กรุงเทพ--8 เม.ย--ศูนย์ข่าว ส.ส.ร.
นายคณิน บุญสุวรรณ โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แถลงถึงผลการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญเป็นการภายในว่าที่ประชุมได้ร่วมกันหารือใน 3 ประเด็น
- การรายงานของคณะกรรมาธิการวิชาการ ข้อมูล และศึกษาแนวทางการร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ
- วิธีการจัดทำประชาพิจารณ์
- สรุปรายงานการแสดงความคิดเห็นของประชาชน โดยผ่านคณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นและประชาพิจารณ์ และคณะกรรมาธิการวิสามัญ รับฟังความคิดเห็น และประชาพิจารณ์แต่ละจังหวัด
คณะกรรมาธิการ ฯ เสนอให้มีการหารือ ถึงแนวทางการจัดทำร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ภายหลังที่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ประกาศใช้ โดยที่ประชุมสภาร่าง ฯ มีความเห็นร่วมกันว่าควรบรรจุหลักการสำคัญ ซึ่งเป็นสาระของการร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ตลอดจนกรอบระยะของการร่างกฎหมาย ทั้งในส่วนที่ต้องดำเนินการโดยรัฐสภาและรัฐบาลบัญญัติให้ชัดเจนไว้ในบทเฉพาะกาล
สำหรับวิธีการทำประชาพิจารณ์ ซึ่งต้องดำเนินการภายหลังเสร็จสิ้นการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกคณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นของทุกจังหวัด จะต้องเปิดเวทีประชาพิจารณ์ เพื่อให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น ต่อร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งแต่ละจังหวัดอาจทำประชาพิจารณ์ 1-2 ครั้ง อย่างไรก็ตามสำหรับการจัดทำแบบสำรวจความคิดเห็น (โพล) ซึ่งถือเป็นงานใหญ่ที่ต้องอาศัยการสุ่มตัวอย่างประชาชนถึง 2 แสนคน อีกทั้งต้องใช้งบประมาณถึง 18 ล้านบาทที่ประชุมสภาร่างฯจึงเห็นควรให้ชะลอการทำโพลออกไปก่อน
ส่วนการสรุปผลการแสดงความคิดเห็นของประชาชน รายงานอย่างเป็นทางการต่อที่ประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ในวันพรุ่งนี้ (9 เมษายน 2540) ยอมรับว่ายังไม่สมบูรณ์โดยคณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็น ฯ ได้ประมวลข้อมูล จากผลที่แต่ละจังหวัดส่งเข้ามา ทั้งหมด 55 จังหวัด ซึ่งยังมีคณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็น ฯ อีก 2 จังหวัด ที่ยังไม่ได้ส่งข้อมูลผลการรับฟัง ฯ เข้ามา ทั้งนี้ การประมวลความคิดเห็นจึงดำเนินการไปเท่าที่มีข้อมูลแต่ในส่วนของการประมวลความคิดเห็นระดับภาค เสร็จสิ้นแล้วและพร้อมจะรายงานต่อที่ประชุมสภาร่าง ฯ ในวันพรุ่งนี้ (9 เมษายน 2540) นอกจากนี้ยังมีจดหมายที่หลั่งไหลเข้ามา ซึ่งสามารถประมวลได้ถึงเกือบล้านประเด็นซ้ำกันในบางประเด็น
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ คณะทำงานจะเริ่มต้นการทำงานในวันที่ 10 เมษายน นี้ จากนั้น จะหารือร่วมกันเต็มคณะ ซึ่งทุกขั้นตอนจะเปิดเผยให้ประชาชนได้รับทราบตลอดการดำเนินงาน โดยยืนยันว่าการร่างรัฐธรรมนูญ ของคณะกรรมาธิการยกร่าง ฯ ทั้งคณะในวันที่ 20-27 เมษายน นี้ ที่พัทยาเป็นการเก็บตัว เพื่อให้เกิดสมาธิหวังให้ได้ร่างรัฐธรรมนูญที่พิถีพิถันที่สุด ซี่งไม่ได้เป็นความลับทีแอบไปเขียนกันเองแต่อย่างใด--จบ--
นายคณิน บุญสุวรรณ โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แถลงถึงผลการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญเป็นการภายในว่าที่ประชุมได้ร่วมกันหารือใน 3 ประเด็น
- การรายงานของคณะกรรมาธิการวิชาการ ข้อมูล และศึกษาแนวทางการร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ
- วิธีการจัดทำประชาพิจารณ์
- สรุปรายงานการแสดงความคิดเห็นของประชาชน โดยผ่านคณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นและประชาพิจารณ์ และคณะกรรมาธิการวิสามัญ รับฟังความคิดเห็น และประชาพิจารณ์แต่ละจังหวัด
คณะกรรมาธิการ ฯ เสนอให้มีการหารือ ถึงแนวทางการจัดทำร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ภายหลังที่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ประกาศใช้ โดยที่ประชุมสภาร่าง ฯ มีความเห็นร่วมกันว่าควรบรรจุหลักการสำคัญ ซึ่งเป็นสาระของการร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ตลอดจนกรอบระยะของการร่างกฎหมาย ทั้งในส่วนที่ต้องดำเนินการโดยรัฐสภาและรัฐบาลบัญญัติให้ชัดเจนไว้ในบทเฉพาะกาล
สำหรับวิธีการทำประชาพิจารณ์ ซึ่งต้องดำเนินการภายหลังเสร็จสิ้นการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกคณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นของทุกจังหวัด จะต้องเปิดเวทีประชาพิจารณ์ เพื่อให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น ต่อร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งแต่ละจังหวัดอาจทำประชาพิจารณ์ 1-2 ครั้ง อย่างไรก็ตามสำหรับการจัดทำแบบสำรวจความคิดเห็น (โพล) ซึ่งถือเป็นงานใหญ่ที่ต้องอาศัยการสุ่มตัวอย่างประชาชนถึง 2 แสนคน อีกทั้งต้องใช้งบประมาณถึง 18 ล้านบาทที่ประชุมสภาร่างฯจึงเห็นควรให้ชะลอการทำโพลออกไปก่อน
ส่วนการสรุปผลการแสดงความคิดเห็นของประชาชน รายงานอย่างเป็นทางการต่อที่ประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ในวันพรุ่งนี้ (9 เมษายน 2540) ยอมรับว่ายังไม่สมบูรณ์โดยคณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็น ฯ ได้ประมวลข้อมูล จากผลที่แต่ละจังหวัดส่งเข้ามา ทั้งหมด 55 จังหวัด ซึ่งยังมีคณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็น ฯ อีก 2 จังหวัด ที่ยังไม่ได้ส่งข้อมูลผลการรับฟัง ฯ เข้ามา ทั้งนี้ การประมวลความคิดเห็นจึงดำเนินการไปเท่าที่มีข้อมูลแต่ในส่วนของการประมวลความคิดเห็นระดับภาค เสร็จสิ้นแล้วและพร้อมจะรายงานต่อที่ประชุมสภาร่าง ฯ ในวันพรุ่งนี้ (9 เมษายน 2540) นอกจากนี้ยังมีจดหมายที่หลั่งไหลเข้ามา ซึ่งสามารถประมวลได้ถึงเกือบล้านประเด็นซ้ำกันในบางประเด็น
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ คณะทำงานจะเริ่มต้นการทำงานในวันที่ 10 เมษายน นี้ จากนั้น จะหารือร่วมกันเต็มคณะ ซึ่งทุกขั้นตอนจะเปิดเผยให้ประชาชนได้รับทราบตลอดการดำเนินงาน โดยยืนยันว่าการร่างรัฐธรรมนูญ ของคณะกรรมาธิการยกร่าง ฯ ทั้งคณะในวันที่ 20-27 เมษายน นี้ ที่พัทยาเป็นการเก็บตัว เพื่อให้เกิดสมาธิหวังให้ได้ร่างรัฐธรรมนูญที่พิถีพิถันที่สุด ซี่งไม่ได้เป็นความลับทีแอบไปเขียนกันเองแต่อย่างใด--จบ--