กรุงเทพ--30 เม.ย.--ศูนย์ข่าว ส.ส.ร.
นายกระมล ทองธรรมชาติ ประธานคณะกรรมาธิการวิชาการ ข้อมูลและศึกษาแนวทางการร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ กล่าวหลังการประชุมวันนี้ (30 เมษายน 2540) ว่า ในการประชุมซึ่งใช้เวลากว่า 2 ชั่วโมง ได้มีการกำหนดประเด็นที่เชื่อว่าประชาชนอาจสนใจหรือเป็นประเด็นที่มีปัญหาและอยู่ในความรู้สึกของประชาชนในการร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้ จึงได้หยิบยกบางประเด็นในเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาพิจารณา ซึ่งสามารถรวบรวมได้ประมาณ 24 ประเด็นที่จะจัดทำเป็นเอกสารชี้แจงรายละเอียดเช่น การแยกหน้าที่ระหว่าง ส.ส. และรัฐมนตรีหรือห้าม ส.ส.เป็นรัฐมนตรีนั้นจะมีผลดีและเสียอย่างไรเพื่อให้ประชาชนช่วยกันระดมความคิดในช่วงประชาพิจารณ์ว่าส่วนไหนมีน้ำหนักมากกว่ากัน หรือประเด็นที่มานายกรัฐมนตรี, ที่มาวุฒิสมาชิก และการแยกศาลออกเป็นศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ต่างมีข้อดีและเสียอย่างไรในการทำหน้าที่ ฯลฯ ซึ่งยืนยันว่ารายละเอียดในประเด็นต่าง ๆ จะไม่ชี้นำเด็ดขาด เพราะจุดประสงค์หลักของคณะกรรมาธิการวิชาการฯ เพื่อต้องการให้ส.ส.ร.และประชาชนได้รับความรู้ก่อนตัดสินใจในช่วงประชาพิจารณ์ที่กำลังจะเริ่มต้นในเดือนพฤษภาคมนี้
สำหรับเอกสารชี้แจง 24 ประเด็นที่คณะทำงานดำเนินการอยู่นั้น นายกระมลกล่าวว่าจะเสร็จสมบูรณ์ภายในวันที่ 7 พ.ค. 2540 หลังจากนั้นจะแจกให้ส.ส.ร.ทั่วประเทศไปทำความเข้าใจเบื้องต้นและนำข้อมูลเหล่านี้ไปชี้แจงต่อประชาชนที่สงสัยในช่วงการจัดประชาพิจารณ์ต่อไป
นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้พิจารณาความคืบหน้าการทำงานของคณะอนุกรรมาธิการชุดต่าง ๆ ที่ได้รับมอบหมายให้ร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญด้วย เพื่อเตรียมไว้หลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญ โดยขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างเตรียมโครงสร้าง ซึ่งหลังจากมีแนวคิดชัดเจนแล้วก็จะเริ่มลงในรายละเอียดต่อไป ทั้งนี้ร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่จัดทำขึ้น จะมีทั้งเหตุผลและหลักการที่แจกแจงไว้เพื่อให้รัฐสภาใช้เป็นแนวทางทำงานตามกำหนด 120 วัน อย่างไรก็ตามรัฐสภาก็สามารถคิดใหม่ได้โดยไม่จำเป็นต้องยึดตามแนวทางนี้ แต่คณะกรรมาธิการวิชาการฯ จัดทำขึ้นเพื่อประโยชน์ในการร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นการเตรียมข้อมูลให้เท่านั้น--จบ--
นายกระมล ทองธรรมชาติ ประธานคณะกรรมาธิการวิชาการ ข้อมูลและศึกษาแนวทางการร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ กล่าวหลังการประชุมวันนี้ (30 เมษายน 2540) ว่า ในการประชุมซึ่งใช้เวลากว่า 2 ชั่วโมง ได้มีการกำหนดประเด็นที่เชื่อว่าประชาชนอาจสนใจหรือเป็นประเด็นที่มีปัญหาและอยู่ในความรู้สึกของประชาชนในการร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้ จึงได้หยิบยกบางประเด็นในเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาพิจารณา ซึ่งสามารถรวบรวมได้ประมาณ 24 ประเด็นที่จะจัดทำเป็นเอกสารชี้แจงรายละเอียดเช่น การแยกหน้าที่ระหว่าง ส.ส. และรัฐมนตรีหรือห้าม ส.ส.เป็นรัฐมนตรีนั้นจะมีผลดีและเสียอย่างไรเพื่อให้ประชาชนช่วยกันระดมความคิดในช่วงประชาพิจารณ์ว่าส่วนไหนมีน้ำหนักมากกว่ากัน หรือประเด็นที่มานายกรัฐมนตรี, ที่มาวุฒิสมาชิก และการแยกศาลออกเป็นศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ต่างมีข้อดีและเสียอย่างไรในการทำหน้าที่ ฯลฯ ซึ่งยืนยันว่ารายละเอียดในประเด็นต่าง ๆ จะไม่ชี้นำเด็ดขาด เพราะจุดประสงค์หลักของคณะกรรมาธิการวิชาการฯ เพื่อต้องการให้ส.ส.ร.และประชาชนได้รับความรู้ก่อนตัดสินใจในช่วงประชาพิจารณ์ที่กำลังจะเริ่มต้นในเดือนพฤษภาคมนี้
สำหรับเอกสารชี้แจง 24 ประเด็นที่คณะทำงานดำเนินการอยู่นั้น นายกระมลกล่าวว่าจะเสร็จสมบูรณ์ภายในวันที่ 7 พ.ค. 2540 หลังจากนั้นจะแจกให้ส.ส.ร.ทั่วประเทศไปทำความเข้าใจเบื้องต้นและนำข้อมูลเหล่านี้ไปชี้แจงต่อประชาชนที่สงสัยในช่วงการจัดประชาพิจารณ์ต่อไป
นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้พิจารณาความคืบหน้าการทำงานของคณะอนุกรรมาธิการชุดต่าง ๆ ที่ได้รับมอบหมายให้ร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญด้วย เพื่อเตรียมไว้หลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญ โดยขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างเตรียมโครงสร้าง ซึ่งหลังจากมีแนวคิดชัดเจนแล้วก็จะเริ่มลงในรายละเอียดต่อไป ทั้งนี้ร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่จัดทำขึ้น จะมีทั้งเหตุผลและหลักการที่แจกแจงไว้เพื่อให้รัฐสภาใช้เป็นแนวทางทำงานตามกำหนด 120 วัน อย่างไรก็ตามรัฐสภาก็สามารถคิดใหม่ได้โดยไม่จำเป็นต้องยึดตามแนวทางนี้ แต่คณะกรรมาธิการวิชาการฯ จัดทำขึ้นเพื่อประโยชน์ในการร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นการเตรียมข้อมูลให้เท่านั้น--จบ--