กรุงเทพ--21 เม.ย.--ศูนย์ข่าว ส.ส.ร.
นายกระมล ทองธรรมชาติ ประธานคณะกรรมาธิการวิชาการ ข้อมูลและการศึกษาแนวทางการร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ เปิดเผยว่า ช่วงบ่ายวันนี้ (21 เมษายน 2540) คณะกรรมาธิการวิชาการฯ ร่วมกับ ส.ส.ร.จังหวัด จะประชุมเป็นการภายใน เพื่อศึกษารัฐธรรมนูญฉบับต้นร่าง ที่คณะทำงานของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่พิจารณาเบื้องต้นแล้วเสร็จไปก่อนหน้านี้
โดยจะมีการชี้แจงทำความเข้าใจในเนื้อหาสาระ ตลอดจนเปิดโอกาสให้ ส.ส.ร.มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ซึ่งการประชุมเชิงปฏิบัติการของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเต็มคณะ จะมี ส.ส.ร.จากหลายจังหวัดร่วมสังเกตการณ์ด้วย ทั้งนี้การประชุมจะเริ่มตั้งแต่ เวลา 9.00 น. จนกระทั่ง 24.00 น. ติดต่อกันตลอด 5 วันเต็ม จากนั้นจะทำการรายงานร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อจัดพิมพ์ต่อไป อย่างกร็ตาม ยืนยันว่า ภายหลังเสร็จสิ้นการยกร่างรัฐธรรมนูญแล้ว ยังเปิดโอกาสให้มีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมได้อีก ในช่วงการทำประชาพิจารณ์ ทั้งนี้ ส.ส.ร.ยินดีปรับปรุงร่างรัฐธรรมนูญตามกระแสเรียกร้องของประชาชน หากเป็นข้อเสนอที่มีเหตุผล และไม่ขัดต่อกระบวนการปฏิรูปการเมือง
ในส่วนของคณะกรรมาธิการวิชาการ นายกระมล ในฐานะประธานฯ ยืนยันว่า การศึกษาแนวทางการร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ จะยังคงดำเนินต่อไป โดยภายในวันที่ 30 เมษายน 2540 นี้ จะพิจารณาแล้วเสร็จใน 4 ฉบับด้วยกัน
แนวทางการออก พระราชบัญญัติ ว่าด้วย พรรคการเมือง
แนวทางการออก พระราชบัญญัติ ว่าด้วย เงินอุดหนุนทางการเมือง
แนวทางการออก พระราชบัญญัติ ว่าด้วย การเลือกตั้ง
แนวทางการออก พระราชบัญญัติ ว่าด้วย คณะกรรมการการเลือกตั้ง
ทั้งนี้ในส่วนของคณะกรรมการการเลือกตั้ง และเงินอุดหนุนทางการเมือง ถือเป็นประเด็นสำคัญ ซึ่งบางส่วนถูกนำไปบรรจุไว้ในร่างรัฐธรรมนูญแล้ว อาทิ จากเดิมที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้คณะกรรมการการเลือกตั้งเป็น "ผู้กำกับดูแล" การเลือกตั้ง แต่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะระบุให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง "มีอำนาจบริหารจัดการ" การเลือกตั้ง เพื่อสามารถควบคุมการเลือกตั้งให้เกิดผลได้ในทางปฏิบัติ
อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมรัฐสภาแล้ว จะยังไม่ถือว่ามีผลบังคับใช้ จนกว่ากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญฉบับสำคัญ ๆ ซึ่งเห็นว่าจำเป็นต้องระบุรอบเวลาในการร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่ชัดเจนไว้ในบทเฉพาะกาล
นต.ประสงค์ สุ่นศิริ ส.ส.ร.สายผู้มีประสบการณ์ทางการเมืองคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เห็นว่า หากร่างรัฐธรรมนูญกำหนดให้นายกรัฐมนตรีมาจากส.ส. ตามสัดส่วนรายชื่อพรรคการเมือง (Party List) นั้น ในการเลือกตั้งทุกครั้งก็ควรให้ทุกพรรคการเมืองระบุให้ชัดเจนถึงผู้ที่จะเสนอให้เป็นนายกรัฐมนตรีในนามของพรรค ซึ่งเท่ากับว่าประชาชนเลือกนายกรัฐมนตรีโดยตรงไปโดยปริยาย อย่างไรก็ตามสำหรับส.ส.แบบแบ่งเขต (เขตเดียวเบอร์เดียว) กับ ส.ส. Party List ที่คณะทำงานกำหนด 350 : 150 คนนั้น น.ต.ประสงค์ ยอมรับว่าไม่เห็นด้วย โดยเห็นว่าการปรับเปลี่ยนให้ ส.ส.ร.ทั้ง 2 ส่วนมีจำนวนรวมกันให้เหลือเพียง 400 คนน่าจะเพียงพอ
นอกจากนี้ น.ต.ประสงค์ ยังยืนยันด้วยว่า ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะให้ความสำคัญต่อจริยธรรมของนักการเมือง โดยภายหลังที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับสมบูรณ์แล้วเสร็จ เชื่อมั่นว่าประเทศไทยจะได้นักการเมืองที่มีคุณภาพมากขึ้นกว่าเดิม--จบ--
นายกระมล ทองธรรมชาติ ประธานคณะกรรมาธิการวิชาการ ข้อมูลและการศึกษาแนวทางการร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ เปิดเผยว่า ช่วงบ่ายวันนี้ (21 เมษายน 2540) คณะกรรมาธิการวิชาการฯ ร่วมกับ ส.ส.ร.จังหวัด จะประชุมเป็นการภายใน เพื่อศึกษารัฐธรรมนูญฉบับต้นร่าง ที่คณะทำงานของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่พิจารณาเบื้องต้นแล้วเสร็จไปก่อนหน้านี้
โดยจะมีการชี้แจงทำความเข้าใจในเนื้อหาสาระ ตลอดจนเปิดโอกาสให้ ส.ส.ร.มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ซึ่งการประชุมเชิงปฏิบัติการของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเต็มคณะ จะมี ส.ส.ร.จากหลายจังหวัดร่วมสังเกตการณ์ด้วย ทั้งนี้การประชุมจะเริ่มตั้งแต่ เวลา 9.00 น. จนกระทั่ง 24.00 น. ติดต่อกันตลอด 5 วันเต็ม จากนั้นจะทำการรายงานร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อจัดพิมพ์ต่อไป อย่างกร็ตาม ยืนยันว่า ภายหลังเสร็จสิ้นการยกร่างรัฐธรรมนูญแล้ว ยังเปิดโอกาสให้มีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมได้อีก ในช่วงการทำประชาพิจารณ์ ทั้งนี้ ส.ส.ร.ยินดีปรับปรุงร่างรัฐธรรมนูญตามกระแสเรียกร้องของประชาชน หากเป็นข้อเสนอที่มีเหตุผล และไม่ขัดต่อกระบวนการปฏิรูปการเมือง
ในส่วนของคณะกรรมาธิการวิชาการ นายกระมล ในฐานะประธานฯ ยืนยันว่า การศึกษาแนวทางการร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ จะยังคงดำเนินต่อไป โดยภายในวันที่ 30 เมษายน 2540 นี้ จะพิจารณาแล้วเสร็จใน 4 ฉบับด้วยกัน
แนวทางการออก พระราชบัญญัติ ว่าด้วย พรรคการเมือง
แนวทางการออก พระราชบัญญัติ ว่าด้วย เงินอุดหนุนทางการเมือง
แนวทางการออก พระราชบัญญัติ ว่าด้วย การเลือกตั้ง
แนวทางการออก พระราชบัญญัติ ว่าด้วย คณะกรรมการการเลือกตั้ง
ทั้งนี้ในส่วนของคณะกรรมการการเลือกตั้ง และเงินอุดหนุนทางการเมือง ถือเป็นประเด็นสำคัญ ซึ่งบางส่วนถูกนำไปบรรจุไว้ในร่างรัฐธรรมนูญแล้ว อาทิ จากเดิมที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้คณะกรรมการการเลือกตั้งเป็น "ผู้กำกับดูแล" การเลือกตั้ง แต่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะระบุให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง "มีอำนาจบริหารจัดการ" การเลือกตั้ง เพื่อสามารถควบคุมการเลือกตั้งให้เกิดผลได้ในทางปฏิบัติ
อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมรัฐสภาแล้ว จะยังไม่ถือว่ามีผลบังคับใช้ จนกว่ากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญฉบับสำคัญ ๆ ซึ่งเห็นว่าจำเป็นต้องระบุรอบเวลาในการร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่ชัดเจนไว้ในบทเฉพาะกาล
นต.ประสงค์ สุ่นศิริ ส.ส.ร.สายผู้มีประสบการณ์ทางการเมืองคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เห็นว่า หากร่างรัฐธรรมนูญกำหนดให้นายกรัฐมนตรีมาจากส.ส. ตามสัดส่วนรายชื่อพรรคการเมือง (Party List) นั้น ในการเลือกตั้งทุกครั้งก็ควรให้ทุกพรรคการเมืองระบุให้ชัดเจนถึงผู้ที่จะเสนอให้เป็นนายกรัฐมนตรีในนามของพรรค ซึ่งเท่ากับว่าประชาชนเลือกนายกรัฐมนตรีโดยตรงไปโดยปริยาย อย่างไรก็ตามสำหรับส.ส.แบบแบ่งเขต (เขตเดียวเบอร์เดียว) กับ ส.ส. Party List ที่คณะทำงานกำหนด 350 : 150 คนนั้น น.ต.ประสงค์ ยอมรับว่าไม่เห็นด้วย โดยเห็นว่าการปรับเปลี่ยนให้ ส.ส.ร.ทั้ง 2 ส่วนมีจำนวนรวมกันให้เหลือเพียง 400 คนน่าจะเพียงพอ
นอกจากนี้ น.ต.ประสงค์ ยังยืนยันด้วยว่า ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะให้ความสำคัญต่อจริยธรรมของนักการเมือง โดยภายหลังที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับสมบูรณ์แล้วเสร็จ เชื่อมั่นว่าประเทศไทยจะได้นักการเมืองที่มีคุณภาพมากขึ้นกว่าเดิม--จบ--