กรุงเทพ--28 เม.ย.--ศูนย์ข่าว ส.ส.ร.
มีรายงานจากรัฐสภาวันนี้ (28 เมษายน 2540)ว่า นายมีชัย ฤชุพันธ์ ประธานวุฒิสภาได้มีคำสั่งวุฒิสภาที่ 3 / 2540 เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2540 ที่ผ่านมา เรื่องการตั้งคณะกรรมการศึกษาร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อให้การดำเนินงานจัดสัมมนาในหัวข้อ "ทิศทางของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่" เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเกิดประโยชน์สูงสุด โดยคณะกรรมการชุดนี้มีจำนวน 31 คน ซึ่งมี นายโอสถ โภคิน เป็นประธาน นายไพศาล กุมาลย์วิสัย นายสมชัย วุฒิปรีชา เป็นรองประธาน นายดำรง พุฒตาล เป็นโฆษกฯ ขณะที่กรรมการที่เหลือส่วนใหญ่จะอยู่ให้คณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาความพร้อมในการบังคับใช้กฎหมายวุฒิสภา ซึ่งเคยศึกษาร่างรัฐธรรมนูญ ส.ส.ร.มาก่อนหน้านี้ ที่มีนายไพศาล เป็นประธาน โดยเปลี่ยนให้นายโอสถ มาเป็นประธานคณะกรรมการชุดนี้แทน และไม่มี นายสมภพ โหตระกิต ร่วมเป็นกรรมการ
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ก่อนหน้านี้ประธานวุฒิสภาได้มีคำสั่งวุฒิสภา ที่ 2 / 2540 เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2540 ที่ผ่านมา ถึงคณะกรรมการเตรียมการจัดสัมมนา โดยมีนายอาสาเมษ สวรรค์ รองประธานวุฒิสภาเป็นประธาน ซึ่งมีเหตุผลว่าเพื่อให้เป็นประโยชน์ในการจัดพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญของวุฒิสภา ทั้งนี้คณะกรรมการชุดนี้ได้กำหนดจัดสัมมนาวุฒิสมาชิกแล้วในระหว่างวันที่ 9-11 พฤษภาคม 2540 นี้ ที่จังหวัดกาญจนบุรี
นายปกิต พัฒนากุล กรรมการเตรียมการจัดสัมมนา เปิดเผยว่า ตามเจตนารมณ์ของการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 211 ที่ผ่านมานั้น ให้รัฐสภามอบหมายการร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับแก่ ส.ส.ร.โดยอิสระแต่ต้องรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ทั้งนี้คณะรัฐมนตรีและสมาชิกรัฐสภาสามารถเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ แต่ไม่ทำ เพราะเกรงว่าจะถูกวิจารณ์ว่าแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เข้าข้างตนเอง เมื่อร่างรัฐธรรมนูญของ ส.ส.ร.เสร็จก็เสนอให้รัฐสภาชิมเพียงอย่างเพียง ว่ารับได้หรือไม่ได้หากเห็นว่าไม่เป็นประโยชน์ก็โยนทิ้งให้ประชาชนชิมใหม่โดยการประชาพิจารณ์ แต่ก่อนที่สมาชิกรัฐสภา โดยเฉพาะวุฒิสมาชิกจะรับร่างดังกล่าวหรือไม่ก็จะต้องศึกษาว่า แต่ละประเด็นมีข้อดีข้อเสียอย่างไร การจะรับหรือไม่รับร่างจะต้องมีเหตุผลอธิบายต่อประชาชนจึงจำเป็นต้องจัดสัมมนาครั้งนี้ โดยสมาชิกจะมาชั่งน้ำหนักเองว่า จะรับร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวหรือไม่
"ถ้าใครคิดว่ามีประเด็นใดที่รับไม่ได้จริง ๆ เขาก็คงพิจารณาไม่รับร่างทั้งฉบับเลย เรื่องนี้ถือเป็นดุลยพินิจสมาชิกแต่ละคน แต่ผมยืนยันได้ว่าวุฒิสภาชิกชุดนี้คงมาว่าไม่ได้ แม้จะมีวุฒิสมาชิกบางส่วนที่มาจากรัฐสภาในสมัยที่แล้วก็ตาม ขณะนี้พวกตนคงมาพูดแสดงความคิดเห็นชี้นำอะไรไม่ได้ เพราะรัฐสภาได้เขียนรัฐธรรมนูญมาตรา 221 ปิดปากตัวเอง" --จบ--
มีรายงานจากรัฐสภาวันนี้ (28 เมษายน 2540)ว่า นายมีชัย ฤชุพันธ์ ประธานวุฒิสภาได้มีคำสั่งวุฒิสภาที่ 3 / 2540 เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2540 ที่ผ่านมา เรื่องการตั้งคณะกรรมการศึกษาร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อให้การดำเนินงานจัดสัมมนาในหัวข้อ "ทิศทางของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่" เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเกิดประโยชน์สูงสุด โดยคณะกรรมการชุดนี้มีจำนวน 31 คน ซึ่งมี นายโอสถ โภคิน เป็นประธาน นายไพศาล กุมาลย์วิสัย นายสมชัย วุฒิปรีชา เป็นรองประธาน นายดำรง พุฒตาล เป็นโฆษกฯ ขณะที่กรรมการที่เหลือส่วนใหญ่จะอยู่ให้คณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาความพร้อมในการบังคับใช้กฎหมายวุฒิสภา ซึ่งเคยศึกษาร่างรัฐธรรมนูญ ส.ส.ร.มาก่อนหน้านี้ ที่มีนายไพศาล เป็นประธาน โดยเปลี่ยนให้นายโอสถ มาเป็นประธานคณะกรรมการชุดนี้แทน และไม่มี นายสมภพ โหตระกิต ร่วมเป็นกรรมการ
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ก่อนหน้านี้ประธานวุฒิสภาได้มีคำสั่งวุฒิสภา ที่ 2 / 2540 เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2540 ที่ผ่านมา ถึงคณะกรรมการเตรียมการจัดสัมมนา โดยมีนายอาสาเมษ สวรรค์ รองประธานวุฒิสภาเป็นประธาน ซึ่งมีเหตุผลว่าเพื่อให้เป็นประโยชน์ในการจัดพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญของวุฒิสภา ทั้งนี้คณะกรรมการชุดนี้ได้กำหนดจัดสัมมนาวุฒิสมาชิกแล้วในระหว่างวันที่ 9-11 พฤษภาคม 2540 นี้ ที่จังหวัดกาญจนบุรี
นายปกิต พัฒนากุล กรรมการเตรียมการจัดสัมมนา เปิดเผยว่า ตามเจตนารมณ์ของการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 211 ที่ผ่านมานั้น ให้รัฐสภามอบหมายการร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับแก่ ส.ส.ร.โดยอิสระแต่ต้องรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ทั้งนี้คณะรัฐมนตรีและสมาชิกรัฐสภาสามารถเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ แต่ไม่ทำ เพราะเกรงว่าจะถูกวิจารณ์ว่าแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เข้าข้างตนเอง เมื่อร่างรัฐธรรมนูญของ ส.ส.ร.เสร็จก็เสนอให้รัฐสภาชิมเพียงอย่างเพียง ว่ารับได้หรือไม่ได้หากเห็นว่าไม่เป็นประโยชน์ก็โยนทิ้งให้ประชาชนชิมใหม่โดยการประชาพิจารณ์ แต่ก่อนที่สมาชิกรัฐสภา โดยเฉพาะวุฒิสมาชิกจะรับร่างดังกล่าวหรือไม่ก็จะต้องศึกษาว่า แต่ละประเด็นมีข้อดีข้อเสียอย่างไร การจะรับหรือไม่รับร่างจะต้องมีเหตุผลอธิบายต่อประชาชนจึงจำเป็นต้องจัดสัมมนาครั้งนี้ โดยสมาชิกจะมาชั่งน้ำหนักเองว่า จะรับร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวหรือไม่
"ถ้าใครคิดว่ามีประเด็นใดที่รับไม่ได้จริง ๆ เขาก็คงพิจารณาไม่รับร่างทั้งฉบับเลย เรื่องนี้ถือเป็นดุลยพินิจสมาชิกแต่ละคน แต่ผมยืนยันได้ว่าวุฒิสภาชิกชุดนี้คงมาว่าไม่ได้ แม้จะมีวุฒิสมาชิกบางส่วนที่มาจากรัฐสภาในสมัยที่แล้วก็ตาม ขณะนี้พวกตนคงมาพูดแสดงความคิดเห็นชี้นำอะไรไม่ได้ เพราะรัฐสภาได้เขียนรัฐธรรมนูญมาตรา 221 ปิดปากตัวเอง" --จบ--