กรุงเทพ--21 เม.ย.--ศูนย์ข่าว ส.ส.ร.
นายโกเมศ ขวัญเมือง รองโฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญแถลงเพิ่มเติมเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2540 ถึงการยกร่างรัฐธรรมนูญ ในหมวดสิทธิและเสรีภาพ โดยที่ประชุมมีการปรับปรุงและ แก้ไขหลายส่วน ซึ่งต่างจากประเด็นปัญหาและหลักการที่วางไว้ โดยเฉพาะส่วนที่ 3 เรื่องสิทธิและเสรี ภาพของพลเมือง ได้มีการเพิ่มเติมสาระสำคัญว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพของสื่อมวลชนด้วย ได้แก่
- บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น โดยการพูด การเขียน การพิมพ์ การ โฆษณาและการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น
- การสั่งปิดโรงพิมพ์ สถานีวิทยุกระจายเสียงหรือสถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อบั่นทอนเสรีภาพจะ กระทำมิได้
- การห้ามทำการพิมพ์ การห้ามเสนอข่าวทางหนังสือพิมพ์ สถานีวิทยุกระจายเสียงและสถานี วิทยุโทรทัศน์หรือโดยทางอื่นจะกระทำมิได้เว้นแต่จะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งศาล
- การให้นำข่าวหรือบทความในหนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์ไป ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจก่อนโฆษณาจะกระทำมิได้เว้นแต่จะกระทำในระหว่างเวลาที่ประกาศอยู่ในภาวะ สงครามหรือในระหว่างเวลาที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือประกาศใช้กฎอัยการศึก
- การให้เงินหรือทรัพย์สินอย่างอื่นอุดหนุนหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่น ๆ ของหนังสือพิมพ์รัฐ จะกระทำมิได้
ส่วนคลื่นสำหรับส่งวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์เป็นทรัพยากรสื่อมวลชนสาธารณะ ซึ่ง การจัดสรรคลื่นสำหรับส่งวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ การประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงและ วิทยุโทรทัศน์ต้องแข่งขันโดยเสรี โดยที่สัมปทานผูกขาดจะกระทำมิได้ อย่างไรก็ตามการกำกับดูแลกิจการ ให้กระทำโดยองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระ ทั้งนี้บทบัญญัติดังกล่าวจะมีผลในทางปฏิบัติก็ต่อเมื่อสมาชิกรัฐสภา ผลักดันร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญให้สอดคล้องตามเจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญ
- พนักงานหรือลูกจ้างของเอกชนที่ประกอบกิจการหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง หรือ วิทยุ โทรทัศน์ ย่อมมีเสรีภาพในการเสนอข่าวสารและแสดงความเห็นภายใต้ข้อจำกัดของรัฐธรรมนูญ โดยไม่ ตกอยู่ภายใต้อาณัติของหน่วยราชการ องค์กรอื่นของรัฐหรือเจ้าของกิจการนั้น นอกจากนี้การคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพยังครอบคลุมไปถึงข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หรือองค์การอื่นของรัฐใน กิจการวิทยุกระจายเสียงหรือกิจการวิทยุโทรทัศน์ย่อมมีเสรีภาพเช่นเดียวกัน ทั้งนี้หากข้าราชการหรือพนัก งานของรัฐถูกละเมิดสิทธิเสรีภาพสามารถฟ้องร้องต่อศาลปกครองได้
- การประกอบวิชาชีพหรือกิจการของเอกชนที่เกี่ยวกับหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียงหรือ วิทยุโทรทัศน์ ต้องไม่ขัดต่อจรรยาบรรณแห่งการประกอบวิชาชีพ ทั้งนี้ต้องจัดให้มีองค์การอิสระทำหน้าที่ ควบคุมจรรยาบรรณแห่งการวิชาชีพ ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องตามสัดส่วนที่เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้แทนพนักงานหรือลูกจ้างที่อยู่ในกิจการดังกล่าวและประชาชนผู้บริโภคข่าวสาร
นอกจากนี้ในส่วนของสิทธิและเสรีภาพของพลเมือง ยังบัญญัติถึงสิทธิในทรัพย์สินของประชาชน ซึ่งไม่เคยบัญญัติในรัฐธรรมนูญฉบับเดิม โดยระบุว่าหากถูกจัดเวนคืนที่ดิน รัฐต้องมีหลักประกันด้วยค่าทด แทนโดยประเมินจากราคาซื้อขายปกติ--จบ--
นายโกเมศ ขวัญเมือง รองโฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญแถลงเพิ่มเติมเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2540 ถึงการยกร่างรัฐธรรมนูญ ในหมวดสิทธิและเสรีภาพ โดยที่ประชุมมีการปรับปรุงและ แก้ไขหลายส่วน ซึ่งต่างจากประเด็นปัญหาและหลักการที่วางไว้ โดยเฉพาะส่วนที่ 3 เรื่องสิทธิและเสรี ภาพของพลเมือง ได้มีการเพิ่มเติมสาระสำคัญว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพของสื่อมวลชนด้วย ได้แก่
- บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น โดยการพูด การเขียน การพิมพ์ การ โฆษณาและการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น
- การสั่งปิดโรงพิมพ์ สถานีวิทยุกระจายเสียงหรือสถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อบั่นทอนเสรีภาพจะ กระทำมิได้
- การห้ามทำการพิมพ์ การห้ามเสนอข่าวทางหนังสือพิมพ์ สถานีวิทยุกระจายเสียงและสถานี วิทยุโทรทัศน์หรือโดยทางอื่นจะกระทำมิได้เว้นแต่จะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งศาล
- การให้นำข่าวหรือบทความในหนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์ไป ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจก่อนโฆษณาจะกระทำมิได้เว้นแต่จะกระทำในระหว่างเวลาที่ประกาศอยู่ในภาวะ สงครามหรือในระหว่างเวลาที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือประกาศใช้กฎอัยการศึก
- การให้เงินหรือทรัพย์สินอย่างอื่นอุดหนุนหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่น ๆ ของหนังสือพิมพ์รัฐ จะกระทำมิได้
ส่วนคลื่นสำหรับส่งวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์เป็นทรัพยากรสื่อมวลชนสาธารณะ ซึ่ง การจัดสรรคลื่นสำหรับส่งวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ การประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงและ วิทยุโทรทัศน์ต้องแข่งขันโดยเสรี โดยที่สัมปทานผูกขาดจะกระทำมิได้ อย่างไรก็ตามการกำกับดูแลกิจการ ให้กระทำโดยองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระ ทั้งนี้บทบัญญัติดังกล่าวจะมีผลในทางปฏิบัติก็ต่อเมื่อสมาชิกรัฐสภา ผลักดันร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญให้สอดคล้องตามเจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญ
- พนักงานหรือลูกจ้างของเอกชนที่ประกอบกิจการหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง หรือ วิทยุ โทรทัศน์ ย่อมมีเสรีภาพในการเสนอข่าวสารและแสดงความเห็นภายใต้ข้อจำกัดของรัฐธรรมนูญ โดยไม่ ตกอยู่ภายใต้อาณัติของหน่วยราชการ องค์กรอื่นของรัฐหรือเจ้าของกิจการนั้น นอกจากนี้การคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพยังครอบคลุมไปถึงข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หรือองค์การอื่นของรัฐใน กิจการวิทยุกระจายเสียงหรือกิจการวิทยุโทรทัศน์ย่อมมีเสรีภาพเช่นเดียวกัน ทั้งนี้หากข้าราชการหรือพนัก งานของรัฐถูกละเมิดสิทธิเสรีภาพสามารถฟ้องร้องต่อศาลปกครองได้
- การประกอบวิชาชีพหรือกิจการของเอกชนที่เกี่ยวกับหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียงหรือ วิทยุโทรทัศน์ ต้องไม่ขัดต่อจรรยาบรรณแห่งการประกอบวิชาชีพ ทั้งนี้ต้องจัดให้มีองค์การอิสระทำหน้าที่ ควบคุมจรรยาบรรณแห่งการวิชาชีพ ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องตามสัดส่วนที่เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้แทนพนักงานหรือลูกจ้างที่อยู่ในกิจการดังกล่าวและประชาชนผู้บริโภคข่าวสาร
นอกจากนี้ในส่วนของสิทธิและเสรีภาพของพลเมือง ยังบัญญัติถึงสิทธิในทรัพย์สินของประชาชน ซึ่งไม่เคยบัญญัติในรัฐธรรมนูญฉบับเดิม โดยระบุว่าหากถูกจัดเวนคืนที่ดิน รัฐต้องมีหลักประกันด้วยค่าทด แทนโดยประเมินจากราคาซื้อขายปกติ--จบ--