แท็ก
ร่างรัฐธรรมนูญ
กรุงเทพ--23 พ.ค.--ศูนย์ข่าว ส.ส.ร.
การสรุปผลการสัมมนาของวุฒิสภา นายไพศาล กุมาลย์วิสัย ประธานคณะทำงาน แถลงวันนี้(23 พ.ค. 2540) ว่าคณะทำงานได้รวมความคิดเห็นของสมาชิกวุฒิสภาที่มีต่อร่างรัฐธรรมนูญเรียงตามหมวด โดยในหมวดแรกบททั่วไปนั้นส่วนใหญ่เป็นการตั้งข้อสังเกตถึงการใช้ถ้อยคำ อาทิ เพศ, ความเป็นมนุษย์ ส่วนในหมวด 4 หน้าที่ของบุคคลที่กำหนดให้การไปใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเป็น "หน้าที่" นั้น เห็นว่าอาจเกิดปัญหาในเรี่องบทบังคับ จึงน่าจะใช้วิธีการจูงใจในรูปแบบอื่นแทน
สำหรับที่มาของสมาชิกวุฒิสภานั้น หาก ส.ส.ร.เห็นว่าควรให้คงวุฒิสภาไว้ก็ควรกำหนดที่มาให้ชัดเจนเพียงแนวทางใดแนวทางหนึ่ง ซึ่งในส่วนของสมาชิกวุฒิสภาเห็นว่า หากต้องการให้ประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ ก็น่าจะกำหนดที่มาให้มาจากการสรรหามากกว่าที่จะกำหนดให้มาจากการเลือกตั้ง นอกจากนี้ ยังเห็นว่าควรเพิ่มจำนวนของสมาชิกวุฒิสภา จากเดิมที่ร่างรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ประมาณ 170 คน ขณะที่ ส.ส. มีถึง 500 คน อาจทำให้ขาดความสมดุลย์ หากมีการประชุมรัฐสภา จึงเสนอว่าจำนวนสมาชิกวุฒิสภาน่าจะมีอัตรา 2:3 หรือ 3:5 ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคือประมาณ 300 คน ขณะเดียวกัน ส.ส.ร. ก็ควรจะพิจารณาบทบาทหน้าที่ให้สอดคล้องกันด้วย โดยนอกเหนือจากหน้าที่เดิมในปัจจุบัน สมาชิกวุฒิสภาน่าจะมีส่วนร่วมในการพิจารณางบประมาณฯ และสามารถตั้งกระทู้สดได้ด้วย
ส่วนในหมวดศาล นายพูนศักดิ์ วรรณพงษ์ เลขานุการคณะทำงาน กล่าวว่า ได้มีการตั้งข้อสังเกตถึง "ศาลรัฐธรรมนูญ" ซึ่งเป็นศาลที่มีอำนาจมากสามารถสั่งคณะรัฐมนตรี สภานิติบัญญติ และคดีที่พิจารณาพิพากษาเสร็จสิ้นแล้ว ก็ยังนำมาวินิจฉัยใหม่ได้ ถ้าประกอบไปด้วยคนเพียง 2 กลุ่ม คือผู้เชี่ยวชาญด้านนิติศาสตร์และรัฐศาสตรจำนวน 9 คน อยู่ในวาระถึง 9 ปีด้วยกัน ส.ส.ร.น่าจะพิจารณาว่าจะมีคุณสมบัติเพียงใด ทั้งนี้เสนอว่าศาลรัฐธรรมนูญน่าจะเปลี่ยนเป็น "สภาตุลาการ" จึงจะเหมาะสมกว่า โดยย้ำว่า หากจะมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างต้องคำนึงถึงคตินิยม จารีตประเพณี และวิถึชีวิตความเป็นไทยด้วย
นอกจากนี้การที่ร่างรัฐธรรมนูญกำหนดให้มีคณะตุลาการคดีอาญา ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นการเฉพาะนั้น นายไพศาล เห็นว่า หากมีหน้าที่พิจารณาเพื่อถอดถอนออกจากตำแหน่งก็น่าจะยอมรับได้ แต่ถ้าเป็นการพิจารณาพิพากษาในคดีอาญา ก็ควรอยู่ในอำนาจของกระบวนการยุติธรรม ขณะที่นายพูนศักดิ์เห็นว่าการกำหนดให้มีคณะตุลาการคดีอาญาขัดกับร่างรัฐธรรมนูญมาตรา 29 ที่ว่า บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกัน
ส่วนในหมวด 9 ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับท้องถิ่นนั้นคณะทำงาน เห็นด้วยที่ให้มีการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นมากขึ้น และให้อิสระในการบริหารงาน แต่มีข้อสังสัยว่า เหตุใดจึงใช้ชื่อ "องค์การปกครองท้องถิ่น" แทนที่จะใช้ราชการท้องถิ่น ซึ่งเกิดคำถามว่า องค์การปกครองท้องถิ่นเป็นราชการหรือไม่ หากคำนึงถึงความสอดคล้องต่อโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดิน ที่มีระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่นหรือไม่ ทั้งนี้ หากมีการก่อตั้งองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นแล้ว ต่อไปผู้ว่าราชการจังหวัด กำนัน และผู้ใหญ่บ้านจะมีบทบาทอย่างไร
นอกจากนี้ นายพูนศักดิ์ ยังย้ำว่า ส.ส.ร. ต้องแยกให้ชัดเจนระหว่าง รัฐกับรัฐบาล เพราะรัฐไม่ได้หมายถึงรัฐบาล ซึ่งถ้าความเป็นองค์รวมของชาติถูกกระทบไป ก็เป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วง เช่นเดียวกับความเสมอภาคและเสรีภาพที่ย่อมสวนทางกัน ถ้ากำหนดให้มีเสรีภาพอย่างกว้างขวาง ความเสมอภาคก็จะลดลงซึ่งเป็นผลเสียต่อผู้ยากไร้ได้
อย่างไรก็ตาม นายพินิจ อารยะศิริ เลขาธิการวุฒิสภายืนยันว่า เอกสารสรุปผลการสัมมนาของสมาชิกวุฒิสภาจะเสร็จสิ้นสามารถส่งมอบให้กับประธานวุฒิสภา นายมีชัย ฤชุพันธ์ ประธานวุฒิสภาได้ภายในวันจันทร์ที่จะถึงนี้--จบ--
การสรุปผลการสัมมนาของวุฒิสภา นายไพศาล กุมาลย์วิสัย ประธานคณะทำงาน แถลงวันนี้(23 พ.ค. 2540) ว่าคณะทำงานได้รวมความคิดเห็นของสมาชิกวุฒิสภาที่มีต่อร่างรัฐธรรมนูญเรียงตามหมวด โดยในหมวดแรกบททั่วไปนั้นส่วนใหญ่เป็นการตั้งข้อสังเกตถึงการใช้ถ้อยคำ อาทิ เพศ, ความเป็นมนุษย์ ส่วนในหมวด 4 หน้าที่ของบุคคลที่กำหนดให้การไปใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเป็น "หน้าที่" นั้น เห็นว่าอาจเกิดปัญหาในเรี่องบทบังคับ จึงน่าจะใช้วิธีการจูงใจในรูปแบบอื่นแทน
สำหรับที่มาของสมาชิกวุฒิสภานั้น หาก ส.ส.ร.เห็นว่าควรให้คงวุฒิสภาไว้ก็ควรกำหนดที่มาให้ชัดเจนเพียงแนวทางใดแนวทางหนึ่ง ซึ่งในส่วนของสมาชิกวุฒิสภาเห็นว่า หากต้องการให้ประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ ก็น่าจะกำหนดที่มาให้มาจากการสรรหามากกว่าที่จะกำหนดให้มาจากการเลือกตั้ง นอกจากนี้ ยังเห็นว่าควรเพิ่มจำนวนของสมาชิกวุฒิสภา จากเดิมที่ร่างรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ประมาณ 170 คน ขณะที่ ส.ส. มีถึง 500 คน อาจทำให้ขาดความสมดุลย์ หากมีการประชุมรัฐสภา จึงเสนอว่าจำนวนสมาชิกวุฒิสภาน่าจะมีอัตรา 2:3 หรือ 3:5 ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคือประมาณ 300 คน ขณะเดียวกัน ส.ส.ร. ก็ควรจะพิจารณาบทบาทหน้าที่ให้สอดคล้องกันด้วย โดยนอกเหนือจากหน้าที่เดิมในปัจจุบัน สมาชิกวุฒิสภาน่าจะมีส่วนร่วมในการพิจารณางบประมาณฯ และสามารถตั้งกระทู้สดได้ด้วย
ส่วนในหมวดศาล นายพูนศักดิ์ วรรณพงษ์ เลขานุการคณะทำงาน กล่าวว่า ได้มีการตั้งข้อสังเกตถึง "ศาลรัฐธรรมนูญ" ซึ่งเป็นศาลที่มีอำนาจมากสามารถสั่งคณะรัฐมนตรี สภานิติบัญญติ และคดีที่พิจารณาพิพากษาเสร็จสิ้นแล้ว ก็ยังนำมาวินิจฉัยใหม่ได้ ถ้าประกอบไปด้วยคนเพียง 2 กลุ่ม คือผู้เชี่ยวชาญด้านนิติศาสตร์และรัฐศาสตรจำนวน 9 คน อยู่ในวาระถึง 9 ปีด้วยกัน ส.ส.ร.น่าจะพิจารณาว่าจะมีคุณสมบัติเพียงใด ทั้งนี้เสนอว่าศาลรัฐธรรมนูญน่าจะเปลี่ยนเป็น "สภาตุลาการ" จึงจะเหมาะสมกว่า โดยย้ำว่า หากจะมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างต้องคำนึงถึงคตินิยม จารีตประเพณี และวิถึชีวิตความเป็นไทยด้วย
นอกจากนี้การที่ร่างรัฐธรรมนูญกำหนดให้มีคณะตุลาการคดีอาญา ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นการเฉพาะนั้น นายไพศาล เห็นว่า หากมีหน้าที่พิจารณาเพื่อถอดถอนออกจากตำแหน่งก็น่าจะยอมรับได้ แต่ถ้าเป็นการพิจารณาพิพากษาในคดีอาญา ก็ควรอยู่ในอำนาจของกระบวนการยุติธรรม ขณะที่นายพูนศักดิ์เห็นว่าการกำหนดให้มีคณะตุลาการคดีอาญาขัดกับร่างรัฐธรรมนูญมาตรา 29 ที่ว่า บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกัน
ส่วนในหมวด 9 ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับท้องถิ่นนั้นคณะทำงาน เห็นด้วยที่ให้มีการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นมากขึ้น และให้อิสระในการบริหารงาน แต่มีข้อสังสัยว่า เหตุใดจึงใช้ชื่อ "องค์การปกครองท้องถิ่น" แทนที่จะใช้ราชการท้องถิ่น ซึ่งเกิดคำถามว่า องค์การปกครองท้องถิ่นเป็นราชการหรือไม่ หากคำนึงถึงความสอดคล้องต่อโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดิน ที่มีระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่นหรือไม่ ทั้งนี้ หากมีการก่อตั้งองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นแล้ว ต่อไปผู้ว่าราชการจังหวัด กำนัน และผู้ใหญ่บ้านจะมีบทบาทอย่างไร
นอกจากนี้ นายพูนศักดิ์ ยังย้ำว่า ส.ส.ร. ต้องแยกให้ชัดเจนระหว่าง รัฐกับรัฐบาล เพราะรัฐไม่ได้หมายถึงรัฐบาล ซึ่งถ้าความเป็นองค์รวมของชาติถูกกระทบไป ก็เป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วง เช่นเดียวกับความเสมอภาคและเสรีภาพที่ย่อมสวนทางกัน ถ้ากำหนดให้มีเสรีภาพอย่างกว้างขวาง ความเสมอภาคก็จะลดลงซึ่งเป็นผลเสียต่อผู้ยากไร้ได้
อย่างไรก็ตาม นายพินิจ อารยะศิริ เลขาธิการวุฒิสภายืนยันว่า เอกสารสรุปผลการสัมมนาของสมาชิกวุฒิสภาจะเสร็จสิ้นสามารถส่งมอบให้กับประธานวุฒิสภา นายมีชัย ฤชุพันธ์ ประธานวุฒิสภาได้ภายในวันจันทร์ที่จะถึงนี้--จบ--