กรุงเทพ--6 ส.ค.--ศูนย์ข่าว ส.ส.ร.
การประชุมคณะกรรมาธิการวิชาการ ข้อมูล และศึกษาแนวทางการร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญสภาร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อพิจารณาแนวทางการร่างกฎหมายประกอบร่างรัฐธรรมนูญฉบับสำคัญ ๆ ซึ่งมีนายกระมล ทองธรรมชาติ ประธานคณะกรรมาธิการฯ เป็นประธานที่ประชุมวันนี้ (6 สิงหาคม 2540) ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับแนวทางการร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญแล้ว เช่น กฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้งเบื้องต้น โดยให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง มีที่มาจากการคัดเลือกโดยคณะกรรมการสรรหา ซึ่งประกอบด้วยประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด อธิการบดีของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่เป็นนิติบุคคลทุกแห่ง ซึ่งเลือกกันเองให้เหลือ 4 คน ทำหน้าที่พิจารณาสรรหาผู้ที่สมควรเป็นกรรมการการเลือกตั้ง จำนวน 5 คน เสนอต่อประธานวุฒิสภา ขณะเดียวกันที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา พิจารณาสรรหาผู้สมควรเป็นกรรมการการเลือกตั้งให้เหลือจำนวน 5 คน เสนอต่อประธานวุฒิสภาเช่นกัน จากนั้นที่ประชึมวุฒิสภาลงมติเลือกให้เหลือ 5 คน การลงมติจะต้องทำโดยวิธีลงคะแนนลับ ซึ่งเป็นไปตามร่างรัฐธรรมนูญกำหนดไว้
นอกจากนี้ในส่วนของบทบาทหน้าที่ นอกเหนือจากที่คณะกรรมการการเลือกตั้งจะมีอำนาจในการสั่งการให้ราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือราชการส่วนท้องถิ่น ปฎิบัติการเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ตลอดจนสืบสวนสอบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริง และวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาหรือข้อโต้แย้ง ที่เกิดขึ้นในการเลือกตั้ง รวมทั้งประกาศผลการเลือกตั้ง และการออกเสียงประชามติแล้ว ตามร่างรัฐธรรมนูญยังเปิดกว้างให้มีบทบาทหน้าที่ในอันที่จะอำนวยประโยชน์ต่อการทำงานได้ด้วย ทั้งนี้ทางคณะกรรมาธิการฯ เห็นควรให้ระบุไว้ ในร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่า คณะกรรมการการเลือกตั้ง จะมีอำนาจลงโทษ ข้าราชการที่ไม่ปฎิบัติหน้าที่ในการจัดการเลือกตั้งได้โดยตรง โดยไม่จำเป็นต้องออกคำสั่งผ่านหน่วยงานราชการแต่อย่างใด
และนอกจากร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้งที่พิจารณาแล้วคณะกรรมาธิการฯ ยังจะพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งว่าด้วยพรรคการเมืองและว่าด้วยการเลือกตั้ง (สส.และสมาชิกวุฒิสภา) พร้อมกันไปด้วย เนื่องจากเป็นร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญฉบับสำคัญที่ตามบทเฉพาะกาลกำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา จะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 240 วัน โดยที่ก่อนหน้านี้คณะกรรมาธิการฯ ได้หารือแนวทางเบื้องต้นในการร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การตั้งพรรคการเมือง ที่ประชาชนจะมีโอกาสเข้ามาส่วนร่วมได้ง่าย ตลอดจนเงื่อนไขการอุดหนุนพรรคการเมืองจากภาครัฐ ทั้งนี้ภายหลังที่ร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญทั้ง 3 ฉบับแล้วเสร็จสภาร่างรัฐธรรมนูญ จะนำเสนอควบคู่ไปกับร่างรัฐธรรมนูญเพื่อรัฐสภาใช้เป็นแนวทางโดยจะไม่เป็นข้อผูกมัดสมาชิกรัฐสภา ให้ต้องร่างกฎหมายตรงตามแนวทางนี้ทั้งหมดด้วย
หมายเหตุ ระหว่างวันที่ 9-10 สิงหาคม 2540 นี้ คณะกรรมาธิการวิชาการ ข้อมูล และศึกษาแนวทางการร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญพร้อมทั้ง ส.ส.ร.ที่สนใจจะหารือถึงการร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญร่วมกับ นักวิชาการ นักวิจัยและข้าราชการกระทรวงมหาดไทยด้วย ณ โรมแรมกรุงศรีริเวอร์ จ.อยุธยา--จบ--
การประชุมคณะกรรมาธิการวิชาการ ข้อมูล และศึกษาแนวทางการร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญสภาร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อพิจารณาแนวทางการร่างกฎหมายประกอบร่างรัฐธรรมนูญฉบับสำคัญ ๆ ซึ่งมีนายกระมล ทองธรรมชาติ ประธานคณะกรรมาธิการฯ เป็นประธานที่ประชุมวันนี้ (6 สิงหาคม 2540) ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับแนวทางการร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญแล้ว เช่น กฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้งเบื้องต้น โดยให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง มีที่มาจากการคัดเลือกโดยคณะกรรมการสรรหา ซึ่งประกอบด้วยประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด อธิการบดีของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่เป็นนิติบุคคลทุกแห่ง ซึ่งเลือกกันเองให้เหลือ 4 คน ทำหน้าที่พิจารณาสรรหาผู้ที่สมควรเป็นกรรมการการเลือกตั้ง จำนวน 5 คน เสนอต่อประธานวุฒิสภา ขณะเดียวกันที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา พิจารณาสรรหาผู้สมควรเป็นกรรมการการเลือกตั้งให้เหลือจำนวน 5 คน เสนอต่อประธานวุฒิสภาเช่นกัน จากนั้นที่ประชึมวุฒิสภาลงมติเลือกให้เหลือ 5 คน การลงมติจะต้องทำโดยวิธีลงคะแนนลับ ซึ่งเป็นไปตามร่างรัฐธรรมนูญกำหนดไว้
นอกจากนี้ในส่วนของบทบาทหน้าที่ นอกเหนือจากที่คณะกรรมการการเลือกตั้งจะมีอำนาจในการสั่งการให้ราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือราชการส่วนท้องถิ่น ปฎิบัติการเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ตลอดจนสืบสวนสอบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริง และวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาหรือข้อโต้แย้ง ที่เกิดขึ้นในการเลือกตั้ง รวมทั้งประกาศผลการเลือกตั้ง และการออกเสียงประชามติแล้ว ตามร่างรัฐธรรมนูญยังเปิดกว้างให้มีบทบาทหน้าที่ในอันที่จะอำนวยประโยชน์ต่อการทำงานได้ด้วย ทั้งนี้ทางคณะกรรมาธิการฯ เห็นควรให้ระบุไว้ ในร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่า คณะกรรมการการเลือกตั้ง จะมีอำนาจลงโทษ ข้าราชการที่ไม่ปฎิบัติหน้าที่ในการจัดการเลือกตั้งได้โดยตรง โดยไม่จำเป็นต้องออกคำสั่งผ่านหน่วยงานราชการแต่อย่างใด
และนอกจากร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้งที่พิจารณาแล้วคณะกรรมาธิการฯ ยังจะพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งว่าด้วยพรรคการเมืองและว่าด้วยการเลือกตั้ง (สส.และสมาชิกวุฒิสภา) พร้อมกันไปด้วย เนื่องจากเป็นร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญฉบับสำคัญที่ตามบทเฉพาะกาลกำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา จะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 240 วัน โดยที่ก่อนหน้านี้คณะกรรมาธิการฯ ได้หารือแนวทางเบื้องต้นในการร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การตั้งพรรคการเมือง ที่ประชาชนจะมีโอกาสเข้ามาส่วนร่วมได้ง่าย ตลอดจนเงื่อนไขการอุดหนุนพรรคการเมืองจากภาครัฐ ทั้งนี้ภายหลังที่ร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญทั้ง 3 ฉบับแล้วเสร็จสภาร่างรัฐธรรมนูญ จะนำเสนอควบคู่ไปกับร่างรัฐธรรมนูญเพื่อรัฐสภาใช้เป็นแนวทางโดยจะไม่เป็นข้อผูกมัดสมาชิกรัฐสภา ให้ต้องร่างกฎหมายตรงตามแนวทางนี้ทั้งหมดด้วย
หมายเหตุ ระหว่างวันที่ 9-10 สิงหาคม 2540 นี้ คณะกรรมาธิการวิชาการ ข้อมูล และศึกษาแนวทางการร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญพร้อมทั้ง ส.ส.ร.ที่สนใจจะหารือถึงการร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญร่วมกับ นักวิชาการ นักวิจัยและข้าราชการกระทรวงมหาดไทยด้วย ณ โรมแรมกรุงศรีริเวอร์ จ.อยุธยา--จบ--