมื่อมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่น้อยกว่า 20 คนรับรอง จากที่เดิม กำหนดให้ต้องมีมติจากพรรคการเมืองที่ส.ส.สังกัดอยู่ด้วย ซึ่งการตัดส่วนดังกล่าวออก ก็เนื่องจากเห็นว่า ควรให้อิสระกับ ส.ส.ได้เสนอร่าง พ.ร.บ.อย่างเต็มที่ โดยไม่ถูกจำกัดภายใต้มติพรรคการเมือง อย่าง ไรก็ตามหากเป็นร่าง พ.ร.บ. เกี่ยวด้วยการเงินยังคงจำเป็นที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะเสนอได้ ก็ เมื่อมีคำรับรองของนายกรัฐมนตรีเช่นเดิม โดยที่กำหนดประเภทของกฎหมายที่เข้าข่ายเป็นร่างพระราช บัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินไว้ ดังต่อไปนี้
- การตั้งขึ้น ยกเลิก ลด เปลี่ยนแปลง แก้ไข ผ่อน หรือวางระเบียบการบังคับเกี่ยวกับภาษี หรืออากร
- การจัดสรร รับ รักษา หรือจ่ายเงินแผ่นดิน หรือการโอนงบประมาณรายจ่ายของแผ่นดิน
- การกู้เงิน การค้ำประกัน หรือการใช้เงินกู้
- เงินตรา
ทั้งนี้ภายหลังที่กรรมาธิการได้แลกเปลี่ยนความเห็นต่อร่างฯ ที่นายกระมล นำกลับไปปรับปรุง แก้ไขใหม่แล้ว ท้ายที่สุดที่ประชุมส่วนใหญ่เห็นด้วยตามร่างฯ ดังกล่าว แต่ให้ฝ่ายเลขานุการฯ นำกลับไป ปรับปรุงแก้ไขถ้อยคำใหม่ให้รัดกุมยิ่งขึ้น
นอกจากนี้เพื่อไม่ให้การพิจารณากฎหมายของสภาผู้แทนราษฎรเป็นไปอย่างล่าช้า โดยเฉพาะ กรณีที่อายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงหรือเกิดมีการยุบสภา ให้รัฐสภา สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภา สา มารถพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมหรือร่าง พ.ร.บ.หรือร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ต่อ เนื่องจากที่รัฐสภายังไม่ได้ให้ความเห็นชอบต่อไปได้ ซึ่งคณะรัฐมนตรีตั้งขึ้นใหม่ (ภายหลังการเลือกตั้งทั่ว ไป) ร้องขอภายใน 60 วัน
สำหรับการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี ที่ประชุมเห็นว่าควรกำหนด เวลาให้สภาผู้แทนราษฎรต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 105 วันเช่นเดิม โดยที่การพิจารณาของสภาผู้ แทนราษฎรหรือของคณะกรรมาธิการ การเสนอขอแปรญัตติหรือการกระทำด้วยประการใด ๆ ที่มีผลให้ สมาชิกรัฐสภาหรือกรรมาธิการมีส่วนไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมในการใช้งบประมาณรายจ่ายนั้นให้กระทำ มิได้ ซึ่งในประเด็นนี้ นายพงษ์เทพ เทพกาญจนา ผู้ช่วยเลขานุการฯ ชี้แจงว่าจะช่วยให้การจัดสรรงบ พัฒนาจังหวัดของ ส.ส.ไม่สามารถกระทำเช่นเดิมได้อีกต่อไป ทั้งนี้หากปรากฎว่ามีการกระทำฝ่าฝืนบทบัญ ญัติดังกล่าว ร่างรัฐธรรมนูญกำหนดให้ ส.ส.หรือสมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 สามารถ เสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยการกระทำดังกล่าวได้ ภายใน 7 วัน ซึ่งกรรมาธิการส่วนใหญ่เห็นด้วยตาม ร่างฯ โดยผู้ที่ไม่เห็นด้วยก็ได้ขอสงวนคำแปรญัตติไว้
ในช่วงบ่าย การประชุมคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ ยังคงหารือกันถึง "บทที่ใช้ แค่สภาทั้งสอง" โดยในประเด็นการเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐ มนตรี มีกรรมาธิการฯ เห็นด้วยกับร่างฯเดิม ที่กำหนดให้ ส.ส.จำนวนไม่น้อยกว่า 2 ใน 5 จึงจะมีสิทธิ์ เข้าชื่อเสนอญัตติได้เช่นเดิม ทั้งนี้เพื่อไม่ให้การยื่นญัตติทำได้ง่ายจนเกินไป เพื่อเป็นการรักษาเสถียรภาพ ของประเทศ ประสิทธิภาพและภาวะความเป็นผู้นำของนายกรัฐมนตรี ขณะที่กรรมาธิการบางส่วนมีความ เห็นแย้งว่า เสียง ส.ส. ถึง 2 ใน 5 ที่จะเข้าชื่อกันได้นั้นถือว่ามากเกินไปจนอาจส่งผลให้การยื่นญัตติ แทบจะไม่มีโอกาสกระทำได้เลย เพราะในความเป็นจริงคงไม่มีพรรคการเมืองใดเพียงพรรคการเมือง หนึ่ง มีเสียง ส.ส. เพียงพอที่จะเข้าชื่อขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี นอกจากนี้ยังมีกรรมาธิ การแสดงความไม่เห็นด้วยที่การยื่นญัตติฯ จะต้องเสนอชื่อผู้ที่สมควรเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปควบคู่กันไป ด้วย ทั้งนี้ ท้ายที่สุดที่ประชุมเห็นควรให้ปรับเปลี่ยนจำนวน ส.ส. จาก 2 ใน 5 ลดลงเป็น 1 ใน 3 ใน การเข้าชื่อเสนอญัตติแต่ยังคงต้องเสนอชื่อผู้ที่สมควรเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปด้วยเช่นเดิม--จบ--