กรุงเทพ--29 ก.ค.--ศูนย์ข่าว ส.ส.ร.
การประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญวาระ 2 ขั้นแปรญัตติ วันนี้ (29 กรกฎาคม 2540) ได้มีการพิจารณาถ้อยคำที่ใช้ในร่างรัฐธรรมนูญเป็นหลัก เพื่อให้ร่างฯ ที่ผ่านการพิจารณาสาระสำคัญก่อนหน้านี้ มีความชัดเจนและสอดคล้องกัน โดยนายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญกล่าวต่อที่ประชุมถึงการทำงานว่า ขณะนี้ผ่านไปแล้ว 215 วัน โดยเวลาที่เหลืออยู่ สมาชิกจะต้องร่วมกันทบทวนการใช้ถ้อยคำให้รัดกุมที่สุด เพราะหลังจากเสร็จสิ้นการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญในวาระ 2 แล้ว ตามข้อบังคับจะต้องทิ้งช่วงระยะเวลาไว้อย่างน้อย 15 วัน โดยจะมีการพิจารณาร่างฯ ในวาระ 3 ขั้นลงมติเห็นชอบ ในวันที่ 15 สิงหาคม 2540 ซึ่งช่วงเวลาระหว่างนั้นจะไม่มีสิทธิแก้ไขปรับปรุงร่างรัฐธรรมนูญได้อีกแล้ว
สำหรับการพิจารณาทบทวนการใช้ถ้อยคำนั้น ได้มีการอภิปรายอย่างกว้างขวาง โดยได้มีการเสนอให้แก้ไขถ้อยคำในมาตรา 3 จากเดิมที่กำหนดให้อำนาจอธิปไตย "เป็นของ" ปวงชนชาวไทยเสนอให้เปลี่ยนเป็น อำนาจอธิปไตย "มาจาก" ปวงชนชาวไทย เพื่อให้สอดคล้องกับมาตราที่ว่าด้วยบุคคลมีหน้าที่ใช้สิทธิเลือกตั้งซึ่งมีสภาพบังคับ ทั้งนี้หากกำหนดให้อำจานอธิปไตยมาจากปวงชนชาวไทย อาจไม่สามารถใช้อำนาจบังคับประชาชนตามกฎหมายได้อย่างไรก็ตามประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญเห็นว่าเป็นมาตราที่ผ่านการลงมติไปแล้วก่อนหน้านี้และสมาชิกคนอื่น ๆ ไม่ได้ตัดสินใจจึงเห็นควรให้คงไว้ตามร่างฯ เดิม
ส่วนมาตรา 38 ที่กล่าวถึงการสั่งปิดโรงพิมพ์ สถานีวิทยุกระจายเสียง หรือสถานนีวิทยุโทรทัศน์ เพื่อ "บั่นรอน" เสรีภาพ จะกระทำมิได้นั้น มีการเสนอให้เปลี่ยนจากคำว่าบั่นรอน ซึ่งไม่มีความหมายตามพจนานุกรมไปใช้คำว่า "ลิดรอน" แทน ซึ่งที่ประชุมเห็นด้วยตามนั้น
ขณะที่มาตราที่กล่าวถึงลักษณะของผู้มีสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้ง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้น เนื่องเนื่องจากร่างรัฐธรรมนูญได้บัญญัติ บทบาทหน้าที่ของวุฒิสภา ให้เป็นสภาตรวจสอบดังนั้นจึงได้มีการแก้ไขในส่วนที่กำหนดลักษณะต้องห้าม ที่ไม่อาจลงสมัครส.ส.ได้ หากเคยถูกรัฐสภามีมติให้ถอดถอนออกจากตำแหน่ง และยังไม่พ้นกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่รัฐสภามีมติจนถึงวันเลือกตั้ง โดยเปลี่ยนจากรัฐสภาได้เป็นอำนาจของวุฒิสภาแทน นอกจากนี้ได้มีการแก้ถ้อยคำอีกหลายแห่งด้วยกัน พร้อมทั้งได้จัดเรียงเลขมาตราให้เหมาะสม โดยร่างรัฐธรรมนูญฉบับของสภาร่างรัฐธรรมนูญมีทั้งสิ้น 336 มาตรา ซึ่งประกอบด้วยบทบัญญัติ 12 บทและบทเฉพาะกาล อย่างไรก็ที่ประชุมจะพิจารณาต่ออีกวันพรุ่งนี้ (30 ก.ค.2540)--จบ--
การประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญวาระ 2 ขั้นแปรญัตติ วันนี้ (29 กรกฎาคม 2540) ได้มีการพิจารณาถ้อยคำที่ใช้ในร่างรัฐธรรมนูญเป็นหลัก เพื่อให้ร่างฯ ที่ผ่านการพิจารณาสาระสำคัญก่อนหน้านี้ มีความชัดเจนและสอดคล้องกัน โดยนายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญกล่าวต่อที่ประชุมถึงการทำงานว่า ขณะนี้ผ่านไปแล้ว 215 วัน โดยเวลาที่เหลืออยู่ สมาชิกจะต้องร่วมกันทบทวนการใช้ถ้อยคำให้รัดกุมที่สุด เพราะหลังจากเสร็จสิ้นการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญในวาระ 2 แล้ว ตามข้อบังคับจะต้องทิ้งช่วงระยะเวลาไว้อย่างน้อย 15 วัน โดยจะมีการพิจารณาร่างฯ ในวาระ 3 ขั้นลงมติเห็นชอบ ในวันที่ 15 สิงหาคม 2540 ซึ่งช่วงเวลาระหว่างนั้นจะไม่มีสิทธิแก้ไขปรับปรุงร่างรัฐธรรมนูญได้อีกแล้ว
สำหรับการพิจารณาทบทวนการใช้ถ้อยคำนั้น ได้มีการอภิปรายอย่างกว้างขวาง โดยได้มีการเสนอให้แก้ไขถ้อยคำในมาตรา 3 จากเดิมที่กำหนดให้อำนาจอธิปไตย "เป็นของ" ปวงชนชาวไทยเสนอให้เปลี่ยนเป็น อำนาจอธิปไตย "มาจาก" ปวงชนชาวไทย เพื่อให้สอดคล้องกับมาตราที่ว่าด้วยบุคคลมีหน้าที่ใช้สิทธิเลือกตั้งซึ่งมีสภาพบังคับ ทั้งนี้หากกำหนดให้อำจานอธิปไตยมาจากปวงชนชาวไทย อาจไม่สามารถใช้อำนาจบังคับประชาชนตามกฎหมายได้อย่างไรก็ตามประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญเห็นว่าเป็นมาตราที่ผ่านการลงมติไปแล้วก่อนหน้านี้และสมาชิกคนอื่น ๆ ไม่ได้ตัดสินใจจึงเห็นควรให้คงไว้ตามร่างฯ เดิม
ส่วนมาตรา 38 ที่กล่าวถึงการสั่งปิดโรงพิมพ์ สถานีวิทยุกระจายเสียง หรือสถานนีวิทยุโทรทัศน์ เพื่อ "บั่นรอน" เสรีภาพ จะกระทำมิได้นั้น มีการเสนอให้เปลี่ยนจากคำว่าบั่นรอน ซึ่งไม่มีความหมายตามพจนานุกรมไปใช้คำว่า "ลิดรอน" แทน ซึ่งที่ประชุมเห็นด้วยตามนั้น
ขณะที่มาตราที่กล่าวถึงลักษณะของผู้มีสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้ง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้น เนื่องเนื่องจากร่างรัฐธรรมนูญได้บัญญัติ บทบาทหน้าที่ของวุฒิสภา ให้เป็นสภาตรวจสอบดังนั้นจึงได้มีการแก้ไขในส่วนที่กำหนดลักษณะต้องห้าม ที่ไม่อาจลงสมัครส.ส.ได้ หากเคยถูกรัฐสภามีมติให้ถอดถอนออกจากตำแหน่ง และยังไม่พ้นกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่รัฐสภามีมติจนถึงวันเลือกตั้ง โดยเปลี่ยนจากรัฐสภาได้เป็นอำนาจของวุฒิสภาแทน นอกจากนี้ได้มีการแก้ถ้อยคำอีกหลายแห่งด้วยกัน พร้อมทั้งได้จัดเรียงเลขมาตราให้เหมาะสม โดยร่างรัฐธรรมนูญฉบับของสภาร่างรัฐธรรมนูญมีทั้งสิ้น 336 มาตรา ซึ่งประกอบด้วยบทบัญญัติ 12 บทและบทเฉพาะกาล อย่างไรก็ที่ประชุมจะพิจารณาต่ออีกวันพรุ่งนี้ (30 ก.ค.2540)--จบ--