กรุงเทพ--17 เม.ย.--ศูนย์ข่าว ส.ส.ร.
นายเกษม ศิริสัมพันธ์ รองประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ สภาร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงกรณีที่มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) บางคนไม่พอใจที่มีกรรมาธิการยกร่างเพียง 5 คน ผูกขาดในการยกร่างรัฐธรรมนูญว่า ขณะนี้ขบวนการยกร่างเพิ่งเริ่มต้น ดังนั้นการจะยกร่างทีละหลาย ๆ คน คงทำไม่สำเร็จ แต่เมื่อยกร่างเสร็จแล้วก็จะนำเสนอคณะกรรมาธิการยกร่างฯ ให้พิจารณาและจากนั้นต้องเสนอต่อสภาร่างรัฐธรรมนูญทั้ง 99 คน อีกครั้ง ซึ่งทั้งสองขั้นตอนกรรมาธิการยกร่างฯและ ส.ส.ร.มีสิทธิ์อภิปรายแก้ไขได้อีก และไม่เพียงเท่านั้นยังจะต้องไปประชาพิจารณ์ และนำกลับมาให้พิจารณาอีกครั้ง ซึ่งในครั้งนี้ ส.ส.ร. ก็ยังสามารถแปรญัตติได้ ดังนั้นจะถือว่าเป็นการผูกขาดไม่ได้
"ส.ส.ร. มีสิทธิ์เปลี่ยนแปลงอะไรได้อีกเยอะแยะเลย ที่ยกร่างแล้วก็ไม่ได้นำมาใช้เลยแต่ต้องมีใคร 5-6 คน มาเขียนเป็นร่างให้เห็น เพื่อจะได้พิจารณาว่า อะไรถูกไม่ถูก อะไรจะชอบหรือไม่ชอบการจะเขียนทั้ง 99 คน ไม่เสร็จหรอกครับ ดังนั้นไม่ใช่คนเพียง 4 หรือ 5 คน จะผูกขาดเพียงแต่ทำงานเบื้องต้นให้" นายเกษมกล่าว
รองประธานคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า ผู้ที่ไม่พอใจในเรื่องดังกล่าว คงเป็นเพราะไม่เข้าใจในขั้นตอน ดังนั้น เรื่องนี้ควรจะต้องมีการทำความเข้าใจให้ชัดเจนอีกครั้ง โดยนายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญจะต้องเป็นผู้ทำความเข้าใจในเรื่องนี้
สำหรับการยกร่างรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ นายเกษม เปิดเผยว่า คณะกรรมาธิการยกร่างฯ ที่ได้รับมอบหมายได้เริ่มแบ่งงานและเริ่มร่างเนื้อหารัฐธรรมนูญกันแล้ว แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ เพราะยังร่างไม่เสร็จและหากเปิดเผยในตอนนี้ก็อาจจะทำให้ร่างไม่เสร็จเพราะจะต้องมีคนวิจารณ์ และต้องแก้ไขเป็นระยะ ๆ ดังนั้นจึงต้องดำเนินการให้เสร็จเป็นขั้นตอนก่อนแล้วค่อยมาพิจารณาทีเดียว
รองประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ยังกล่าวถึงคำให้สัมภาษณ์ของนายปิยะณัฐ วัชราภรณ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกร่างรัฐมนตรี ที่ว่า ส.ส.ร.ส่วนใหญ่ไม่ค่อยรับฟังความเห็นของคนในชนบท เห็นแต่คนในเมือง โดยยืนยันว่าไม่เป็นความจริง เพราะปัจจุบันมี ส.ส.ร.จังหวัดที่รับฟังความเห็นจากประชาชนแล้วคอยรายงานความเห็นเห็นเข้ามายังคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งทางคณะกรรมาธิการยกร่างฯ ก็ต้องอ่านและรับฟัง แต่จะนำมาเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญหรือไม่ เป็นเรื่องที่จะต้องพิจารณากันอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ เสียงที่เสนอมาค่อนข้างหลากหลาย
ส่วนข้อวิจารณ์ที่ว่า กรณีการเลือกตั้งโดยใช้ระบบบัญชีรายชื่อพรรคการเมืองหรือ ปารตี้ลิสต์ ควบคู่กับการเลือกตั้งเขตเดียวเบอร์เดียว จะยิ่งก่อให้เกิดการซื้อเสียง เพราะทุกเสียงมีค่านั้น นายเกษม กล่าวว่า ระบบปาร์ตี้ลิสต์ จะต้องนับจากคะแนนทั่วประเทศ หากต้องซื้อทั้งประเทศ ซี่งเป็นเรื่องยาก และหากพรรคการเมืองใดเสนอชื่อคนที่ไม่เหมาะสมในบัญชีเชื่อว่า คงไม่มีประชาชนเลือกเข้ามา--จบ--
นายเกษม ศิริสัมพันธ์ รองประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ สภาร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงกรณีที่มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) บางคนไม่พอใจที่มีกรรมาธิการยกร่างเพียง 5 คน ผูกขาดในการยกร่างรัฐธรรมนูญว่า ขณะนี้ขบวนการยกร่างเพิ่งเริ่มต้น ดังนั้นการจะยกร่างทีละหลาย ๆ คน คงทำไม่สำเร็จ แต่เมื่อยกร่างเสร็จแล้วก็จะนำเสนอคณะกรรมาธิการยกร่างฯ ให้พิจารณาและจากนั้นต้องเสนอต่อสภาร่างรัฐธรรมนูญทั้ง 99 คน อีกครั้ง ซึ่งทั้งสองขั้นตอนกรรมาธิการยกร่างฯและ ส.ส.ร.มีสิทธิ์อภิปรายแก้ไขได้อีก และไม่เพียงเท่านั้นยังจะต้องไปประชาพิจารณ์ และนำกลับมาให้พิจารณาอีกครั้ง ซึ่งในครั้งนี้ ส.ส.ร. ก็ยังสามารถแปรญัตติได้ ดังนั้นจะถือว่าเป็นการผูกขาดไม่ได้
"ส.ส.ร. มีสิทธิ์เปลี่ยนแปลงอะไรได้อีกเยอะแยะเลย ที่ยกร่างแล้วก็ไม่ได้นำมาใช้เลยแต่ต้องมีใคร 5-6 คน มาเขียนเป็นร่างให้เห็น เพื่อจะได้พิจารณาว่า อะไรถูกไม่ถูก อะไรจะชอบหรือไม่ชอบการจะเขียนทั้ง 99 คน ไม่เสร็จหรอกครับ ดังนั้นไม่ใช่คนเพียง 4 หรือ 5 คน จะผูกขาดเพียงแต่ทำงานเบื้องต้นให้" นายเกษมกล่าว
รองประธานคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า ผู้ที่ไม่พอใจในเรื่องดังกล่าว คงเป็นเพราะไม่เข้าใจในขั้นตอน ดังนั้น เรื่องนี้ควรจะต้องมีการทำความเข้าใจให้ชัดเจนอีกครั้ง โดยนายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญจะต้องเป็นผู้ทำความเข้าใจในเรื่องนี้
สำหรับการยกร่างรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ นายเกษม เปิดเผยว่า คณะกรรมาธิการยกร่างฯ ที่ได้รับมอบหมายได้เริ่มแบ่งงานและเริ่มร่างเนื้อหารัฐธรรมนูญกันแล้ว แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ เพราะยังร่างไม่เสร็จและหากเปิดเผยในตอนนี้ก็อาจจะทำให้ร่างไม่เสร็จเพราะจะต้องมีคนวิจารณ์ และต้องแก้ไขเป็นระยะ ๆ ดังนั้นจึงต้องดำเนินการให้เสร็จเป็นขั้นตอนก่อนแล้วค่อยมาพิจารณาทีเดียว
รองประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ยังกล่าวถึงคำให้สัมภาษณ์ของนายปิยะณัฐ วัชราภรณ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกร่างรัฐมนตรี ที่ว่า ส.ส.ร.ส่วนใหญ่ไม่ค่อยรับฟังความเห็นของคนในชนบท เห็นแต่คนในเมือง โดยยืนยันว่าไม่เป็นความจริง เพราะปัจจุบันมี ส.ส.ร.จังหวัดที่รับฟังความเห็นจากประชาชนแล้วคอยรายงานความเห็นเห็นเข้ามายังคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งทางคณะกรรมาธิการยกร่างฯ ก็ต้องอ่านและรับฟัง แต่จะนำมาเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญหรือไม่ เป็นเรื่องที่จะต้องพิจารณากันอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ เสียงที่เสนอมาค่อนข้างหลากหลาย
ส่วนข้อวิจารณ์ที่ว่า กรณีการเลือกตั้งโดยใช้ระบบบัญชีรายชื่อพรรคการเมืองหรือ ปารตี้ลิสต์ ควบคู่กับการเลือกตั้งเขตเดียวเบอร์เดียว จะยิ่งก่อให้เกิดการซื้อเสียง เพราะทุกเสียงมีค่านั้น นายเกษม กล่าวว่า ระบบปาร์ตี้ลิสต์ จะต้องนับจากคะแนนทั่วประเทศ หากต้องซื้อทั้งประเทศ ซี่งเป็นเรื่องยาก และหากพรรคการเมืองใดเสนอชื่อคนที่ไม่เหมาะสมในบัญชีเชื่อว่า คงไม่มีประชาชนเลือกเข้ามา--จบ--