กรุงเทพ--30 เม.ย.--ศูนย์ข่าว ส.ส.ร.
นายปกิต พัฒกุล สมาชิกวุฒิสภา กล่าวถึงการกำหนดบทเฉพาะกาลของร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ว่า สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) จะต้องมีเหตุผลที่อธิบายได้ทุกมาตรา บทเฉพาะกาลจะต้องมีประโยชน์ต่อระบอบประชาธิปไตย มิใช่เขียนขึ้นมาเพื่อเอาใจบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือคณะบุคคลใด ทั้งนี้ ต้องดูว่าข้อกำหนดที่จะบัญญัติขึ้นมา ทางสถาบันนิติบัญญัติจะสามารถปฏิบัติได้หรือไม่
"ในฐานะที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาหลายสมัย จนถึงปัจจุบันนี้ก็ยังเป็นสมาชิกวุฒิสภา เป็นผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์การพิจารณากฎหมายมาตลอด เป็นผู้ที่นั่งทำนั่งเขียนกฎหมายจริง ๆ เวลาที่กำหนดไว้ 120 วันไม่สามารถออกกฎหมายได้ทัน ส่วนจะได้เวลากี่วันนั้นผมก็ไม่สามารถตอบได้เพราะขึ้นอยู่กับผู้เสนอกฎหมายว่าแต่ละฉบับสั้นหรือยาวแค่ไหน จะมาบังคับเขียนกฎหมายเร่งด่วนทำไม่ได้ เพราะจะมีผลทางปฏิบัติที่ออกมาแสดงความคิดเห็นก็ไม่ได้เป็นการชี้นำแต่เป็นความหวั่นเกรง และที่ไม่มีสมาชิกรัฐสภาออกมาวิพากษ์วิจารณ์ก็เพราะมาตรา 211 ได้ปิดปากสมาชิกเอาไว้" นายปกิตกล่าว
ด้านนายสุชน ชาลีเครือ สมาชิกวุฒิสภา กล่าวว่า ตนเคยเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญมา 3 ครั้งแล้ว การที่กำหนดระยะเวลาให้ 120 วันในการออกกฏหมายลูกนั้น แม้สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญจะมีเจตนาดีที่เกรงว่าฝ่ายบริหารจะไม่เร่งรีบดำเนินการ แต่ข้อเท็จจริงเป็นการบังคับให้กับผู้ปฏิบัติดำเนินการเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง ซึ่งเรื่องนี้การออกกฏหมายต่าง ๆ ทางสถาบันนิติบัญญัติมีหน้าที่ในการดำเนินการอยู่แล้ว อย่างเช่นกฏหมายคณะกรรมการเลือกตั้งได้พิจารณาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พร้อมที่จะประกาศบังคับใช้เป็นกฏหมายในไม่ช้า ซึ่งเรื่องนี้ก็ไม่ควรกำหนดไว้ในบทเฉพาะกาล
นายสุชน กล่าวด้วยว่า เป็นเรื่องไม่เหมาะสมที่ ส.ส.ร.จะไปบังคับผู้ปฏิบัติ อย่างไรก็ตามที่ผ่านมากฏหมายหลายฉบับที่ไม่สามารถออกได้ และตามกฏหมายรัฐธรรมนูญก็ไม่สามารถลงโทษใครได้ เช่นเรื่องกฏหมายคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือกฏหมายศาลปกครอง เห็นว่าการกำหนดระยะเวลาควรระบุเป็นแนวทางที่มีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติจะเหมาะสมกว่า
ด้านนายไพบูลย์ ช่างเรียน สมาชิกวุฒิสภา กล่าวถึงการกำหนดบทเฉพาะกาลว่า เป็นเรื่องที่จะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เพราะจะมีผล อย่างเช่นเรื่องอำนาจในการยุบสภาที่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่กำหนดว่าจะต้องเป็นมติคณะรัฐมนตรี ซึ่งเมื่อรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มีผลบังคับใช้เมื่อใดและในบทเฉพาะกาลไม่ได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ นายกรัฐมนตรีก็ไม่มีอำนาจยุบสภาได้ตามลำพัง
นายพงษ์เทพ เทพกาญจนา กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ สภาร่างรัฐธรรมนูญกล่าวว่าการที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญกำหนดระยะเวลาในการออกกฎหมายลูกจาก 240 วัน เป็น 120 วัน เพราะคงเห็นหน้าเห็นตาชัดเจนขึ้นยิ่งขึ้นแล้ว ซึ่งก็น่าจะได้เตรียมการร่างกฎหมายต่าง ๆ ได้แล้ว อย่างไรก็ตาม ในช่วงของการทำประชาพิจารณ์เราก็อยากรับฟังความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติเช่นกัน ซึ่งความคิดเห็นเหล่านั้นจะเป็นส่วนสำคัญในการพิจารณา ซึ่งสภาร่างรัฐธรรมนูญก็พร้อมที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงปรับปรุงทั้งนั้น เพราะขณะนี้ เรายังไม่ได้ถือเป็นข้อยุติอย่างเด็ดขาดแม้แต่มาตราเดียว
นายปิ่นทิพย์ สุจริตกุล อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ซึ่งเป็นตัวแทนฝ่ายตุลาการที่คณะกรรมาธิการวิชาการฯ สภาร่างรัฐธรรมนูญ เชิญเข้าชี้แจงแสดงความเห็นเรื่องสภาตุลาการเปิดเผยถึงการเข้าชี้แจงดังกล่าวว่า ได้พยายามชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของความเป็นเอกภาพของระบบตุลาการ ที่จะจัดตั้งขึ้นมาทำหน้าที่บริหารงานศาลต่าง ๆ ซึ่งหลักการของการจัดตั้งสภาตุลาการนี้ ตนค่อนข้างจะเห็นด้วย แต่ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยที่จะต้องใช้เวลาศึกษาเพื่อความรอบคอบ
"ผมยังได้ชี้แจงโดยพยายามชี้ให้เห็นว่า การเลียนแบบระบบศาลจากต่างประเทศ โดยเฉพาะฝรั่งเศส อาจไม่ช่วยทำให้กระบวนการยุติธรรมของประเทศไทยมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะถ้าเราเลียนแบบมาโดยที่เราไม่รู้รายละเอียดที่ลึกซึ้ง อาจจะทำให้เกิดความผิดพลาดขึ้นได้" นายปิ่นทิพย์ซึ่งเป็นกรรมการตุลาการ (ก.ต.) กล่าว
นายปิ่นทิพย์ กล่าวอีกว่า ความคิดเห็นที่ตัวแทนฝ่ายตุลาการชี้แจงไปนั้น คณะกรรมาธิการฯ ก็รับฟังดี แต่จะนำไปกำหนดในรัฐธรรมนูญหรือไม่ เป็นเรื่องของ ส.ส.ร.ฝ่ายตุลาการ ไม่สามารถบังคับได้ แต่ขณะนี้คณะกรรมาธิการฯบางส่วน เริ่มคำนึงถึงหลักการเกี่ยวกับความเป็นเอกภาพของระบบตุลาการ ซึ่งตนพยายามชี้แจงให้เห็นว่า การจะปรับปรุงสิ่งใดโดยที่ไม่ทราบปัญหาที่แท้จริงนั้น ไม่เพียงแต่จะสร้างปัญหาให้กับศาลยุติธรรม แต่จะส่งผลต่อประชาชนจะได้รับความเดือดร้อนจากระบบที่สับสน
ส่วนนายบุญสู่ วุฒิวงศ์ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอาญา เห็นด้วยกับการกำหนดให้บุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจุดเกาะเกี่ยวกับตุลาการในกรรมการตุลาการ (ก.ต.) เพราะขณะนี้หลายฝ่ายมองว่า ก.ต.เป็นแดนสนธยา แม้กระทั่งผู้พิพากษาที่มีเรื่องเข้าสู่การพิจาณาของ ก.ต.ยังมองว่าเป็นการปิดประตูตีแมว ตอนนี้ถึงเวลาที่ต้องปรับโครงสร้าง ก.ต. ให้มีบุคคลภายนอกที่เป็นตัวแทนฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติเข้าร่วม อย่างไรก็ตามการกำหนดกรอบรัฐธรรมนูญในหมวดศาลของ ส.ส.ร. ที่กำหนดให้มีการจัดตั้งสามารถแก้ไขในองค์กรได้เอง ไม่จำเป็นต้องตั้งศาลคู่ขึ้นมา 4-5 ศาลโดยเฉพาะศาลรัฐธรรมนูญยังไม่มีความจำเป็นสำหรับประเทศไทย เพราะตุลาการรัฐธรรมนูญยังทำหน้าที่ได้ดีอยู่--จบ--
นายปกิต พัฒกุล สมาชิกวุฒิสภา กล่าวถึงการกำหนดบทเฉพาะกาลของร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ว่า สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) จะต้องมีเหตุผลที่อธิบายได้ทุกมาตรา บทเฉพาะกาลจะต้องมีประโยชน์ต่อระบอบประชาธิปไตย มิใช่เขียนขึ้นมาเพื่อเอาใจบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือคณะบุคคลใด ทั้งนี้ ต้องดูว่าข้อกำหนดที่จะบัญญัติขึ้นมา ทางสถาบันนิติบัญญัติจะสามารถปฏิบัติได้หรือไม่
"ในฐานะที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาหลายสมัย จนถึงปัจจุบันนี้ก็ยังเป็นสมาชิกวุฒิสภา เป็นผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์การพิจารณากฎหมายมาตลอด เป็นผู้ที่นั่งทำนั่งเขียนกฎหมายจริง ๆ เวลาที่กำหนดไว้ 120 วันไม่สามารถออกกฎหมายได้ทัน ส่วนจะได้เวลากี่วันนั้นผมก็ไม่สามารถตอบได้เพราะขึ้นอยู่กับผู้เสนอกฎหมายว่าแต่ละฉบับสั้นหรือยาวแค่ไหน จะมาบังคับเขียนกฎหมายเร่งด่วนทำไม่ได้ เพราะจะมีผลทางปฏิบัติที่ออกมาแสดงความคิดเห็นก็ไม่ได้เป็นการชี้นำแต่เป็นความหวั่นเกรง และที่ไม่มีสมาชิกรัฐสภาออกมาวิพากษ์วิจารณ์ก็เพราะมาตรา 211 ได้ปิดปากสมาชิกเอาไว้" นายปกิตกล่าว
ด้านนายสุชน ชาลีเครือ สมาชิกวุฒิสภา กล่าวว่า ตนเคยเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญมา 3 ครั้งแล้ว การที่กำหนดระยะเวลาให้ 120 วันในการออกกฏหมายลูกนั้น แม้สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญจะมีเจตนาดีที่เกรงว่าฝ่ายบริหารจะไม่เร่งรีบดำเนินการ แต่ข้อเท็จจริงเป็นการบังคับให้กับผู้ปฏิบัติดำเนินการเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง ซึ่งเรื่องนี้การออกกฏหมายต่าง ๆ ทางสถาบันนิติบัญญัติมีหน้าที่ในการดำเนินการอยู่แล้ว อย่างเช่นกฏหมายคณะกรรมการเลือกตั้งได้พิจารณาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พร้อมที่จะประกาศบังคับใช้เป็นกฏหมายในไม่ช้า ซึ่งเรื่องนี้ก็ไม่ควรกำหนดไว้ในบทเฉพาะกาล
นายสุชน กล่าวด้วยว่า เป็นเรื่องไม่เหมาะสมที่ ส.ส.ร.จะไปบังคับผู้ปฏิบัติ อย่างไรก็ตามที่ผ่านมากฏหมายหลายฉบับที่ไม่สามารถออกได้ และตามกฏหมายรัฐธรรมนูญก็ไม่สามารถลงโทษใครได้ เช่นเรื่องกฏหมายคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือกฏหมายศาลปกครอง เห็นว่าการกำหนดระยะเวลาควรระบุเป็นแนวทางที่มีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติจะเหมาะสมกว่า
ด้านนายไพบูลย์ ช่างเรียน สมาชิกวุฒิสภา กล่าวถึงการกำหนดบทเฉพาะกาลว่า เป็นเรื่องที่จะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เพราะจะมีผล อย่างเช่นเรื่องอำนาจในการยุบสภาที่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่กำหนดว่าจะต้องเป็นมติคณะรัฐมนตรี ซึ่งเมื่อรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มีผลบังคับใช้เมื่อใดและในบทเฉพาะกาลไม่ได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ นายกรัฐมนตรีก็ไม่มีอำนาจยุบสภาได้ตามลำพัง
นายพงษ์เทพ เทพกาญจนา กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ สภาร่างรัฐธรรมนูญกล่าวว่าการที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญกำหนดระยะเวลาในการออกกฎหมายลูกจาก 240 วัน เป็น 120 วัน เพราะคงเห็นหน้าเห็นตาชัดเจนขึ้นยิ่งขึ้นแล้ว ซึ่งก็น่าจะได้เตรียมการร่างกฎหมายต่าง ๆ ได้แล้ว อย่างไรก็ตาม ในช่วงของการทำประชาพิจารณ์เราก็อยากรับฟังความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติเช่นกัน ซึ่งความคิดเห็นเหล่านั้นจะเป็นส่วนสำคัญในการพิจารณา ซึ่งสภาร่างรัฐธรรมนูญก็พร้อมที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงปรับปรุงทั้งนั้น เพราะขณะนี้ เรายังไม่ได้ถือเป็นข้อยุติอย่างเด็ดขาดแม้แต่มาตราเดียว
นายปิ่นทิพย์ สุจริตกุล อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ซึ่งเป็นตัวแทนฝ่ายตุลาการที่คณะกรรมาธิการวิชาการฯ สภาร่างรัฐธรรมนูญ เชิญเข้าชี้แจงแสดงความเห็นเรื่องสภาตุลาการเปิดเผยถึงการเข้าชี้แจงดังกล่าวว่า ได้พยายามชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของความเป็นเอกภาพของระบบตุลาการ ที่จะจัดตั้งขึ้นมาทำหน้าที่บริหารงานศาลต่าง ๆ ซึ่งหลักการของการจัดตั้งสภาตุลาการนี้ ตนค่อนข้างจะเห็นด้วย แต่ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยที่จะต้องใช้เวลาศึกษาเพื่อความรอบคอบ
"ผมยังได้ชี้แจงโดยพยายามชี้ให้เห็นว่า การเลียนแบบระบบศาลจากต่างประเทศ โดยเฉพาะฝรั่งเศส อาจไม่ช่วยทำให้กระบวนการยุติธรรมของประเทศไทยมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะถ้าเราเลียนแบบมาโดยที่เราไม่รู้รายละเอียดที่ลึกซึ้ง อาจจะทำให้เกิดความผิดพลาดขึ้นได้" นายปิ่นทิพย์ซึ่งเป็นกรรมการตุลาการ (ก.ต.) กล่าว
นายปิ่นทิพย์ กล่าวอีกว่า ความคิดเห็นที่ตัวแทนฝ่ายตุลาการชี้แจงไปนั้น คณะกรรมาธิการฯ ก็รับฟังดี แต่จะนำไปกำหนดในรัฐธรรมนูญหรือไม่ เป็นเรื่องของ ส.ส.ร.ฝ่ายตุลาการ ไม่สามารถบังคับได้ แต่ขณะนี้คณะกรรมาธิการฯบางส่วน เริ่มคำนึงถึงหลักการเกี่ยวกับความเป็นเอกภาพของระบบตุลาการ ซึ่งตนพยายามชี้แจงให้เห็นว่า การจะปรับปรุงสิ่งใดโดยที่ไม่ทราบปัญหาที่แท้จริงนั้น ไม่เพียงแต่จะสร้างปัญหาให้กับศาลยุติธรรม แต่จะส่งผลต่อประชาชนจะได้รับความเดือดร้อนจากระบบที่สับสน
ส่วนนายบุญสู่ วุฒิวงศ์ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอาญา เห็นด้วยกับการกำหนดให้บุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจุดเกาะเกี่ยวกับตุลาการในกรรมการตุลาการ (ก.ต.) เพราะขณะนี้หลายฝ่ายมองว่า ก.ต.เป็นแดนสนธยา แม้กระทั่งผู้พิพากษาที่มีเรื่องเข้าสู่การพิจาณาของ ก.ต.ยังมองว่าเป็นการปิดประตูตีแมว ตอนนี้ถึงเวลาที่ต้องปรับโครงสร้าง ก.ต. ให้มีบุคคลภายนอกที่เป็นตัวแทนฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติเข้าร่วม อย่างไรก็ตามการกำหนดกรอบรัฐธรรมนูญในหมวดศาลของ ส.ส.ร. ที่กำหนดให้มีการจัดตั้งสามารถแก้ไขในองค์กรได้เอง ไม่จำเป็นต้องตั้งศาลคู่ขึ้นมา 4-5 ศาลโดยเฉพาะศาลรัฐธรรมนูญยังไม่มีความจำเป็นสำหรับประเทศไทย เพราะตุลาการรัฐธรรมนูญยังทำหน้าที่ได้ดีอยู่--จบ--